Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความยืดหยุ่น, ยืดหยุ่น, ความ , then ความ, ความยดหยน, ความยืดหยุ่น, ยดหยน, ยืดหยุ่น .

Budhism Thai-Thai Dict : ความยืดหยุ่น, 1078 found, display 751-800
  1. วิญญัติ : 1.การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมาย, การสื่อความหมาย มี ๒ คือ ๑.กายวิญญัติ การให้รู้ความหมายด้วยกาย เช่น พยักหน้า กวักมือ ๒.วจีวิญญัติ การให้รู้ความหมายด้วยวาจา คือพูด หรือบอกกล่าว 2.การออกปากขอของ ต่อคนไม่ควรขอ หมายถึงภิกษุขอสิ่งของต่อคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ ผู้ไม่ใช่คนปวารณา
  2. วิญญาณธาตุ : ธาตุรู้, ความรู้แจ้ง, ความรู้อะไรได้ (ข้อ ๖ ในธาตุ ๖)
  3. วินัย : ระเบียบแบบแผนสำหรับฝึกฝนควบคุมความประพฤติของบุคคลให้มีชีวิตที่ดีงามเจริญก้าวหน้าและควบคุมหมู่ชนให้อยู่ร่วมกันด้วยความสงบเรียบร้อยดีงาม, ประมวลบทบัญญัติข้อบังคับสำหรับฝึกฝนควบคุมความประพฤติ; วินัย มี ๒ อย่างคือ ๑.อนาคาริยวินัย วินัยของผู้ไม่ครองเรือน คือ วินัยของบรรพชิต หรือวินัยของพระสงฆ์ ได้แก่ การไม่ต้องอาบัติทั้ง ๗ หรือ ปาริสุทธิศีล ๔ ๒.อาคาริยวินัย วินัยของผู้ครองเรือน คือ วินัยของชาวบ้าน ได้แก่ การงดเว้นจากอกุศลกรรมบถ ๑๐ หรือ กุศลกรรมบท ๑๐
  4. วินิจฉัย : ไตร่ตรอง, ใคร่ครวญ, ชี้ขาด, ตัดสิน, ชำระความ
  5. วิปจิตัญญู : ผู้อาจรู้ธรรมต่อเมื่อท่านอธิบายความแห่งหัวข้อนั้น, รู้ต่อเมื่อขยายความ (ข้อ ๒ ในบุคคล ๔)
  6. วิปัสสนาญาณ : ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนามี ๙ อย่าง คือ ๑.อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป ๒.ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา ๓.ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว ๔.อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นโทษ ๕.นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นด้วยความหน่าย ๖.มุจจิตุกัมยตาญาณ ญาณหยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย ๗.ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง ๘.สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร ๙.สัจจานุโลมิกญาณ ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจ
  7. วิปัสสนาปัญญา : ปัญญาที่ถึงขั้นเป็นวิปัสสนา, ปัญญาที่ใช้ในการเจริญวิปัสสนา คือ ปัญญาที่พิจารณาเข้าใจสังขารตามความเป็นจริง
  8. วิปัสสนูปกิเลส : อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา, สภาพน่าชื่นชมแต่ที่แท้เป็นโทษเครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนาซึ่งเกิดแก่ผู้ได้วิปัสสนาอ่อนๆ ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว จึงไม่ดำเนินก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ มี ๑๐ คือ ๑.โอภาส แสงสว่าง ๒.ปีติ ความอิ่มใจ ๓.ญาณ ความรู้ ๔.ปัสสัทธิ ความสงบกายและจิต ๕.สุข ความสบายกาย สบายจิต ๖.อธิโมกข์ ความน้อมใจเชื่อ ๗.ปัคคาหะ ความเพียรที่พอดี ๘.อุปัฏฐาน สติชัด ๙.อุเบกขา ความวางจิตเป็นกลาง ๑๐.นิกันติ ความพอใจ
