Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ซึ่งหน้า, หน้า, ซึ่ง , then ซง, ซงหนา, ซึ่ง, ซึ่งหน้า, หนา, หน้า .

Budhism Thai-Thai Dict : ซึ่งหน้า, 319 found, display 101-150
  1. ปฐมวัย : วันต้น, วัยแรก, วัยซึ่งยังเป็นเด็ก ดู วัย
  2. ปฐมอุบาสก : อุบาสกคนแรกในพระพุทธศาสนา หมายถึง ตปุสสะกับภัลลิกะ ซึ่งถึงสรณะ ๒ คือพระพุทธเจ้า และพระธรรม; บิดาของพระยสะเป็นคนแรกที่ถึงสรณะครบ ๓
  3. ปฐมาปัตติกะ : ให้ต้องอาบัติแต่แรกทำ หมายถึง อาบัติสังฆาทิเสส ๙ สิกขาบท ข้างต้นซึ่งภิกษุล่วงเข้าแล้ว ต้องอาบัติทันที สงฆ์ไม่ต้องสวดสมนุภาสน์ คู่กับ ยาวตติยกะ
  4. ปฐวีธาตุ : ธาตุดิน คือธาตุที่มีลักษณะแข้นแข็ง ในร่างกายที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า; อย่างนี้เป็นการกล่าวถึงปฐวีธาตุในลักษณะที่คนสามัญทุกคนจะเข้าใจได้ และที่จะให้สำเร็จประโยชน์ในการเจริญกรรมฐาน แต่ในทางพระอภิธรรม ปฐวีธาตุเป็นสภาวะพื้นฐานที่มีอยู่ในรูปธรรมทุกอย่าง แม้แต่ในน้ำและในลมที่เรียกกันสามัญ ซึ่งรู้สึกถูกต้องได้ด้วยกายสัมผัส
  5. ปณามคาถา : คาถาน้อมไหว้, คาถาแสดงความเคารพพระรัตนตรัย เรียกกนง่ายๆ ว่า คาถาไหว้ครู ซึ่งตามปกติ พระอาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์ภาษาบาลี เช่น อรรถกถา ฎีกา เป็นต้น ถือเป็นธรรมเนียมที่จะเรียบเรียงไว้เป็นเบื้องต้น ก่อนขึ้นเนื้อความของคัมภีร์นั้นๆ ประกอบด้วยคำสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย คำบอกความมุ่งหมายในการแต่ง คำอ้างถึงบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้อาราธนาให้แต่ง และข้อควรทราบอื่นๆ เป็นอย่างคำนำ หรือคำปรารภ
  6. ปรภพ : ภพหน้า, โลกหน้า
  7. ปรมัตถประโยชน์ : ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ พระนิพพาน; เป็นคำเรียกกันมาติดปาก ความจริงคือ ปรมัตถะ แปลว่าประโยชน์อย่างยิ่ง เหมือนทิฏฐธัมมิกัตถะ แปลว่าประโยชน์ปัจจุบัน และสัมปรายิกัตถะ แปลว่าประโยชน์เบื้องหน้า ก็มักเรียกกันว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ และสัมปรายิกัตถประโยชน์
  8. ปรมาตมัน : อาตมันสูงสุด หรออัตตาสูงสุด (บรมอาตมัน หรือ บรมอัตตา) เป็นสภาวะแท้จริง และเป็นจุดหมายสูงสุดตามหลักความเชื่อของศาสนาฮินดู (เดิมคือศาสนาพราหมณ์) ซึ่งถือว่า ในบุคคลแต่ละคนนี้ มีอาตมัน คือ อัตตาหรือตัวตน สิงสู่อยู่ครอง เป็นสภาวะเที่ยงแท้ถาวรเป็นผู้คิดผู้นึก ผู้เสวยเวทนา เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนย่อยที่แบ่งภาคออกมาจากปรมาตมันนั้นเอง เมื่อคนตาย อาตมันนี้ออกจากร่างไป สิงอยู่ในร่างอื่นต่อไป เหมือนถอดเสื้อผ้าเก่าสวมเสื้อผ้าใหม่ หรือออกจากเรือนเก่าไปอยู่ในเรือนใหม่ ได้เสวยสุขหรือทุกข์ เป็นต้น สุดแต่กรรมที่ได้ทำไว้ เวียนว่ายตายเกิดเรื่อยไป จนกว่าจะตระหนักรู้ว่าตนเองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับปรมาตมัน และเข้าถึงความบริสุทธิ์จากบาปโดยสิ้นเชิง จึงจะได้กลับเข้ารวมกับปรมาตมันดังเดิม ไม่เวียนตายเวียนเกิดอีกต่อไป, ปรมาตมันนี้ ก็คือ พรหม หรือ พรหมัน นั่นเอง
