Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ต่างๆ , then ตางๆ, ต่างๆ .

Budhism Thai-Thai Dict : ต่างๆ, 107 found, display 51-100
  1. พุทธจักขุ : จักษุของพระพุทธเจ้า ได้แก่ ญาณที่หยั่งรู้อัธยาศัย อุปนิสัยและอินทรีย์ที่ยิ่งหย่อนต่างๆ กันของเวไนยสัตว์ (ข้อ ๔ ในจักขุ ๕)
  2. ภาณวาร : “วาระแห่งการสวด”, ข้อความในคัมภีร์ต่างๆ เช่น ในพระสูตรขนาดยาวที่ท่านจัดแบ่งไว้เป็นหมวดหนึ่งๆ สำหรับสาธยายเป็นคราวๆ หรือเป็นตอนๆ
  3. ภูตคาม : ของเขียวหรือพืชพรรณอันเป็นอยู่กับที่ มี ๕ ชนิด ๑. พืชเกิดจากเหง้า คือ ใช้เหง้าเพาะ เช่น ขมิ้น ๒. พืชเกิดจากต้น คือตอนออกได้จากไม้ต้นทั้งหลาย เช่น ต้นโพธิ์ ๓. พืชเกิดจากข้อ คือใช้ข้อปลูก ได้แก่ไม้ลำ เช่น อ้อย ไม้ไผ่ ๔. พืชเกิดจากยอด คือ ใช้ยอดปักก็เป็น ได้แก่ ผักต่างๆ มีผักชีล้อม ผักบุ้ง เป็นต้น ๕. พืชเกิดจากเมล็ด คือใช้เมล็ดเพาะ ได้แก่ ถั่ว งา ข้าว, แปลตามรูปศัพท์ว่า บ้านของภูต, คู่กับ พีชคาม ภูตคามวรรค หมวดที่ว่าด้วยภูตคาม เป็นวรรคที่ ๒ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ในมหาวิภังค์แห่งพระวินัยปิฎก
  4. มโนทวาร : ทวารคือใจ, ทางใจ, ใจ โดยฐานเป็นทางทำมโนกรรม คือ สำหรับคิดนึกต่างๆ (ข้อ ๓ ในทวาร ๓)
  5. มโนสัญเจตนาหาร : ความจงใจเป็นอาหาร เพราะปัจจัยให้เกิดกรรม คือ ทำให้พูดให้คิด ให้ทำการต่างๆ (ข้อ ๓ ในอาหาร ๔)
  6. มลทิน : ความมัวหมอง, ความไม่บริสุทธิ์ เช่น ผ้าขาวเมื่อเป็นจุดสีต่างๆ ก็เรียกว่า ผ้ามีมลทิน นักบวชผิดศีลก็เรียกได้ว่า นักบวชมีมลทิน ดู มละ
  7. มหาวรรค : ชื่อคัมภีร์อันเป็นหมวดที่ ๓ ใน ๕ หมวด แห่งพระวินัยปิฎก คือ อาทิกัมม์ ปาจิตตีย์ มหาวรรค จุลวรรค บริวาร, มหาวรรค มี ๑๐ ขันธกะ (หมวด ตอน หรือบท) คือ ๑.มหาขันธกะ (ว่าด้วยการบรรพชาอปสมบท เริ่มแต่เหตุการณ์หลังตรัสรู้ใหม่ๆ และการประดิษฐานพระศาสนา) ๒.อุโปสถขันธกะ (ว่าด้วยอุโบสถและสีมา) ๓.วัสสูปนายิกขันธกะ (ว่าด้วยการเข้าพรรษา) ๔.ปวารณาขันธกะ (ว่าด้วยปวาณา) ๕.จัมมขันธกะ (ว่าด้วยเครื่องหนัง เช่น รองเท้าและเครื่องลาด) ๖.เภสัชชขันธกะ (ว่าด้วยเรื่องยาตลอดจนเรื่องกัปปิยะ อกัปปิยะ และกาลิกทั้ง ๔) ๗.กฐินขันธกะ (ว่าด้วยกฐิน) ๘.จีวรขันธกะ (ว่าด้วยเรื่องจีวร) ๙.จัมเปยยขันธกะ (ว่าด้วยข้อควรทราบบางอย่างเกี่ยวกับนิคคหกรรมต่างๆ) ๑๐.โกสัมพิกขันธกะ (ว่าด้วยเรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพี วิวาทกันและสังฆสามัคคี) ดู ไตรปิฎก
  8. มังคลัตถทีปนี : ชื่อคัมภีร์อธิบายมงคล ๓๘ ประการ ในมงคลสูตร พระสิริมังคลาจารย์แห่งลานนาไทย รจนาขึ้นที่เมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๐๖๗ โดยรวบรวมคำอธิบายจากอรรถกถาฎีกา อนุฎีกาต่างๆ เป็นอันมาก พร้อมทั้งคำบรรยายของท่านเอง
