Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เจ้าเนื้อ, เนื้อ, เจ้า , then จา, เจ้, เจ้า, เจ้าเนื้อ, นอ, เนื้อ .

Budhism Thai-Thai Dict : เจ้าเนื้อ, 243 found, display 51-100
  1. โกลิยวงศ์ : ชื่อวงศ์กษัตริย์ข้างฝ่ายพระพุทธมารดา ที่ครองกรุงเทวทหะ; พระสิริมหามายา พุทธมารดา และ พระนางพิมพา ชายาของเจ้าชายสิทธัตถะ เป็นเจ้าหญิงฝ่ายโกลิยวงศ์
  2. เขมา : พระเถรีมหาสาวิการูปหนึ่งประสูติในราชตระกูลแห่งสาคลนครในมัททรัฐ ต่อมาได้เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าพิมพิสาร มีความมัวเมาในรูปสมบัติของตน ได้ฟังพระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องราคะ และการกำจัดราคะ พอจบพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุพระอรหัต แล้วบวชเป็นภิกษุณี ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางมีปัญญามาก และเป็นอัครสาวิกาฝ่ายขวา
  3. คณะธรรมยุต : คณะสงฆ์ที่ตั้งขึ้นใหม่ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชเป็นภิกษุในรัชกาลที่ ๓; เรียกว่า ธรรมยุตติกา หรือ ธรรมยุติกนิกาย ก็มี; สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงให้ความหมายว่า พระสงฆ์ออกจากมหานิกายนั้นเอง แต่ได้รับอุปสมบทในรามัญนิกายด้วย (การคณะสงฆ์ น.๑๐)
  4. คณะมหานิกาย : คณะสงฆ์ไทยเดิมทีสืบมาแต่สมัยสุโขทัย, เป็นชื่อที่ใช้เรียกในเมื่อได้เกิดมีคณะธรรมยุตขึ้นแล้ว; สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงให้ความหมายว่า พระสงฆ์อันมีเป็นพื้นเมือง (ของประเทศไทย-ผู้เขียน) ก่อนเกิด ธรรมยุติกนิกาย (การคณะสงฆ์ น.๙๐)
  5. คฤหบดี : ผู้เป็นใหญ่ในเรือน, พ่อเจ้าเรือน, ผู้มั่งคั่ง
  6. ฆนิโตทนะ : กษัตริย์ศากยวงศ์ เป็นพระราชบุตรองค์ที่ ๕ ของพระเจ้าสีหนุ เป็นพระอาองค์ที่ ๔ ของพระเจ้าสุทโธทนะ เป็นพระเจ้าอาของพระพุทธเจ้า
  7. จักรวรรดิวัตร ๑๒ : ๑.อนฺโตชนสฺมึ พลกายสฺมึ คุ้มครองสงเคราะห์แก่ชนในพระราชฐานและพยุหเสนา ๒.ขตฺติเยสุ แก่กษัตริย์เมืองขึ้นหรือผู้ครองนครภายใต้พระบรมเดชานุภาพ ๓.อนุยนฺเตสุ แก่กษัตริย์ที่ตามเสด็จคือ เหล่าเชื้อพระวงศ์ผู้เป็นราชบริพาร ๔.พฺราหฺมณคหปติเกสุ แก่พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ๕.เนคมชานปเทสุ แก่ชาวนิคมและชาวชนบทคือ ราษฎรพื้นเมืองทั้งเหล่าย ๖.สมณพฺราหฺมเณสุ แก่เหล่าสมณพราหมณ์ ๗.มิคปกฺขีสุ แก่เหล่าเนื้อนกอันพึงบำรุงไว้ให้มีสืบพันธุ์ ๘.อธมฺมการปฏิกฺเขโป ห้ามปรามมิให้มีความประพฤติการอันไม่เป็นธรรม ๙.อธนานํ ธนานุปฺปทานํ เจือจานทรัพย์ทำนุบำรุงแก่ผู้ขัดสนไร้ทรัพย์ ๑๐.สมณพฺราหฺมเณ อุปสงฺกมิตฺวา ปญฺหาปุจฺฉนํ ไปสู่หาพราหมณ์ไต่ถามอรรถปฤษณา ๑๑.อธมฺมราคสฺส ปหานํ เว้นความกำหนัดในกามโดยอาการไม่เป็นธรรม ๑๒.วิสมโลภสฺส ปหานํ เว้นโลภกล้า ไม่เลือกควรไม่ควร
