Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กึ่งหนึ่ง, หนึ่ง, กึ่ง , then กง, กงหนง, กึ่ง, กึ่งหนึ่ง, หนง, หนึ่ง .

Budhism Thai-Thai Dict : กึ่งหนึ่ง, 531 found, display 1-50
  1. ปักษ์ : ปีก, ฝ่าย, ข้าง, กึ่งของเดือนทางจันทรคติ คือ เดือนหนึ่งมี ๒ ปักษ์ ข้างขึ้นเรียก ศุกลปักษ์ (ฝ่ายขาวหมายเอาแสงเดือนสว่าง) ข้างแรมเรียก กาฬปักษ์ (ฝ่ายดำ หมายเอาเดือดมือ); ชุณหปักษ์ และกัณหปักษ์ก็เรียก
  2. รัสสะ : สระอันพึงว่าโดยระยะสั้นกึ่งหนึ่ง แห่งสระยาว ได้แก่ อ อิ อุ
  3. อสูร : สัตว์กึ่งเทพหรือเทพชั้นต่ำพวกหนึ่ง ตำนานกล่าวว่า เดิมเป็นเทวดาเก่า (บุพเทวา) เป็นเจ้าถิ่นครอบครองดาวดึงสเทวโลก ต่อมาถูกเทวดาพวกใหม่ มีท้าวสักกะเป็นหัวหน้าแย่งถิ่นไป โดยถูกเทพพวกใหม่นั้นจับเหวี่ยงลงมาในระหว่างพิธีเลี้ยงเมื่อพวกตนดื่มสุราจนเมามาย ได้ชื่อใหม่ว่าอสูร เพราะเมื่อฟื้นคืนสติขึ้นระหว่างทางที่ตกจากดาวดึงส์นั้น ได้กล่าวกันว่า “พวกเราไม่ดื่มสุราแล้ว” (อสูรจึงแปลว่าผู้ไม่ดืมสุรา) พวกอสูรได้ครองพิภพใหม่ที่เชิงเขาสิเนรุ หรือเขาพระสุเมรุ และมีสภาพความเป็นอยู่ มีอายุ วรรณะ ยศ อิสริยสมบัติ คล้ายกันกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ พวกอสูรเป็นศัตรูโดยตรงกับเทวดา และมีเรื่องราวขัดแย้งทำสงครามกันบ่อยๆ พวกอสูรออกจะเจ้าโทสะ จึงมักถูกกล่าวถึงในฐานะเป็นพวกมีนิสัยพาลหรือเป็นฝ่ายผิด
  4. ธรรม ๒ หมวดหนึ่ง : คือ ๑.รูปธรรม ได้แก่รูปขันธ์ทั้งหมด ๒.อรูปธรรม ได้แก่ นามขันธ์ ๔ และนิพพาน; อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑.โลกียธรรม ธรรมเป็นเป็นวิสัยของโลก ๒.โลกุตตรธรรม ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ; อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑.สังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งได้แก่ขันธ์ ๕ ทั้งหมด ๒.อสังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ได้แก่ นิพพาน
  5. ระยะบ้านหนึ่ง : ในประโยคว่า “โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง เป็นปาจิตติยะ” ระยะทางชั่วไก่บินถึง แต่ในที่คนอยู่คับคั่ง ให้กำหนดตามเครื่องกำหนดที่มีอยู่โดยปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง (เช่นชื่อหมู่บ้าน)
  6. กฐิน : ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือไม้แบบสำหรับขึงเพื่อตัดเย็บจีวร; ในทางพระวินัยใช้เป็นชื่อเรียกสังฆกรรมอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว เพื่อแสดงออกซึ่งความสามัคคีของภิกษุที่ได้จำพรรษาอยู่ร่วมกัน โดยให้พวกเธอพร้อมใจกันยกมอบผ้าผืนหนึ่งที่เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอ ที่เป็นผู้มีคุณสมบัติสมควร แล้วภิกษุรูปนั้นนำผ้าที่ได้รับมอบไปทำเป็นจีวร (จะทำเป็นอันตรวาสก หรืออุตตราสงค์ หรือสังฆาฏิก็ได้ และพวกเธอทั้งหมดจะต้องช่วยภิกษุนั้นทำ) ครั้นทำเสร็จแล้ว ภิกษุรูปนั้นแจ้งให้ที่ประชุมสงฆ์ซึ่งได้มอบผ้าแก่เธอนั้นทราบเพื่ออนุโมทนา เมื่อสงฆ์คือที่ประชุมแห่งภิกษุเหล่านั้นอนุโมทนาแล้ว ก็ทำให้พวกเธอได้สิทธิพิเศษที่จะขยายเขตทำจีวรให้ยาวออกไป (เขตทำจีวรตามปกติ ถึงกลางเดือน ๑๒ ขยายต่อออกไปถึงกลางเดือน ๔); ผ้าที่สงฆ์ยกมอบให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งนั้น เรียกว่า ผ้ากฐิน (กฐินทุสสะ); สงฆ์ผู้ประกอบกฐินกรรมต้องมีจำนวนภิกษุอย่างน้อย ๕ รูป; ระยะเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ประกอบกฐินกรรมได้ มีเพียง ๑ เดือน ต่อจากสิ้นสุดการจำพรรษา เรียกว่า เขตกฐิน คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
