Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความสามารถ, สามารถ, ความ .

Budhism Thai-Thai Dict : ความสามารถ, 1087 found, display 751-800
  1. วักกลิ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์ชาวพระนครสาวัตถีเรียนจบไตรเพทตามลัทธิพราหมณ์ บวชในพระพุทธศาสนา ด้วยความอยากเห็นพระรูปพระโฉมของพระศาสดา ครั้นบวชแล้วก็คอยติดตามดูพระองค์ตลอดเวลา จนไม่เป็นอันเจริญภาวนา พระพุทธเจ้าทรงรอเวลาให้ญาณของเธอสุกงอม ครั้นแล้วก็ตรัสเตือนเธอว่า “จะมีประโยชน์อะไรที่ได้เห็นกายเปื่อยเน่านี้ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา” ดังนี้เป็นต้น และทรงสอนต่อไปด้วยอุบายวิธีจนในที่สุดพระวักกลิก็ได้สำเร็จพระอรหัต และต่อมาได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะในทางศรัทธาวิมุต คือ หลุดพ้นด้วยศรัทธา
  2. วัจกุฎีวัตร : ข้อปฏิบัติอันภิกษุพึงกระทำในวัจกุฎี, ข้อปฏิบัติสำหรับภิกษุผู้ใช้ส้วม โดยย่อมี ๗ ข้อ คือ ใช้ตามลำดับผู้ไปถึง, รักษากิริยาในการจะเข้าจะออกให้สุภาพเรียบร้อยและไม่ทำเสียงดัง, รักษาบริขารคือจีวรของตน, รักษาตัวเช่นไม่เบ่งแรง ไม่ใช้สิ่งที่จะเป็นอันตราย, ไม่ทำกิจอื่นไปพลาง, ระวังไม่ทำสกปรก, ช่วยรักษาความสะอาด
  3. วัฏฏคามณีอภัย : ชื่อพระเจ้าแผ่นดินแห่งเกาะลังกาพระองค์หนึ่ง ครองราชย์ประมาณ พ.ศ.๕๑๕-๕๒๗ ถูกพวกทมิฬแย่งชิงราชสมบัติ เสด็จไปซ่อนพระองค์อยู่ในป่า และได้รบความช่วยเหลือจากพระเถระรูปหนึ่ง ต่อมาพระองค์กู้ราชสมบัติคืนมา ได้ทรงสร้างอภัยคีรีวิหารและอาราธนาพระเถระรูปนั้นมาอยู่ครอง กับทั้งได้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอีกเป็นอันมาก การสังคายนาครั้งที่ ๕ ที่จารึกพุทธพจน์ลงในใบลาน ก็จัดทำในรัชกาลนี้
  4. วัฏฏะ : การวนเวียน, การเวียนเกิด เวียนตาย, การเวียนว่ายตายเกิด, ความเวียนเกิด หรือวนเวียน ด้วยอำนาจกิเลสกรรม และวิบาก เช่นกิเลสเกิดขึ้นแล้วให้ทำกรรม เมื่อทำกรรมแล้วย่อมได้รับผลของกรรมเมื่อได้รับผลของกรรมแล้ว กิเลสก็เกิดอีกแล้วทำกรรม แล้วเสวยผลกรรมหมุนเวียนต่อไป ดู ไตรวัฏฏ์
  5. วัฑฒิ : หลักความเจริญ (ของอารยชน) ดู อริยวัฑฒิ
  6. วัฑฒิธรรม : หลักความเจริญ (ของอารยชน) ดู อริยวัฑฒิ
  7. วัณณมัจฉริยะ : ตระหนี่วรรณะ คือหวงผิวพรรณ ไม่พอใจให้คนอื่นสวยงาม หรือหวงคุณวัณณะ ไม่พอใจให้ใครมีคุณความดีมาแข่งตน (ข้อ ๔ ในมัจฉริยะ ๕)
  8. วัตถุวิบัติ : วิบัติโดยวัตถุ คือ บุคคลหรือวัตถุซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสังฆกรรมเสีย ใช้ไม่ได้ เช่น ในการอุปสมบท ผู้อุปสมบทอายุไม่ครบ ๒๐ ปี หรือมีเรื่องที่เป็นความผิดอย่างร้ายแรง เช่น ฆ่าบิดามารดา หรือเป็นปาราชิกเมื่อบวชเป็นภิกษุคราวก่อน หรือไปเข้ารีตเดียรถีย์ทั้งเป็นภิกษุ หรือเป็นสตรีดังนี้เป็นต้น
