Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นลำดับ, ลำดับ, เป็น , then ปน, เป็น, เป็นลำดับ, ลำดับ .

Budhism Thai-Thai Dict : เป็นลำดับ, 1607 found, display 1051-1100
  1. เวฬุวคาม : ชื่อตำบลหนึ่งใกล้นครเวสาลี แคว้นวัชชี เป็นที่พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาในพรรษาที่ ๔๕ นับแต่ได้ตรัสรู้ คือพรรษาสุดท้ายที่จะเสด็จปรินิพพาน; เพฬุวคาม ก็เรียก
  2. เวฬุวัน : ป่าไผ่ สวนที่ประพาสพักผ่อนของพระเจ้าพิมพิสาร อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากพระนครราชคฤห์ เป็นที่ร่มรื่นสงบเงียบ มีทางไปมาสะดวก พระเจ้าพิมพิสารถวายเป็นสังฆาราม นับเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา
  3. ไวพจน์ : คำที่มีรูปต่างกันแต่มีความหมายคล้ายกัน, คำสำหรับเรียกแทนกัน เช่น คำว่า มทนิมฺมทโน เป็นต้น เป็นไวพจน์ของ วิราคะ คำว่า วิมุตติ วิสุทธิ สันติ อสังขตะ วิวัฏฏ์ เป็นต้น เป็นไวพจน์ของนิพพาน ดังนี้เป็นต้น
  4. ไวยากรณ์ : 1.ระเบียบของภาษา, วิชาว่าด้วยระเบียบแห่งภาษา 2.คำหรือข้อความที่เป็นร้อยแก้ว, ความร้อยแก้ว ดู นวังคสัตถุศาสน์
  5. ศรีอารยเมตไตรย : พระนามของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ซึ่งจะอุบัติขึ้นในภายหน้า หลังจากสิ้นศาสนาพระโคดมแล้ว ในคราวที่มนุษย์มีอายุยืน ๘๐,๐๐๐ ปี นับเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ ๕ แห่งภัทรกัปนี้ ดู พระพุทธเจ้า
  6. ศักดินา : อำนาจปกครองที่นา หมายความว่า พระมหากษัตริย์พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เจ้านาย และขุนนางเป็นต้น ถือนาได้มีกำหนดจำนวนไร่ เป็นเรือนหมื่นเรือนพันตามฐานานุรูป การพระราชทานให้ถือศักดินานั้น เป็นเครื่องเทียบยศและเป็นเครื่องปรับผู้ก้ำเกิน หรือเป็นเครื่องปรับผู้ถือศักดินานั่นเอง เมื่อทำผิด
  7. ศัสตรา : ของมีคมเป็นเครื่องแทงฟัน
  8. ศัสตราวุธ : อาวุธมีคมเป็นเครื่องฟันแทง (ศัสตรา = ของมีคมเป็นเครื่องฟันแทง, อาวุธ = เครื่องประหาร)
  9. ศากยะ : ชื่อกษัตริย์พวกหนึ่ง ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าโอกกากราช ซึ่งเป็นผู้สร้างและครองกรุงกบิลพัสดุ์ พระพุทธเจ้าก็เป็นกษัตริย์วงศ์นี้; ศากยะ เป็นคำสันสกฤต เรียกอย่างบาลีเป็น สักกะบ้าง, สักยะบ้าง, สากิยะบ้าง, ศากยะ หรือสักกะนี้ ใช้เป็นคำเรียกชื่อถิ่นหรือแคว้นของพวกเจ้าศากยะด้วย ดู สักกชนบท