  7. กฐินทาน : การทอดกฐิน, การถวายผ้ากฐิน คือการที่คฤหัสถ์ผู้ศรัทธาหรือแม้ภิกษุสามเณร นำผ้าไปถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว ณ วัดใดวัดหนึ่ง เพื่อทำเป็นผ้ากฐิน เรียกสามัญว่า ทอดกฐิน (นอกจากผ้ากฐินแล้วปัจจุบันนิยมมีของถวายอื่นๆ อีกด้วยจำนวนมาก เรียกว่า บริวารกฐิน)
  8. กตัญญูกตเวที : ผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้วและตอบแทน แยกออกเป็น ๒ คือ กตัญญู รู้คุณท่าน กตเวที ตอบแทนหรือสนองคุณท่าน; ความกตัญญูกตเวทีว่าโดยขอบเขต แยกได้เป็น ๒ ระดับ คือ กตัญญูกตเวทีต่อบุคคลผู้มีคุณความดีหรืออุปการะต่อตนเป็นส่วนตัว อย่างหนึ่ง กตัญญูกตเวทีต่อบุคคลผู้ได้บำเพ็ญคุณประโยชน์หรือมีคุณความดีเกื้อกูลแก่ส่วนรวม เช่นที่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพระพุทธเจ้าโดยฐานที่ได้ทรงประกาศธรรมยังหมู่ชนให้ตั้งอยู่ในกุศลกัลยาณธรรม เป็นต้น อย่างหนึ่ง (ข้อ ๒ ในบุคคลหาได้ยาก ๒) - one who is thankful for benefits received and reciprocates them.
  9. กติกา : (ในคำว่า ข้าพเจ้าถวายตามกติกาของสงฆ์) ข้อตกลง, ข้อบังคับ, กติกาของสงฆ์ในกรณีนี้ คือข้อที่สงฆ์ ๒ อาวาส มีข้อตกลงกันไว้ว่า ลาภเกิดในอาวาสหนึ่ง สงฆ์อีกอาวาสหนึ่งมีส่วนได้รับแจกด้วย ทายกกล่าวคำถวายว่า ข้าพเจ้าถวายตามกติกาของสงฆ์ ลาภที่ทายกถวายนั้น ย่อมตกเป็นของภิกษุผู้อยู่ในอาวาสที่ทำกติกากันไว้ด้วย
  10. กรมการ : เจ้าพนักงานคณะหนึ่งมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในระดับหนึ่งๆ เช่น กรมการจังหวัด กรมการอำเภอ เป็นต้น
  11. กังขาเรวตะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่งเดิมเป็นบุตรของตระกูลที่มั่งคั่ง ชาวพระนครสาวัตถี ได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดง มีความเลื่อมใสขอบวช ต่อได้สำเร็จพระอรหัต ได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะในทางเป็นผู้ยินดีในฌานสมาบัติ
  12. กัณฑกสามเณร : ชื่อสามเณรรูปหนึ่งในครั้งพุทธกาล ผู้กล่าวตู่พระธรรมเป็นต้นเหตุให้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทที่ ๑๐ แห่งสัปปาณกวรรคในปาจิตติยกัณฑ์ และทรงให้สงฆ์นาสนะเธอเสีย เขียนเป็น กัณฏกะ ก็มี
  13. กัณหปักข์ : 1.ข้างแรม 2.ฝ่ายดำ คือฝ่ายตรงกันข้ามกับอีกฝ่ายหนึ่ง เขียน กัณหปักษ์ ก็มี
  14. กัป : กาลกำหนด, ระยะเวลายาวนานเหลือเกิน ที่กำหนดว่าโลกคือสกลจักรวาฬประลัยครั้งหนึ่ง (ศาสนาฮินดูว่าเป็นวันหนึ่งคืนหนึ่งของพระพรหม) ท่านให้เข้าใจด้วยอุปมาว่าเปรียบเหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูงด้านละ ๑ โยชน์ ทุก ๑๐๐ ปี มีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป กัปหนึ่งยาวนานกว่านั้น; กำหนดอายุของโลก; กำหนดอายุ เรียกเต็มว่า อายุกัป เช่นว่า อายุกัปของคนยุคนี้ ประมาณ ๑๐๐ ปี - 1.an aeon; world-aeon; world-age; world-cycle; world-period. 2.the life-term; life-period; the duration of life.