  9. วัตร : กิจพึงกระทำ, หน้าที่, ธรรมเนียม, ความประพฤติ, ข้อปฏิบัติ จำแนกออกเป็น กิจวัตร วาด้วยกิจที่ควรทำ (เช่น อุปัชฌายวัตร สัทธิวิหาริกวัตร อาคันตุกวัตร) ๑.จริยาวัตร ว่าด้วยมารยาทอันควรประพฤติ (เช่น ไม่ทิ้งขยะทางหน้าต่างหรือทิ้งลงนอกฝานอกกำแพง ไม่จับวัตถุอนามาส) ๑.วิธีวัตร ว่าด้วยแบบอย่างที่พึงกระทำ (เช่น วิธีเก็บบาตร วิธีพับจีวร วิธีเปิดปิดหน้าต่างตามฤดู วิธีเดินเป็นหมู่), วัตรส่วนมากมาในวัตตขันธกะ
  10. วัตรบท ๗ : หลักปฏิบัติ หรือข้อที่ถือปฏิบัติประจำ ๗ อย่าง ที่ทำให้มฆมาณพได้เป็นท้าวสักกะหรือพระอินทร์คือ ๑.มาตาเปติภโร เลี้ยงมารดาบิดา ๒.กุเลเชฏฺฐาปจายี เคารพผู้ใหญ่ในตระกูล ๓.สณฺหวาโจ หรือ เปสุเณยฺยปฺปหายี ไม่พูดส่อเสียด พูดสมานสามัคคี ๕.ทานสํวิภาครโต หรือ มจฺเฉรวินย ชอบเผื่อแผ่ให้ปัน ปราศจากความตระหนี่ ๖.สจฺจวาโจ มีวาจาสัตย์ ๗.อโกธโน หรือ โกธาภิกู ไม่โกรธ ระงับความโกรธได้
  11. วัตรปฏิบัติ : การปฏิบัติตามหน้าที่, การทำตามข้อปฏิบัติที่พึงกระทำเป็นประจำ, ความประพฤติที่เป็นไปตามขนบธรรมเนียมแห่งเพศ ภาวะหรือวิถีดำเนินชีวิตของตน
  12. วาชเปยะ : “วาจาดูดดื่มใจ”, “น้ำคำควรดื่ม”, ความรู้จักพูด รู้จักทักทายปราศรัย มีถ้อยคำสุภาพนุ่มนวล ประกอบด้วยเหตุผลมีประโยชน์ เป็นทางแห่งสามัคคี ทำให้เกิดความเข้าใจอันดี ความเชื่อถือและความนิยมนับถือ (ข้อ ๔ ในราชสังคหวัตถุ ๔)
  13. วาชไปยะ : “วาจาดูดดื่มใจ”, “น้ำคำควรดื่ม”, ความรู้จักพูด รู้จักทักทายปราศรัย มีถ้อยคำสุภาพนุ่มนวล ประกอบด้วยเหตุผลมีประโยชน์ เป็นทางแห่งสามัคคี ทำให้เกิดความเข้าใจอันดี ความเชื่อถือและความนิยมนับถือ (ข้อ ๔ ในราชสังคหวัตถุ ๔)
  14. วาสนา : อาการกายวาจา ที่เป็นลักษณะพิเศษของบุคคล ซึ่งเกิดจากกิเลสบางอย่าง และได้สั่งสมอบรมมาเป็นเวลานานจนเคยชินติดเป็นพื้นประจำตัว แม้จะละกิเลสนั้นได้แล้ว แต่ก็อาจจะละอาการกายวาจาที่เคยชินไม่ได้ เช่น คำพูดติดปาก อาการเดินที่เร็ว หรือเดินต้วมเตี้ยม เป็นต้น ท่านขยายความว่า วาสนา ที่เป็นกุศล ก็มี เป็นอกุศล ก็มี เป็นอัพยากฤต คือ เป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ก็มี ที่เป็นกุศลกับอัพยากฤตนั้น ไม่ต้องละ แต่ที่เป็นอกุศลซึ่งควรจะละนั้น แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่จะเป็นเหตุให้เกิดอาการแสดงออกทางกายวาจาแปลกๆ ต่างๆ ส่วนแรก พระอรหันต์ทุกองค์ละได้ พระอรหันต์อื่นละไม่ได้ จึงมีคำกล่าวว่า พระพุทธเจ้าเท่านั้นละกิเลสทั้งหมดได้ พร้อมทั้งวาสนา; ในภาษาไทย คำว่า วาสนา มีความหมายเพี้ยนไป กลายเป็นอำนาจบุญเก่า หรือกุศลที่ทำให้ได้รับลาภยศ