  9. วิปากทุกข์ : ทุกข์ที่เป็นผลของกรรมชั่ว เช่น ถูกลงอาชญาได้รับความทุกข์หรือตกอบาย หรือเกิดวิปฏิสารคือเดือดร้อนใจ
  10. วิภังค์ : 1.(ในคำว่า “วิภังคแห่งสิกขาบท”) คำจำแนกความแห่งสิกขาบทเพื่ออธิบายแสดงความหมายให้ชัดขึ้น; ท่านใช้เป็นชื่อเรียกคัมภีร์ที่จำแนกความเช่นนั้นในพระวินัยปิฎกว่าคัมภีร์วิภังค์ คือ คัมภีร์จำแนกความสิกขาบทในภิกขุปาฏิโมกข์ เรียกว่ามหาวิภังค์ หรือ ภิกขุวิภังค์ คัมภีร์จำแนกความสิกขาบท ในภิกขุนีปาฏิโมกข์เรียกว่าภิกขุนีวิภังค์ เป็นหมวดต้นแห่งพระวินัยปิฎก 2.ชื่อคัมภีร์ที่ ๒ แห่งพระอภิธรรมปิฎก ที่อธิบายจำแนกความแห่งหลักธรรมสำคัญเช่น ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ปัจจยาการ เป็นต้น ให้ชัดเจนจบไปทีละเรื่องๆ
  11. วิภัชชวาที : “ผู้กล่าวจำแนก”, “ผู้แยกแยะพูด”, เป็นคุณบทคือคำแสดงคุณลักษณะอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า หมายความว่า ทรงแสดงธรรมแยกแจกแจงออกไป ให้เห็นว่า สิ่งทั้งหลายเกิดจากส่วนประกอบย่อยๆ มาประชุมกันเข้าอย่างไร เช่น แยกแยะกระจายนามรูปออกเป็นขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ เป็นต้น สิ่งทั้งหลายมีด้านที่เป็นคุณและด้านที่เป็นโทษอย่างไร เรื่องนั้นๆ มีข้อจริงข้อเท็จอะไรบ้าง การกระทำอย่างนั้นๆ มีแง่ถูกแง่ผิดแง่ที่ดีและแง่ไม่ดีประการใด เป็นต้น เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจสิ่งนั้นเรื่องนั้นอย่างชัดเจน มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริง เช่นมองเห็นความเป็นอนัตตา เป็นต้น ไม่มองอย่างตีคลุมหรือเห็นแต่ด้านเดียวแล้วยึดติดในทิฏฐิต่างๆ อันทำให้ไม่เข้าถึงความจริงแท้ตามสภาวะ
  12. วิมุตติญาณทัสสนกถา : ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดความรู้ความเห็นในความที่ใจพ้นจากกิเลส (ข้อ ๑๐ ในกถาวัตถุ ๑๐)
  13. วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ : กองวิมุตติญาณทัสสนะ, หมวดธรรมว่าด้วยความรู้ความเห็นว่า จิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ เช่น ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ (ข้อ ๕ ในธรรมขันธ์ ๕)
  14. วิมุตติสุข : สุขเกิดแต่ความหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะและปวงทุกข์
  15. วิริยารัมภกถา : ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร (ข้อ ๕ ในกถาวัตถุ ๑๐)