  10. ศาสดา : ผู้อบรมสั่งสอน, เป็นพระนามอย่างหนึ่งที่ใช้เรียกพระพุทธเจ้า; ปัจจุบันใช้เรียกพระพุทธเจ้า; ปัจจุบันใช้เรียกผู้ตั้งศาสนาโดยทั่วไป, ในพุทธกาล ครูทั้ง ๖ คือ ปูรณกัสสป มักขลิโคสาล อชิตเกสกัมพล ปกุธกัจจายนะ สัญชัยเวลัฏฐบุตร และนิครนถนาฏบุตร ถ้าเรียกตามบาลีก็เป็นศาสดา ๖
  11. ศิลปศาสตร์ : ตำราว่าด้วยวิชาความรู้ต่างๆ มี ๑๘ ประการ เช่นตำราว่าด้วยการคำนวณ ตำรายิงธนู เป็นต้น อันได้มีการเรียนการสอนกันมาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล; ๑๘ ประการนั้น มีหลายแบบ ยกมาดูแบบหนึ่งจากคัมภีร์โลกนิติ และธรรมนิติ ได้แก่ ๑.สูติ ความรู้ทั่วไป ๒.สัมมติ ความรู้กฎธรรมเนียม ๓.สังขยา คำนวณ ๔.โยคยันตร์ การช่างการยนตร์ ๕.นีติ นิติศาสตร์ ๖.วิเสสิกา ความรู้การอันให้เกิดมงคล ๗.คันธัพพา วิชาร้องรำ ๘.คณิกา วิชาบริหารร่างกาย ๙.ธนุพเพธา วิชายิงธนู ๑๐.ปุราณา โบราณคดี ๑๑.ติกิจฉา วิชาแพทย์ ๑๒.อิติหาสา ตำนานหรือประวัติศาสตร์ ๑๓.โชติ ดาราศาสตร์ ๑๔.มายา ตำราพิชัยสงคราม ๑๕.ฉันทสา การประพันธ์ ๑๖.เกตุ วิชาพูด ๑๗.มันตา วิชามนต์ ๑๘.สัททา วิชาไวยากรณ์, ทั้ง ๑๘ อย่างนี้โบราณเรียกรวมว่า สิปปะ หรือศิลปะ ไทยแปลออกเป็น ศิลปศาสตร์ (ตำราว่าด้วยศิลปะต่างๆ); แต่ในสมัยปัจจุบัน ได้แยกความหมายศิลปะ กับ ศาสตร์ ออกจากกัน คือ ศิลปะ หมายถึง วิทยาการที่มีวัตถุประสงค์ตรง ความงาม เช่น ดุริยางคศิลป์ นาฏศิลป์ และจิตรกรรม เป็นต้น ศาสตร์ หมายถึง วิทยาการที่มีวัตถุประสงค์ตรงความจริง เช่น คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
  12. ศิลาดาด : หินที่เป็นแผ่นราบใหญ่
  13. ศิลาเทือก : หินที่ติดเป็นพืดยาว
  14. ศิวาราตรี : พิธีลอยบาปของพราหมณ์ ทำในวันเพ็ญเดือน ๓ เป็นประจำปี วิธีทำคือ ลงอาบน้ำในแม่น้ำ สระเกล้า ชำระร่างกายให้สะอาดหมดจด เท่านี้ถือว่าได้ลอยบาปไปตามกระแสน้ำแล้ว เป็นอันสิ้นบาปกันคราวหนึ่ง ถึงปีก็ทำใหม่ (คำสันสกฤตเดิมเป็นศิวราตริ แปลว่า ราตรีของพระศิวะ พจนานุกรมสันสกฤตว่า ตรงกับแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๓)
  15. ศีล : ความประพฤติดีทางกายและวาจา, การรักษากายและวาจาให้เรียบร้อย, ข้อปฏิบัติสำหรับควบคุมกายและวาจา ให้ตั้งอยู่ในความดีงาม, การรักษาปกติตามระเบียบวินัย, ปกติมารยาทที่สะอาดปราศจากโทษ, ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว, ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น, ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีพ; มักใช้เป็นคำเรียกอย่างง่ายสำหรับคำว่า อธิศีลสิกขา