  9. ประจักษ์ : ชัดเจน, แจ่มแจ้ง, ต่อหน้าต่อตา
  10. ปรัตถปฏิบัติ : การปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นพุทธคุณอย่างหนึ่ง คือ การทรงบำเพ็ญพุทธกิจเพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นที่พึงของชาวโลก (โลกนาถ) ซึ่งสำเร็จด้วยพระมหากรุณาคุณเป็นสำคัญ มักเขียนเป็นปรหิตปฏิบัติ ซึ่งแปลเหมือนกัน; เป็นคู่กันกับ อัตตัตถสมบัติ หรือ อัตตหิตสมบัติ
  11. ปรัมปรโภชน์ : โภชนะทีหลัง คือ ภิกษุรับนิมนต์ในที่แหงหนึ่งด้วยโภชนะทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วไม่ไปฉันในที่นิมนต์นั้น ไปฉันเสียในที่อื่นที่เขานิมนต์ทีหลังซึ่งพ้องเวลากัน
  12. ปริวาส : การอยู่ชดใช้ เรียกสามัญว่า อยู่กรรม, เป็นชื่อวุฏฐานวิธี (ระเบียบปฏิบัติสำหรับออกจากครุกาบัติ) อย่างหนึ่ง ซึ่งภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วปกปิดไว้ จะต้องประพฤติเป็นการลงโทษตนเองชดใช้ให้ครบเท่าจำนวนวันที่ปิดอาบัติ ก่อนที่จะประพฤติมานัตอันเป็นขั้นตอนปกติของการออกจากอาบัติต่อไป, ระหว่างอยู่ปริวาส ต้องประพฤติวัตรต่างๆ เช่น งดใช้สิทธิบางอย่าง ลดฐานะของตน และประจานตัวเป็นต้น; ปริวาส มี ๓ อย่าง คือ ปฏิจฉันนปริวาส สโมธานปริวาส และ สุทธันตปริวาส; มีปริวาสอีกอย่างหนึ่งสำหรับนักบวชนอกศาสนา จะต้องประพฤติก่อนที่จะบวชในพระธรรมวินัย เรียกว่า ติตถิยปริวาส ซึ่งท่านจัดเป็น อปริจฉันนปริวาส
  13. ปลงอายุสังขาร : “สลัดลงซึ่งปัจจัยเครื่องปรุงแต่งอายุ”, ตกลงใจกำหนดการสิ้นสุดอายุ, ตกลงพระทัยว่าจะปรินิพพาน, กำหนดพระทัยเกี่ยวกับการที่จะปรินิพพาน (ก่อนปรินิพพาน ๓ เดือน)
  14. ปลิโพธ : เครื่องผูกพันหรือหน่วงเหนี่ยวเป็นเหตุให้ใจพระวักพะวนห่วงกังวล, เหตุกังวล, ข้อติดข้อง; ปลิโพธที่ผู้จะเจริญกรรมฐานพึงตัดเสียให้ได้ เพื่อให้เกิดความปลอดโปร่งพร้อมที่จะเจริญกรรมฐานให้ก้าวหน้าไปได้ดี มี ๑๐ อย่าง คือ ๑.อาวาสปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับวัดหรือที่อยู่ ๒.กุลปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับตระกูลญาติหรืออุปัฏฐาก ๓.ลาภปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับลาภ ๔.คณปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับคณะศิษย์หรือหมู่ชนที่ตนต้องรับผิดชอบ ๕.กรรมปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการงาน เช่น การก่อสร้าง ๖.อัทธานปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการเดินทางไกลเนื่องด้วยกิจธุระ ๗.ญาติปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับญาติหรือคนใกล้ชิดที่จะต้องเป็นห่วงซึ่งกำลังเจ็บป่วยเป็นต้น ๘.อาพาธปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับความเจ็บไข้ของตนเอง ๙.คันถปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียน ๑๐.อิทธิปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับฤทธิ์ของปุถุชนที่จะต้องคอยรักษาไม่ให้เสื่อม (ข้อท้ายนี้เป็นปลิโพธสำหรับผู้จะเจริญวิปัสสนาเท่านั้น)
  15. ปักขคณนา : “การนับปักษ์”, วิธีคำนวณดิถีตามปักษ์ คือ คำนวณหาวันขึ้นแรมกี่ค่ำๆ ให้แม่นยำ ตรงตามการโคจรของดวงจันทร์อย่างแท้จริง เฉพาะอย่างยิ่งมุ่งให้ได้วันพระจันทร์เต็มดวงหรือวันเพ็ญ (ขึ้น ๑๔-๑๕ ค่ำ) วันพระจันทร์ดับ หรือวันดับ (แรม ๑๔-๑๕ ค่ำ) และวันพระจันทร์กึ่งดวง (ขึ้น ๘ ค่ำ และ แรม ๘ ค่ำ) ตรงกับวันที่ดวงจันทร์เป็นอย่างนั้นจริงๆ ซึ่งบางเดือนข้างขึ้นอาจมีเพียง ๑๔ วัน (วันเพ็ญ เมื่อขึ้น ๑๔ ค่ำ) ก็มีข้างแรมอาจมีเต็ม ๑๕ วันติดต่อกัน หลายเดือนก็มี ต้องตรวจดูเป็นปักษ์ๆ ไป จึงใช้คำว่าปักษ์ถ้วน ปักษ์ขาดไม่ใช่เพียงเดือนเต็ม เดือนขาด เป็นวิธีคำนวณที่สลับซับซ้อน ต่างจากปฏิทินหลวง หรือปฏิทินของราชการ ที่ใช้วิธีคำนวณเฉลี่ยให้ข้างขึ้นเต็ม ๑๕ วันเสมอไป ส่วนข้างแรม เดือนคู่มี ๑๕ วัน เดือนคี่เรียกว่าเดือนขาดมี ๑๔ วัน สลับกันไป (แม้จะคำนวณด้วยวิธีที่พิเศษออกไป แต่วันเดือนเพ็ญเดือนดับที่ตรงกันก็มาก ที่คลาดกันก็เพียงวันเดียว); ปักขคณนา นี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงค้นคิดวิธีคำนวณขึ้นใช้ในพระสงฆ์คณะธรรมยุต เพื่อเป็นเครื่องกำหนดวันสำหรับพระสงฆ์ทำอุโบสถ และสำหรับอุบาสกอุบาสิการักษาอุโบสถศีลฟังธรรมเป็นข้อปฏิบัติของคณะธรรมยุตสืบมา
  16. ปักษคณนา : การนับปักษ์, วิธีคำนวณดิถีตามปักษ์ คือ คำนวณหาวันขึ้นแรมกี่ค่ำๆ ให้แม่นยำ ตรงตามการโคจรของดวงจันทร์อย่างแท้จริง เฉพาะอย่างยิ่งมุ่งให้ได้วันพระจันทร์เต็มดวงหรือวันเพ็ญ (ขึ้น ๑๔-๑๕ ค่ำ) วันพระจันทร์ดับ หรือวันดับ (แรม ๑๔-๑๕ ค่ำ) และวันพระจันทร์กึ่งดวง (ขึ้น ๘ ค่ำ และ แรม ๘ ค่ำ) ตรงกับวันที่ดวงจันทร์เป็นอย่างนั้นจริงๆ ซึ่งบางเดือนข้างขึ้นอาจมีเพียง ๑๔ วัน (วันเพ็ญ เมื่อขึ้น ๑๔ ค่ำ) ก็มีข้างแรมอาจมีเต็ม ๑๕ วันติดต่อกัน หลายเดือนก็มี ต้องตรวจดูเป็นปักษ์ๆ ไป จึงใช้คำว่าปักษ์ถ้วน ปักษ์ขาดไม่ใช่เพียงเดือนเต็ม เดือนขาด เป็นวิธีคำนวณที่สลับซับซ้อน ต่างจากปฏิทินหลวง หรือปฏิทินของราชการ ที่ใช้วิธีคำนวณเฉลี่ยให้ข้างขึ้นเต็ม ๑๕ วันเสมอไป ส่วนข้างแรม เดือนคู่มี ๑๕ วัน