  8. จีวรนิทหกะ : ผู้เก็บจีวร คือ ภิกษุที่สงฆ์สมมติให้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวรรักษาจีวร เป็นตำแหน่งหนึ่งในบรรดาเจ้าอธิการแห่งจีวร
  9. จีวรปฏิคคาหก : ผู้รับจีวร คือ ภิกษุที่สงฆ์สมมติให้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร เป็นตำแหน่งหนึ่งในบรรดาเจ้าอธิการแห่งจีวร
  10. จีวรภาชก : ผู้แจกจีวร คือ ภิกษุที่สงฆ์สมมติให้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร, เป็นตำแหน่งหนึ่งในบรรดาเจ้าอธิการแห่งจีวร
  11. จุณณิยบท : คำร้อยแก้ว, บางแห่งว่าบทบาลีเล็กน้อย ที่ยกขึ้นแสดงก่อนเนื้อความ (พจนานุกรมเขียน จุณณิยบท)
  12. ฉันนะ : อำมาตย์คนสนิทผู้เป็นสหชาติและเป็นสารถีของเจ้าชายสิทธัตถะในวันเสด็จออกบรรพชา ฉันนะตามเสด็จไปด้วย ภายหลังบวชเป็นภิกษุถือตัวว่าเป็นคนใกล้ชิดพระพุทธเจ้ามาแต่เก่าก่อน ใครว่าไม่ฟังเกิดความบ่อยๆ หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ถูกสงฆ์ลงพรหมทัณฑ์หายพยศ และได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
  13. ชนวสภสูตร : สูตรหนึ่งในคัมภีร์ทีฆนิกาย มหาวรรค สุตตันตปิฎก ว่าด้วยเรื่องที่พระเจ้าพิมพิสารซึ่งสวรรคตไปเกิดเป็นชนวสภยักษ์ มาสำแดงตนแก่พระพุทธเจ้า และพระอานนท์แล้วเล่าเหตุการณ์ที่พวกเทวดามาประชุมในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พากันชื่นชมข่าวดีที่เทวดามีจำนวนเพิ่มขึ้น เพราะคนประพฤติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
  14. ชีวก : ชื่อหมอใหญ่ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาและมีชื่อเสียงมากในครั้งพุทธกาล เป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระเจ้าพิมพิสาร และพระเจ้าพิมพิสารได้ถวายให้เป็นแพทย์ประจำพระองค์ ของพระพุทธเจ้าด้วย, เรียกชื่อเต็มว่า ชีวกโกมารภัจจ์
  15. ชีวิตินทรีย์ : อินทรีย์คือชีวิต, สภาวะที่เป็นใหญ่ในการตามรักษาสหชาตธรรม (ธรรมที่เกิดร่วมด้วย) ดุจน้ำหล่อเลี้ยงดอกบัว เป็นต้น มี ๒ ฝ่ายคือ ๑.ชีวิตินทรีย์ที่เป็นชีวิตรูป เป็นอุปาทาย รูปอย่างหนึ่ง (ข้อที่ ๑๓) เป็นเจ้าการในการรักษาหล่อเลี้ยงเหล่ากรรมชรูป (รูปที่เกิดแต่กรรม) บางทีเรียก รูป ชีวิตินทรีย์ ๒.ชีวิตินทรีย์ที่เป็นเจตสิกเป็นสัพพจิตตสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวง) อย่างหนึ่ง (ข้อที่ ๖) เป็นเจ้าการในการรักษาหล่อเลี้ยงนามธรรมคือจิตและเจตสิกทั้งหลาย บางทีเรียก อรูปชีวิตินทรีย์ หรือ นามชีวิตินทรีย์
  16. ได้รับสมบัติ : ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ หรือทำกิจที่สงฆ์มอบหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง
  17. ตถาคต : พระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า เป็นคำที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกหรือตรัสถึงพระองค์เอง แปลได้ความหมาย ๘ อย่าง คือ ๑.พระผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น คือ เสด็จมาทรงบำเพ็ญพุทธจริยา เพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก เป็นต้น เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ อย่างไรก็อย่างนั้น ๒.พระผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น คือทรงทำลายอวิชชาสละปวงกิเลสเสด็จไปเหมือนอย่างพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ อย่างไรก็อย่างนั้น ๓.พระผู้เสด็จมาถึงตถลักษณะ คือ ทรงมีพระญาณหยั่งรู้เข้าถึงลักษณะที่แท้จริงของสิ่งทั้งหลายหรือของธรรมทุกอย่าง๔.พระผู้ตรัสรู้ตถธรรมตามที่มันเป็น คือ ตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือปฏิจจสมุปบาทอันเป็นธรรมที่จริงแท้แน่นอน ๕.พระผู้ทรงเห็นอย่างนี้ คือ ทรงรู้เท่าทันสรรพอารมณ์ที่ปรากฏแก่หมู่สัตว์ทั้งเทพและมนุษย์ ซึ่งสัตวโลกตลอดถึงเทพถึงพรหมได้ประสบและพากันแสวงหา ทรงเข้าใจสภาพที่แท้จริง ๖.พระผู้ตรัสอย่างนั้น (หรือมีพระวาจาที่แท้จริง) คือ พระดำรัสทั้งปวงนับแต่ตรัสรู้จนเสด็จดับขันธปรินิพพาน ล้วนเป็นสิ่งแท้จริงถูกต้อง ไม่เป็นอย่างอื่น ๗.พระผู้ทำอย่างนั้น คือ ตรัสอย่างใดทำอย่างนั้น ทำอย่างใด ตรัสอย่างนั้น ๘.พระผู้เป็นเจ้า (อภิภู) คือ ทรงเป็นผู้ใหญ่ยิ่งเหนือกว่าสรรพสัตว์ตลอดถึงพระพรหมที่สูงสุด เป็นผู้เห็นถ่องแท้ ทรงอำนาจ เป็นราชาที่พระราชาทรงบูชา เป็นเทพแห่งเทพ เป็นอินทร์เหนือพระอินทร์ เป็นพรหมเหนือประดาพรหม ไม่มีใครจะอาจวัดหรือจะทดเทียมพระองค์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ
  18. ตปุสสะ : พ่อค้าที่มาจารอุกกลชนบท คู่กับภัลลิกะ พบพระพุทธเจ้าขณะประทับอยู่ ณ ภายใต้ต้นไม้ราชายตนะ ภายหลังตรัสรู้ใหม่ๆ ได้ถวายเสบียงเดินทาง คือ ข้าวสัตตุผล ข้าวสัตตุก้อน แล้วแสดงตนเป็นอุบาสก ถึงพระพุทธเจ้ากับพระธรรมเป็นสรณะ นับเป็นปฐมอุบาสกผู้ถึงสรณะ ๒ ที่เรียกว่า เทฺววาจิก
  19. ติสสเถระ : ชื่อพระเถระองค์หนึ่งในเกาะลังกา เคยอุปการะพระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย คราวเสียราชสมบัติแก่ทมิฬ ภายหลังทรงกู้ราชสมบัติคืนได้แล้ว ได้สร้างวัดอภัยคีรีวิหารถวาย
  20. ถูปารหบุคคล : บุคคลผู้ควรแก่สถูป คือ บุคคลที่ควรนำกระดูกบรรจุสถูปไว้บูชา มี ๔ คือ ๑.พระพุทธเจ้า ๒.พระปัจเจกพุทธเจ้า ๓.พระอรหันตสาวก ๔.พระเจ้าจักรพรรดิ
  21. ทมิฬ : ชื่อชนเผ่าหนึ่งในเกาะลังกา เคยชิงราชสมบัติพระเจ้าวัฏฏคามินีอภัยได้
