Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สำนักงานสถิติแห่งชาติ, สำนักงาน, สถิติ, แห่ง, ชาติ .

Budhism Thai-Thai Dict : สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 517 found, display 501-517
  1. อุทเทสวิภังคสูตร : ชื่อสูตรที่ ๓๘ แห่งมัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระสุตตันตปิฎก พระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องวิญญาณไว้โดยย่อ ภิกษุทั้งหลายอยากฟังโดยพิสดาร จึงขอให้พระมหากัจจายนะอธิบายความ พระมหากัจจายนะแสดงได้เนื้อความถูกต้องชัดเจนดีมาก จนได้รับคำยกย่องชมเชยจากพระพุทธเจ้า
  2. อุทยัพพยญาณ : ปรีชาหยั่งรู้ความเกิด และความดับแห่งสังขาร; ดู อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ
  3. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ : ปรีชาคำนึงเห็นความเกิดและความดับแห่งสังขาร, ญาณที่มองเห็นนามรูปเกิดดับ (ข้อ ๑ ในวิปัสสนาญาณ ๙)
  4. อุเทนเจดีย์ : เจดียสถานแห่งหนึ่ง อยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองเวสาลี นครหลวงของแคว้นวัชชี เป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่พระพุทธ่เจ้าเคยทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์
  5. อุเทศ : การยกขึ้นแสดง, การยกขึ้นชี้แจง, ข้อที่ยกขึ้นแสดง, หัวข้อ, การเรียนการสอน, การสวดปาฏิโมกข์, ปาฏิโมกข์ที่ยกขึ้นสวด, หมวดหนึ่งๆ แห่งปาฏิโมกข์ที่จัดไว้สำหรับสวด, ในคำว่า สงฆ์มีอุเทศเดียวกัน หมายความว่า ร่วมฟังสวดปาฏิโมกข์ด้วยกัน; อุเทศในปาฏิโมกข์จัดโดยย่อมี ๕ คือ ๑) นิทานุทเทส ๒) ปาราชิกุทเทส ๕) วิตถารุทเทส, อุทเทสที่ ๕ นั้น รวมเอา นิสสัคคิยุทเทส ปาจิตติยุทเทส ปาฏิเทสนียุทเทส เสขิยุทเทส และสมถุทเทส เข้าไว้ด้วยกัน ถ้าแยกออกนับโดยพิสดารก็จะเป็น ๙ อุเทส การรู้จักอุเทศหรืออุทเทสเหล่านี้เป็นประโยชน์สำหรับการตัดตอนสวดปาฏิโมกข์ย่อได้ในคราวจำเป็น ดู ปาฏิโมกข์ย่อ
  6. อุปธิ : สิ่งนุงนัง, สภาวะกลั้วกิเลส, สิ่งที่ยังระคนด้วยกิเลส 1) ร่างกาย 2) สภาวะอันเป็นที่ตั้งที่ทรงไว้แห่งทุกข์ ได้แก่ กาม กิเลส เบญจขันธ์ และอภิสังขาร
  7. อุปปีฬกกรรม : กรรมบีบคั้น ได้แก่ กรรมที่เป็นกุศลก็ดี อกุศลก็ดี ซึ่งบีบคั้นการให้ผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถุมภกกรรม ที่ตรงข้ามกับตน ให้แปรเปลี่ยนไป เช่น ถ้าเป็นกรรมดีก็บีบคั้นให้อ่อนลง ไม่ให้ได้รับผลเต็มที่ ถ้าเป็นกรรมชั่วก็เกียดกันให้ทุเลา (ข้อ ๗ ในกรรม ๑๒)
  8. อุปาทานขันธ์ : ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน, ขันธ์ที่ประกอบด้วยอุปาทาน ได้แก่ เบญจขันธ์ คือ รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณที่ประกอบด้วยอาสวะ
  9. อุโปสถขันธกะ : ชื่อขันธกะที่ ๒ แห่งคัมภีร์มหาวรรค พระวินัยปิฎก ว่าด้วยการทำอุโบสถ คือ สวดปาฏิโมกข์และเรื่องสีมา
  10. อุพภตกสัณฐาคาร : ท้องพระโรงชื่ออุพภตก เป็นท้องพระโรง หรือหอประชุมที่สร้างขึ้นใหม่ของมัลลกษัตริย์แห่งเมืองปาวา มัลลกษัตริย์ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าไปประทับพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เพื่อเป็นสิริมงคลก่อนจะเปิดใช้งาน ณ ที่นี้ พระสารีบุตรได้แสดงสังคีติสูตร อันเป็นต้นแบบของการสังคายนา
  11. อุรุเวลา : ชื่อตำบลใหญ่แห่งหนึง ในแคว้นมคธ ตั้งอยู่ ณ ลุ่มแม่น้ำเนรัญชรา เป็นภูมิสถานที่สงบน่ารื่นรมย์ พระมหาบุรุษทรงเลือกเป็นที่บำเพ็ญเพียร ได้ประทับอยู่ ณ ที่นี้นานถึง ๖ ปี ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา และเปลี่ยนมาทรงดำเนินในมัชฌิมาปฏิปทา จนได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ภายใต้ร่มพระศรีมหาโพธิ์ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลนี้
  12. เอกพีชี : ผู้มีพืชคืออัตภาพอันเดียว หมายถึง พระโสดาบันซึ่งจะเกิดอีกครั้งเดียว ก็จะบรรลุพระอรหัตตผลในภพที่เกิดขึ้น (ข้อ ๑ ในโสดาบัน ๓, บางแห่งท่านจัดกลับเป็นข้อ ๓)
  13. เอกภัณฑะ : ทรัพย์สิ่งเดียวซึ่งมีราคาเพียงพอที่จะเป็นวัตถุแห่งปาราชิก
  14. เอกาสนิกังคะ : องค์แห่งผู้ถือนั่งฉันที่อาสนะเดียวเป็นวัตร คือ ฉันวันละมื้อเดียว ลุกจากที่แล้วไม่ฉันอีกในวันนั้น (ข้อ ๕ ในธุดงค์ ๑๓)
  15. โอภาส : 1) แสงสว่าง, แสงสุกใส ผุดผ่อง (ข้อ ๑ ในวิปัสสนูปกิเลส ๑๐) 2) การพูดหรือแสดงออกที่เป็นเชิงเปิดช่องทางหรือให้โอกาส เช่นที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำโอภาส ณ ที่ต่างๆ หลายแห่ง ซึ่งถ้าพระอานนท์เข้าใจ ก็จะทูลขอให้ทรงดำรงพระชนม์อยู่ตลอด (อายุ) กัป
  16. โอวาทวรรค : ตอนที่ว่าด้วยเรื่องให้โอวาทแก่นางภิกษุณี เป็นต้น, เป็นชื่อวรรคที่ ๓ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ ในมหาวิภังค์ พระวินัยปิฎก
  17. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | [501-517]

(0.0608 sec)