เดือนคี่เรียกว่าเดือนขาดมี ๑๔ วัน สลับกันไป (แม้จะคำนวณด้วยวิธีที่พิเศษออกไป แต่วันเดือนเพ็ญเดือนดับที่ตรงกันก็มาก ที่คลาดกันก็เพียงวันเดียว); ปักขคณนา นี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงค้นคิดวิธีคำนวณขึ้นใช้ในพระสงฆ์คณะธรรมยุต เพื่อเป็นเครื่องกำหนดวันสำหรับพระสงฆ์ทำอุโบสถ และสำหรับอุบาสกอุบาสิการักษาอุโบสถศีลฟังธรรมเป็นข้อปฏิบัติของคณะธรรมยุตสืบมา
  17. ปัจเจกพุทธะ : พระพุทธเจ้าประเภทหนึ่งซึ่งตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้สั่งสอนผู้อื่น ดู พุทธะ
  18. ปัจฉาสมณะ : พระตามหลัง, พระผู้ติดตาม เช่น พระพุทธเจ้ามักทรงเป็นพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ (คู่กับปุเรสมณะพระนำหน้า)
  19. ปัญจพิธพันธนะ : เครื่องตรึง ๕ อย่าง คือ ตรึงเหล็กอันร้อนที่มือทั้ง ๒ ข้างที่เท้าทั้ง ๒ ข้าง และที่กลางอก ซึ่งเป็นการลงโทษที่นายนิรยบาลกระทำต่อสัตว์นรก
  20. ปัญจาละ : ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีปครั้งพุทธกาล ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของแคว้น กุรุ มีแม่น้ำภาคีรถีซึ่งเป็นแควหนึ่งของแม่น้ำคงคาตอนบนไหลผ่าน นครหลวงชื่อกัมปิลละ
  21. ปาจิตตีย์ : แปลตามตัวอักษรว่า การละเมิดอันยังกุศลให้ตก, ชื่ออาบัติเบาเรียกลหุกาบัติ พ้นด้วยการแสดง; เป็นชื่อสิกขาบท ได้แก่ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ และสุทธิกปาจิตตีย์ ซึ่งเรียกกันสั้นๆ ว่า ปาจิตตีย์ อีก ๙๒ ภิกษุล่วงละเมิดสิกขาบท ๑๒๒ ข้อเหล่านี้ย่อมต้องอาบัติปาจิตตีย์ เช่น ภิกษุพูดปด ฆ่าสัตว์ดิรัจฉาน ว่ายน้ำเล่น เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ดู อาบัติ
  22. ปาฏิเทสนียะ : “จะพึงแสดงคืน”, อาบัติ ที่จะพึงแสดงคืน เป็นชื่อลหุกาบัติ คือ อาบัติเบาอย่างหนึ่งถัดรองมาจากปาจิตตีย์ และเป็นชื่อสิกขาบท ๔ ข้อ ซึ่งแปลได้ว่า พึงปรับด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ เช่น ภิกษุรับของเคี้ยวของฉัน จากมือของภิกษุณีที่มิใช่ญาติ ด้วยมือของตน มาบริโภค ด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ ดู อาบัติ
  23. ปาฏิโมกข์ย่อ : มีพุทธานุญาตให้สวดปาฏิโมกข์ย่อได้ ในเมื่อมีเหตุจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ในเหตุ ๒ อย่าง คือ ๑. ไม่มีภิกษุจำปาฏิโมกข์ได้จนจบ (พึงสวดเท่าอุเทศที่จำได้) ๒.เกิดเหตุฉุกเฉินขัดข้องที่เรียกว่าอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งในอันตรายทั้ง ๑๐ (กำลังสวดอุเทศใดค้างอยู่ เลิกอุเทศนั้นกลางคันได้ และพึงย่อตั้งแต่อุเทศนั้นไปด้วยสุตบท คือ คำว่า “สุต” ที่ประกอบรูปเป็น สุตา ตามไวยากรณ์ ทั้งนี้ยกเว้นนิทานุทเทสซึ่งต้องสวดให้จบ)
