Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เหนือกว่า, เหนือ, กว่า , then กว่, กวา, กว่า, หนอ, หนอกวา, เหนือ, เหนือกว่า .

Budhism Thai-Thai Dict : เหนือกว่า, 85 found, display 51-85
  1. วัชชี : ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่ชมพูทวีป ตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันออกของแม่น้ำคันธกะอยู่ทางทิศตะวันออกของแคว้นมัลละ ทางทิศเหนือของแคว้นมคธ นครหลวงชื่อเวสาลี แคว้นวัชชีปกครองด้วยระบอบสามัคคีธรรม พวกกษัตริย์ที่ปกครองเรียกว่า กษัตริย์ลิจฉวี (นอกจากพวกลิจฉวีแล้วยังมีพวกวิเทหะซึ่งปกครองอยู่ที่เมืองมิถิลา แต่ในสมัยพุทธกาลมีอำนาจน้อย) แคว้นวัชชีรุ่งเรืองเข้มแข็งและมีอำนาจมากตอนปลายพุทธกาลได้กลายเป็นคู่แข่งกับแคว้นมคธ แต่หลังพุทธกาลไม่นานก็เสียอำนาจแก่มคธเพราะอุบายทำลายสามัคคี ของวัสสการพราหมณ์
  2. วินัยมุข : มุขแห่งวินัย, หลักใหญ่ๆ หรือหัวข้อสำคัญๆ ทีเป็นเบื้องต้นแห่งพระวินัย หรือเป็นปากทางนำเข้าสู่วินัยเป็นชื่อหนังสือที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงรจนาขึ้น เพื่อชี้ประโยชน์แห่งพระวินัยมุ่งช่วยให้พระภิกษุสามเณรตั้งอยู่ในปฏิบัติพองาม ผู้ไม่เคร่งจะได้รู้จักสำรวมรักษามรรยาทสมเป็นสมณะฝ่ายผู้เคร่งครัดเกินไปจะได้หายงมงาย ไม่สำคัญตนว่าดีกว่าผู้อื่น ตั้งรังเกียจผู้อื่นเพราะเหตุผลเล็กน้อย เพียงสักว่าธรรมเนียมหรือแม้ชักนำผู้อื่นในปฏิบัติอันดี ต่างจะได้อานิสงส์คือไม่มีวิปฏิสาร; ทรงมุ่งหมายเพื่อจะแต่งแก้หนังสือบุพพสิกขาวัณณนาของพระอมราภิรักขิต (อมร เกิด) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส; จัดพิมพ์เป็น ๓ เล่ม ใช้เป็นแบบเรียนนักธรรมชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก ตามลำดับ
  3. สมานาสนิกะ : ผู้ร่วมอาสนะกัน หมายถึง ภิกษุผู้มีพรรษารุ่นราวคราวเดียวกันแก่หรืออ่อนกว่ากันไม่ถึง ๓ พรรษา นั่งร่วมอาสนะเสมอกันได้ เทียบ อสมานาสนิกะ
  4. สักกชนบท : ชื่อแคว้นหนึ่งในชมพูทวีปตอนเหนือ นครหลวงชื่อกบิลพัสดุ์ เป็นชาติภูมิของพระพุทธเจ้ามีการปกครองโดยสามัคคีธรรม มีประวัติสืบมาแต่สมัยพระเจ้าโอกกากราช บัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล
  5. สักกะ : ๑.พระนามจอมเทพ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกกันว่า ท้าวสักกะหรือพระอินทร์; ดู วัตรบท๗ ๒.ชื่อดงไม้ที่อยู่ในชมพูทวีปตอนเหนือ แถบเขาหิมาลัยในเขตป่าหิมพานต์ ๓.ชื่อชนบทที่ตั้งอยู่ในดงไม้สักกะ ดู สักกชนบท