  9. มาตรา : กิริยากำหนดประมาณ, เครื่องวัดต่างๆ เช่นวัดขนาด จำนวน เวลา ระยะทางเป็นต้น, มาตราที่ควรรู้ ดังนี้
  10. มาร : 1.สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากความดีหรือจากผลที่หมายอันประเสริฐ, ตัวการที่กำจัดหรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี มี ๕ คือ ๑.กิเลสมาร มารคือกิเลส ๒.ขันธมาร มารคือเบญจขันธ์ ๓.อภิสังขารมาร มารคืออภิสังขารที่ปรุงแต่งกรรม ๔.เทวปุตตมาร มารคือเทพบุตร ๕.มัจจุมาร มารคือความตาย 2.พระยามารที่มีเรื่องราวปรากฏบ่อยๆ ในคัมภีร์ คอยมาแทรกแซงเหตุการณ์ต่างๆ ในพุทธประวัติ เช่น ยกพลเสนามาผจญพระมหาบุรุษในวันที่จะตรัสรู้ พระองค์ชนะพระยามารได้ด้วยทรงนึกถึงบารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา มารในกรณีเช่นนี้ บางทีท่านอธิบายออกชื่อว่าเป็นสวัตดีมาร ซึ่งครองแดนหนึ่งในสวรรค์ชั้นสูงสุด แห่งระดับกามาวจรคือปรนิมิตวสวัตดี เป็นผู้คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไว้มิให้ล่วงพ้นจากแดนกามซึ่งอยู่ในอำนาจครอบงำของตน อย่างไรก็ดี ผู้ศึกษาพึงพิจารณาเทียบจากมาร ๕ ในความหมายที่ 1.ด้วย
  11. เมฆิยะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เคยเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธองค์ คราวหนึ่ง ได้เห็นสวนมะม่วงริมฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา น่ารื่นรมย์ จึงขอลาพระพุทธเจ้าไปบำเพ็ญที่นั่น พระพุทธเจ้าห้ามไม่ฟัง ท่านไปบำเพ็ญเพียร ถูกอกุศลวิตกต่างๆ รบกวนในที่สุดต้องกลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้าได้ฟังพระธรรมเทศนาเรื่องธรรม ๕ ประการสำหรับบ่มเจโตวิมุตติ เป็นต้น ที่พระศาสดาทรงแสดงจึงได้สำเร็จพระอรหัต
  12. ยาน : เครื่องนำไป, พาหนะต่างๆ เช่น รถ, เกวียน, เรือ เป็นต้น
  13. ร่ม : สำหรับพระภิกษุ ห้ามใช้ร่มที่กาววาว เช่น ร่มปักด้วยไหมสีต่างๆ และร่มที่มีระบายเป็นเฟือง ควรใช้ของเรียบๆ ซึ่งทรงอนุญาตให้ใช้ได้ในวัดและอุปจาระแห่งวัด ห้ามกั้นร่มเข้าบ้านหรือกั้นเดินตามถนนหนทางในละแวกบ้าน เว้นแต่เจ็บไข้ ถูกแดดถูกฝนอาพาธจะกำเริบ เช่น ปวดศีรษะ ตลอดจน (ตามที่อรรถกถาผ่อนให้) กั้นเพื่อกันจีวรเปียกฝนตก กั้นเพื่อป้องกันภัย กั้นเพื่อรักษาตัวเช่นในเวลาแดดจัด
  14. รองเท้า : ในพระวินัยกล่าวถึงรองเท้าไว้ ๒ ชนิด คือ ๑.ปาทุกา แปลกันว่าเขียงเท้า (รองเท้าไม้หรือเกี๊ยะ) ซึ่งรวมไปถึงรองเท้าโลหะ รองเท้าแก้ว หรือรองเท้าประดับแก้วต่างๆ ตลอดจนรองเท้าสาน รองเท้าถักหรือปักต่างๆ สำหรับพระภิกษุห้ามใช้ปาทุกาทุกอย่าง ยกเว้นปาทุกาไม้ที่ตรึงอยู่กับที่สำหรับถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะและเป็นที่ชำระ ขึ้นเหยียบได้ ๒.