  22. ทัพพมัลลบุตร : พระเถระมหาสาวกองค์หนึ่งในอสีติมหาสาวก เป็นพระราชโอรสของพระเจ้ามัลลราช เมื่อพระชนม์ ๗ พรรษา มีความเลื่อมใส ในพระพุทธศาสนา ได้บรรพชาเป็นสามเณร เวลาปลงผม พอมีดโกนตัดกลุ่มผมครั้งที่ ๑ ได้บรรลุโสดาปัตติผล ครั้งที่ ๒ ได้บรรลุสกทาคามิผล ครั้งที่ ๓ ได้บรรลุอนาคามิผล พอปลงผมเสร็จก็ได้บรรลุพระอรหัต ท่านรับภาระเป็นเจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์ในตำแหน่งเสนาสนปัญญาปกะ (ผู้ดูแลจัดสถานที่พักอาศัยของพระ) และภัตตุเทสก์ ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในบรรดา เสนาสนปัญญาปกะ
  23. ทีฆาวุ : พระราชโอรสของพระเจ้าทีฆีติราชาแห่งแคว้นโกศล ซึ่งถูกพระเจ้าพรหมทัต กษัตริย์แห่งแคว้นกาสีชิงแคว้นจับได้ และประหารชีวิตเสีย ทีฆาวุกุมารดำรงอยู่ในพระโอวาทของพระบิดาที่ตรัสก่อนจะถูกประหาร ภายหลังได้ครองราชสมบัติทั้ง ๒ แคว้น คือ แคว้นกาสีกับแคว้นโกศล
  24. เทพ : เทพเจ้า, ชาวสรรค์, เทวดา; ในทางพระศาสนา ท่านจัดเป็น ๓ คือ ๑.สมมติเทพ เทวดาโดยสมมติ = เทวดาในสวรรค์และพรหมทั้งหลาย ๒.อุปปัติเทพ เทวดาโดยกำเนิด = เทวดาในสวรรค์และพรหมทั้งหลาย ๓.วิสุทธิเทพ เทวดาโดยความบริสุทธิ์ = พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลาย
  25. เทวทัตต์ : ราชบุตรของพระเจ้าสุปปพุทธะ เป็นเชฏฐภาดา (พี่ชาย) ของพระนางพิมพาผู้เป็นพระชายาของสิทธัตถกุมาร เจ้าชายเทวทัตต์ออกบวชพร้อมกับพระอนุรุทธ์ พระอานนท์ และ กัลบกอุบาลี เป็นต้น บำเพ็ญฌานจนได้โลกิยอภิญญา ต่อมามีความมักใหญ่ ได้ยุยงพระเจ้าอชาตศัตรูและคบคิดกันพยายามประทุษร้ายพระพุทธเจ้า ก่อเรื่องวุ่นวายในสังฆมณฑลจนถึงทำสังฆเภท และถูกแผ่นดินสูบในที่สุด
  26. เทวทูต : ทูตของยมเทพ, สื่อแจ้งข่าวของมฤตยู, สัญญาที่เตือนให้ระลึกถึงคติ ธรรมดาของชีวิตมิให้มีความประมาท จัดเป็น ๓ ก็มี ได้แก่ คนแก่ คนเจ็บ และคนตาย, จัดเป็น ๕ ก็มี ได้แก่ เด็กแรกเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนถูกลงราชทัณฑ์ และคนตาย (เทวทูต ๓ มาในอังคุตตรนิกาย ติกนิบาต, เทวทูต ๕ มาในเทวทูตสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์); ส่วน เทวทูต ๔ ที่เจ้าชายสิทธัตถะพบก่อนบรรพชา คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย สมณะนั้น ๓ อย่างแรก เป็นเทวทูต ส่วนสมณะเรียกรวมเป็นเทวทูตไปด้วยโดยปริยาย เพราะมาในหมวดเดียวกัน แต่ในบาลี ท่านเรียกว่า นิมิต ๔ หาเรียกเทวทูต ๔ ไม่ อรรถกถาบางแห่งพูดแยกว่า พระสิทธัตถะเห็นเทวทูต ๓ และสมณะ (มีอรรถกถาแห่งหนึ่งอธิบายในเชิงว่าอาจเรียกทั้ง ๔ อย่างเป็นเทวทูตได้ โดยความหมายว่า เป็นของที่เทวดานิรมิตไว้ ระหว่างทางเสด็จของพระสิทธัตถะ)