  16. วิริยารัมภะ : ปรารภความเพียร คือลงมือทำความเพียรอย่างเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว, ระดมความเพียร (ขอ ๔ ในเวสารัชชกรณธรรม ๕, ข้อ ๗ ในลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘, ข้อ ๕ ในสัทธรรม ๗, ข้อ ๗ ในนาถกรณธรรม ๑๐)
  17. วิวาทมูล : รากเหง้าแห่งการเถียงกัน, เหตุที่ก่อให้เกิดวิวาท กลายเป็นวิวาทาธิกรณ์ขึ้น มี ๒ อย่าง คือ ๑.ก่อวิวาทขึ้นด้วยความปรารถนาดี เห็นแก่ธรรมวินัย มีจิตประกอบด้วยอโลภะ อโทสะ อโมหะ ๒.ก่อวิวาทด้วยความปรารถนาเลว ทำด้วยทิฏฐิมานะ มีจิตประกอบด้วยโลภะ โทสะ โมหะ
  18. วิสสาสะ : 1.ความคุ้นเคย, ความสนิทสนม การถือว่าเป็นกันเอง, ในทางพระวินัย การถือเอาของของผู้อื่นที่จัดว่าเป็นการถือวิสสาสะ มีองค์ ๓ คือ ๑.เคยเห็นกันมา เคยคบกันมา หรือได้พูดกันไว้ ๒.เจ้าของยังมีชีวิตอยู่ ๓.รู้ว่าของนั้นเราถือเอาแล้ว เขาจักพอใจ, บัดนี้นิยมเขียน วิสาสะ 2.ความนอนใจ ดังพุทธดำรัสว่า “ภิกษุเธอยังไม่ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว อย่าได้ถึง วิสสาสะ (ความนอนใจ)”
  19. วิสัญญี : หมวดความรู้สึก, สิ้นสติ, สลบ
  20. วิสัย : ภูมิ, พื้นเพ, อารมณ์, เขต, แดน, ลักษณะที่เป็นอยู่, ไทยใช้ในความหมายว่า ขีดขั้นแห่งความเป็นไปได้ หรือขอบเขตความสามารถ
  21. วิสาขา : ชื่อมหาอุบาสิกาสำคัญในครั้งพุทธกาล เป็นธิดาของธนัญชัยเศรษฐี และนางสุมนา เกิดที่เมืองภัททิยะในแคว้นอังคะ ได้บรรลุโสดาปัตติผล ตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ ต่อมาได้ย้ายตามบิดามาอยู่ที่เมืองสาเกตในแคว้นโกศลแล้วได้สมรสกับนายปุณณวัฒน์บุตรชายมิคารเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี และย้ายไปอยู่ในตระกูลฝ่ายสามี นางสามารถกลับใจมิคารเศรษฐี บิดาของสามี ซึ่งนับถือครนถ์ ให้หันมานับถือพระพุทธศาสนา มิคารเศรษฐีนับถือนางมาก และเรียกนางวิสาขาเป็นแม่ นางวิสาขาจึงได้ชื่อใหม่อีกอย่างหนึ่งว่า มิคารมารดา (มารดาของมิคารเศรษฐี) นางวิสาขาได้อุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์อย่างมากมาย และได้ให้ขายเครื่องประดับประจำตัวตั้งแต่แต่งงาน เรียกชื่อว่า มหาลดาปสาธน์ ซึ่งมีค่าสูงยิ่ง นำเงินมาสร้างวัดถวายแด่พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์คือ มิคารมาตุปราสาท วัดบุพพาราม ณ พระนครสาวัตถี นางวิสาขามีบุตรหลานมากมายล้วนมีสุขภาพดีแทบทั้งนั้น แม้นางจะมีอายุยืนถึง ๑๒๐ ปี ก็ดูไม่แก่ และเป็นบุคคลที่ได้รับความนับถืออย่างกว้างขวางในสังคม ได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะ ในบรรดาทายิกาทั้งปวง
  22. วิสุทธิเทพ : เทวดาโดยความบริสุทธิ์ ได้แก่ พระอรหันต์ (ข้อ ๓ ในเทพ ๓)