  24. ปาพจน์ : คำเป็นประธาน หมายถึง พระพุทธพจน์ ซึ่งได้แก่ธรรมและวินัย
  25. ปาสาณเจดีย์ : เจดียสถานแห่งหนึ่งอยู่ในแคว้นมคธ มาณพ ๑๖ คนซึ่งเป็นศิษย์ของพราหมณ์พาวรี ได้เฝ้าพระศาสดาและทูลถามปัญหา ณ ที่นี้
  26. ปิปาสวินโย : ความนำออกไปเสียซึ่งความกระหาย, กำจัดความกระหายคือตัณหาได้ (เป็นไวพจน์ของวิราคะ)
  27. ปิยรูป สาตรูป : สภาวะที่น่ารักน่าชื่นใจ มุ่งเอาส่วนที่เป็นอิฏฐารมณ์ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งตัณหามี ๑๐ หมวดๆ ละ ๖ อย่าง คือ อายตนะภายใน ๖ อายตนภายนอก ๖ วิญญาณ ๖ สัมผัส ๖ เวทนา ๖ สัญญา ๖ สัญเจตนา ๖ มีรูปสัญเจตนา เป็นต้น ตัณหา ๖ มีรูปตัณหา เป็นต้น วิตก ๖ มีรูปวิตกเป็นต้น วิจาร ๖ มีรูปวิจาร เป็นต้น
  28. ปุคคลสัมมุขตา : ความเป็นต่อหน้าบุคคล, ในวิวาทาธิกรณ์ หมายความว่าคู่วิวาทอยู่พร้อมหน้ากัน
  29. ปุรัตถิมทิศ : ทิศเบื้องหน้า หมายถึงมารดาบิดา ดู ทิศหก
  30. ปุราณชฎิล : พระเถระสามพี่น้องพร้อมด้วยบริวาร คือ อุรุเวลกัสสป นทีกัสสป คยากัสสป ซึ่งเคยเป็นชฎิลมาก่อน
  31. ปุเรภัต : ก่อนภัต, ก่อนอาหาร หมายถึง เวลาก่อนฉันของภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็ได้ แต่เมื่อพูดอย่างกว้าง หมายถึง ก่อนหมดเวลาฉัน คือ เวลาเช้าจนถึงเที่ยง ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ภิกษุฉันอาหารได้
  32. ปุเรสมณะ : พระนำหน้า คู่กับปัจจฉาสมณะ พระตามหลัง
  33. เปรต : ๑.ผู้ละโลกนี้ไปแล้ว, คนที่ตายไปแล้ว ๒.สัตว์จำพวกหนึ่งซึ่งเกิดอยู่ในอบายชั้นที่เรียกว่า ปิตติวิสัยหรือ เปตติวิสัย ได้รับความทุกข์ทรมาน เพราะไม่มีอาหารจะกิน แม้เมื่อมีก็กินไม่ได้ หรือกินได้โดยยาก
  34. ผลญาณ : ญาณในอริยผล, ญาณที่เกิดขึ้นในลำดับ ต่อจากมัคคญาณ และเป็นผลแห่งมัคคญาณนั้น ซึ่งผู้บรรลุแล้ว ได้ชื่อว่าเป็นพระอริยบุคคลขั้นนั้นๆ มีโสดาบัน เป็นต้น; ดู ญาณ
  35. ผ้าทิพย์ : ผ้าห้อยหน้าตักพระพุทธรูป (โดยมากเป็นปูนปั้นมีลายต่างๆ)
  36. ผ้าอาบน้ำฝน : ผ้าสำหรับอธิษฐานไว้ใช้นุ่งอาบนำฝนตลอด ๔ เดือนแห่งฤดูฝน ซึ่งพระภิกษุจะแสวงหาได้ในระยะเวลา ๑ เดือน ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๗ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ และให้ทำนุ่งได้ในเวลากึ่งเดือน ตั้งแต่ขึ้น ๑ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ปัจจุบันมีประเพณีทายกทายิกาทำบุญถวายผ้าอาบน้ำฝนตามวัดต่างๆ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘; เรียกเป็นคำศัพท์ว่า วัสสิกสาฏิกา หรือ วัสสิกสาฏก; คำถวายผ้าอาบน้ำฝนเหมือนคำถวายผ้าป่า เปลี่ยนแต่ ปํสุกูลจีวรานิ เป็น วสฺสิกสาฏิกานิ และผ้าบังสุกุลจีวร เป็นผ้าอาบน้ำฝน
