Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย, ประเทศไทย, โทรศัพท์, องค์การ, แห่ง .

Budhism Thai-Thai Dict : องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย, 487 found, display 51-100
  1. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ : องค์แห่งผู้ถือ ห้ามภัตที่เขานำมาถวายภายหลัง คือ เมื่อลงมือฉันแล้วมีผู้นำอาหารมาถวายอีก ก็ไม่รับ (ธุดงค์ข้อ ๗)
  2. ขันธปัญจก : หมวด ๕ แห่งขันธ์ อันไดแก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (นิยมเรียก ขันธปัญจก) ดู ขันธ์
  3. ขันธมาร : ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นมาร เพราะเป็นสภาพอันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ ถูกปัจจัยต่างๆ มีอาพาธเป็นต้น บีบคั้นเบียดเบียนเป็นเหตุขัดขวางหรือรอนโอกาส มิให้สามารถทำความดีงามได้เต็มที่ หรืออาจตัดโอกาสนั้นโดยสิ้นเชิง (ข้อ ๒ ในมาร ๕)
  4. เขมา : พระเถรีมหาสาวิการูปหนึ่งประสูติในราชตระกูลแห่งสาคลนครในมัททรัฐ ต่อมาได้เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าพิมพิสาร มีความมัวเมาในรูปสมบัติของตน ได้ฟังพระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องราคะ และการกำจัดราคะ พอจบพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุพระอรหัต แล้วบวชเป็นภิกษุณี ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางมีปัญญามาก และเป็นอัครสาวิกาฝ่ายขวา
  5. คณญัตติกรรม : การประกาศให้สงฆ์ทราบแทนคณะคือพวกฝ่ายตน ได้แก่ การที่ภิกษุรูปหนึ่งในนามแห่งภิกษุฝ่ายหนึ่ง สวดประกาศขออนุมัติเป็นผู้แสดงแทนซึ่งอาบัติของฝ่ายตนและของตนเองด้วยติณวัตถารกวิธี (อีกฝ่ายหนึ่งก็พึงทำเหมือนกันอย่างนั้น) ; เป็นขั้นตอนหนึ่งแห่งการระงับอธิกรณ์ ด้วยติณวัตถารกวินัย
  6. คณะมหานิกาย : คณะสงฆ์ไทยเดิมทีสืบมาแต่สมัยสุโขทัย, เป็นชื่อที่ใช้เรียกในเมื่อได้เกิดมีคณะธรรมยุตขึ้นแล้ว; สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงให้ความหมายว่า พระสงฆ์อันมีเป็นพื้นเมือง (ของประเทศไทย-ผู้เขียน) ก่อนเกิด ธรรมยุติกนิกาย (การคณะสงฆ์ น.๙๐)
  7. คดีธรรม : ทางธรรม, คติแห่งธรรม
  8. คดีโลก : ทางโลก, คติแห่งโลก
  9. คยาสีสะ : ชื่อตำบล ซึ่งเป็นเนินเขาแห่งหนึ่งในจังหวัดคยา พระพุทธเจ้าเทศนาอาทิตตปริยายสูตร โปรดภิกษุสงฆ์ปุราณชฎิลทั้งหมดให้สำเร็จพระอรหัตที่ตำบลนี้
  10. คันธาระ : ชื่นแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีป ตั้งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำสินธูตอนเหนือ ตรงกับแคว้นปัญจาบภาคเหนือในปัจจุบัน นครหลวง ชื่อตักสิลา เป็นนครที่รุ่งเรืองด้วยศิลปวิทยาต่างๆ แคว้นคันธาระอยู่ติดกันกับแคว้นกัษมีระ (เขียนอย่าสันสกฤตเป็นกัศมีระ) หรือแคชเมียร์ พระราชาผู้ปกครองคันธาระในสมัยพุทธกาล มีพระนามว่าปุกกุสาติ