อุปาหนา รองเท้าสามัญ สำหรับพระภิกษุทรงอนุญาตรองเท้าหนังสามัญ (ถ้าชั้นเดียว หรือมากชั้นแต่เป็นของเก่าใช้ได้ทั่วไป ถ้ามากชั้นเป็นของใหม่ ใช้ได้เฉพาะแต่ในปัจจันตชนบท) มีสายรัด หรือใช้คีบด้วยนิ้ว ไม่ปกหลังเท้า ไม่ปกส้น ไม่ปกแข็ง นอกจากนั้น ตัวรองเท้าก็ตาม หูหรือสายรัดก็ตาม จะต้องไม่มีสีที่ต้องห้าม (คือ สีขาบ เหลือง แดง บานเย็น แสด ชมพู ดำ) ไม่ขลิบด้วยหนังสัตว์ที่ต้องห้าม (คือ หนังราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง ชะมด นาค แมว ค่าง นกเค้า) ไม่ยัดนุ่น ไม่ตรึงหรือประดับด้วยขนนกกระทาขนนกยูง ไม่มีหูเป็นช่อดังเขาแกะเขาแพะหรือง่ามแมลงป่อง
  15. ราคา : ชื่อลูกสาวพระยามาร อาสาพระยามารเข้าไปประโลมพระพุทธเจ้าด้วยอาการต่างๆ พร้อมด้วยนางตัณหา และนางอรดี ในขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธ หลังจากตรัสรู้
  16. รูป : 1.สิ่งที่จะต้องสลายไปเพราะปัจจัยต่างๆ อันขัดแย้ง, สิ่งที่เป็นรูปร่างพร้อมทั้งลักษณะอาการของมัน, ส่วนร่างกาย จำแนกเป็น ๒๘ คือ มหาภูต หรือ ธาตุ ๔ และ อุปาทายรูป ๒๔ (= รูปขันธ์ในขันธ์ ๕) 2.อารมณ์ที่รู้ได้ด้วยจักษุ, สิ่งที่ปรากฏแก่ตา (ข้อ ๑ ในอารมณ์ ๖ หรือในอายตนะภายนอก ๖) 3.ลักษณนาม ใช้เรียกพระภิกษุสามเณร เช่น ภิกษุรูปหนึ่ง สามเณร ๕ รูป ; ในภาษาพูดบางแห่งนิยมใช้ องค์
  17. โลกัตถจริยา : พระพุทธจริยาเพื่อประโยชน์แก่โลก, ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่โลก คือ ทรงอาศัยพระมหากรุณา เสด็จไปประกาศพระศาสนาเพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนในถิ่นฐานแว่นแคว้นต่างๆ เป็นอันมาก และประดิษฐานพระศาสนาไว้เพื่อประโยชน์สุขแก่ชุมชนภายหลังตลอดกาลนาน ดู พุทธจริยา
  18. วัณณกสิณ ๔ : กสิณที่เพ่งวัตถุมีสีต่างๆ ๔ อย่าง คือ นีลํ สีเขียว, ปีตํ สีเหลือง, โลหิตํ สีแดง, โอทาตํ สีขาว ดู กสิณ
  19. วัตตขันธกะ : ชื่อขันธกะที่ ๘ แห่งคัมภีร์จุลวรรค วินัยปิฎก ว่าด้วยวัตรประเภทต่างๆ
  20. วิการ : 1.พิการ, ความแปรผัน, ความผิดแปลก, ผิดปกติ 2.ทำต่างๆ, ขยับเขยื้อน เช่น กวักมือ ดีดนิ้ว เป็นต้น
  21. วิชชา : ความรู้แจ้ง, ความรู้วิเศษ; วิชชา ๓ คือ ๑.ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ความรู้ที่ได้ระลึกชาติได้ ๒.จุตูปปาตญาณ ความรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย ๓.อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำอาสวะให้สิ้น; วิชชา ๘ คือ ๑.วิปัสสนาญาณ ญาณในวิปัสสนา ๒.มโนมยิทธิ ฤทธิ์ทางใจ ๓.อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ ๔.ทิพพโสต หูทิพย์ ๕.เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดใจผู้อื่นได้ ๖.ปุพเพนิวาสานุสติ ๗.ทิพพจักขุ ตาทิพย์ (=จุตูปปาตญาณ) ๘.อาสวักขยญาณ