  16. ศีล ๕ : สำหรับทุกคน คือ ๑.เว้นจากทำลายชีวิต ๒.เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้ ๓.เว้นจากประพฤติผิดในกาม ๔.เว้นจากพูดเท็จ ๕.เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท; คำสมาทานว่า ๑.ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ๒.อทินนาทานา- ๓.กาเมสุมิจฺฉานารา- ๔.มุสาวาทา- ๕.สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา- (คำต่อท้ายเหมือนข้อ ๑); ดู อาราธนาศีล ด้วย
  17. ศีล ๘ : สำหรับฝึกตนให้ยิ่งขึ้นไปโดยรักษาในบางโอกาส หรือมีศรัทธาจะรักษาประจำก็ได้ เช่น แม่ชีมักรักษาประจำ หัวข้อเหมือนศีล ๕ แต่เปลี่ยนข้อ ๓ และเติมข้อ ๖-๗-๘ คือ ๓.เว้นจากประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือเว้นจากร่วมประเวณี ๖.เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือเที่ยงแล้วไป ๗.เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ การทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเคลื่องลูบไล้ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง ๘.เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่ หรูหราฟุ่มเฟือย; คำสมาทาน (เฉพาะที่ต่างจากศีล ๕) ว่า ๓.อพฺรหฺมจริยา- ๖.วิกาลโภชนา- ๗.นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา มาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา- ๘.อุจฺจาสยนมหาสยนา- (คำต่อท้ายเหมือนข้อ ๑ ในศีล ๕); ดู อาราธนาศีล ด้วย
  18. ศีลธรรม : ความประพฤติดีงามทางกาย วาจา, ความประพฤติที่ดีที่ชอบ, ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีวะ; โดยทางศัพท์ ศีลธรรม แปลว่า ธรรมคือศีล หมายถึง ธรรมขั้นศีล หรือธรรมในระดับศีล เพราะศีลเป็นธรรมอย่างหนึ่ง ในบรรดาธรรมภาคปฏิบัติ ๓ อย่าง คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ดังนั้นต่อจากธรรมขั้นศีล จึงมีธรรมขั้นสมาธิ และธรรมขั้นปัญญา; ได้มีผู้พยายามแปลศีลธรรม อีกอย่างหนึ่งว่า ศีลและธรรม (ถ้าแปลให้ถูกต้องจริงต้องว่าศีลและธรรมอื่นๆ คือศีลและธรรมอื่นๆ นอกจากศีล เช่น สมาธิ และปัญญา เป็นต้น เพราะศีลก็เป็นธรรมอย่างหนึ่ง) ถ้าแปลอย่างนี้ จะต้องเข้าใจว่า ศีลธรรม มิใช่เป็นเพียงความประพฤติดีงามเท่านั้น แต่รวมถึง สมถะวิปัสสนา ขันธ์ ๕ ปฏิจจสมุปบาท ไตรลักษณ์ เป็นต้นด้วย
  19. ศูทร : ชื่อวรรณะที่ ๔ ในวรรณะ ๔ ของคนในชมพูทวีป ตามหลักศาสนาพราหมณ์ จัดเป็นชนชั้นต่ำ ได้แก่ พวกทาสและกรรมการ ดู วรรณะ
  20. เศวตฉัตร : ฉัตรขาว, ร่มขาว, พระกลดขาวซึ่งนับว่าเป็นของสูง
  21. โศกศัลย์ : ลูกศรคือความโศก, เป็นทุกข์เดือดร้อนเหมือนถูกศรแทง
  22. โศกาลัย : ความเศร้าเหี่ยวแห้งใจและความห่วงใย, ทั้งโศกเศร้าทั้งอาลัยหรือโศกเศร้าด้วยอาลัย, ร้องไห้สะอึกสะอื้น (เป็นคำกวีไทยผูกขึ้น)