  6. สาวัตถี : นครหลวงของแคว้นโกศล; แคว้นโกศลตั้งอยู่ระหว่างภูเขาหิมาลัยกับแม่น้ำคงคาตอนกลาง อาณาเขตทิศเหนือจดเทือกเขาเนปาล ทิศตะวันออก จดแคว้นกาสี ต่อกับแคว้นมคธ ทิศใต้และทิศตะวันตกจดแม่น้ำคงคา; พระนครสาวัตถีเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่พระพุทธศาสนาครั้งพุทธกาลเป็นที่ที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษามากที่สุด รวมถึง ๒๕ พรรษา บัดนี้เรียกสะเหต-มะเหต (Sahet-Mahat)
  7. หิมพานต์ : มีหิมะ, ปกคลุมด้วยหิมะ, ชื่อภูเขาใหญ่ที่อยู่ทางทิศเหนือของประเทศอินเดีย บัดนี้เรียกภูเขาหิมาลัย, ป่าที่อยู่รอบบริเวณภูเขานี้ ก็เรียกกันว่าป่าหิมพานต์, หิมวันต์ ก็เรียก
  8. หีนยาน : ยานเลว, ยานที่ด้อย, เป็นคำที่พวกอุตรนิกาย (พุทธศาสนาฝ่ายเหนือ) เรียกทักษิณนิกาย (พุทธศาสนาฝ่ายใต้ อย่างที่นับถือกันในไทย พม่า ลังกา เป็นต้น) ปัจจุบันนิยมเรียกว่า เถรวาท
  9. อชาตปฐพี : ปฐพีไม่แท้ คือดินที่เป็นหินเป็นกรวด เป็นกระเบื้อง เป็นแร่ เป็นทรายล้วน หรือมีดินร่วนดินเหนียวน้อย เป็นของอื่นมากก็ดี ดินที่ไฟเผาแล้วก็ดี กองดินร่วน หรือกองดินเหนียว ที่ฝนตกรดหย่อนกว่า ๔ เดือนก็ดี
  10. อดิเรก : 1) เกินกำหนด, ยิ่งกว่าปกติ, ส่วนเกิน, เหลือเฟือ, ส่วนเพิ่มเติม, ส่วนเพิ่มพิเศษ 2) ถวายอติเรก หรือ ถวายอดิเรก คือพระสงฆ์ถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และหรือสมเด็จพระบรมราชินี ท้ายพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล ในระหว่างอนุโมทนา ถ้ากล่าวในพระราชฐานต้องต่อท้ายด้วยถวายพระพรลา, เรียกอย่างนี้เพราะขึ้นต้นว่า อติเรกวสฺสสตํ ชีวตุ ฯ
  11. อภิณหปัจจเวกขณ์ : ข้อที่ควรพิจารณาเนืองๆ, เรื่องที่ควรพิจารณาทุกๆ วัน มี ๕ อย่าง คือ ๑) ควรพิจารณาทุกวันๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ๒) ว่าเรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ๓) ว่าเรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ๔) ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๕) ว่าเรามีกรรมเป็นของตัว เราทำดีจักได้ดี เราทำชั่วจักได้ชั่ว; อีกหมวดหนึ่ง สำหรับบรรพชิต แปลว่า ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ๑๐ อย่าง (ปัพพชิตอภิรหปัจจเวกขณ์) คือ ๑) บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า บัดนี้ เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว ๒) ว่า การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น ๓) ว่าเรามีอากัปกิริยาอย่างอื่นที่จะพึงทำ ๔) ว่า ตัวเราเองยังติเตียนตัวเราเองโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่ ๕) ว่าเพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญู ใคร่ครวญแล้ว ยังติเตียนเราโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่ ๖) ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๗) ว่าเรามีกรรมเป็นของตน เราทำดีจักได้ดี เราทำชั่วจักได้ชั่ว ๘) ว่า วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ ๙) ว่า เรายินดีในที่สงัดอยู่หรือไม่ ๑๐) ว่า คุณวิเศษที่เราบรรลุแล้วมีอยู่หรือไม่ ที่จะทำให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน เมือถูกเพื่อนบรรพชิตถามในกาลภายหลัง (ข้อ ๑ ท่านเติมท้ายว่าอาการกิริยาใดๆ ของสมณะ เราต้องทำอาการกิริยานั้นๆ ข้อ ๒) เติมว่าเราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย ข้อ ๗) ท่านเขียนว่า อาการกายวาจาอย่างอื่นที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้น ไปกว่านี้ยังมีอยู่อีก ไม่ใช่เพียงเท่านี้)
  12. อรรคสาวก : สาวกผู้เลิศ, สาวกผู้ยอดเยี่ยม, ศิษย์ผู้เลิศกว่าศิษย์อื่นของพระพุทธเจ้า หมายถึง พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ ดู อัครสาวก
  13. อริยกะ : คนเจริญ, คนประเสริฐ, คนได้รับการศึกษาอบรมดี, เป็นชื่อเรียกชนชาติหนึ่งที่อพยพจากทางเหนือเข้าไปในอินเดียตั้งแต่ก่อนพุทธกาล ถือตัวว่าเป็นพวกเจริญ และเหยียดพวกเจ้าถิ่นเดิมลงว่าเป็นมิลักขะ คือ พวกคนป่าคนดอย, พวกอริยกะอพยพเข้าไปในยุโรปด้วย คือ พวกที่เรียกว่า อารยัน
  14. อริยทรัพย์ : ทรัพย์อันประเสริฐเป็นของติดตัว อยู่ภายในจิตใจ ดีกว่าทรัพย์ภายนอก เช่นเงินทอง เป็นต้น เพราะโจรหรือใครๆ แย่งชิงไม่ได้ และทำให้เป็นคนประเสริฐอย่างแท้จริง มี ๗ คือ สัทธา สีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา
  15. อวันตี : ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีป ตั้งอยู่ทางเหนือของภูเขาวินธัย ทางตะวันตกเฉียงใต้ของแคว้นวังสะ มีนครหลวงชื่อ อุชเชนี ราชาผู้ครองอวันตีในพุทธกาล มีพระนามว่าพระเจ้าจัณฑปัชโชต
  16. อสมานาสนิกะ : ภิกษุผู้มีพรรษาอ่อนแก่กว่ากันเกิน ๓ พรรษา นั่งอาสนะคือเตียงตั่งสำหรับ ๒ รูป เสมอกันไม่ได้ (แต่นั่งอาสนะยากด้วยกันได้) เทียบ สมานาสนิกะ
  17. อัสสกะ : ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีป ตั้งอยู่ลุ่มน้ำโคธาวรี ทิศตะวันตกเฉียงเหนือแห่งแคว้นอวันตี นครหลวงชื่อ โปตลิ (บางทีเรียก โปตนะ)
  18. อาจริยมัตต์ : ภิกษุผู้มีพรรษาพอที่จะเป็นอาจารย์ให้นิสสัยแก่ภิกษุอื่นได้, พระปูนอาจารย์ คือ มีพรรษา ๑๐ ขึ้นไป หรือแก่กว่าราว ๖ พรรษา; อาจริยมัต ก็เขียน