  22. วิภัชชวาที : “ผู้กล่าวจำแนก”, “ผู้แยกแยะพูด”, เป็นคุณบทคือคำแสดงคุณลักษณะอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า หมายความว่า ทรงแสดงธรรมแยกแจกแจงออกไป ให้เห็นว่า สิ่งทั้งหลายเกิดจากส่วนประกอบย่อยๆ มาประชุมกันเข้าอย่างไร เช่น แยกแยะกระจายนามรูปออกเป็นขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ เป็นต้น สิ่งทั้งหลายมีด้านที่เป็นคุณและด้านที่เป็นโทษอย่างไร เรื่องนั้นๆ มีข้อจริงข้อเท็จอะไรบ้าง การกระทำอย่างนั้นๆ มีแง่ถูกแง่ผิดแง่ที่ดีและแง่ไม่ดีประการใด เป็นต้น เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจสิ่งนั้นเรื่องนั้นอย่างชัดเจน มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริง เช่นมองเห็นความเป็นอนัตตา เป็นต้น ไม่มองอย่างตีคลุมหรือเห็นแต่ด้านเดียวแล้วยึดติดในทิฏฐิต่างๆ อันทำให้ไม่เข้าถึงความจริงแท้ตามสภาวะ
  23. วิภัตติ : ชื่อวิธีไวยากรณ์ภาษาบาลีและสันสฤกต สำหรับแจกศัพท์โดยเปลี่ยนท้ายคำให้มีรูปต่างๆ กันเพื่อบอกการก ท้ายคำให้มีรูปต่างๆ กันเพื่อบอกการกและกาลเป็นต้น เช่นคำนาม โลโก ว่า โลก, โลกํ ซึ่งโลก, โลกา จากโลก, โลเก ในโลก; คำกิริยา เช่น นมติ ย่อมน้อม, นมตุ จงน้อม, นมิ น้อมแล้ว เป็นต้น
  24. เวปุลละ : ความไพบูลย์, ความเต็มเปี่ยม, ความเจริญเต็มที่ มี ๒ อย่าง คือ ๑.อามิสเวปุลละ อามิสไพบูลย์ หรือความไพบูลย์แห่งอามิส หมายถึง ความมากมายพรั่งพร้อมด้วยปัจจัย ๔ ตลอดจนวัตถุอำนวยความสุดความสะดวกสบายต่างๆ ๒.ธัมมเวปุลละ ธรรมไพบูลย์หรือความไพบูลย์แห่งธรรม หมายถึง ความเจริญเต็มเปี่ยมเพียบพร้อมแห่งธรรม ด้วยการฝึกอบรมปลูกฝังให้มีในตนจนเต็มบริบูรณ์ หรือด้วยการประพฤติปฏิบัติกันในสังคมจนแพร่หลายทั่วไปทั้งหมด
  25. ศิลปศาสตร์ : ตำราว่าด้วยวิชาความรู้ต่างๆ มี ๑๘ ประการ เช่นตำราว่าด้วยการคำนวณ ตำรายิงธนู เป็นต้น อันได้มีการเรียนการสอนกันมาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล; ๑๘ ประการนั้น มีหลายแบบ ยกมาดูแบบหนึ่งจากคัมภีร์โลกนิติ และธรรมนิติ ได้แก่ ๑.สูติ ความรู้ทั่วไป ๒.สัมมติ ความรู้กฎธรรมเนียม ๓.สังขยา คำนวณ ๔.โยคยันตร์ การช่างการยนตร์ ๕.นีติ นิติศาสตร์ ๖.วิเสสิกา ความรู้การอันให้เกิดมงคล ๗.คันธัพพา วิชาร้องรำ ๘.คณิกา วิชาบริหารร่างกาย ๙.ธนุพเพธา วิชายิงธนู ๑๐.ปุราณา โบราณคดี ๑๑.ติกิจฉา วิชาแพทย์ ๑๒.อิติหาสา ตำนานหรือประวัติศาสตร์ ๑๓.โชติ ดาราศาสตร์ ๑๔.มายา ตำราพิชัยสงคราม ๑๕.ฉันทสา การประพันธ์ ๑๖.เกตุ วิชาพูด ๑๗.มันตา วิชามนต์ ๑๘.สัททา วิชาไวยากรณ์, ทั้ง ๑๘ อย่างนี้โบราณเรียกรวมว่า สิปปะ หรือศิลปะ ไทยแปลออกเป็น ศิลปศาสตร์ (ตำราว่าด้วยศิลปะต่างๆ); แต่ในสมัยปัจจุบัน ได้แยกความหมายศิลปะ กับ ศาสตร์ ออกจากกัน คือ ศิลปะ หมายถึง วิทยาการที่มีวัตถุประสงค์ตรง ความงาม เช่น ดุริยางคศิลป์ นาฏศิลป์ และจิตรกรรม เป็นต้น ศาสตร์ หมายถึง วิทยาการที่มีวัตถุประสงค์ตรงความจริง เช่น คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