  15. กัปป์ : กาลกำหนด, ระยะเวลายาวนานเหลือเกิน ที่กำหนดว่าโลกคือสกลจักรวาฬประลัยครั้งหนึ่ง (ศาสนาฮินดูว่าเป็นวันหนึ่งคืนหนึ่งของพระพรหม) ท่านให้เข้าใจด้วยอุปมาว่าเปรียบเหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูงด้านละ ๑ โยชน์ ทุก ๑๐๐ ปี มีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป กัปหนึ่งยาวนานกว่านั้น; กำหนดอายุของโลก; กำหนดอายุ เรียกเต็มว่า อายุกัป เช่นว่า อายุกัปของคนยุคนี้ ประมาณ ๑๐๐ ปี - 1.an aeon; world-aeon; world-age; world-cycle; world-period. 2.the life-term; life-period; the duration of life.
  16. กัปปมาณพ : ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คนของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์
  17. กัปปิละ : ชื่อพราหมณ์นายบ้านของหมู่บ้านพราหมณ์หมู่หนึ่ง ในแขวงกรุงราชคฤห์ เป็นบิดาของปิปผลิมาณพ
  18. กัมโพชะ : แคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้น แห่งชมพูทวีป มีนครหลวงชื่อทวารกะ บัดนี้อยู่ในประเทศอัฟกานิสถาน
  19. กัมมขันธกะ : ชื่อหมวดหนึ่งในคัมภีร์จุลลวรรค พระวินัยปิฎก ว่าด้วยนิคคหกรรม ๕ ประเภท
  20. กัมมลักขณะ : การอันมีลักษณะเป็น (สังฆ) กรรมนั้นได้, กิจการที่มีลักษณะอันจัดเข้าเป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่ง ในสังฆกรรมประเภทนั้นได้ แต่ท่านไม่ได้ออกชื่อไว้ และไม่อาจจัดเข้าในชื่ออื่นๆ แห่งสังฆกรรมประเภทเดียวกัน เช่น การอปโลกน์แจกอาหารในโรงฉัน เป็นกัมมลักขณะ ในอปโลกนกรรม การประกาศเริ่มต้นระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกวินัย เป็นกัมมลักขณะในญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรมที่สวดในลำดับไปในการระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกวินัย เป็นกัมมลักขณะในญัตติทุติยกรรม อุปสมบทและอัพภานเป็นกัมมลักขณะในญัตติจตุตถกรรม
  21. กัมมวัฏฏ์ : วนคือกรรม, วงจรส่วนกรรม, หนึ่งในวัฏฏะ ๓ แห่งปฏิจจสมุปบาท ประกอบด้วยสังขารและกรรมภพ ดู ไตรวัฏฏ์
  22. กัสสปสังยุตต์ : ชื่อเรียกพระสูตรหมวดหนึ่ง ในคัมภีร์สังยุตตนิกาย รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับพระมหากัสสปไว้เป็นหมวดหมู่
  23. กัสสปะ : 1.พระนามพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอดีต ดู พระพุทธเจ้า๕2.ชื่อของพระมหากัสสปเถระเมื่อเรียกตามโคตร ท่านมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ปิปผลิ หรือ ปิปผลิมาณพ 3.หมายถึงกัสสป ๓ พี่น้อง คยากัสสปะ เป็นนักบวชประเภทชฎิล ถือลัทธิบูชาไฟ เป็นที่เคารพนับถือของชาวราชคฤห์ ภายหลังได้เป็นพระอรหันต์พร้อมกันทั้ง ๓ พี่น้องและบริวารหนึ่งพัน ด้วยได้ฟังเทศนาอาทิตตปริยายสูตร จากพระพุทธเจ้า
  24. กามตัณหา : ความทะยานอยากในกาม, ความอยากได้กาม เป็นอย่างหนึ่งในตัณหา ๓ - sense craving; craving for sensual pleasure.