  15. วิกขัมภนวิมุตติ : พ้นด้วยข่มหรือสะกดไว้ ได้แก่ ความพ้นจากกิเลสและอกุศลธรรมได้ด้วยกำลังฌาน อาจสะกดไว้ได้นานกว่าตทังควิมุตติ แต่เมื่อฌานเสื่อมแล้ว กิเลสอาจเกิดขึ้นอีก จัดเป็นโลกิยวิมุตติ (ข้อ ๒ ในวิมุตติ ๕; ในบาลีเป็นข้อ ๑ ถึงชั้นอรรถกถา จึงกลายมาเป็นข้อ ๒)
  16. วิการ : 1.พิการ, ความแปรผัน, ความผิดแปลก, ผิดปกติ 2.ทำต่างๆ, ขยับเขยื้อน เช่น กวักมือ ดีดนิ้ว เป็นต้น
  17. วิจารณ์ : 1.พิจารณา, ไตร่ตรอง 2.สอบสวน, ตรวจตรา 3.คิดการ, กะการ, จัดเตรียม, จัดแจง, ดูแล, จัดดำเนินการ 4.ในภาษาไทย มักหมายถึง ติชม, แสดงความคิดเห็นในเชิงตัดสินคุณค่า ชี้ข้อดีข้อด้อย
  18. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน : ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ประกอบด้วยวิชชา ๓ หรือวิชชา ๘ และจรณะ ๑๕ อันเป็นปฏิปทาเครื่องบรรลุวิชชานั้น, มีความรู้ประเสริฐ ความประพฤติประเสริฐ (ข้อ ๓ ในพุทธคุณ ๙)
  19. วิญญัติ : 1.การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมาย, การสื่อความหมาย มี ๒ คือ ๑.กายวิญญัติ การให้รู้ความหมายด้วยกาย เช่น พยักหน้า กวักมือ ๒.วจีวิญญัติ การให้รู้ความหมายด้วยวาจา คือพูด หรือบอกกล่าว 2.การออกปากขอของ ต่อคนไม่ควรขอ หมายถึงภิกษุขอสิ่งของต่อคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ ผู้ไม่ใช่คนปวารณา
  20. วิญญาณธาตุ : ธาตุรู้, ความรู้แจ้ง, ความรู้อะไรได้ (ข้อ ๖ ในธาตุ ๖)
  21. วินัย : ระเบียบแบบแผนสำหรับฝึกฝนควบคุมความประพฤติของบุคคลให้มีชีวิตที่ดีงามเจริญก้าวหน้าและควบคุมหมู่ชนให้อยู่ร่วมกันด้วยความสงบเรียบร้อยดีงาม, ประมวลบทบัญญัติข้อบังคับสำหรับฝึกฝนควบคุมความประพฤติ; วินัย มี ๒ อย่างคือ ๑.อนาคาริยวินัย วินัยของผู้ไม่ครองเรือน คือ วินัยของบรรพชิต หรือวินัยของพระสงฆ์ ได้แก่ การไม่ต้องอาบัติทั้ง ๗ หรือ ปาริสุทธิศีล ๔ ๒.อาคาริยวินัย วินัยของผู้ครองเรือน คือ วินัยของชาวบ้าน ได้แก่ การงดเว้นจากอกุศลกรรมบถ ๑๐ หรือ กุศลกรรมบท ๑๐
  22. วินิจฉัย : ไตร่ตรอง, ใคร่ครวญ, ชี้ขาด, ตัดสิน, ชำระความ
  23. วิปจิตัญญู : ผู้อาจรู้ธรรมต่อเมื่อท่านอธิบายความแห่งหัวข้อนั้น, รู้ต่อเมื่อขยายความ (ข้อ ๒ ในบุคคล ๔)
  24. วิปัสสนาญาณ : ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนามี ๙ อย่าง คือ ๑.อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป ๒.ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา ๓.ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว ๔.อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นโทษ ๕.นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นด้วยความหน่าย ๖.มุจจิตุกัมยตาญาณ ญาณหยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย ๗.ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง ๘.สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร ๙.สัจจานุโลมิกญาณ ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจ
  25. วิปัสสนาปัญญา : ปัญญาที่ถึงขั้นเป็นวิปัสสนา, ปัญญาที่ใช้ในการเจริญวิปัสสนา คือ ปัญญาที่พิจารณาเข้าใจสังขารตามความเป็นจริง
  26. วิปัสสนูปกิเลส : อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา, สภาพน่าชื่นชมแต่ที่แท้เป็นโทษเครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนาซึ่งเกิดแก่ผู้ได้วิปัสสนาอ่อนๆ ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว จึงไม่ดำเนินก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ มี ๑๐ คือ ๑.โอภาส แสงสว่าง ๒.ปีติ ความอิ่มใจ ๓.ญาณ ความรู้ ๔.ปัสสัทธิ ความสงบกายและจิต ๕.สุข ความสบายกาย สบายจิต ๖.อธิโมกข์ ความน้อมใจเชื่อ ๗.ปัคคาหะ ความเพียรที่พอดี ๘.อุปัฏฐาน สติชัด ๙.อุเบกขา ความวางจิตเป็นกลาง ๑๐.นิกันติ ความพอใจ
  27. วิปากทุกข์ : ทุกข์ที่เป็นผลของกรรมชั่ว เช่น ถูกลงอาชญาได้รับความทุกข์หรือตกอบาย หรือเกิดวิปฏิสารคือเดือดร้อนใจ
  28. วิภังค์ : 1.(ในคำว่า “วิภังคแห่งสิกขาบท”) คำจำแนกความแห่งสิกขาบทเพื่ออธิบายแสดงความหมายให้ชัดขึ้น; ท่านใช้เป็นชื่อเรียกคัมภีร์ที่จำแนกความเช่นนั้นในพระวินัยปิฎกว่าคัมภีร์วิภังค์ คือ คัมภีร์จำแนกความสิกขาบทในภิกขุปาฏิโมกข์ เรียกว่ามหาวิภังค์ หรือ ภิกขุวิภังค์ คัมภีร์จำแนกความสิกขาบท ในภิกขุนีปาฏิโมกข์เรียกว่าภิกขุนีวิภังค์ เป็นหมวดต้นแห่งพระวินัยปิฎก 2.ชื่อคัมภีร์ที่ ๒ แห่งพระอภิธรรมปิฎก ที่อธิบายจำแนกความแห่งหลักธรรมสำคัญเช่น ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ปัจจยาการ เป็นต้น ให้ชัดเจนจบไปทีละเรื่องๆ
  29. วิภัชชวาที : “ผู้กล่าวจำแนก”, “ผู้แยกแยะพูด”, เป็นคุณบทคือคำแสดงคุณลักษณะอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า หมายความว่า ทรงแสดงธรรมแยกแจกแจงออกไป ให้เห็นว่า สิ่งทั้งหลายเกิดจากส่วนประกอบย่อยๆ มาประชุมกันเข้าอย่างไร เช่น แยกแยะกระจายนามรูปออกเป็นขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ เป็นต้น สิ่งทั้งหลายมีด้านที่เป็นคุณและด้านที่เป็นโทษอย่างไร เรื่องนั้นๆ มีข้อจริงข้อเท็จอะไรบ้าง การกระทำอย่างนั้นๆ มีแง่ถูกแง่ผิดแง่ที่ดีและแง่ไม่ดีประการใด เป็นต้น เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจสิ่งนั้นเรื่องนั้นอย่างชัดเจน มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริง เช่นมองเห็นความเป็นอนัตตา เป็นต้น ไม่มองอย่างตีคลุมหรือเห็นแต่ด้านเดียวแล้วยึดติดในทิฏฐิต่างๆ อันทำให้ไม่เข้าถึงความจริงแท้ตามสภาวะ
  30. วิมุตติญาณทัสสนกถา : ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดความรู้ความเห็นในความที่ใจพ้นจากกิเลส (ข้อ ๑๐ ในกถาวัตถุ ๑๐)