  26. ศิลปะ : ฝีมือ, ความฉลาดในฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การแสดงออกมาให้ปรากฏอย่างงดงามน่าชม, วิชาที่ใช้ฝีมือ, วิชาชีพต่างๆ
  27. สุญญตา : “ความเป็นสภาพสูญ”, ความว่าง 1.ความเป็นสภาพที่ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะที่ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัวมิใช่ตน ว่างจากความเป็นตน ตลอดจนว่างจากสาระต่างๆ เช่น สาระคือความเที่ยง สาระคือความสวยงาม สาระคือความสุข เป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง หลักธรรมฝ่ายปรมัตถ์ดังเช่นขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ (อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท) ที่แสดงแต่ตัวสภาวะให้เห็นความว่างเปล่าปราศจากสัตว์ บุคคล เป็นเพียงธรรมหรือกระบวนธรรมล้วนๆ 2.ความว่างจากกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ก็ดี สภาวะที่ว่างจากสังขารทั้งหลายก็ดี หมายถึง นิพพาน 3.โลกุตตรมรรค ได้ชื่อว่าเป็นสุญญตา ด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ เพราะลุด้วยปัญญาที่กำหนดพิจารณาความเป็นอนัตตา มองเห็นสภาวะที่สังขารเป็นสภาพว่าง (จากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน) เพราะว่างจากกิเลสมีราคะเป็นต้น และเพราะมีสุญญตา คือ นิพพาน เป็นอารมณ์ 4.ความว่าง ที่เกิดจากความกำหนดหมายในใจ หรือทำใจเพื่อให้เป็นอารมณ์ของจิตในการเจริญสมาบัติ เช่น ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติกำหนดใจถึงภาวะว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย; สุญตา ก็เขียน
  28. องค์ฌาน : (บาลี ว่า ฌานงฺค) องค์ประกอบของฌาน, องค์ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกันเข้าเป็นฌานขั้นหนึ่งๆ เช่น ปีติ สุข เอกัคคตา รวมกันเรียกว่า ฌานที่ ๒ หรือทุติยฌาน; องค์ฌานทั้งหมดในฌานต่างๆ นับแยกเป็นหน่วยๆ ไม่ซ้ำกัน มีทั้งหมด ๖ อย่าง คือ วิตก ความตรึก วิจาร ความตรอง ปีติ ความอิ่มใจ สุข ความสุข อุเบกขา ความมีจิตเรียบสมดุลเป็นกลาง และ เอกัคคตา ความมีอารมณ์หนึ่งเดียว ดู ฌาน
  29. อถัพพนเพท : ชื่อคัมภีร์พระเวทลำดับที่ ๔ ว่าด้วยคาถาอาคมทางไสยศาสตร์ การปลุกเสกต่างๆ เป็นส่วนเพิ่มเข้ามาต่อจาก ไตรเพท, อาถัพพนเวท อถรรพเวท อาถรรพณเวท ก็เขียน
  30. อธิกรณ์ : เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำ, เรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการ มี ๔ อย่าง คือ ๑) วิวาทาธิกรณ์ การเถียงกันเกี่ยวกับพระธรรมวินัย ๒) อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ ๓) อาปัตตาธิกรณ์ การต้องอาบัติ การปรับอาบัติ และการแก้ไขตัวให้พ้นจากอาบัติ ๔) กิจจาธิกรณ์ กิจธุระต่างๆ ที่สงฆ์จะต้องทำ เช่น ให้อุปสมบท ให้ผ้ากฐิน, ในภาษาไทยอธิกรณ์มีความหมายเลือนลางลงและแคบเข้า กลายเป็น คดีความ โทษ เป็นต้น