  27. ธรรมกาย : “ผู้มีธรรมเป็นกาย” เป็นพระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า (ตามความในอัคคัญญสูตร แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค) หมายความว่า พระองค์ทรงคิดพุทธพจน์คำสอนด้วยพระหทัยแล้วทรงนำออกเผยแพร่ด้วยพระวาจา เป็นเหตุให้พระองค์ก็คือพระธรรม เพราะทรงเป็นแหล่งที่ประมวลหรือที่ประชุมอยู่แห่งธรรมอันปรากฏเปิดเผยออกมาแก่ชาวโลก; อนึ่งธรรมกายคือกองธรรมหรือชุมนุมแห่งธรรมนั้น ย่อมเจริญงอกงามเติบขยายขึ้นได้โดยลำดับจนไพบูลย์ ในบุคคลผู้เมื่อได้สดับคำสอนของพระองค์ แล้วฝึกอบรมตนด้วยไตรสิกขาเจริญมรรคให้บรรลุภูมิแห่งอริยชน ดังตัวอย่างดำรัสของพระมหาปชาบดีโคตมี เมื่อครั้งกราบทูลลาพระพุทธเจ้าเพื่อปรินิพพานตามความในคัมภีร์อปทานตอนหนึ่งว่า “ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์, ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์ก็เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน..รูปกายของพระองค์นี้ หม่อมฉันได้ทำให้เจริญเติบโต ส่วนธรรมกายอันเป็นที่เอิบสุขของหม่อมฉัน ก็เป็นสิ่งอันพระองค์ได้ทำให้เจริญเติบโต”; สรุปตามนัยอรรถกถาธรรมกายก็คือโลกุตตรธรรม ๙ หรือ อริยสัจ
  28. ธรรมคุณ : คุณของพระธรรม มี ๖ อย่าง คือ ๑.สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ๒.สนฺทิฏฺฐิโก อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ๓.อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาล ๔.เอหิปสฺสิโก ควรเรียกให้มาดู ๕.โอปนยิโก ควรน้อมเข้ามา ๖.ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
  29. ธรรมเจดียสูตร : สูตรหนึ่งในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ แห่งพระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยข้อความที่พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลพระพุทธเจ้า พรรณนาความเลื่อมใสศรัทธาของพระองค์ที่มีต่อพระรัตนตรัย
  30. โธโตทนะ : กษัตริย์ศากยวงศ์ เป็นพระราชบุตรองค์ที่ ๔ ของพระเจ้าสีหหนุ เป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ เป็นพระเจ้าอาของพระพุทธเจ้า
  31. นบี : ศาสดาผู้ประกาศศาสนาอิสลาม ทำหน้าที่แทนพระผู้เป็นเจ้า, ผู้เทศนา, ผู้ประกาศข่าว ชาวมุสลิมถือว่าพระมะหะหมัดเป็นนาบีองค์สุดท้าย
  32. นวโกวาท : คำสอนสำหรับผู้บวชใหม่, คำสอนสำหรับภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่, ชื่อหนังสือแบบเรียนนักธรรมชั้นตรี เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
  33. นันทกุมาร : พระราชบุตรของพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางปชาบดีโคตมี ต่อมาออกบวชมีชื่อว่าพระนันทะ คือ องค์ที่มีรูปพรรณสัณฐานคล้ายพระพุทธองค์นั่นเอง