  19. อาจริยวาท : วาทะของพระอาจารย์, มติของพระอาจารย์; บางที ใช้เป็นคำเรียกพุทธศาสนานิกายฝ่ายเหนือคือ มหายาน
  20. อานนท์ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นเจ้าชายในศากยวงศ์ เป็นโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ ซึ่งเป็นพระเจ้าอาของเจ้าชายสิทธิตถะ ท่านออกบวชในพระพุทธศาสนาพร้อมกับอนุรุทธะและอุบาลีเป็นต้น และได้รับเลือกเป็นพระอุปัฏฐากประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้า ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะหลายด้านคือ เป็นพหูสูต เป็นผู้มีสติ มีคติ มีธิติ และเป็นอุปัฏฐาก ท่านบรรลุพระอรหัตหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ๓ เดือน เป็นกำลังสำคัญในคราวทำปฐมสังคายนา คือ เป็นผู้วิสัชนาพระสูตรและพระอภิธรรม ท่านดำรงชีวิตสืบมาจนอายุได้ ๑๒๐ ปี จึงปรินิพพานในอากาศ เหนือแม่น้ำโรหิณี ซึ่งเป็นเส้นกั้นแดนระหว่างแคว้นของพระญาติ ๒ ฝ่าย คือ ศากยะและโกลิยะ
  21. อามะ : คำรับในภาษาบาลี ตรงกับ ถูกแล้ว, ใช่, ครับ, ค่ะ, จ้ะ, เออ ถ้าผู้กล่าวรับเป็นผู้น้อยกว่าหรือมีพรรษาน้อยกว่าหรือเป็นคฤหัสถ์พูดกับพระสงฆ์กล่าวต่อว่า ภันเต เป็น อามะ ภันเต ถ้าผู้กล่าวรับเป็นผู้ใหญ่กว่าหรือมีพรรษามากว่า หรือเป็นพระสงฆ์พูดกับคฤหัสถ์ กล่าวตอบว่า อาวุโส เป็น อามะ อาวุโส (เขียนตามรูปบาลี เป็น อาม ภนฺเต, อาม อาวุโส)
  22. อาวุโส : ผู้มีอายุ” เป็นคำเรียก หรือทักทาย ที่ภิกษุผู้แก่พรรษาใช้ร้องเรียกภิกษุผู้อ่อนพรรษากว่า (ภิกษุผู้ใหญ่ร้องเรียกภิกษุผู้น้อย) หรือภิกษุร้องเรียกคฤหัสถ์ คู่กับคำ ภนฺเต ซึ่งภิกษุผู้อ่อนกว่าใช้ร้องเรียกภิกษุผู้แก่กว่าหรือคฤหัสถ์ร้องเรียกภิกษุ; ในภาษาไทย มักใช้เพี้ยนไปในทางตรงข้าม หมายถึง เก่ากว่า หรือแก่กว่าในวงงาน กิจการ หรือความเป็นสมาชิก
  23. อินเดีย : ชื่อประเทศ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย ถัดจากประเทศพม่าออกไป มีเมืองหลวงชื่อ นิวเดลี (New Delhi) อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๓,๑๐๐ กิโลเมตร อินเดียมีเนื้อที่ทั้งหมด ๓,๒๘๗,๕๙๐ ตารางกิโลเมตร มีพลเมืองใน พ) ศ) ๒๕๒๔ ประมาณ ๖๘๓ ล้านคน ครั้งโบราณเรียกชมพูทวีป เป็นประเทศที่เกิดพระพุทธศาสนา พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๒,๐๐๐ กิโลเมตร
  24. อิสสา : ความริษยา, ความรู้สึกไม่พอใจเมื่อเห็นเขาไดดี, เห็นเขาได้ดีทนอยู่ไม่ได้, ไม่อยากให้ใครดีกว่าตน, ความคิดตัดรอนผู้ที่ดีกว่าตน; ความหึงหวง (ข้อ ๓ ในมละ ๙, ข้อ ๗ ในอุปกิเลส ๑๖)