  31. วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ : กองวิมุตติญาณทัสสนะ, หมวดธรรมว่าด้วยความรู้ความเห็นว่า จิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ เช่น ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ (ข้อ ๕ ในธรรมขันธ์ ๕)
  32. วิมุตติสุข : สุขเกิดแต่ความหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะและปวงทุกข์
  33. วิริยารัมภกถา : ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร (ข้อ ๕ ในกถาวัตถุ ๑๐)
  34. วิริยารัมภะ : ปรารภความเพียร คือลงมือทำความเพียรอย่างเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว, ระดมความเพียร (ขอ ๔ ในเวสารัชชกรณธรรม ๕, ข้อ ๗ ในลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘, ข้อ ๕ ในสัทธรรม ๗, ข้อ ๗ ในนาถกรณธรรม ๑๐)
  35. วิวาทมูล : รากเหง้าแห่งการเถียงกัน, เหตุที่ก่อให้เกิดวิวาท กลายเป็นวิวาทาธิกรณ์ขึ้น มี ๒ อย่าง คือ ๑.ก่อวิวาทขึ้นด้วยความปรารถนาดี เห็นแก่ธรรมวินัย มีจิตประกอบด้วยอโลภะ อโทสะ อโมหะ ๒.ก่อวิวาทด้วยความปรารถนาเลว ทำด้วยทิฏฐิมานะ มีจิตประกอบด้วยโลภะ โทสะ โมหะ
  36. วิสสาสะ : 1.ความคุ้นเคย, ความสนิทสนม การถือว่าเป็นกันเอง, ในทางพระวินัย การถือเอาของของผู้อื่นที่จัดว่าเป็นการถือวิสสาสะ มีองค์ ๓ คือ ๑.เคยเห็นกันมา เคยคบกันมา หรือได้พูดกันไว้ ๒.เจ้าของยังมีชีวิตอยู่ ๓.รู้ว่าของนั้นเราถือเอาแล้ว เขาจักพอใจ, บัดนี้นิยมเขียน วิสาสะ 2.ความนอนใจ ดังพุทธดำรัสว่า “ภิกษุเธอยังไม่ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว อย่าได้ถึง วิสสาสะ (ความนอนใจ)”
  37. วิสัญญี : หมวดความรู้สึก, สิ้นสติ, สลบ
  38. วิสุทธิเทพ : เทวดาโดยความบริสุทธิ์ ได้แก่ พระอรหันต์ (ข้อ ๓ ในเทพ ๓)
  39. วิสุทธิอุโบสถ : อุโบสถที่ประกอบด้วยความบริสุทธิ์ หรืออุโบสถที่ทำโดยที่ประชุมสงฆ์ซึ่งมีความบริสุทธิ์ หมายถึง การทำอุโบสถซึ่งที่ประชุมมีแต่พระอรหันต์ล้วนๆ เช่น กล่าวถึงการประชุมพระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป คราวจาตุรงคสันนิบาต ว่าทำวิสุทธิอุโบสถ
  40. วุฏฐานคามินี : 1.วิปัสสนาที่ให้ถึงมรรค, วิปัสสนาที่เจริญแก่กล้าถึงจุดสุดยอด ทำให้เข้าถึงมรรค (มรรคชื่อว่าวุฏฐานะ โดยความหมายว่าเป็นที่ออกไปได้จากสิ่งที่ยึดติดถือมน หรืออกไปพ้นจากสังขาร), วิปัสสนาที่เชื่อมต่อให้ถึงมรรค 2.“อาบัติที่ให้ถึงวุฏฐานวิธี” คือ อาบัติที่จะพ้นได้ด้วยอยู่กรรม หมายถึงอาบัติสังฆาทิเสส, คู่กับเทสนาคามินี คืออาบัติที่พ้นได้ด้วยการแสดง (ตั้งแต่ถุลลัจจัยลงมา)