  23. วิสุทธิมรรค : ปกรณ์พิเศษอธิบายศีล สมาธิ ปัญญา ตามแนววิสุทธิ ๗ พระพุทธโฆษาจารย์ พระอรรถกถาจารย์ชาวอินเดียเป็นผู้แต่งที่มหาวิหารในเกาะลังกา; พระพุทธโฆสาจารย์ผู้นี้เป็นบุตรพราหมณ์ เกิดที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้พุทธคยา อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในแคว้นมคธ เมื่อประมาณ พ.ศ.๙๕๖ เรียนจบไตรเพทมีความเชี่ยวชาญมาก ต่อมาพบกับพระเรวตเถระ ได้โต้ตอบปัญหากัน สู้พระเรวตเถระไม่ได้ จึงขอบวชเพื่อเรียนพุทธวจนะ มีความสามารถมาก ได้รจนาคัมภีร์ญาโณทัย เป็นต้น พระเรวตเถระจึงแนะนำให้ไปเกาะลังกา เพื่อแปลอรรถกถาสิงหฬ กลับเป็นภาษามคธ ท่านเดินทางไปที่มหาวิหาร เกาะลังกา เมื่อขออนุญาตแปลคัมภีร์ ถูกพระเถระแห่งมหาวิหารให้คาถามา ๒ บท เพื่อแต่งทดสอบความรู้ พระพุทธโฆส จึงแต่งคำอธิบายคาถาทั้ง ๒ นั้นขึ้นเป็นคัมภีร์วิสุทธิมรรค จากนั้นก็ได้รับอนุญาตให้ทำงาน แปลอรรถกถาได้ตามประสงค์ เมื่อทำงานเสร็จสิ้นแล้ว ท่านก็เดินทางกลับสู่ชมพูทวีป พระพุทธโฆสาจารย์ เป็นพระอรรถกถาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด มีผลงานมากที่สุด
  24. วิสุทธิอุโบสถ : อุโบสถที่ประกอบด้วยความบริสุทธิ์ หรืออุโบสถที่ทำโดยที่ประชุมสงฆ์ซึ่งมีความบริสุทธิ์ หมายถึง การทำอุโบสถซึ่งที่ประชุมมีแต่พระอรหันต์ล้วนๆ เช่น กล่าวถึงการประชุมพระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป คราวจาตุรงคสันนิบาต ว่าทำวิสุทธิอุโบสถ
  25. วุฏฐานคามินี : 1.วิปัสสนาที่ให้ถึงมรรค, วิปัสสนาที่เจริญแก่กล้าถึงจุดสุดยอด ทำให้เข้าถึงมรรค (มรรคชื่อว่าวุฏฐานะ โดยความหมายว่าเป็นที่ออกไปได้จากสิ่งที่ยึดติดถือมน หรืออกไปพ้นจากสังขาร), วิปัสสนาที่เชื่อมต่อให้ถึงมรรค 2.“อาบัติที่ให้ถึงวุฏฐานวิธี” คือ อาบัติที่จะพ้นได้ด้วยอยู่กรรม หมายถึงอาบัติสังฆาทิเสส, คู่กับเทสนาคามินี คืออาบัติที่พ้นได้ด้วยการแสดง (ตั้งแต่ถุลลัจจัยลงมา)
  26. วุฏฐานสมมติ : มติอนุญาตให้ออกจากความเป็นสิกขมานาเพื่ออุปสมบทเป็นภิกษุณี, นางสิกขมานาผู้สมาทานสิกขาบท ๖ ข้อ ตั้งแต่ปาณาติปาตา เวรมณี ถึงวิกาลโภชนา เวรมณี โดยมิได้ขาด ครบเวลา ๒ ปีแล้ว จึงมีสิทธิขอวุฏฐานสมมติ เพื่ออุปสมบทเป็นภิกษุณีต่อไป
  27. วุฑฒิ : ธรรมเป็นเครื่องเจริญ, ธรรมเป็นเหตุให้ถึงความเจริญ มี ๔ อย่าง คือ ๑.สัปปุริสสังเสวะ คบหาสัตบุรุษ ๒.สัทธัมมัสสวนะ ฟังสัทธรรม ๓.โยนิโสมนสิการ ทำในใจโดยแยบคาย ๔.ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม, เรียกและเขียนเป็นวุฒิบ้าง วุฑฒิธรรมบ้าง วุฒิธรรมบ้าง, ในบาลีเรียกว่า ธรรมที่เป็นไปเพื่อปัญญาวุฑฒิ หรือ ปัญญาวุฒิ คือ เพื่อความเจริญแห่งปัญญา
  28. เวทนานุปัสสนา : สติตามดูเวทนา คือ ความรู้สึกสุขทุกข์และไม่สุขไม่ทุกข์เป็นอารมณ์โดยรู้เท่าทันว่า เวทนานี้ ก็สักว่าเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา (ข้อ ๒ ในสติปัฏฐาน ๔)