  25. อุดรทวาร : ประตูด้านเหนือ
  26. อุดรทิศ : ทิศเบื้องซ้าย, ทิศเหนือ ดู อุตตรทิส
  27. อุตรนิกาย : นิกายฝ่ายเหนือ หมายถึง พระพุทธศาสนาอย่างที่นับถือกันแพร่หลายในประเทศฝ่ายเหนือ มี จีน เกาหลี ญี่ปุ่น เป็นต้น ที่เรียกตัวเองว่า มหายาน ในภาษาสันสกฤต
  28. อุทกุกเขป : เขตสามัคคีชั่ววักน้ำสาดแห่งคนมีอายุและกำลังปานกลาง หมายถึง เขตชุมนุมทำสังฆกรรมที่กำหนดลงในแม่น้ำ หรือ ทะเล ชาตสระ (ที่ขังน้ำเกิดเองตามธรรมชาติ เช่น บึง หนอง ทะเลสาป) โดยพระภิกษุประชุมกันบนเรือ หรือ บนแพ ซึ่งผูกกับหลักในน้ำ หรือทอดสมออยู่ห่างจากตลิ่งกว่าชั่ววิดน้ำสาด (ห้ามผูกโยงเรือหรือแพนั้น กับหลักหรือต้นไม้บนตลิ่ง และห้ามทำในเรือหรือแพที่กำลังลอยหรือเดิน); อุทกุกเขปนี้ จัดเป็นอพัทธสีมาอย่างหนึ่ง
  29. อุปบารมี : บารมีขั้นรอง, บารมีขั้นจวนสูงสุด คือ บารมีที่บำเพ็ญยิ่งกว่าบารมีตามปกติ แต่ยังไม่ถึงที่สุดที่จะเป็นปรมัตถบารมี เช่น สละทรัพย์ภายนอกเป็นทานบารมี สละอวัยวะเป็นทานอุปบารมี สละชีวิตเป็นทานปรมัตถบารมี; ดู บารมี
  30. อุสีรธชะ : ภูเขาที่กั้นอาณาเขตของมัชฌิมชนบทด้านเหนือ
  31. อูเน คเณ จรณํ : การประพฤติ (วัตร) ในคณะอันพร่อง คือ ประพฤติในถิ่น เช่น อาวาส ที่มีปกตัตตภิกษุไม่ครบองค์สงฆ์ คือไม่ถึง ๔ รูป แต่ที่นิยมปฏิบัติกันมาไม่ต่ำกว่า ๕ รูป; เป็นเหตุอย่างหนึ่งของรัตติเฉทแห่งมานัตต์ ดู รัตติเฉท
  32. คมิยภัต : ภัตเพื่อผู้ไป, อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุผู้จะเดินทางไปอยู่ที่อื่น ; คมิกภัต ก็ว่า
  33. เผดียง : บอกแจ้งให้รู้, บอกนิมนต์, บอกกล่าวหรือประกาศเชื้อเชิญเพื่อให้ร่วมทำกิจโดยพร้อมเพรียงกัน; ประเดียง ก็ว่า ดู ญัตติ
  34. มหากัปปินะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นกษัตริย์ครองราชสมบัติในนครกุกกุฏวดีในปัจจันตประเทศ ได้ทราบข่าวการอุบัติของพระพุทธเจาแล้ว บังเกิดปีติศรัทธา สละราชสมบัติทรงม้าเดินทางไกลถึง ๓๐๐ โยชน์มาเฝ้าพระพุทธเจ้า สดับธรรมกถา บรรลุพระอรหัตแล้วได้รับอุปสมบท ส่วนพระอัครมเหสีชื่ออโนชา เมื่อทราบข่าวการอุบัติของพระพุทธเจ้าก็เกิดปีติและศรัทธาเช่นเดียวกัน พระนาง ทรงรถเสด็จมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ฟังธรรมบรรลุโสดาปัตติผลแล้ว รับบรรพชาจากพระอุบลวรรณาเถรีไปอยู่ในสำนักภิกษุณี ฝ่ายมหากัปปินเถระชอบอยู่สงบสงัดและมักอุทานว่า สุขจริงหนอ ท่านสามารถแสดงธรรมให้ศิษย์บรรลุอรหัตตผลได้พร้อมคราวเดียวถึง ๑,๐๐๐ องค์ พระบรมศาสดายกย่องท่านว่าท่านเป็นเอตทัคคะในทางให้โอวาทแก่ภิกษุ
  35. 1-50 | [51-85]

(0.0309 sec)