  37. แผ่เมตตา : ตั้งจิตปรารถนาดีขอให้ผู้อื่นมีความสุข; คำแผ่เมตตาที่ใช้เป็นหลักว่า สพฺเพ สตฺตา อเวรา อพฺยาปชฺฌา อนีฆา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ แปลว่า ขอสัตว์ทั้งหลาย, (ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน) หมดทั้งสิ้น, (จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด) อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย, (จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด) อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย, (จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด) อย่าได้มีทุกข์กายทุกข์ใจเลย, จงมีความสุขกายสุขใจ, รักษาตน (ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น) เถิด.ข้อความในวงเล็บ เป็นส่วนที่เพิ่มเข้ามาในคำแปลเป็นภาษาไทย
  38. พรหมจรรย์ : การศึกษาพระเวท, การบวชซึ่งละเว้นเมถุน, การครองชีวิตที่ปราศจากเมถุน, การประพฤติธรรมอันประเสริฐ, การครองชีวิตประเสริฐ, มรรค, พระศาสนา
  39. พรหมทัณฑ์ : โทษอย่างสูง คือ สงฆ์ตกลงกันลงโทษภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง โดยภิกษุทั้งหลายพร้อมใจกันไม่พูดด้วย ไม่ว่ากล่าวตักเตือน หรือสั่งสอนภิกษุรูปนั้น, พระฉันนะซึ่งเป็นพระเจ้าพยศ ถือตัวว่าเป็นคนเก่าใกล้ชิดพระพุทธเจ้ามาก่อนใครอื่น ใครว่าไม่ฟัง ภายหลังถูกสงฆ์ลงพรหมทัณฑ์ถึงกับเป็นลมล้มสลบหายพยศได้
  40. พรหมโลก : ที่อยู่ของพรหม ตามปกติหมายถึงรูปพรหม ซึ่งมี ๑๖ ชั้น (เรียกว่า รูปโลก) ตามลำดับดังนี้ ๑.พรหมปาริสัชชา ๒.พรหมปุโรหิตา ๓.มหาพรหมา ๔.ปริตตาภา ๕.อัปปมาณาภา ๖.อาภัสสรา ๗.ปริตตสุภา ๘.อัปปมาณสุภา ๙.สุภกิณหา ๑๐.อสัญญีสัตตา ๑๑.เวหัปผลา ๑๒.อวิหา ๑๓.อตัปปา ๑๔.สุทัสสา ๑๕.สุทัสสี ๑๖.อกนิฏฐา; นอกจากนี้ยังมีอรูปพรหม ซึ่งแบ่งเป็น ๔ ชั้น (เรียกว่า อรูปโลก) คือ ๑.อากาสานัญจายตนะ ๒.วิญญาณัญจายตนะ ๓.อากิญจัญญายตนะ ๔.เนวสัญญานาสัญญายตนะ
  41. พละ : กำลัง 1.พละ ๕ คือธรรมอันเป็นกำลัง ซึ่งเป็นเครื่องเกื้อหนุนแก่อริยมรรค จัดอยู่ในจำพวกโพธิปักขิยธรรม มี ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา; ดู อินทรีย์๕2.พละ ๔ คือธรรมอันเป็นพลังทำให้ดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจ ไม่ต้องหวาดหวั่นกลัวภัยต่างๆ ได้แก่ ๑.ปัญญาพละ กำลังปัญญา ๒.วิริยพละ กำลังความเพียร ๓.อนวัชชพละ กำลังคือการกระทำที่ไม่มีโทษ (กำลังความสุจริตและการกระทำแต่กิจกรรมที่ดีงาม) ๔.สังคหพละ กำลังการสงเคราะห์ คือช่วยเหลือเกื้อกูลอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยดี ทำตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคม 3.พละ ๕ หรือ ขัตติยพละ ๕ ได้แก่กำลังของพระมหากษัตริย์ หรือกำลังที่ทำให้มีความพร้อมสำหรับความเป็นกษัตริย์ ๕ ประการ ดังแสดงในคัมภีร์ชาดกคือ ๑.