  29. เวทมนตร์ : คำที่เชื่อถือว่าศักดิ์สิทธิ์ บริกรรมแล้วให้สำเร็จความประสงค์
  30. เวสารัชชกรณธรรม : ธรรมทำความกล้าหาญ, ธรรมเป็นเหตุให้กล้าหาญ, คุณธรรมที่ทำให้เกิดความแกล้วกล้า มี ๕ อย่าง คือ ๑.ศรัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ ๒.ศีล มีความประพฤติดีงาม ๓.พาหุสัจจะ ได้สดับหรือศึกษามาก ๔.วิริยารัมภะ เพียรทำกิจอยู่อย่างจริงจัง ๕.ปัญญา รู้รอบและรู้ชัดเจนในสิ่งที่ควรรู้
  31. เวสารัชชญาณ : พระปรีชาญาณอันทำให้พระพุทธเจ้าทรงมีความแกล้วกล้าไม่ครั่นคร้าม ด้วยไม่ทรงเห็นว่าจะมีใครท้วงพระองค์ได้โดยชอบธรรม ในฐานะทั้ง ๔ คือ ๑.ท่านปฏิญญาว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ ท่านยังไม่รู้แล้ว ๒.ท่านปฏิญญาว่าเป็นขีณาสพ อาสวะนี้ของท่านยังไม่สิ้นแล้ว ๓.ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่อาจทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง ๔.ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็นทางนำผู้ทำตามให้ถึงความสิ้นทุกข์ โดยชอบได้จริง
  32. ไวพจน์ : คำที่มีรูปต่างกันแต่มีความหมายคล้ายกัน, คำสำหรับเรียกแทนกัน เช่น คำว่า มทนิมฺมทโน เป็นต้น เป็นไวพจน์ของ วิราคะ คำว่า วิมุตติ วิสุทธิ สันติ อสังขตะ วิวัฏฏ์ เป็นต้น เป็นไวพจน์ของนิพพาน ดังนี้เป็นต้น
  33. ไวยากรณ์ : 1.ระเบียบของภาษา, วิชาว่าด้วยระเบียบแห่งภาษา 2.คำหรือข้อความที่เป็นร้อยแก้ว, ความร้อยแก้ว ดู นวังคสัตถุศาสน์
  34. ศักดิ์ : อำนาจ, ความสามารถ, กำลัง, ฐานะ
  35. ศักดิ์สิทธิ์ : ขลัง, มีความสำเร็จตามอำนาจ
  36. ศาสนา : คำสอน, คำสั่งสอน; ปัจจุบันใช้หมายถึงลัทธิความเชื่อถืออย่างหนึ่งๆ พร้อมด้วยหลักคำสอน ลัทธิพิธี องค์การ และกิจการทั่วไปของหมู่ชนผู้นับถือลัทธิความเชื่อถืออย่างนั้นๆ ทั้งหมด
  37. ศิลปศาสตร์ : ตำราว่าด้วยวิชาความรู้ต่างๆ มี ๑๘ ประการ เช่นตำราว่าด้วยการคำนวณ ตำรายิงธนู เป็นต้น อันได้มีการเรียนการสอนกันมาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล; ๑๘ ประการนั้น มีหลายแบบ ยกมาดูแบบหนึ่งจากคัมภีร์โลกนิติ และธรรมนิติ ได้แก่ ๑.สูติ ความรู้ทั่วไป ๒.สัมมติ ความรู้กฎธรรมเนียม ๓.สังขยา คำนวณ ๔.โยคยันตร์ การช่างการยนตร์ ๕.นีติ นิติศาสตร์ ๖.วิเสสิกา ความรู้การอันให้เกิดมงคล ๗.คันธัพพา วิชาร้องรำ ๘.คณิกา วิชาบริหารร่างกาย ๙.ธนุพเพธา วิชายิงธนู ๑๐.ปุราณา โบราณคดี ๑๑.ติกิจฉา วิชาแพทย์ ๑๒.อิติหาสา ตำนานหรือประวัติศาสตร์ ๑๓.โชติ ดาราศาสตร์ ๑๔.มายา ตำราพิชัยสงคราม ๑๕.ฉันทสา การประพันธ์ ๑๖.เกตุ วิชาพูด ๑๗.มันตา วิชามนต์ ๑๘.สัททา วิชาไวยากรณ์, ทั้ง ๑๘ อย่างนี้โบราณเรียกรวมว่า สิปปะ หรือศิลปะ ไทยแปลออกเป็น ศิลปศาสตร์ (ตำราว่าด้วยศิลปะต่างๆ); แต่ในสมัยปัจจุบัน ได้แยกความหมายศิลปะ กับ ศาสตร์ ออกจากกัน คือ ศิลปะ หมายถึง วิทยาการที่มีวัตถุประสงค์ตรง ความงาม เช่น ดุริยางคศิลป์ นาฏศิลป์ และจิตรกรรม เป็นต้น ศาสตร์ หมายถึง วิทยาการที่มีวัตถุประสงค์ตรงความจริง เช่น คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