  23. สกทาคามิมรรค : ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผล คือความเป็นพระสกทาคามี, ญาณ คือความรู้เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง, สกิทาคามิมรรค ก็เขียน
  24. สกสัญญา : ความสำคัญว่าเป็นของตน, นึกว่าเป็นของตนเอง
  25. สงกรานต์ : การย้าย คือ ดวงอาทิตย์ย้ายราศี ในที่นี้หมายถึงมหาสงกรานต์ คือพระอาทิตย์ย้ายเข้าสู่ราศีเมษ นับเป็นเวลาขึ้นปีใหม่อย่างเก่า จัดเป็นนักขัตฤกษ์ ซึ่งตามสุริยคติตกวันที่ ๑๓, ๑๔, ๑๕ เมษายน ตามปกติ (ส.สงฺกฺรานฺติ)
  26. สงคราม : การรบกัน, เป็นโวหารทางพระวินัย เรียกภิกษุผู้จะเข้าสู่การวินิจฉัยอธิกรณ์ ว่าเข้าสู่สงคราม
  27. สงฆ์ : หมู่, ชุมนุม ๑.หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า เรียกว่า สาวกสงฆ์ ดังคำสวดในสังฆคุณ ประกอบด้วยคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ เริ่มแต่ท่านผู้ตั้งอยู่ใน โสดาปัตติมรรค จนถึงพระอรหันต์ ต่างจาก ภิกขุสงฆ์ คือ หมู่แห่งภิกษุหรือชุมนุมภิกษุ (ดูความหมาย ๒), ต่อมา บางทีเรียกอย่างแรกว่า อริยสงฆ์ อย่างหลังว่า สมมติสงฆ์ ๒.ชุมนุมภิกษุหมู่หนึ่งตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ซึ่งสามารถประกอบสังฆกรรมได้ตามกำหนดทางพระวินัย ต่างโดยเป็นสงฆ์จตุรวรรคบ้าง ปัญจวรรคบ้าง ทศวรรคบ้าง วีสติวรรคบ้าง
  28. สจิตตกะ : มีเจตนา, เป็นไปโดยตั้งใจ, เป็นชื่อของอาบัติพวกหนึ่งที่เกิดขึ้นโดยสมุฏฐานมีเจตนา คือ ต้องจงใจทำจึงจะต้องอาบัตินั้น เช่น ภิกษุหลอนภิกษุให้กลัวผี ต้องปาจิตตีย์ ข้อนี้เป็นสจิตตกะ คือ ตั้งใจหลอกจึงต้องปาจิตตีย์ แต่ถ้าไม่ได้ตั้งใจจะหลอก ไม่ต้องอาบัติ
  29. สดับปกรณ์ : “ ๗ คัมภีร์” หมายถึงคัมภีร์พระอภิธรรมทั้ง ๗ ในพระอภิธรรมปิฎก เขียนเต็มว่า สัตตัปปกรณ์ (ดู ในคำว่า ไตรปิฎก)แต่ในภาษาไทยคำนี้ความหมายกร่อนลงมา เป็นคำสำหรับใช้ในพิธีกรรม เรียกกิริยาที่พระภิกษุกล่าวคำพิจารณาสังขารเมื่อจะชักผ้าบังสุกุลในพิธีศพเจ้านายว่า สดับปกรณ์ ตรงกับที่เรียกในพิธีศพทั่วๆ ไปว่า บังสุกุล (ซึ่งก็เป็นศัพท์ที่มีความหมายกร่อนเช่นเดียวกัน), ใช้เป็นคำนาม หมายถึง พิธีสวดมาติกาบังสุกุลในงานศพ ปัจจุบันใช้เฉพาะศพเจ้านาย