  31. อธิศีลสิกขา : การศึกษาในอธิศีล, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง, การฝึกฝนอบรมความประพฤติทางกาย วาจา คือ ระเบียบวินัย การอยู่ร่วมกับผู้อื่นและในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ด้วยดี ให้เกื้อกูล ไม่เบียดเบียน ไม่ทำลาย เป็นพื้นฐานแห่งการฝึกอบรมจิตใจในอธิจิตตสิกขา (ข้อ ๑ ในสิกขา ๓ หรือไตรสิกขา), เขียนอย่างบาลีเป็น อธิสีลสิกขา และ เรียกกันง่ายๆ ว่า ศีล
  32. อนัตตลักษณะ : ลักษณะที่เป็นอนัตตา, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตน ได้แก่ ๑) เป็นของสูญ คือ เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ ๒) เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง ๓) ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ ๔) เป็นสภาวธรรมอันเป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ ๕) โดยสภาวะของมันเอง ก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา
  33. อนาจาร : ความประพฤติไม่ดีไม่งาม ไม่เหมาะสมแก่บรรพชิต แยกเป็น ๓ ประเภท คือ ๑) การเล่นต่างๆ เช่น เล่นอย่างเด็ก ๒) การร้อยดอกไม้ ๓) การเรียนดิรัจฉานวิชา เช่น ทายหวย ทำเสน่ห์
  34. อปัสเสนธรรม : ธรรมเป็นที่พึ่งที่พำนักดุจพนักพิง มี ๔ คือ ๑) ของอย่างหนึ่งพิจารณาแล้วเสพ เช่น ปัจจัยสี่ ๒) ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วอดกลั้น ได้แก่ อนิฏฐารมณ์แล้วเว้นเสีย เช่น สุราเมรัย การพนัน คนพาล ๔) ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้ว บรรเทาเสีย เช่น อกุศลวิตกต่างๆ
  35. อภิญญา : ความรู้ยิ่ง, ความรู้เจาะตรงยวดยิ่ง, ความรู้ชั้นสูง มี ๖ อย่างคือ ๑) อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ ๒) ทิพพโสต หูทิพย์ ๓) เจโตปริยญาณ ญาณที่ให้ทายใจคนอื่นได้ ๔) ปุพเพนิวาสานุสติ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ ๕) ทิพพจักขุ ตาทิพย์ ๖) อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป, ๕ อย่างแรกเป็นโลกียอภิญญา ข้อสุดท้ายเป็นโลกุตตรอภิญญา
  36. อรดี : ธิดามารคนหนึ่งใน ๓ คน อาสาพระยามารผู้เป็นบิดา เข้าไปประโลมพระพุทธเจ้าด้วยอาการต่างๆ ในสมัยที่พระองค์เสด็จอยู่ที่ไม้อชปาลนิโครธ ภายหลังตรัสรู้ใหม่ๆ (อีก ๒ คน คือ ตัณหา กับ ราคา)
