จตุรบท : สัตว์ ๔ เท้า มีช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น
เสนา : กองทัพ ในครั้งโบราณหมายถึงพลช้าง พลม้า พลรถ พลเดินเท้า เรียกว่าจตุรงคินีเสนา (เสนามีองค์ ๔ หรือ เสนา ๔ เหล่า)
อารัญญกวัตร : ข้อปฏิบัติสำหรับภิกษุผู้อยู่ป่า, ธรรมเนียมที่ภิกษุผู้อยู่ป่าพึงถือปฏิบัติ ตามพุทธบัญญัติที่มาในวัตตขันธกะ จัดเป็นหัวข้อได้ดังนี้ ก) ๑) ภิกษุผู้อยู่ป่า พึงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ เอาถุงบาตรสวมบาตรแล้วคล้องบ่าไว้ พาดจีวรบนไหล่ สวมรองเท้า เก็บงำเครื่องไม้เครื่องดิน ปิดประตูหน้าต่าง แล้วลงจากเสนาสนะ (ที่พักอาศัย) ไป ๒) ทราบว่า “บัดนี้จักเข้าหมู่บ้าน” พึงถอดรองเท้า เคาะต่ำๆ แล้วใส่ถุงคล้องบ่าไว้ นุ่งให้เป็นปริมณฑล คาดประคดเอว ห่มสังฆาฏิซ้อนเป็น ๒ ชั้น กลัดลูกดุม ชำระบาตรแล้วถือเข้าหมู่บ้านโดยเรียบร้อยไม่รีบร้อน ไปในละแวกบ้านพึงปกปิกกายด้วยดี สำรวมด้วยดี ไม่เดินกระโหย่ง เมื่อจะเจ้านิเวศน์ พึงกำหนดว่า เรากจักเข้าทางนี้ จักออกทางนี้ ไม่พึงรีบร้อนเข้าไป ไม่พึงรีบร้อนออกมา พึงยืนไม่ไกลเกิดไป ไม่ใกล้เกินไป ไม่นานเกินไป ไม่กลับออกเร็วเกินไป เมื่อยืนอยู่ พึงกำหนดว่า เขาประสงค์จะถวายภิกษาหรือไม่ ฯลฯ เมื่อเขาถวายภิกษา พึงแหวกสังฆาฏิด้วยมือซ้าย น้อมบาตรเข้าไปด้วยมือขวา ใช้มือทั้ง ๒ ประคองบาตรรับภิกษา ไม่พึงมองดูหน้าสตรีผู้ถวาย พึงกำหนดว่า เขาประสงค์จะถวายแกงหรือไม่ ฯลฯ เมื่อเขาถวายภิกษาแล้ว พึงคลุมบาตรด้วยสังฆาฏิแล้วกลับโดยเรียบร้อย ไม่รีบร้อน เดินไปในละแวกบ้าน พึงปกปิดกายด้วยดี สำรวมด้วยดี ไม่เดินกระโหย่ง ๓) ออกจากบ้านแล้ว (หลังจากฉันและล้างบาตรแล้ว) เอาบาตรใส่ถุง คล้องบ่า พับจีวร วางบนศีรษะ สวมรองเท้าเดินไป ข) ภิกษุผู้อยู่ป่า พึงจัดเตรียมน้ำดื่มไว้ พึงจัดเตรียมน้ำใช้ไว้ พึงติดไฟเตรียมไว้ พึงจัดเตรียมไม้สีไฟไว้ พึงจัดเตรียมไม้เท้าไว้ ค) พึงเรียนทางนักษัตรไว้ (ดูดาวเป็น) ทั้งหมดหรือบางส่วน พึงเป็นผู้ฉลาดในทิศ
นาค : งูใหญ่ในนิยาย; ช้าง; ผู้ประเสริฐ; ใช้เป็นคำเรียกคนที่กำลังจะบวชด้วย
พร้อมหน้าบุคคล : บุคคลผู้เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นอยู่พร้อมหน้ากัน เช่น คู่วิวาทหรือคู่ความพร้อมหน้ากันในวิวาทาธิกรณ์และในอนุวาทาธิกรณ์ เป็นต้น (ปุคคลสัมมุขตา)
พร้อมหน้าสงฆ์ : ต่อหน้าภิกษุเข้าประชุมครบองค์ และได้นำฉันทะของผู้ควรแก่ฉันทะมาแล้ว (สังฆสัมมุขตา)
พร้อมหน้าธรรมวินัย : (ระงับอธิกรณ์) โดยนำเอาธรรมวินัย และสัตถุศาสน์ที่เป็นหลักสำหรับระงับอธิกรณ์นั้นมาใช้โดยครบถ้วน คือวินิจฉัยถูกต้องโดยธรรมและถูกต้องโดยวินัย (ธัมมสัมมุขตา วินยสัมมุขตา)
พร้อมหน้าวัตถุ : ยกเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นขึ้นพิจารณาวินิจฉัย เช่น คำกล่าวโจทเพื่อเริ่มเรื่อง และข้อวิวาทที่ยกขึ้นแถลง เป็นต้น (วัตถุสัมมุขตา)