  30. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ : ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, ทรงเป็นครูของบุคคลทั้งชั้นสูงและชั้นต่ำ, ทรงประกอบด้วยคุณสมบัติของครูและทรงทำหน้าที่ของครูเป็นอย่างดี คือทรงพร่ำสอนด้วยมหากรุณาหวังให้ผู้อื่นได้ความรู้อย่างแท้จริง, ทรงสอนมุ่งความจริงและประโยชน์เป็นที่ตั้ง ทรงแนะนำเวไนยสัตว์ด้วยประโยชน์ทั้งทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ และปรมัตถะ, ทรงรู้จริงและปฏิบัติด้วยพระองค์เองแล้ว จึงทรงสอนผู้อื่นให้รู้และปฏิบัติตาม ทรงทำกับตรัสเหมือนกัน ไม่ใช่ตรัสสอนอย่างหนึ่งทำอย่างหนึ่ง, ทรงฉลาดในวิธีสอน, และทรงเป็นผู้นำหมู่ดุจนายกองเกวียน (ข้อ ๗ ในพุทธคุณ ๙)
  31. สติปัฏฐาน : ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ, ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง, การมีสติกำกับดูสิ่งต่าง ๆ และความเป็นไปทั้งหลาย โดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส มี ๔ อย่างคือ ๑.กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันกายและเรื่องทางกาย ๒.เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันเวทนา, ๓.จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันจิตหรือสภาพและอาการของจิต ๔.ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันธรรม; เรียกสั้น ๆ ว่า กาย เวทนา จิต ธรรม
  32. สติวินัย : ระเบียบยกเอาสติขึ้นเป็นหลักได้แก่กิริยาที่สงฆ์สวดประกาศให้สมมติแก่พระอรหันต์ ว่าเป็นผู้มีสติเต็มที่ เพื่อระงับอนุวาทาธิกรณ์ ที่มีผู้โจทท่านด้วยศีลวิบัติ หมายความว่าจำเลยเป็นพระอรหันต์ สงฆ์เห็นว่าไม่เป็นฐานะที่จำเลยจะทำการล่วงละเมิดดังโจทก์กล่าวหา จึงสวดกรรมวาจาประกาศความข้อนี้ไว้ เรียกว่าให้สติวินัย แล้วยกฟ้องของโจทก์เสียภายหลังจำเลยจะถูกผู้อื่นโจทด้วยอาบัติอย่างนั้นอีก ก็ไม่ต้องพิจารณา ให้อธิกรณ์ระงับด้วยสติวินัย
  33. สถูป : สิ่งก่อสร้างซึ่งก่อไว้สำหรับบรรจุของควรบูชา เป็นอนุสรณ์ที่เตือนใจให้เกิดปสาทะและกุศลธรรมอื่น ๆ เช่น พระบรมสารีริกธาตุ อัฐิแห่งพระสาวกหรือกระดูกแห่งบุคคลที่นับถือ (บาลี : ถูป, สันสกฤต : สตูป) ดู ถูปารหบุคคล
  34. สทารสันโดษ : ความพอใจด้วยภรรยาของตน, ความยินดีเฉพาะภรรยาของตน (ข้อ ๓ ในเบญจธรรม), จัดเป็นพรหมจรรย์อย่างหนึ่ง
  35. สปิณฑะ : ผู้ร่วมก้อนข้าว, พวกพราหมณ์หมายเอาบุรพบิดร ๓ ชั้น คือ บิดา, ปู่, ทวด ซึ่งเป็นผู้ควรที่ลูกหลานแหลนจะเซ่นด้วยก้อนข้าว
  36. สภา : “ที่เป็นที่พูดร่วมกัน”, ที่ประชุม, สถาบันหรือองค์การอันประกอบด้วยคณะบุคคลซึ่งทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยหรืออำนวยกิจการ ด้วยการประชุมปรึกษาหารือออกความคิดเห็นร่วมกัน
  37. สภาพ : ความเป็นเอง, สิ่งที่เป็นเอง, ธรรมดา
  38. สภาวทุกข์ : ทุกข์ที่เป็นเองตามคติแห่งธรรมดา ได้แก่ ทุกข์ประจำสังขาร คือ ชาติ ชรา มรณะ