  11. คำไวยากรณ์ : คำร้อยแก้ว ตรงข้ามกับคำว่า คาถา คือ คำร้อยกรองแห่งภาษาบาลี
  12. คุณของพระรัตนตรัย : คุณของรัตนะ ๓ คือ ๑.พระพุทธเจ้า รู้ดีรู้ชอบด้วยพระองค์เองก่อนแล้วทรงสอนผู้อื่นให้รู้ตามด้วย ๒.พระธรรม เป็นหลักแห่งความจริงและความดีงาม ย่อมรักษาผู้ปฏิบัติตามไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ๓.พระสงฆ์ ปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว สอนผู้อื่นให้กระทำตามด้วย
  13. โคจรวิบัติ : วิบัติแห่งโคจร, เสียในเรื่องที่เที่ยว, ความเสียหายในการไปมาหาสู่ เช่นภิกษุไปในที่อโคจรมีร้านสุรา หญิงแพศยา แม่หม้าย บ่อนการพนัน เป็นต้น
  14. โคตมกเจดีย์ : ชื่อเจดียสถานแห่งหนึ่ง อยู่ทางทิศใต้ของเมืองเวสาลี เป็นที่ที่พระพุทธเจ้าเคยประทับหลายครั้ง และเคยทรงทำนิมิตโอภาสแก่พระอานนท์
  15. โคตมี : ชื่อเรียกสตรีแห่งโคตมโคตร เช่น พระนางมหาปชาบดี ผู้เป็นพระแม่น้าของพระสิทธัตถะ เป็นต้น
  16. จริต : ความประพฤติ, พื้นนิสัย หรือพื้นเพแห่งจิตของคนทั้งหลายที่หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง แตกต่างกันไปคือ ๑.ราคจริต ผู้มีจาคะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางรักสวยรักงาม มักติดใจ) ๒.โทสจริต ผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางใจร้อนขี้หงุดหงิด) ๓.โมหจริต ผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางเหงาซึม งมงาย) ๔.สัทธาจริต ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางน้อมใจเชื่อ) ๕.พุทธิจริต ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดพิจารณา) ๖.วิตกจริต ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดจับจดฟุ้งซ่าน)
  17. จริยธรรม : “ธรรมคือความประพฤติ”, “ธรรมคือการดำเนินชีวิต”, หลักความประพฤติ, หลักการดำเนินชีวิต; คำ “จริยธรรม” นี้ นักปราชญ์ในประเทศไทยได้บัญญัติให้ใช้สำหรับคำภาษาอังกฤษว่า ethics หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม หรือกฎศีลธรรม; จริยะ หรือพรหมจริยะ (พรหมจริยธรรม หรือ พรหมจรรย์) แปลว่า ความประพฤติอันประเสริฐ หมายถึง มรรคมีองค์ ๘ หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา เทียบ ศีลธรรม
  18. จักกวัตติสูตร : ชื่อสูตรที่ ๓ แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระสุตตันตปิฎก พระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุทั้งหลายให้พึ่งตน คือพึ่งธรรม ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งจะทำให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ดำเนินอยู่ในแดนของตนเองที่สืบมาแต่บิดา จะมีแต่ความดีงามเจริญขึ้นไม่เปิดช่องให้แก่มาร เช่นเดียวกับพระเจ้าจักรพรรดิที่ทรงประพฤติตามหลักจักรวรรดิวัตร อันสืบกันมาแต่บรรพชนของพระองค์ ย่อมทำให้จักรรัตนะบังเกิดขึ้นมาเอง, จักรวรรดิวัตร นั้นมี ๔ ข้อใหญ่ ใจความว่า ๑.