  25. กามสุขัลลิกานุโยค : การประกอบตนให้พัวพันหมกมุ่นอยู่ในกามสุข เป็นที่สุดอย่างหนึ่ง ในบรรดาที่สุด ๒ คือ กามสุขัลลิกานุโยค ๑ อัตตกิลมถานุโยค ๑
  26. กายานุปัสสนา : สติพิจารณาภายเป็นอารมณ์ว่า กายนี้ก็สักว่ากาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา เป็นสติปัฏฐานข้อหนึ่ง ดู สติปัฏฐาน
  27. การกสงฆ์ : สงฆ์ผู้กระทำ หมายถึงสงฆ์ หมู่หนึ่งผู้ดำเนินการในกิจสำคัญ เช่น การสังคายนา หรือในสังฆกรรมต่างๆ
  28. กาลามสูตร : สูตรหนึ่งในคัมภีร์ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระพุทธเจ้าตรัสสอนชนชาวกาลามะแห่งเกสปุตตนิคมใน แคว้นโกศล ไม่ให้เชื่อถืองมงายไร้เหตุผล ตามหลัก ๑๐ ข้อ คือ อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา, ด้วยการถือสืบๆ กันมา, ด้วยการเล่าลือ, ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์, ด้วยตรรก, ด้วยการอนุมาน, ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล, เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน, เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ, เพราะนับถือว่าท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา; ต่อเมื่อใด พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น เรียกอีกอย่างว่าเกสปุตติยสูตร หรือเกสปุตตสูตร.
  29. กาลิก : เนื่องด้วยกาล, ขึ้นกับกาล, ของอันจะกลืนกินให้ล่วงลำคอเข้าไปซึ่งพระวินัยบัญญัติให้ภิกษุรับเก็บไว้และฉันได้ภายในเวลาที่กำหนด จำแนกเป็น ๔ อย่าง คือ ๑.ยาวกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ชั่วเวลาเช้าถึงเที่ยงของวันนั้น เช่น ข้าว ปลา เนื้อ ผัก ผลไม้ ขนมต่างๆ ๒.ยามกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่ง คือก่อนอรุณของวันใหม่ ได้แก่ ปานะ คือ น้ำคั้นผลไม้ที่ทรงอนุญาต ๓.สัตตาหกาลิก รับประเคนไว้แล้วฉันได้ภายในเวลา ๗ วัน ได้แก่เภสัชทั้ง ๕ ๔.ยาวชีวิก รับประเคนแล้ว ฉันได้ตลอดไปไม่จำกัดเวลา ได้แก่ของที่ใช้ปรุงเป็นยา นอกจากกาลิก ๓ ข้อต้น (ความจริงยาวชีวิก ไม่เป็นกาลิก แต่นับเข้าด้วยโดยปริยาย เพราะเป็นของเกี่ยวเนื่องกัน)
  30. กาสี : แคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นแห่งชมพูทวีป มีนครหลวงชื่อพาราณสี ในสมัยพุทธกาล กาสีได้ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโกศลแล้ว
  31. กาฬเทวิลดาบส : เป็นอีกชื่อหนึ่งของอสิตดาบส ดู อสิตดาบส
  32. กาฬสิลา : สถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ข้างภูเขาอิสิคิลิ พระนครราชคฤห์ ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตโอภาสแก่พระอานนท์และเป็นที่ที่พระโมคคัลลานะ ถูกคนร้ายซึ่งรับจ้างจากพวกเดียรถีย์ไปลอบฆ่าด้วยการทุบตีจนร่างแหลก
  33. กิมพิละ : เจ้าศากยะองค์หนึ่ง ออกบวชพร้อมกับพระอนุรุทธะ ได้สำเร็จอรหัต และเป็นมหาสาวกองค์หนึ่งในจำนวน ๘๐
  34. กิริยากิตก์ : เป็นชื่อกิริยาศัพท์ประเภทหนึ่งในภาษาบาลี ใช้เป็นกิริยาสำคัญในประโยคบ้าง ใช้เป็นกิริยาในระหว่างของประโยคบ้าง และใช้เป็นคุณบทบ้าง เช่น ปรินิพฺพุโต (ดับรอบแล้ว) ปพฺพชิตฺวา (บวชแล้ว) เป็นต้น
