Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ภาษ , then ภาษ, ภาษา, ภาส .

Budhism Thai-Thai Dict : ภาษ, 81 found, display 51-81
  1. ไวยากรณ์ : 1.ระเบียบของภาษา, วิชาว่าด้วยระเบียบแห่งภาษา 2.คำหรือข้อความที่เป็นร้อยแก้ว, ความร้อยแก้ว ดู นวังคสัตถุศาสน์
  2. สงสาร : ๑. การเวียนว่ายตายเกิด, การเวียนตายเวียนเกิด ๒.ในภาษาไทยมักหมายถึงรู้สึกในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น (= กรุณา)
  3. สดับปกรณ์ : “ ๗ คัมภีร์” หมายถึงคัมภีร์พระอภิธรรมทั้ง ๗ ในพระอภิธรรมปิฎก เขียนเต็มว่า สัตตัปปกรณ์ (ดู ในคำว่า ไตรปิฎก)แต่ในภาษาไทยคำนี้ความหมายกร่อนลงมา เป็นคำสำหรับใช้ในพิธีกรรม เรียกกิริยาที่พระภิกษุกล่าวคำพิจารณาสังขารเมื่อจะชักผ้าบังสุกุลในพิธีศพเจ้านายว่า สดับปกรณ์ ตรงกับที่เรียกในพิธีศพทั่วๆ ไปว่า บังสุกุล (ซึ่งก็เป็นศัพท์ที่มีความหมายกร่อนเช่นเดียวกัน), ใช้เป็นคำนาม หมายถึง พิธีสวดมาติกาบังสุกุลในงานศพ ปัจจุบันใช้เฉพาะศพเจ้านาย
  4. สมเพช : ในภาษาไทย ใช้ในความหมายว่า สลดใจ ทำให้เกิดความสงสาร แต่ตามหลักภาษาตรงกับ สังเวช
  5. สมภพ : การร่วมกัน, การตกลงกัน, การมีมติร่วมกัน หรือยอมรับร่วมกัน; การที่สงฆ์ ประชุมกันตกลงมอบหมายหรือแต่งตั้งภิกษุให้ทำกิจหรือเป็นเจ้าหน้าที่ในเรื่องอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สมมติภิกษุเป็นผู้ให้โอวาทภิกษุณีสมมติภิกษุเป็นภัตตุเทศก์ เป็นต้น; ในภาษาไทย ใช้ในความหมายว่า ตกลงกันว่า ต่างว่า
  6. สมันตปาสาทิกา : ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในพระวินัยปิฎก พระพุทธโฆษาจารย์เรียบเรียงขึ้น เมื่อ พ.ศ.ใกล้จะถึง ๑๐๐๐ โดยปรึกษาอรรถกถาภาษาสิงหฬที่มีอยู่ก่อน ชื่อ มหาปัจจริย และกุรุนที
  7. สังวาส : ธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วมกันของสงฆ์ ได้แก่การทำสังฆกรรมร่วมกันสวดปาฏิโมกข์ร่วมกัน มีสิกขาบทเสมอกัน เรียกง่าย ๆ ว่า ทำอุโบสถสังฆกรรมร่วมกัน คือ เป็นพวกเดียวกัน อยู่ด้วยกันได้ มี,ฐานะและสิทธิเสมอกัน; ในภาษาไทย ใช้หมายถึง ร่วมประเวณี ด้วย
  8. สัญญา : การกำหนดหมาย, ความจำได้หมายรู้ คือ หมายรู้ไว้ ซึ่ง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและอารมณ์ที่เกิดกับใจว่า เขียว ขาว ดำ แดง ดัง เบา เสียงคน เสียงแมว เสียงระฆัง กลิ่น ทุเรียน รสมะปราง เป็นต้น และจำได้ คือ รู้จักอารมณ์นั้นว่าเป็นอย่างนั้น ๆ ในเมื่อไปพบเข้าอีก (ข้อ ๓ ในขันธ์ ๕) มี ๖ อย่าง ตามอารมณ์ที่หมายรู้นั้น เช่น รูปสัญญา หมายรู้รูป สัททสัญญา หมายรู้เสียง เป็นต้น; ความหมายสามัญในภาษาบาลีว่าเครื่องหมาย ที่สังเกตความสำคัญว่าเป็นอย่างนั้น ๆ, ในภาษาไทยมักใช้หมายถึง ข้อตกลง, คำมั่น
  9. สันดาน : ความสืบต่อแห่งจิต คือกระแสจิตที่เกิดดับต่อเนื่องกันมา; ในภาษาไทยมักใช้ในความหมายว่าอุปนิสัยที่มีมาแต่กำเนิด, อัธยาศัยที่มีติดต่อมา
  10. สันสกฤต : ชื่อภาษาโบราณของอินเดียภาษาหนึ่ง ใช้ในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู และพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน
  11. สัปปุรุษ : เป็นคำเลือนปะปนระหว่าง สัปปุริส ที่เขียนอย่างบาลี กับ สัตบุรุษ ที่เขียนอย่างสันสกฤต มีความหมายอย่างเดียวกัน (ดู สัตบุรุษ)แต่ในภาษาไทยเป็นคำอยู่ข้างโบราณ ใช้กันในความหมายว่า คฤหัสถ์ผู้มีศรัทธาในพระศาสนา เฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ไปร่วมกิจกรรมทางบุญทางกุศล รักษาศีลฟังธรรมเป็นประจำที่วัดใดวัดหนึ่งบางทีเรียกตามความผูกพันกับวัดว่า สัปปุรุษวัดนั้น สัปปุรุษวัดนี้
  12. สัมพันธ์ ๑. : เกี่ยวข้อง, ผูกพัน, เนื่องกัน ๒.ในทางอักขรวิธีภาษาบาลี หมายถึงบทที่เชื่อมกับบทอื่น เช่น ตุณฺหสฺส หรือ ตุณฺหิสฺส (= ตุณฺหี + อสฺส)
  13. สิเนรุ : ชื่อภาษาบาลีของภูเขาเมรุ ดู เมรุ
  14. สิลิฏฐพจน์ : คำสละสลวย, คำไพเราะ, ได้แก่คำควบกับอีกคำหนึ่งเพื่อให้ฟังไพเราะในภาษา หาได้มีใจความพิเศษออกไปไม่ เช่น คำว่าคณะสงฆ์ คณะก็คือสงฆ์ซึ่งแปลว่าหมู่ หมายถึงหมู่แห่งภิกษุจำนวนหนึ่ง “คณะ” คำนี้เรียกว่าเป็นสิลิฏฐพจน์ ในภาษาไทยเรียกว่าคำติดปาก ไม่ได้เพ่งเนื้อความ
  15. สุมังคลวิลาสินี : ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในทีฆนิกาย แห่งพระสุตตันตปิฎก พระพุทธโฆษาจารย์เรียบเรียงขึ้น โดยอาศัยอรรถกถาภาษาสิงหฬ เมื่อ พ.ศ.ใกล้จะถึง ๑๐๐๐
  16. องค์ : 1) ส่วน, ภาค, ตัว, อวัยวะ, ลักษณะ, คุณสมบัติ, ส่วนประกอบ 2) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณรนักบวชอื่นจากพวก และสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๒ องค์ พระเจดีย์ ๔ องค์, สำหรับภิกษุสามเณร ในภาษาเขียนท่านให้ใช้ รูป
  17. อธิกรณ์ : เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำ, เรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการ มี ๔ อย่าง คือ ๑) วิวาทาธิกรณ์ การเถียงกันเกี่ยวกับพระธรรมวินัย ๒) อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ ๓) อาปัตตาธิกรณ์ การต้องอาบัติ การปรับอาบัติ และการแก้ไขตัวให้พ้นจากอาบัติ ๔) กิจจาธิกรณ์ กิจธุระต่างๆ ที่สงฆ์จะต้องทำ เช่น ให้อุปสมบท ให้ผ้ากฐิน, ในภาษาไทยอธิกรณ์มีความหมายเลือนลางลงและแคบเข้า กลายเป็น คดีความ โทษ เป็นต้น
  18. อธิษฐาน : 1) ในทางพระวินัย แปลว่า การตั้งเอาไว้หรือตั้งใจกำหนดเอาไว้ คือ ตั้งเอาไว้เป็นของนั้นๆ หรือตั้งใจกำหนดเอาไว้ว่าจะใช้เป็นของประจำ ตัวชนิดนั้นๆ เช่น ได้ผ้ามาผืนหนึ่ง ตั้งใจว่าจะใช้เป็นอะไร คือจะเป็นสังฆาฏิ อุตตราสงค์ อันตรวาสก ก็อธิษฐานเป็นอย่างนั้นๆ เมื่ออธิษฐานแล้ว ของนั้นเรียกว่าเป็นของอธิษฐาน เช่น เป็นสังฆาฏิอธิษฐาน จีวรอธิษฐาน (นิยมเรียกกันว่า จีวรครอง) ตลอดจนบาตรอธิษฐาน ส่วนของชนิดนั้น ที่ได้เพิ่มมาอีกหรือเกินจากนั้นไปก็เป็นอติเรก เช่น เป็นอติเรกจีวร อติเรกบาตร, คำอธิษฐาน เช่น “อิมํ สงฺฆาฏึ อธิฏฺามิ” (ถ้าอธิษฐานของอื่น ก็เปลี่ยนไปตามชื่อของนั้น เช่น เป็น อุตฺตราสงฺคํ, อนฺตรวาสกํ เป็นต้น) 2) ความตั้งใจมั่น, การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว, ความมั่นคง เด็ดเดี่ยว แน่วแน่ในทางดำเนินและจุดมุ่งหมายของตน (ข้อ ๘ ในบารมี ๑๐), ในภาษาไทยมักใช้ในความหมายว่า ความตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, ความตั้งจิตปรารถนา