พระเจ้าจักรพรรดิเป็นธรรมาธิปไตย และจัดการคุ้มครองป้องกันโดยชอบธรรม แก่ชนทุกหมู่เหล่าในแผ่นดิน ตลอดไปถึงสัตว์ที่ควรสงวนพันธุ์ทั้งหลาย ๒.มิให้มีการอันอธรรมเกิดขึ้นในแผ่นดิน ๓.ปันทรัพย์เฉลี่ยให้แก่ผู้ไร้ทรัพย์ ๔.ปรึกษาสอบถามการดีชั่ว ข้อควรและไม่ควรประพฤติ กะสมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ อยู่เสมอ; จักรวรรดิวัตร ๔ ข้อนี้ บางทีจัดเป็น ๕ โดยแยกข้อ ๑.เป็น ๒ ข้อ คือ เป็นธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่อย่างหนึ่ง กับจัดการคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรม อย่างหนึ่ง, นอกจากนั้น สมัยต่อมา อรรถกถาจัดแบ่งซอยออกไป และเพิ่มเข้ามาอีก รวมเป็น ๑๒ ข้อ เรียกว่า จักรวรรดิวัตร ๑๒ ; พระสูตรนี้ถือว่าเป็นคำสอนแสดงหลักวิวัฒนาการของสังคมตามแนวจริยธรรม กล่าวถึงหลักการปกครอง และหลักความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจกับจริยธรรม; เรื่องพระศรีอารยเมตไตรย ก็มีต้นเค้ามาจากพระสูตรนี้
  19. จักรพรรดิราชสมบัติ : สมบัติ คือความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ, ความพรั่งพร้อมสมบูรณ์แห่งพระเจ้าจักรพรรดิ
  20. จักรรัตนะ : จักรแก้ว หมายถึงตัวอำนาจแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ
  21. จัมมขันธกะ : ชื่อขันธกะที่ ๕ แห่งคัมภีร์มหาวรรค วินัยปิฎก ว่าด้วยเครื่องหนังต่างๆ มีรองเท้าและเครื่องลาดเป็นต้น
  22. จิตตกัมมัญญตา : ความควรแก่การงานแห่งจิต, ธรรมชาติทำจิตให้เหมาะแก่การใช้งาน (ข้อ ๑๕ ในโสภณเจตสิก ๒๕)
  23. จิตตปาคุญญตา : ความคล่องแคล้วแห่งจิต, ธรรมชาติที่ทำจิตให้สละสลวย คล่องแคล่วว่องไว (ข้อ ๑๗ ในโสภณเจตสิก ๒๕)
  24. จิตตมุทุตา : ความอ่อนแห่งจิต, ธรรมชาติทำจิตให้นมนวลอ่อนละมุน (ข้อ ๑๓ ในโสภณเจตสิก ๒๕)
  25. จิตตลหุกา : ความเบาแห่งจิต, ธรรมชาติที่ทำให้จิตเบาพร้อมที่จะเคลื่อนไหวทำหน้าที่ (ข้อ ๑๑ ในโสภณเจตสิก ๒๕)
  26. จิตตวิสุทธิ : ความหมดจดแห่งจิต คือได้ฝึกอบรมจิตจนเกิดสมาธิพอเป็นบาทฐานแห่งวิปัสสนา (ข้อ ๒ ในวิสุทธิ ๗)
  27. จิตตุชุกตา : ความซื่อตรงแห่งจิต, ธรรมชาติที่ทำให้จิตซื่อตรงต่อหน้าที่การงานของมัน (ข้อ ๑๙ ในโสภณจิต ๒๕)
  28. จีวรขันธกะ : ชื่อขันธกะที่ ๘ แห่งคัมภีร์มหาวรรค วินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องจีวร
  29. จีวรนิทหกะ : ผู้เก็บจีวร คือ ภิกษุที่สงฆ์สมมติให้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวรรักษาจีวร เป็นตำแหน่งหนึ่งในบรรดาเจ้าอธิการแห่งจีวร
  30. จีวรปฏิคคาหก : ผู้รับจีวร คือ ภิกษุที่สงฆ์สมมติให้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร เป็นตำแหน่งหนึ่งในบรรดาเจ้าอธิการแห่งจีวร
  31. จีวรภาชก : ผู้แจกจีวร คือ ภิกษุที่สงฆ์สมมติให้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร, เป็นตำแหน่งหนึ่งในบรรดาเจ้าอธิการแห่งจีวร