  37. อสุภ : สภาพที่ไม่งาม, พิจารณาร่างกายของตนและผู้อื่นให้เห็นสภาพที่ไม่งาม; ในความหมายเฉพาะ หมายถึงซากศพในสภาพต่างๆ ซึ่งใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน รวม ๑๐ อย่าง คือ ๑) อุทธุมาตกะ ซากศพที่เน่าพอง ๒) วินีลกะ ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำ ๓) วิปุพพกะ ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลออกอยู่ ๔) วิจฉิททกะ ซากศพที่ขาดกลางตัว ๕) วิกขายิตกะ ซากศพที่สัตว์กัดกินแล้ว ๖) วิกขิตตกะ ซากศพที่มีมือ เท้า ศีรษะขาด ๗) หตวิกขิตตกะ ซากศพที่คนมีเวรเป็นข้าศึกษกัน สับฟันเป็นท่อนๆ ๘) โลหิตกะ ซากศพที่ถูกประหารด้วยศัสตรามีโลหิตไหลอาบอยู่ ๙) ปุฬุวกะ ซากศพที่มีตัวหนอนคลานคล่ำไปอยู่ ๑๐) อัฏฐิกะ ซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูก
  38. อสุภะ : สภาพที่ไม่งาม, พิจารณาร่างกายของตนและผู้อื่นให้เห็นสภาพที่ไม่งาม; ในความหมายเฉพาะ หมายถึงซากศพในสภาพต่างๆ ซึ่งใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน รวม ๑๐ อย่าง คือ ๑) อุทธุมาตกะ ซากศพที่เน่าพอง ๒) วินีลกะ ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำ ๓) วิปุพพกะ ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลออกอยู่ ๔) วิจฉิททกะ ซากศพที่ขาดกลางตัว ๕) วิกขายิตกะ ซากศพที่สัตว์กัดกินแล้ว ๖) วิกขิตตกะ ซากศพที่มีมือ เท้า ศีรษะขาด ๗) หตวิกขิตตกะ ซากศพที่คนมีเวรเป็นข้าศึกษกัน สับฟันเป็นท่อนๆ ๘) โลหิตกะ ซากศพที่ถูกประหารด้วยศัสตรามีโลหิตไหลอาบอยู่ ๙) ปุฬุวกะ ซากศพที่มีตัวหนอนคลานคล่ำไปอยู่ ๑๐) อัฏฐิกะ ซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูก
  39. อัคคัญญสูตร : ชื่อสูตรที่ ๔ แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระสุตตันตปิฎก ทรงแสดงแก่สามเณรวาเสฏฐะ และสามเณรภารัทวาชะ ผู้ออกบวชจากตระกูลพราหมณ์ ทรงคัดค้านคำกล่าวอ้างของพวกพราหมณ์ ที่ถือว่าพราหมณ์เป็นวรรณะประเสริฐที่สุด และถือว่าชาติกำเนิดเป็นเครื่องตัดสินความประเสริฐ และความต่ำทรามของมนุษย์ ทรงแสดงให้เห็นว่าความประเสริฐหรือต่ำทรามนั้นอยู่ที่ความประพฤติ โดยมีธรรมเป็นเครื่องตัดสิน คนวรรณะต่างๆ ออกบวชในพระพุทธศาสนาแล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เกิดจากธรรมเสมอกันหมด แล้วทรงแสดงความเป็นมาของสังคมมนุษย์ เริ่มแต่เกิดมีสัตว์ขึ้นในโลกแล้วเปลี่ยนแปลงตามลำดับ จนเกิดมีมนุษย์ที่อยู่รวมกันเป็นหมู่เป็นพวก เกิดความจำเป็นต้องมีการปกครอง และมีการประกอบอาชีพ การงานต่างๆ กัน วรรณะทั้ง ๔ ก็เกิดจากความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ มิใช่เป็นเรื่องของพรหมสร้างสรรค์ แต่เกิดจากธรรม (ธรรมดา, กฎธรรมชาติ) ทุกวรรณะประพฤติชั่วก็ไปอบายได้ ปฏิบัติธรรมก็บรรลุนิพพานได้ ธรรมเป็นเครื่องตัดสิน และธรรมเป็นของประเสริฐสูงสุด ผู้ที่สิ้นอาสวกิเลสแล้ว เป็นผู้ประเสริฐสุดในวรรณะทั้ง ๔ ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ประเสริฐสุดในบรรดาเทวะ และมนุษย์ทั้งปวง