  34. นาบี : ศาสดาผู้ประกาศศาสนาอิสลาม ทำหน้าที่แทนพระผู้เป็นเจ้า, ผู้เทศนา, ผู้ประกาศข่าว ชาวมุสลิมถือว่าพระมะหะหมัดเป็นนาบีองค์สุดท้าย
  35. นิครนถนาฏบุตร : คณาจารย์เจ้าลัทธิคนหนึ่งในจำนวนครูทั้ง ๖ มีคนนับถือมาก มีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น วรรธมานบ้าง พระมหาวีระบ้าง เป็นต้น ศาสนาเชน ซึ่งยังมีอยู่ในประเทศอินเดีย
  36. นิพัทธทุกข์ : ทุกข์เนืองนิตย์, ทุกข์ประจำ, ทุกข์เป็นเจ้าเรือน ได้แก่ หนาวร้อน หิวกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ
  37. นิสสารณา : การไล่ออก, การขับออกจากหมู่ เช่น นาสนะสามเณรผู้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าออกไปเสียจากหมู่ (อยู่ในอปโลกนกัมม์) ประกาศถอนธรรมกถึกผู้ไม่แตกฉานในธรรมในอรรถ คัดค้านคดีโดยหาหลักฐานมิได้ ออกเสียจากการระงับอธิกรณ์ (อยู่ในญัตติกัมม์) คู่กับ โอสารณา
  38. เนปาล : ชื่อประเทศอันเคยเป็นที่ตั้งของแคว้นศากยะบางส่วน รวมทั้งลุมพินีอันเป็นที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศอินเดียและทางใต้ของประเทศจีน มีเนื้อที่ ๑๔๐,๗๙๗ ตารางกิโลเมตร มีพลเมืองประมาณ ๑๓,๔๒๐,๐๐๐ คน (พ.ศ.๒๕๒๑); หนังสือเก่าเขียน เนปอล
  39. เบญจกัลยาณี : หญิงมีลักษณะงาม ๕ อย่าง คือ ผมงาม เนื้องาม (คือเหงือกและริมฝีปากแดงงาม) ฟันงาม ผิวงาม วัยงาม (คือดูงามทุกวัย)
  40. ใบฎีกา : 1.หนังสือนิมนต์พระ ตัวอย่าง “ขออาราธนาพระคุณเจ้า (พร้อมด้วยพระสงฆ์ในวัดนี้อีก......รูป) เจริญพระพุทธมนต์ (หรือสวดมนต์ หรือแสดงพระธรรมเทศนา) ในงาน.....บ้าน เลขที่.......ตำบล.......อำเภอ.......ในวันที่......เดือน.......พ.ศ........เวลา......น.” (หากจะอาราธนาให้รับอาหารบิณฑบาตเช้าหรือเพลหรือมีการตักบาตรใช้ปิ่นโต ก็ให้ระบุไว้ด้วย) 2.ตำแหน่งพระฐานานุกรมรองจากสมุห์ลงมา
  41. ใบปวารณา : ใบแจ้งแก่พระว่าให้ขอได้ตัวอย่าง “ข้าพเจ้าขอถวายจตุปัจจัยอันควรแก่สมณบริโภค แต่พระคุณเจ้า เป็นมูลค่า....บาท......สต.หากพระคุณเจ้าต้องประสงค์สิ่งใดอันควรแก่สมณบริโภคแล้ว ขอได้โปรดเรียกร้องจากกัปปิยการก ผู้ปฏิบัติของพระคุณเจ้า เทอญ
  42. ปณามคาถา : คาถาน้อมไหว้, คาถาแสดงความเคารพพระรัตนตรัย เรียกกนง่ายๆ ว่า คาถาไหว้ครู ซึ่งตามปกติ พระอาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์ภาษาบาลี เช่น อรรถกถา ฎีกา เป็นต้น ถือเป็นธรรมเนียมที่จะเรียบเรียงไว้เป็นเบื้องต้น ก่อนขึ้นเนื้อความของคัมภีร์นั้นๆ ประกอบด้วยคำสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย คำบอกความมุ่งหมายในการแต่ง คำอ้างถึงบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้อาราธนาให้แต่ง และข้อควรทราบอื่นๆ เป็นอย่างคำนำ หรือคำปรารภ