  32. จีวรวรรค : ตอนที่ว่าด้วยเรื่องจีวร เป็นวรรคที่ ๑ แห่งนิสสัคคิยกัณฑ์
  33. จุณณิยบท : คำร้อยแก้ว, บางแห่งว่าบทบาลีเล็กน้อย ที่ยกขึ้นแสดงก่อนเนื้อความ (พจนานุกรมเขียน จุณณิยบท)
  34. จุลวรรค : ชื่อคัมภีร์อันเป็นหมวดหนึ่งแห่งพระวินัยปิฎก ซึ่งมีทั้งหมด ๕ หมวด คือ อาทิกัมม์ ปาจิตตีย์ มหาวรรค จุลวรรค บริวาร ; คัมภีร์จุลวรรค มี ๑๒ ขันธกะ คือ ๑.กัมมขันธกะ ว่าด้วยเรื่องนิคคหกรรม ๒.ปาริวาสิกขันธกะ ว่าด้วยวัตรของภิกษุผู้อยู่ปริวาส ผู้ประพฤติมานัต และผู้เตรียมจะอัพภาน ๓.สมุจจยขันธกะ ว่าด้วยระเบียบปฏิบัติต่างๆ ในการประพฤติวุฏฐานวิธี ๔.สมถขันธกะ ว่าด้วยการระงับอธิกรณ์ ๕.ขุททกวัตถุขันธกะ ว่าด้วยข้อบัญญัติปลีกย่อยจำนวนมาก เช่น การปลงผม ตัดเล็บ ไม้จิ้มฟัน ของใช้ต่างๆ เป็นต้น ๖.เสนาสนขันธกะ ว่าด้วยสังฆเภทและสังฆสามัคคี ๘.วัตตขันธกะ ว่าด้วยวัตรต่างๆ เช่น อาคันตุกวัตร เป็นตน ๙.ปาติโมกขัฏฐปนขันธกะ ว่าด้วยระเบียบในการงดสวดปาฏิโมกข์ในเมื่อภิกษุมีอาบัติติดตัวมาร่วมฟังอยู่ ๑๐.ภิกขุนีขันธกะ ว่าด้วยเรื่องภิกษุณีเริ่มแต่ประวัติการอนุญาตให้มีการบวชครั้งแรก ๑๑.ปัญจสติกขันธกะ ว่าด้วยเรื่องสังคายนาครั้งที่ ๑ ๑๒.สัตตสติกขันธกะ ว่าด้วยสังคายนาครั้งที่ ๒ (พระไตรปิฎกเล่ม ๖-๗); ต่อจาก มหาวรรค
  35. จูฬปันถกะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง ในอสีติมหาสาวก เป็นบุตรของธิดาเศรษฐีกรุงราชคฤห์ และเป็นน้องชายของมหาปันถกะ ออกบวชในพระพุทธศาสนา ปรากฏว่ามีปัญญาทึบอย่างยิ่ง พี่ชายมอบถาคาเพียง ๑ คาถาให้ ท่องตลอดเวลา ๔ เดือน ก็ท่องไม่ได้จึงถูกพี่ชายขับไล่ เสียใจคิดจะสึก พอดีพอพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสปลอบแล้วประทานผ้าขาวบริสุทธิ์ให้ไปลูบคลำพร้อมทั้งบริกรรมสั้นๆ ว่า “รโชหรณํ ๆๆ” ผ้านั้นหมองเพราะมือคลำอยู่เสมอ ทำให้มองเห็นไตรลักษณ์และได้สำเร็จพระอรหัต ท่านมีความชำนาญ แคล่วคล่อง ในอภิญญา ๖ ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาผู้ฉลาดในเจโตวิวัฏฏ์; ชื่อท่านเรียกว่าง่ายๆ ว่าจูฬบันถก, บางแห่งเขียนเป็นจุลลบันถก
  36. จูฬเวทัลลสูตร : ชื่อสูตรหนึ่งในมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ แห่งพระสุตตันตปิฎก แสดงโดยพระธรรมทินนาเถรี เป็นคำตอบปัญหาที่วิสาขอุบาสกถาม
  37. จูฬสังคาม : ชื่อตอนหนึ่งในคัมภีร์บริวารแห่งพระวินัยปิฎก
  38. เจตี : แคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้น ใหญ่แห่งชมพูทวีป ตั้งอยู่ลุ่มแม่น้ำคงคา ติดต่อกับแคว้นวังสะ นครหลวงชื่อโสตถิวดี
  39. เจโตวิมุตติ : ความหลุดพ้นแห่งจิต, การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิตหรือด้วยกำลังสมาธิ เช่น สมาบัติ ๘ เป็นเจโตวิมุตติอันละเอียดประณีต (สันตเจโตวิมุตติ)