ตะโพน : เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง มีหนัง ๒ หน้า ตรงกลางป่อง ริม ๒ ข้างสอบลง
ทวิบท : สัตว์ ๒ เท้า มี กา ไก่ นก เป็นต้น
บาทยุคล : คู่แห่งบาท, พระบาททั้ง ๒ (เท้า ๒ ข้าง)
พหุบท : มีเท้ามาก หมายถึงสัตว์ดิรัจฉานที่มีเท้ามากกว่า ๒ เท้า และ ๔ เท้า เช่น ตะขาบ กิ้งกือ เป็นต้น
อนึก : กองทัพ คือ ช้าง ม้า รถ พลเดิน ที่จัดเป็นกองๆ แล้ว
อสุภ : สภาพที่ไม่งาม, พิจารณาร่างกายของตนและผู้อื่นให้เห็นสภาพที่ไม่งาม; ในความหมายเฉพาะ หมายถึงซากศพในสภาพต่างๆ ซึ่งใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน รวม ๑๐ อย่าง คือ ๑) อุทธุมาตกะ ซากศพที่เน่าพอง ๒) วินีลกะ ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำ ๓) วิปุพพกะ ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลออกอยู่ ๔) วิจฉิททกะ ซากศพที่ขาดกลางตัว ๕) วิกขายิตกะ ซากศพที่สัตว์กัดกินแล้ว ๖) วิกขิตตกะ ซากศพที่มีมือ เท้า ศีรษะขาด ๗) หตวิกขิตตกะ ซากศพที่คนมีเวรเป็นข้าศึกษกัน สับฟันเป็นท่อนๆ ๘) โลหิตกะ ซากศพที่ถูกประหารด้วยศัสตรามีโลหิตไหลอาบอยู่ ๙) ปุฬุวกะ ซากศพที่มีตัวหนอนคลานคล่ำไปอยู่ ๑๐) อัฏฐิกะ ซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูก
อสุภะ : สภาพที่ไม่งาม, พิจารณาร่างกายของตนและผู้อื่นให้เห็นสภาพที่ไม่งาม; ในความหมายเฉพาะ หมายถึงซากศพในสภาพต่างๆ ซึ่งใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน รวม ๑๐ อย่าง คือ ๑) อุทธุมาตกะ ซากศพที่เน่าพอง ๒) วินีลกะ ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำ ๓) วิปุพพกะ ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลออกอยู่ ๔) วิจฉิททกะ ซากศพที่ขาดกลางตัว ๕) วิกขายิตกะ ซากศพที่สัตว์กัดกินแล้ว ๖) วิกขิตตกะ ซากศพที่มีมือ เท้า ศีรษะขาด ๗) หตวิกขิตตกะ ซากศพที่คนมีเวรเป็นข้าศึกษกัน สับฟันเป็นท่อนๆ ๘) โลหิตกะ ซากศพที่ถูกประหารด้วยศัสตรามีโลหิตไหลอาบอยู่ ๙) ปุฬุวกะ ซากศพที่มีตัวหนอนคลานคล่ำไปอยู่ ๑๐) อัฏฐิกะ ซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูก
ยุคลบาท : เท้าทั้ง ๒, เท้าทั้งคู่
สมมติสัจจะ : จริงโดยสมมติ คือ โดยความตกลงหมายรู้ร่วมกันของมนุษย์ เช่น นาย ก.นาย ข.ช้าง ม้า มด โต๊ะ หนังสือ พ่อ แม่ ลูก เพื่อน เป็นต้น ซึ่งเมื่อกล่าวตามสภาวะ หรือโดยปรมัตถ์แล้ว ก็เป็นเพียงสังขาร หรือนามรูป หรือขันธ์ ๕ เท่านั้น; คู่กับ ปรมัตถสัจจะ