  35. กิริยากิตกะ : เป็นชื่อกิริยาศัพท์ประเภทหนึ่งในภาษาบาลี ใช้เป็นกิริยาสำคัญในประโยคบ้าง ใช้เป็นกิริยาในระหว่างของประโยคบ้าง และใช้เป็นคุณบทบ้าง เช่น ปรินิพฺพุโต (ดับรอบแล้ว) ปพฺพชิตฺวา (บวชแล้ว) เป็นต้น
  36. กิริยาอาขยาต : เป็นชื่อกิริยาศัพท์ประเภทหนึ่งในภาษาบาลี ใช้เป็นกริยาสำคัญในประโยค อันแสดงถึงการกระของประธาน เช่น คจฺฉติ (ย่อมไป) ปรินิพฺพายิ (ดับรอบแล้ว) เป็นต้น
  37. กีสาโคตมี : พระเถรีสำคัญองค์หนึ่ง เดิมเป็นธิดาคนยากจนในพระนครสาวัตถี แต่ได้เป็นลูกสะใภ้ของเศรษฐีในพระนครนั้น นางมีบุตรชายคนหนึ่ง อยู่มาไม่นานบุตรชายตาย นางมีความเสียใจมาก อุ้มบุตรที่ตายแล้วไปในที่ต่างๆ เพื่อหายาแก้ให้ฟื้น จนได้ไปพบพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงสอนด้วยอุบายและทรงประทานโอวาท นางได้ฟังแล้วบรรลุโสดาปัตติผล บวชในสำนักนางภิกษุณี วันหนึ่งนั่งพิจารณาเปลวประทีปที่ตามอยู่ในพระอุโบสถ ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทรงทรงจีวรเศร้าหมอง
  38. กุฑวะ : ชื่อมาตราตวงแปลว่า ฟายมือ คือ เต็มอุ้มมือหนึ่ง ดู มาตรา
  39. กุณฑธานะ : พระเถระผู้เป็นมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์ในพระนครสาวัตถี เรียนจบไตรเพทตามลิทธิพราหมณ์ ต่อมา เมื่อสูงอายุแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า เกิดความเลื่อมใสจึงบวชในพระพุทธศาสนา ตั้งแต่นั้นมา ก็มีรูปหญิงคนหนึ่งติดตามตัวตลอดเวลาจนกระทั่งได้บรรลุพระอรหัต รูปนั้นจึงหายไป ท่านได้รับยกย่อง จากพระศาสดาว่า เป็นเอตทัคคะในการถือเอาสลากเป็นปฐม
  40. กุมารกัสสปะ : พระเถระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรธิดาเศรษฐีในพระนครราชคฤห์ คลอดเมื่อมารดาบวชเป็นภิกษุณีแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเลี้ยงเป็นโอรสบุญธรรม ทารกนั้นได้นามว่า กัสสปะ ภายหลังเรียกกันว่า กุมารกัสสปะ เพราะท่านเป็นเด็กสามัญ แต่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างราชกุมาร ท่านอุปสมบทในสำนักของพระศาสดา ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะในทางแสดงธรรมวิจิตร
  41. กุรุ : แคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้น แห่งชมพูทวีป นครหลวงชื่อ อินทปัตถ์
  42. กุสินารา : เมืองหลวงแห่งหนึ่งของแคว้นมัลละ (อีกแห่งหนึ่งคือ ปาวา) สมัยพุทธกาล กุสินารา เป็นเมืองเล็กๆ มีมัลลกษัตริย์เป็นผู้ปกครอง พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานที่เมืองนี้
  43. กูฏทันตสูตร : สูตรหนึ่งในคัมภีร์ทีฆนิกายสีลขันธวรรค สุตตันตปิฎก พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่กูฏทันตพราหมณ์ ผู้กำลังเตรียมพิธีบูชายัญ ว่าด้วยวิธีบูชายัญตามความหมายในแบบของพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่ต้องมีการฆ่าฟันเบียดเบียนสัตว์ มีแต่การเสียสละทำทาน และการทำความดีอื่นๆ เริ่มด้วยการตระเตรียมพิธีโดยจัดการบ้านเมืองให้สงบเรียบร้อยก่อนตามธรรมวิธี มีการส่งเสริมกสิกรรม พาณิชยกรรม สัมมาชีพ และบำรุงส่งเสริมข้าราชการที่ดี ซึ่งจะทำให้ประชาชนขวนขวาย ขะมักเขม้นในหน้าที่การงานของตนๆ จนบ้านเมืองมีความเกษมปลอดภัย พลเมืองมีความสุข ราชทรัพย์บริบูรณ์ดีแล้ว จึงกระทำพิธีบูชายัญ ด้วยการบริจาคทรัพย์ทำทานเป็นต้น ผลของพระธรรมเทศนานี้ คือ กูฏทันตพราหมณ์ล้มเลิกพิธีบูชายัญของตน ปล่อยสัตว์ทั้งหลาย และประกาศตนเป็นอุบาสก