  40. เจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์ : ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือแต่งตั้งจากสงฆ์ให้ทำหน้าที่ต่างๆ เกี่ยวกับการของส่วนรวมในวัดตามพระวินัยแบ่งไว้เป็น ๕ ประเภทคือ ๑.เจ้าอธิการแห่งจีวร ๒.เจ้าอธิการแห่งอาหาร ๓.เจ้าอธิการแห่งเสนาสนะ ๔.เจ้าอธิการแห่งอาราม ๕.เจ้าอธิการแห่งคลัง
  41. โจทนากัณฑ์ : ชื่อตอนหนึ่งในคัมภีร์บริวารแห่งพระวินัยปิฎก
  42. ฉายาปาราชิก : เงาแห่งปาราชิก คือ ประพฤติตนในฐานะที่ล่อแหลมต่อปาราชิก อาจเป็นปาราชิกได้ แต่จับไม่ถนัด เรียกว่าฉายาปาราชิก เป็นผู้ที่สงฆ์รังเกียจ
  43. เฉทนกปาจิตตีย์ : อาบัติปาจิตตีย์ที่ต้องตัดสิ่งของที่เป็นเหตุให้ต้องอาบัติเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก ได้แก่ สิกขาบทที่ ๕-๗-๘-๙-๑๐ แห่งรตนวรรค (ปาจิตตีย์ข้อ ๘๗, ๘๙, ๙๐, ๙๑, ๙๒)
  44. ชาติ : การเกิด, ชนิด, พวก, เหล่า, ปวงชนแห่งประเทศเดียวกัน
  45. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ : ปรีชากำหนดรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว และการออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ตามความเป็นจริง (ข้อ ๗ ในทศพลญาณ)
  46. ญาณ ๑๖ : ญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาโดยลำดับตั้งแต่ต้นจนถึงจุดหมาย คือมรรคผลนิพพาน ๑๖ อย่างคือ ๑.นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดแยกนามรูป ๒.(นามรูป) ปัจจัยปริคคหญาณ ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป ๓.สัมมสนญาณ ญาณพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์ ๔.- ๑๒.(ตรงกับวิปัสสนาญาณ ๙) ๑๓.โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตรคือหัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน ๑๔.มัคคญาณ ญาณในอริยมรรค ๑๕.พลญาณ ญาณในอริยผล ๑๖.ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่พิจารณาทบทวน; ญาณ ๑๖ นี้เรียกเลียนคำบาลีว่า โสฬสญาณ หรือ เรียกกึ่งไทยว่า ญาณโสฬส; ดู วิปัสสนาญาณ
  47. ญาณทัศนะ : การเห็นกล่าวคือการหยั่งรู้, การเห็นที่เป็นญาณ หรือ เห็นด้วยญาณ อย่างต่ำสุดหมายถึง วิปัสสนาญาณ นอกนั้นในที่หลายแห่งหมายถึง ทิพพจักขุญาณบ้าง มรรคญาณบ้าง และในบางกรณีหมายถึง ผลญาณบ้าง ปัจจเวกขณญาณบ้าง สัพพัญญุตญาณบ้าง ก็มี ทั้งนี้สุดแต่ข้อความแวดล้อมในที่นั้นๆ
  48. ญาณทัสสนวิสุทธิ : ความหมดจดแห่งญาณทัศนะ ได้แก่ ญาณในอริยมรรค ๔ ดู วิสุทธิ
  49. ญาณทัสสนะ : การเห็นกล่าวคือการหยั่งรู้, การเห็นที่เป็นญาณ หรือ เห็นด้วยญาณ อย่างต่ำสุดหมายถึง วิปัสสนาญาณ นอกนั้นในที่หลายแห่งหมายถึง ทิพพจักขุญาณบ้าง มรรคญาณบ้าง และในบางกรณีหมายถึง ผลญาณบ้าง ปัจจเวกขณญาณบ้าง สัพพัญญุตญาณบ้าง ก็มี ทั้งนี้สุดแต่ข้อความแวดล้อมในที่นั้นๆ
  50. ญาติพลี : สงเคราะห์ญาติ, ช่วยเหลือเกื้อกูลญาติ (ข้อ ๑ ในพลี ๕ อย่างแห่งโภคอาทิยะ ๕)
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-487

(0.0328 sec)