  19. อนุโมทนา : 1) ความยินดีตาม, ความยินดีด้วย, การพลอยยินดี, การแสดงความเห็นชอบ; เห็นด้วย, แสดงความชื่นชมหรือซาบซึ้งเห็นคุณค่าแห่งการกระทำของผู้อื่น (บัดนี้ บางทีใช้ในความหมายคล้ายคำว่าขอบคุณ) 2) ในภาษาไทย นิยมใช้สำหรับพระสงฆ์ หมายถึง ให้พร เช่นเรียกคำให้พรของพระสงฆ์วาคำอนุโมทนา
  20. อนุรักษ์ : รักษาและเสริมทวี, รักษาสิ่งที่เกิดมีขึ้นแล้วและทำสิ่งที่เกิดมีขึ้นแล้วนั้นให้งอกงามเพิ่มทวียิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์; ในภาษาไทย ใช้ในความหมายว่า รักษาให้คงเดิม
  21. อัพภันดร : มาตราวัดในภาษามคธ เทียบไทยได้ ๒๘ ศอก หรือ ๗ วา
  22. อาคม : ปริยัติที่เรียน, การเล่าเรียนพุทธพจน์; ในภาษาไทยว่าเวทมนตร์
  23. อามะ : คำรับในภาษาบาลี ตรงกับ ถูกแล้ว, ใช่, ครับ, ค่ะ, จ้ะ, เออ ถ้าผู้กล่าวรับเป็นผู้น้อยกว่าหรือมีพรรษาน้อยกว่าหรือเป็นคฤหัสถ์พูดกับพระสงฆ์กล่าวต่อว่า ภันเต เป็น อามะ ภันเต ถ้าผู้กล่าวรับเป็นผู้ใหญ่กว่าหรือมีพรรษามากว่า หรือเป็นพระสงฆ์พูดกับคฤหัสถ์ กล่าวตอบว่า อาวุโส เป็น อามะ อาวุโส (เขียนตามรูปบาลี เป็น อาม ภนฺเต, อาม อาวุโส)
  24. อารมณ์ : เครื่องยึดหน่วงของจิต, สิ่งที่จิตยึดหน่วง, สิ่งที่ถูกรู้หรือถูกรับรู้ ได้แก่ อายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์; ในภาษาไทย ความหมายเลื่อนไปเป็นความรู้สึก หรือความเป็นไปแห่งจิตใจ ในขณะหรือช่วงเวลาหนึ่งๆ เช่นว่า อย่าทำตามอารมณ์ วันนี้อารมณ์ดี อารมณ์เสีย เป็นต้น
  25. อารยะ : คนเจริญ, คนมีอารยธรรม; พวกชนชาติ อริยกะ (ตรงกับบาลีว่า อริย แต่ในภาษาไทยใช้ในความหมายต่างกัน)
  26. อาลัย : 1) ที่อยู่, ที่อาศัย, แหล่ง 2) ความมีใจผูกพัน, ความเยื่อใย, ความติดใจปรารถนา, ความพัวพัน, มักหมายถึงตัณหา; ในภาษาไทยใช้ว่าห่างใย หวงคิดถึง
  27. อาวุโส : ผู้มีอายุ” เป็นคำเรียก หรือทักทาย ที่ภิกษุผู้แก่พรรษาใช้ร้องเรียกภิกษุผู้อ่อนพรรษากว่า (ภิกษุผู้ใหญ่ร้องเรียกภิกษุผู้น้อย) หรือภิกษุร้องเรียกคฤหัสถ์ คู่กับคำ ภนฺเต ซึ่งภิกษุผู้อ่อนกว่าใช้ร้องเรียกภิกษุผู้แก่กว่าหรือคฤหัสถ์ร้องเรียกภิกษุ; ในภาษาไทย มักใช้เพี้ยนไปในทางตรงข้าม หมายถึง เก่ากว่า หรือแก่กว่าในวงงาน กิจการ หรือความเป็นสมาชิก
  28. อาสัญ : ไม่มีสัญญา, หมดสัญญา; เป็นคำใช้ในภาษาไทย หมายความว่า ความตาย, ตาย
  29. อุตรนิกาย : นิกายฝ่ายเหนือ หมายถึง พระพุทธศาสนาอย่างที่นับถือกันแพร่หลายในประเทศฝ่ายเหนือ มี จีน เกาหลี ญี่ปุ่น เป็นต้น ที่เรียกตัวเองว่า มหายาน ในภาษาสันสกฤต
  30. อุทาน : วาจาที่เปล่งขึ้นโดยความเบิกบานใจ มักเป็นข้อความยาว ๑ หรือ ๒ คาถา; ในภาษาไทย หมายถึงเสียงหรือคำที่เปล่งออกมาเวลาดีใจ หรือตกใจ
  31. 1-50 | [51-81]

(0.0131 sec)