  44. เก็บวัตร : โวหารเรียกวินัยกรรมเกี่ยวกับวุฏฐานวิธีอย่างหนึ่ง คือ เมื่อภิกษุต้องครุกาบัติขั้นสังฆาทิเสสกำลังอยู่ปริวาส ยังไม่ครบเวลาที่ปกปิดอาบัติไว้ก็ดี กำลังประพฤติมานัตยังไม่ครบ ๖ ราตรีก็ดี เมื่อมีเหตุอันสมควร ก็ไม่ต้องประพฤติติดต่อกันเป็นรวดเดียว พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ทำผ้าห่มเฉวียงบ่า นั่งกระหย่ง ประณมมือ ถ้าเก็บปริวาสพึงกล่าวว่า ปริวาสํ นิกฺขิปามิ แปลว่า ข้าพเจ้าเก็บปริวาส หรือว่า วตฺตํ นิกฺขิปามิ แปลว่า ข้าพเจ้าเก็บวัตร ว่าคำใดคำหนึ่ง ก็เป็นอันพักปริวาส ; ถ้าเก็บมานัต พึงกล่าวว่า มานตฺตํ นิกฺขิปามิ แปลว่า ข้าพเจ้าเก็บมานัต หรือว่า วตฺตํ นิกฺขิปามิ ข้าพเจ้าเก็บวัตร ดังนี้ ว่าคำใดคำหนึ่งก็เป็นอันพักมานัต ต่อไปเมื่อมีโอกาสก็ให้สมาทานวัตรใหม่ได้อีก
  45. โกนาคมน์ : พระนามพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอดีต ดู พระพุทธเจ้า
  46. โกลิยชนบท : แคว้นโกลิยะ หรือดินแดนของกษัตริย์โกลิยวงศ์ เป็นแคว้นหนึ่งในชมพูทวีปครั้งพุทธกาลมีนครหลวงชื่อ เทวทหะ และรามคาม บัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล
  47. โกสัมพิกขันธกะ : ชื่อขันธกะที่ ๑๐ (สุดท้าย) แห่งคัมภีร์มหาวรรค วินัยปิฎกว่าด้วยเรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพีทะเลาะวิวาทกัน จนเป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาในป่ารักขิตวัน ตำบลปาริไลยกะ ในที่สุด พระภิกษุเหล่านั้น ถูกมหาชนบีบคั้นให้ต้องกลับปรองดองกัน บังเกิดสังฆสามัคคีอีกครั้งหนึ่ง
  48. ขึ้นวัตร : โวหารเรียกวินัยกรรมเกี่ยวกับวุฏฐานวิธีอย่างหนึ่ง คือเมื่อภิกษุต้องครุกาบัติชั้นสังฆาทิเสสแล้วอยู่ปริวาส ยังไม่ครบเวลาที่ปกปิดอาบัติไว้หรือประพฤติมานัตอยู่ยังไม่ครบ ๖ ราตรี พักปริวาสหรือมานัตเสียเนื่องจากมีเหตุอันสมควร เมื่อจะสมาทานวัตรใหม่เพื่อประพฤติปริวาสหรือมานัตที่เหลือนั้น เรียกว่าขึ้นวัตรคือการสมาทานวัตรนั่นเอง ถ้าขึ้นปริวาสพึ่งกล่าวคำในสำนักภิกษุรูปหนึ่งว่า ปริวาสํ สมาทิยามิ ข้าพเจ้าขึ้นปริวาส วตฺตํ สมาทิยามิ ข้าพเจ้าขึ้นวัตร
  49. ขุชชโสภิตะ : ชื่อพระเถระองค์หนึ่งในการกสงฆ์ผู้ทำสังคายนาครั้งที่ ๒
  50. เขมา : พระเถรีมหาสาวิการูปหนึ่งประสูติในราชตระกูลแห่งสาคลนครในมัททรัฐ ต่อมาได้เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าพิมพิสาร มีความมัวเมาในรูปสมบัติของตน ได้ฟังพระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องราคะ และการกำจัดราคะ พอจบพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุพระอรหัต แล้วบวชเป็นภิกษุณี ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางมีปัญญามาก และเป็นอัครสาวิกาฝ่ายขวา
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-531

(0.0868 sec)