พาหาพละ หรือ กายพละ กำลังแขนหรือกำลังกาย คือแข็งแรงสุขภาพดี สามารถในการใช้แขนใช้มือใช้อาวุธ มีอุปกรณ์พรั่งพร้อม ๒.โภคพละ กำลังโภคสมบัติ ๓.อมัจจพละ กำลังข้าราชการที่ปรึกษาและผู้บริหารที่สามารถ ๔.อภิชัจจพละ กำลังความมีชาติสูง ต้องด้วยความนิยมเชิดชูของมหาชนและได้รับการศึกษาอบรมมาดี ๕.ปัญญาพละ กำลังปัญญา ซึ่งเป็นข้อสำคัญที่สุด
  42. พหุพจน์ : คำที่กล่าวถึงสิ่งมากกว่าหนึ่ง คือตั้งแต่ ๒ สิ่งขึ้นไป, เป็นคำที่ใช้ในไวยากรณ์บาลีและไทย คู่กับเอกพจน์ ซึ่งกล่าวถึงสิ่งเดียว; แต่ในไวยากรณ์สันสกฤต จำนวน ๒ เป็นทวิพจน์หรือทวีวจนะ จำนวน ๓ ขึ้นไปจึงจะเป็นพหุพจน์
  43. พหูพจน์ : คำที่กล่าวถึงสิ่งมากกว่าหนึ่ง คือตั้งแต่ ๒ สิ่งขึ้นไป, เป็นคำที่ใช้ในไวยากรณ์บาลีและไทย คู่กับเอกพจน์ ซึ่งกล่าวถึงสิ่งเดียว; แต่ในไวยากรณ์สันสกฤต จำนวน ๒ เป็นทวิพจน์หรือทวีวจนะ จำนวน ๓ ขึ้นไปจึงจะเป็นพหุพจน์
  44. พาราณสี : ชื่อเมืองหลวงของแคว้นกาสี อยู่ริมแม่น้ำคงคา ปัจจุบันเรียก พานาราส หรือ เบนาเรส (Banaras, Benares) ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาซึ่งปัจจุบันเรียกว่า สารนาถ อยู่ห่างจากตัวเมืองพาราณสีปัจจุบันประมาณ ๖ ไมล์
  45. พาวรี : พราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ใหญ่ตั้งอาศรมสอนไตรเพทแก่ศิษย์อยู่ฝั่งแม่น้ำโคธาวรี ณ สุดเขตแดนแคว้นอัสสกะ ได้ส่งศิษย์ ๑๖ คนไปถามปัญหาพระศาสดา เพื่อจะทดสอบว่าพระองค์เป็นพระสัมมาสัมพุทธะจริงหรือไม่ ภายหลังได้รับคำตอบแล้ว ศิษย์ชื่อปิงคิยะซึ่งเป็นหลานของท่านได้กลับมาเล่าเรื่องและแสดงคำตอบปัญหาของพระศาสดา ทำให้ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอนาคามี
  46. พุทธกิจ ๔๕ พรรษา : ในระหว่างเวลา ๔๕ ปีแห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับจำพรรษา ณ สถานที่ต่างๆ ซึ่งท่านได้ประมวลไว้ พร้อมทั้งเหตุการณ์สำคัญบางอย่างอันควรสังเกต
  47. พุทธางกูร : หน่อพระพุทธเจ้า คือ ผู้ที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้าในภายภาคหน้า
  48. โพธิ : ต้นโพธิ์, ต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าได้ประทับ ณ ภายใต้ร่มเงาในคราวตรัสรู้, ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้และต้นไม้อื่นที่เป็นชนิดเดียวกันนั้น สำหรับพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์ไม้อัสสัตถะ (ต้นโพ) ต้นที่อยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลคยา; ต้นโพธิ์ ตรัสรู้ที่เป็นหน่อของต้นเดิมที่คยา ได้ปลูกเป็นต้นแรกในสมัยพุทธกาล (ปลูกจากเมล็ด) ที่ประตูวัดพระเชตวัน โดยพระอานนท์เป็นผู้ดำเนินการตามความปรารภของอนาถบิณฑิกเศรษฐี