  38. ศิลปะ : ฝีมือ, ความฉลาดในฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การแสดงออกมาให้ปรากฏอย่างงดงามน่าชม, วิชาที่ใช้ฝีมือ, วิชาชีพต่างๆ
  39. ศีล ๕ : สำหรับทุกคน คือ ๑.เว้นจากทำลายชีวิต ๒.เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้ ๓.เว้นจากประพฤติผิดในกาม ๔.เว้นจากพูดเท็จ ๕.เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท; คำสมาทานว่า ๑.ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ๒.อทินนาทานา- ๓.กาเมสุมิจฺฉานารา- ๔.มุสาวาทา- ๕.สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา- (คำต่อท้ายเหมือนข้อ ๑); ดู อาราธนาศีล ด้วย
  40. ศีลพรต : ศีลและวัตร, ศีลและพรต, ข้อที่จะต้องสำรวมระวังไม่ล่วงละเมิด ชื่อว่าศีล ข้อที่พึงถือปฏิบัติชื่อว่า วัตร, หลักความประพฤติทั่วไป อันจะต้องรักษาเสมอกัน ชื่อว่า ศีล ข้อปฏิบัติพิเศษเพื่อฝึกฝนตนให้ยิ่งขึ้นไป ชื่อว่า วัตร
  41. ศีลวัตร : ศีลและวัตร, ศีลและพรต, ข้อที่จะต้องสำรวมระวังไม่ล่วงละเมิด ชื่อว่าศีล ข้อที่พึงถือปฏิบัติชื่อว่า วัตร, หลักความประพฤติทั่วไป อันจะต้องรักษาเสมอกัน ชื่อว่า ศีล ข้อปฏิบัติพิเศษเพื่อฝึกฝนตนให้ยิ่งขึ้นไป ชื่อว่า วัตร
  42. โศกศัลย์ : ลูกศรคือความโศก, เป็นทุกข์เดือดร้อนเหมือนถูกศรแทง
  43. สกทาคามิมรรค : ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผล คือความเป็นพระสกทาคามี, ญาณ คือความรู้เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง, สกิทาคามิมรรค ก็เขียน
  44. สงฆ์ : หมู่, ชุมนุม ๑.หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า เรียกว่า สาวกสงฆ์ ดังคำสวดในสังฆคุณ ประกอบด้วยคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ เริ่มแต่ท่านผู้ตั้งอยู่ใน โสดาปัตติมรรค จนถึงพระอรหันต์ ต่างจาก ภิกขุสงฆ์ คือ หมู่แห่งภิกษุหรือชุมนุมภิกษุ (ดูความหมาย ๒), ต่อมา บางทีเรียกอย่างแรกว่า อริยสงฆ์ อย่างหลังว่า สมมติสงฆ์ ๒.ชุมนุมภิกษุหมู่หนึ่งตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ซึ่งสามารถประกอบสังฆกรรมได้ตามกำหนดทางพระวินัย ต่างโดยเป็นสงฆ์จตุรวรรคบ้าง ปัญจวรรคบ้าง ทศวรรคบ้าง วีสติวรรคบ้าง
  45. สงสาร : ๑. การเวียนว่ายตายเกิด, การเวียนตายเวียนเกิด ๒.ในภาษาไทยมักหมายถึงรู้สึกในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น (= กรุณา)