  39. สภาวธรรม : หลักแห่งความเป็นเอง, สิ่งที่เป็นเองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย
  40. สภาวะ : ความเป็นเอง, สิ่งที่เป็นเอง, ธรรมดา
  41. สภิยะ : พระเถระผู้ใหญ่ชั้นมหาสาวก เคยเป็นปริพพาชกมาก่อน ได้ฟังพระพุทธเจ้าพยากรณ์ปัญหาที่ตนถาม มีความเลื่อมใส ขอบวช หลังจากบวชแล้ว ไม่ช้าก็ได้บรรลุพระอรหัต
  42. สมชีวิตา : มีความเป็นอยู่พอเหมาะพอดี คือเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้ ไม่ฝืดเคืองนัก ไม่ฟูมฟายนัก (ข้อ ๔ ในทิฏฐธัมมิกัตถะ)
  43. สมณพราหมณ์ : สมณะและพราหมณ์ (เคยมีการสันนิษฐานว่าอาจแปลได้อีกอย่างหนึ่งว่า พราหมณ์ผู้เป็นสมณะหรือพราหมณ์ผู้ถือบวช แต่หลักฐานไม่เอื้อ)
  44. สมณวิสัย : วิสัยของสมณะ, ลักษณะที่เป็นอยู่ของสมณะ, ลักษณะที่เป็นอยู่ของผู้สงบ
  45. สมณสัญญา : ความสำคัญว่าเป็นสมณะ, ความกำหนดใจไว้ว่าตนเป็นสมณะ, ความสำนึกในความเป็นสมณะของตน
  46. สมณะ : ผู้สงบ หมายถึงนักบวชทั่วไปแต่ในพระพุทธศาสนา ท่านให้ความหมายจำเพาะ หมายถึงผู้ระงับบาป ได้แก่ พระอริยบุคคล และผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อระงับบาป ได้แก่ผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นพระอริยบุคคล
  47. สมถภาวนา : การเจริญสมถกัมมัฏฐานทำจิตให้แน่วแน่เป็นสมาธิ ดู ภาวนา
  48. สมถยานิก : ผู้มีสมถะเป็นยาน หมายถึง ผู้เจริญสมถกรรมฐาน จนได้ฌานก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนาต่อ
  49. สมถะ : ธรรมเป็นเครื่องสงบระงับจิต, ธรรมยังจิตให้สงบระงับจากนิวรณูปกิเลส, การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ (ข้อ ๑ ในกรรมฐาน ๒ หรือภาวนา ๒)
  50. สมบัติ๒ : ความถึงพร้อม, ความสมบูรณ์, ความครบถ้วนของสังฆกรรม เช่น อุปสมบท เป็นต้น ที่จะทำให้สังฆกรรมนั้นถูกต้อง ใช้ได้ มีผลสมบูรณ์ มี ๔ คือ ๑.วัตถุสมบัติ วัตถุถึงพร้อม เช่น ผู้อุปสมบทเป็นชายอายุครบ ๒๐ ปี ๒.ปริสสมบัติ บริษัทคือที่ประชุมถึงพร้อม สงฆ์ครบองค์กำหนด ๓.สีมาสมบัติ เขตชุมนุมถึงพร้อม เช่น สีมามีนิมิตถูกต้องตามพระวินัย และประชุมทำในเขตสีมา ๔.กรรมวาจาสมบัติ กรรมวาจาถึงพร้อม สวดประกาศถูกต้องครบถ้วน (ข้อ ๔ อาจแยกเป็น ๒ ข้อ คือเป็น ๔ ญัตติสมบัติ ญัตติถึงพร้อม คือคำเผดียงสงฆ์ถูกต้อง ๕.อนุสาวนาสมบัติ อนุสาวนาถึงพร้อมคำหารือตกลงถูกต้อง รวมเป็นสมบัติ ๕); เทียบ วิบัติ
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | [1051-1100] | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1607

(0.0963 sec)