กรรม ๑๒ : กรรมจำแนกตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผล พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ ๑๒ อย่างคือ หมวดที่ ๑ ว่าด้วยปากกาล คือ จำแนกตามเวลาที่ให้ผล ได้แก่ ๑.ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้ ๒.อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า ๓.อปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพต่อๆไป ๔.อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล หมวดที่ ๒ ว่าโดยกิจ คือจำแนกการให้ผลตามหน้าที่ ได้แก่ ๕.ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิด หรือกรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด ๖.อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน คือเข้าสนับสนุนหรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม ๗.อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น คือเข้ามาบีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้นให้แปรเปลี่ยนทุเลาเบาบางหรือสั้นเข้า ๘.อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน คือกรรมแรงฝ่ายตรงข้ามที่เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรม ๒ อย่างนั้นให้ขาดหรือหยุดไปทีเดียว หมวดที่ ๓ ว่าโดยปากทานปริยาย คือจำแนกตามลำดับความแรงในการให้ผล ได้แก่ ๙.ครุกกรรม กรรมหนัก ให้ผลก่อน ๑๐.พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม กรรมทำมากหรือกรรมชิน ให้ผลรองลงมา ๑๑.อาสันนกรรม กรรมจวนเจียน หรือกรรมใกล้ตาย ถ้าไม่มี ๒ ข้อก่อนก็จะให้ผลก่อนอื่น ๑๒.กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม กรรมสักว่าทำ คือเจตนาอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้น ให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผล
กระหย่ง : (ในคำว่า นั่งกระหย่ง) นั่งคุกเข่าเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่านั่งกระโหย่ง ก็ได้; บางแห่งว่าหมายถึงนั่งยองๆ
กายบริหาร : การรักษาร่างกายให้เหมาะสมแก่ความเป็นสมณะ เช่นไม่ไว้ยาวเกินไป ไม่ไว้หนวดเครา ไม่ไว้เล็บยาว ไม่ผัดหน้า ไม่แต่งเครื่องประดับกาย ไม่เปลือยกาย เป็นต้น
ขรรค์ : อาวุธมีคม ๒ ข้าง ที่กลางทั้งหน้าและหลังเป็นสัน ด้านสั้น
ความค้ำ : ในประโยคว่า เราจักไม่ทำความค้ำ ไปในละแวกบ้าน เดินเอามือค้ำบั้นเอว นั่งเท้าแขน
จตุรงคินีเสนา : กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่าม้า เหล่ารถ เหล่าราบ
จักรพรรดิ : พระราชาธิราช หมายถึงพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ มีราชอาณาเขตปกครองขว้างขวางมาก บ้านเมืองในปกครองมีความร่มเย็นเป็นสุข ปราบข้าศึกศตรูด้วยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญาและศัสตรา มีรัตนะ ๗ ประการประจำพระองค์ คือ ช้างแก้ว ม้าแก้ว นางแก้ว ขุนคลังแก้ว ขุนพลแก้ว จักรแก้ว แก้วมณี