และเรียกชื่อว่า อานันทโพธิ; หลังพุทธกาล ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระนาง สังฆมิตตาเถรี ได้นำกิ่งด้านขวาของต้นมหาโพธิ์ที่คยานั้นไปมอบแด่พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ทรงปลูกไว้ ณ เมืองอนุราธปุระ ในลังกาทวีป ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นต้นไม้เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน; ในประเทศไทย สมัยราชวงศ์จักรี พระสมณทูตไทยในสมัย ร.๒ ได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์ที่เมืองอนุราธปุระมา ๖ ต้น ใน พ.ศ. ๒๓๕๗ โปรดให้ปลูกไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช ๒ ต้น นอกนั้นปลูกที่วัดมหาธาตุ วัดสุทัศน์ วัดสระเกศและที่เมืองกลันตัน แห่งละ ๑ ต้น; ต่อมา ในสมัย ร.๕ ประเทศไทยได้พันธุ์ต้นมหาโพธิจากคยาโดยตรงครั้งแรก ได้ปลูกไว้ ณ วัดเบญจมบพิตรและวัดอัษฎางคนิมิตร
  49. โพธิพฤกษ์ : ต้นโพธิ์, ต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าได้ประทับ ณ ภายใต้ร่มเงาในคราวตรัสรู้, ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้และต้นไม้อื่นที่เป็นชนิดเดียวกันนั้น สำหรับพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์ไม้อัสสัตถะ (ต้นโพ) ต้นที่อยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลคยา; ต้นโพธิ์ ตรัสรู้ที่เป็นหน่อของต้นเดิมที่คยา ได้ปลูกเป็นต้นแรกในสมัยพุทธกาล (ปลูกจากเมล็ด) ที่ประตูวัดพระเชตวัน โดยพระอานนท์เป็นผู้ดำเนินการตามความปรารภของอนาถบิณฑิกเศรษฐี และเรียกชื่อว่า อานันทโพธิ; หลังพุทธกาล ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระนาง สังฆมิตตาเถรี ได้นำกิ่งด้านขวาของต้นมหาโพธิ์ที่คยานั้นไปมอบแด่พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ทรงปลูกไว้ ณ เมืองอนุราธปุระ ในลังกาทวีป ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นต้นไม้เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน; ในประเทศไทย สมัยราชวงศ์จักรี พระสมณทูตไทยในสมัย ร.๒ ได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์ที่เมืองอนุราธปุระมา ๖ ต้น ใน พ.ศ. ๒๓๕๗ โปรดให้ปลูกไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช ๒ ต้น นอกนั้นปลูกที่วัดมหาธาตุ วัดสุทัศน์ วัดสระเกศและที่เมืองกลันตัน แห่งละ ๑ ต้น; ต่อมา ในสมัย ร.๕ ประเทศไทยได้พันธุ์ต้นมหาโพธิจากคยาโดยตรงครั้งแรก ได้ปลูกไว้ ณ วัดเบญจมบพิตรและวัดอัษฎางคนิมิตร
  50. โพธิสัตว์ : ท่านผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งกำลังบำเพ็ญบารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-319

(0.0605 sec)