  43. ประทับ : อยู่ เช่นประทับแรม (สำหรับเจ้านาย), แนบอยู่เช่นเอาปืนประทับบ่า
  44. ปวัตตมังสะ : เนื้อที่มีอยู่แล้ว คือเนื้อสัตว์ที่เขาขายอยู่ตามปกติสำหรับคนทั่วๆ ไป ไม่ใช่ฆ่าเพื่อเอาเนื้อมาถวายพระ, ตรงข้ามกับ อุทิสสมังสะ
  45. ปิลินทวัจฉคาม : ชื่อหมู่บ้านของคนงานวัดจำนวน ๕๐๐ ที่พระเจ้าพิมพิสารพระราชทานให้เป็นผู้ช่วยทำที่อยู่ของพระปิลินทวัจฉะ
  46. ผทม : นอน (สำหรับเจ้า)
  47. ผนวช : บวช (สำหรับเจ้า)
  48. พรหม : ผู้ประเสริฐ, เทพในพรหมโลก เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยกาม มี ๒ พวก คือ รูปพรหมมี ๑๖ ชั้น อรูปพรหมมี ๔ ชั้น ดู พรหมโลก, เทพสูงสุดหรือพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์
  49. พรหมไทย : ของอันพรหมประทาน, ของให้ที่ประเสริฐสุด หมายถึง ที่ดิน หรือบ้านเมืองที่พระราชทานเป็นบำเหน็จ เช่น เมืองอุกกุฏฐะที่พระเจ้าปเสนทิโกศลพระราชทานแก่โปกขรสาติพราหมณ์ และนครจัมปาที่พระเจ้าพิมพิสารพระราชทานให้โสณทัณฑพราหมณ์ปกครอง
  50. พระพุทธเจ้า : พระผู้ตรัสรู้เองโดยชอบแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม, ท่านผู้รู้ดีรู้ชอบด้วยตนเองก่อนแล้วสอนประชุมชนให้ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ; พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ที่ใกล้กาลปัจจุบันที่สุดและคัมภีร์กล่าวถึงบ่อยๆ คือ พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ และพระโคดม; พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์แห่งภัทรกัปป์ปัจจุบันนี้ คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคดม และพระเมตเตยยะ (เรียกกันสามัญว่า พระศรีอาริย์ หรือ พระศรีอารยเมตไตรย); พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์นับแต่พระองค์แรกที่พระโคตมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) ได้ทรงพบและทรงได้รับการพยากรณ์ว่าจะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า (รวม ๒๔ พระองค์) จนถึงพระองค์เองด้วย คือ ๑.พระทีปังกร ๒.พระโกณฑัญญะ ๓.พระมังคละ ๔.พระสุมนะ ๕.พระเรวตะ ๖.พระโสภิตะ ๗.พระอโนมทัสสี ๘.พระปทุมะ ๙.พระนารทะ ๑๐.พระปทุมุตตระ ๑๑.พระสุเมธะ ๑๒.พระสุชาตะ ๑๓.พระปิยทัสสี ๑๔.พระอัตถทัสสี ๑๕.พระธัมมทัสสี ๑๖.พระสิทธัตถะ ๑๗.พระติสสะ ๑๘.พระปุสสะ ๑๙.พระวิปัสสี ๒๐.พระสิขี ๒๑.พระเวสสภู ๒๒.พระกกุสันธะ ๒๓.พระโกนาคมน์ ๒๔.พระกัสสปะ ๒๕.พระโคตมะ (เรื่องมาในคัมภีร์พุทธวงส์ แห่งขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฎก); ดู พุทธะ ด้วย
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-243

(0.0164 sec)