  40. อัตตกิลมถานุโยค : การประกอบตนให้ลำบากเปล่า คือ ความพยายามเพื่อบรรลุผลที่หมายด้วยวิธีทรมานตนเอง เช่น การบำเพ็ญตบะต่างๆ ที่นิยมกันในหมู่นักบวชอินเดียจำนวนมาก (ข้อ ๒ ใน ที่สุด ๒ อย่าง)
  41. อันตราย : ๑๐ เหตุฉุกเฉิน หรือเหตุขัดขวางต่างๆ เช่น เหตุขัดขวางการอุปสมบท ๘ อย่าง มีการเป็นโรคเรื้อน เป็นต้น
  42. อัศวเมธ : พิธีเอาม้าบูชายัญ คือปล่อยม้าอุปการให้ผ่านดินแดนต่างๆ เป็นการประกาศอำนาจจนม้านั้นกลับแล้ว เอาม้านั้นฆ่าบูชายัญ เป็นพิธีประกาศอานุภาพของราชาธิราชในอินเดียครั้งโบราณ
  43. อากาศธาตุ : สภาวะที่ว่าง, ความเป็นที่ว่างเปล่า, ช่องว่างในร่างกาย ที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน เช่น ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องอวัยวะต่างๆ ดู ธาตุ
  44. อาถรรพณ์ : เวทมนตร์ที่ใช้เพื่อให้ดีหรือร้าย, วิชาเสกเป่าป้องกัน, การทำพิธีป้องกันอันตรายต่างๆ ตามพิธีพราหมณ์ เช่น พิธีฝังเสาหิน หรือ ฝังบัตรพลี เรียกว่า ฝังอาถรรพณ์ (สืบเนื่องมาจากพระเวทคัมภีร์ที่ ๔ คืออถรรพเวท หรือ อาถรรพณเวท) อาถรรพ์ ก็ใช้
  45. อาทีนวสัญญา : การกำหนดหมายโทษแห่งร่างกายซึ่งมีอาพาธคือโรคต่างๆ เป็นอันมาก (ข้อ ๔ ในสัญญา ๑๐)
  46. อาสวะ : กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ไหลซึมซ่านไปย้อมจิตเมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ มี ๓ อย่าง คือ ๑) กามาสวะ อาสวะคือกาม ๒) ภาวสวะ อาสวะคือภพ ๓) อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา; อีกหมวดหนึ่งมี ๔ คือ ๑) กามาสวะ ๒) ภวาสวะ ๓) ทิฏฐาสวะ อาสวะคือทิฏฐิ ๔) อวิชชาสวะ, ในทางพระวินัยและความหมายสามัญ หมายถึงเมรัย เช่น ปุปฺผาสโว น้ำดองดอกไม้, ผลาสโว น้ำดองผลไม้
  47. อาหาเรปฏิกูลสัญญา : กำหนดหมายความเป็นปฏิกูลในอาหาร, ความสำคัญหมายในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล พิจารณาให้เห็นว่าเป็นของน่าเกลียด โดยอาการต่างๆ เช่น ปฏิกูล โดยบริโภค, โดยประเทศที่อยู่ของอาหาร, โดยสั่งสมอยู่นาน เป็นต้น (ข้อ ๓๕ ในกรรมฐาน ๔๐)
  48. อาหุเนยฺโย : พระสงฆ์เป็นผู้ควรได้ของคำนับ คือ เครื่องสักการะที่เขานำมาถวายในโอกาสต่างๆ (ข้อ ๕ ใน สังฆคุณ ๙)
  49. อิตถีภาวะ : ความเป็นหญิง, สภาวะที่ทำให้ปรากฏลักษณะอาการต่างๆ อันแสดงถึงความเป็นเพศหญิง เป็นภาวรูปอย่างหนึ่ง คู่กับ ปุริสภาวะ ดู อุปาทายรูป
  50. อิทธิวิธี : แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ เช่น นิรมิตกายคนเดียวเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียว ล่องหน ดำดิน เดินน้ำ เป็นต้น (ข้อ ๑ ในอภิญญา ๖, ข้อ ๓ ในวิชชา ๘)
  51. 1-50 | [51-100] | 101-107

(0.0306 sec)