  46. สดับปกรณ์ : “ ๗ คัมภีร์” หมายถึงคัมภีร์พระอภิธรรมทั้ง ๗ ในพระอภิธรรมปิฎก เขียนเต็มว่า สัตตัปปกรณ์ (ดู ในคำว่า ไตรปิฎก)แต่ในภาษาไทยคำนี้ความหมายกร่อนลงมา เป็นคำสำหรับใช้ในพิธีกรรม เรียกกิริยาที่พระภิกษุกล่าวคำพิจารณาสังขารเมื่อจะชักผ้าบังสุกุลในพิธีศพเจ้านายว่า สดับปกรณ์ ตรงกับที่เรียกในพิธีศพทั่วๆ ไปว่า บังสุกุล (ซึ่งก็เป็นศัพท์ที่มีความหมายกร่อนเช่นเดียวกัน), ใช้เป็นคำนาม หมายถึง พิธีสวดมาติกาบังสุกุลในงานศพ ปัจจุบันใช้เฉพาะศพเจ้านาย
  47. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ : ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, ทรงเป็นครูของบุคคลทั้งชั้นสูงและชั้นต่ำ, ทรงประกอบด้วยคุณสมบัติของครูและทรงทำหน้าที่ของครูเป็นอย่างดี คือทรงพร่ำสอนด้วยมหากรุณาหวังให้ผู้อื่นได้ความรู้อย่างแท้จริง, ทรงสอนมุ่งความจริงและประโยชน์เป็นที่ตั้ง ทรงแนะนำเวไนยสัตว์ด้วยประโยชน์ทั้งทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ และปรมัตถะ, ทรงรู้จริงและปฏิบัติด้วยพระองค์เองแล้ว จึงทรงสอนผู้อื่นให้รู้และปฏิบัติตาม ทรงทำกับตรัสเหมือนกัน ไม่ใช่ตรัสสอนอย่างหนึ่งทำอย่างหนึ่ง, ทรงฉลาดในวิธีสอน, และทรงเป็นผู้นำหมู่ดุจนายกองเกวียน (ข้อ ๗ ในพุทธคุณ ๙)
  48. สติปัฏฐาน : ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ, ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง, การมีสติกำกับดูสิ่งต่าง ๆ และความเป็นไปทั้งหลาย โดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส มี ๔ อย่างคือ ๑.กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันกายและเรื่องทางกาย ๒.เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันเวทนา, ๓.จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันจิตหรือสภาพและอาการของจิต ๔.ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันธรรม; เรียกสั้น ๆ ว่า กาย เวทนา จิต ธรรม
  49. สติวินัย : ระเบียบยกเอาสติขึ้นเป็นหลักได้แก่กิริยาที่สงฆ์สวดประกาศให้สมมติแก่พระอรหันต์ ว่าเป็นผู้มีสติเต็มที่ เพื่อระงับอนุวาทาธิกรณ์ ที่มีผู้โจทท่านด้วยศีลวิบัติ หมายความว่าจำเลยเป็นพระอรหันต์ สงฆ์เห็นว่าไม่เป็นฐานะที่จำเลยจะทำการล่วงละเมิดดังโจทก์กล่าวหา จึงสวดกรรมวาจาประกาศความข้อนี้ไว้ เรียกว่าให้สติวินัย แล้วยกฟ้องของโจทก์เสียภายหลังจำเลยจะถูกผู้อื่นโจทด้วยอาบัติอย่างนั้นอีก ก็ไม่ต้องพิจารณา ให้อธิกรณ์ระงับด้วยสติวินัย
  50. สภา : “ที่เป็นที่พูดร่วมกัน”, ที่ประชุม, สถาบันหรือองค์การอันประกอบด้วยคณะบุคคลซึ่งทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยหรืออำนวยกิจการ ด้วยการประชุมปรึกษาหารือออกความคิดเห็นร่วมกัน
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | [751-800] | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1078

(0.0569 sec)