  41. วุฏฐานสมมติ : มติอนุญาตให้ออกจากความเป็นสิกขมานาเพื่ออุปสมบทเป็นภิกษุณี, นางสิกขมานาผู้สมาทานสิกขาบท ๖ ข้อ ตั้งแต่ปาณาติปาตา เวรมณี ถึงวิกาลโภชนา เวรมณี โดยมิได้ขาด ครบเวลา ๒ ปีแล้ว จึงมีสิทธิขอวุฏฐานสมมติ เพื่ออุปสมบทเป็นภิกษุณีต่อไป
  42. วุฑฒิ : ธรรมเป็นเครื่องเจริญ, ธรรมเป็นเหตุให้ถึงความเจริญ มี ๔ อย่าง คือ ๑.สัปปุริสสังเสวะ คบหาสัตบุรุษ ๒.สัทธัมมัสสวนะ ฟังสัทธรรม ๓.โยนิโสมนสิการ ทำในใจโดยแยบคาย ๔.ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม, เรียกและเขียนเป็นวุฒิบ้าง วุฑฒิธรรมบ้าง วุฒิธรรมบ้าง, ในบาลีเรียกว่า ธรรมที่เป็นไปเพื่อปัญญาวุฑฒิ หรือ ปัญญาวุฒิ คือ เพื่อความเจริญแห่งปัญญา
  43. เวทนานุปัสสนา : สติตามดูเวทนา คือ ความรู้สึกสุขทุกข์และไม่สุขไม่ทุกข์เป็นอารมณ์โดยรู้เท่าทันว่า เวทนานี้ ก็สักว่าเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา (ข้อ ๒ ในสติปัฏฐาน ๔)
  44. เวทมนตร์ : คำที่เชื่อถือว่าศักดิ์สิทธิ์ บริกรรมแล้วให้สำเร็จความประสงค์
  45. เวสารัชชกรณธรรม : ธรรมทำความกล้าหาญ, ธรรมเป็นเหตุให้กล้าหาญ, คุณธรรมที่ทำให้เกิดความแกล้วกล้า มี ๕ อย่าง คือ ๑.ศรัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ ๒.ศีล มีความประพฤติดีงาม ๓.พาหุสัจจะ ได้สดับหรือศึกษามาก ๔.วิริยารัมภะ เพียรทำกิจอยู่อย่างจริงจัง ๕.ปัญญา รู้รอบและรู้ชัดเจนในสิ่งที่ควรรู้
  46. เวสารัชชญาณ : พระปรีชาญาณอันทำให้พระพุทธเจ้าทรงมีความแกล้วกล้าไม่ครั่นคร้าม ด้วยไม่ทรงเห็นว่าจะมีใครท้วงพระองค์ได้โดยชอบธรรม ในฐานะทั้ง ๔ คือ ๑.ท่านปฏิญญาว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ ท่านยังไม่รู้แล้ว ๒.ท่านปฏิญญาว่าเป็นขีณาสพ อาสวะนี้ของท่านยังไม่สิ้นแล้ว ๓.ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่อาจทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง ๔.ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็นทางนำผู้ทำตามให้ถึงความสิ้นทุกข์ โดยชอบได้จริง
  47. ไวพจน์ : คำที่มีรูปต่างกันแต่มีความหมายคล้ายกัน, คำสำหรับเรียกแทนกัน เช่น คำว่า มทนิมฺมทโน เป็นต้น เป็นไวพจน์ของ วิราคะ คำว่า วิมุตติ วิสุทธิ สันติ อสังขตะ วิวัฏฏ์ เป็นต้น เป็นไวพจน์ของนิพพาน ดังนี้เป็นต้น
  48. ไวยากรณ์ : 1.ระเบียบของภาษา, วิชาว่าด้วยระเบียบแห่งภาษา 2.คำหรือข้อความที่เป็นร้อยแก้ว, ความร้อยแก้ว ดู นวังคสัตถุศาสน์
  49. ศักดิ์สิทธิ์ : ขลัง, มีความสำเร็จตามอำนาจ
  50. ศาสนา : คำสอน, คำสั่งสอน; ปัจจุบันใช้หมายถึงลัทธิความเชื่อถืออย่างหนึ่งๆ พร้อมด้วยหลักคำสอน ลัทธิพิธี องค์การ และกิจการทั่วไปของหมู่ชนผู้นับถือลัทธิความเชื่อถืออย่างนั้นๆ ทั้งหมด
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | [751-800] | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1087

(0.0489 sec)