ฉายา : 1.เงา, อาการที่เป็นเงาๆ คือ ไม่ชัดออกไป, อาการเคลือบแฝง 2.ชื่อที่พระอุปัชฌายะตั้งให้แก่ผู้ขอบวชเป็นภาษาบาลี เรียกว่าชื่อฉายา ที่เรียกเช่นนี้เพราะเดิมเมื่อเสร็จการบวชแล้ว ต้องมีการวัดฉายาคือเงาแดดด้วยการสืบเท้าว่าเงาหดหรือเงาขยายแค่ไหน ชั่วกี่สืบเท้า การวัดเงาด้วยเท้านั้นเป็นมาตรานับเวลา เรียกว่า บาท เมื่อวัดแล้วจดเวลาไว้และจดสิ่งอื่นๆ เช่นชื่อพระอุปัชฌายะ พระกรรมวาจาจารย์ จำนวนสงฆ์ และชื่อผู้อุปสมบท ทั้งภาษาไทยและมคธ ลงในนั้นด้วย ชื่อใหม่ที่จดลงตอนวัดฉายานั้น จึงเรียกว่าชื่อฉายา
ตะเบ็งมาน : เป็นชื่อวิธีห่มผ้าของหญิงอย่างหนึ่ง คือ เอาผ้าโอบหลังสอดรักแร้ ๒ ข้างออกมาข้างหน้า ชักชายไขว้กันขึ้นพาดบ่าปกลงไปเหน็บไว้ที่ผ้าโอบหลัง
ตัสสาปาปิยสิกากรรม : กรรมอันสงฆ์พึงทำเพราะความที่ภิกษุนั้นเป็นผู้เลวทราม, กรรมนี้สงฆ์ทำแก่ภิกษุผู้เป็นจำเลยในอนุวาทาธิกรณ์ ให้การกลับไปกลับมา เดี๋ยวปฏิเสธ เดี๋ยวสารภาพ พูดถลากไถล พูดกลบเกลื่อนข้อที่ถูกซัก พูดมุสาซึ่งหน้า สงฆ์ทำกรรมนี้แก่เธอเป็นการลงโทษตามความผิดแม้ว่าเธอจะไม่รับ หรือเพื่อเพิ่มโทษจากอาบัติที่ต้อง
เตียง : ภิกษุทำเตียงหรือตั่ง พึงทำให้มีเท้าเพียง ๘ นิ้วพระสุคต เว้นไว้แต่แม่แคร่เบื้องต่ำ และต้องไม่หุ้มนุ่น ถ้าฝ่าฝืน ต้องปาจิตตีย์ ต้องตัดให้ได้ประมาณ หรือรื้อเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก (ปาจิตตีย์ รตนวรรคที่๙ สิกขาบทที่ ๕ และ ๖)
ทวดึงสกรรมกรณ์ : วิธีลงโทษ ๓๒ อย่าง ซึ่งใช้ในสมัยโบราณ เช่น โบยด้วยแส้ โบยด้วยหวาย ตีด้วยกระบอง ตัดมือ ตัดเท้า ตัดหู ตัดจมูก ตัดศีรษะ เอาขวานผ่าอก เป็นต้น
ทิศ ๖ : บุคคลประเภทต่างๆ ที่เราต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ดุจทิศที่อยู่รอบตัว จัดเป็น ๖ ทิศ ดังนี้ ๑.ปุรัตถิมทิส ทิศเบื้องหน้า ๒.ทักขิณาทิส ทิศเบื้องขวา ๓.ปัจฉิมทิส ทิศเบื้องหลัง ๔.อุตตรทิส ทิศเบื้องซ้าย ๕.เหฏฐิมทิส ทิศเบื้องล่าง ๖.อุปริมทิศ ทิศเบื้องบน
ทิศบูร : ทิศตะวันออก, ทิศเบื้องหน้า
ธมฺมสมฺมุขตา : ความเป็นต่อหน้าธรรม, พร้อมหน้าธรรม ในวิวาทาธิกรณ์ หมายความว่า ปฏิบัติถูกต้องตามธรรมวินัยและสัตถุศาสน์อันเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์นั้น จึงเท่ากับว่าธรรมมาอยู่ที่นั้นด้วย
นกุลบิดา : “พ่อของนกุล”, คฤหบดี ชาวเมืองสุงสุมารคีรี ในแคว้นภัคคะ มีภรรยาชื่อ นกุลมารดา สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จมายังเมืองสุงสุมารคีรี ประทับที่ป่าเภสกลาวัน ท่านคฤหบดีและภรรยาไปเฝ้าพร้อมกับชาวเมืองคนอื่นๆ พอได้เห็นครั้งแรก ทั้ง ๒ สามีภรรยาก็เกิดความรู้สึกสนิทหมายใจเหมือนว่าพระพุทธเจ้าเป็นบุตรของตน ได้เข้าไปถึงพระองค์และแสดงความรู้สึกนั้น พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมโปรด ทั้ง ๒ ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน ท่านนกุลบิดาและนกุลมารดานี้ เป็นคู่สามีภรรยาตัวอย่าง ผู้มีความจงรักภักดีต่อกันอย่างบริสุทธิ์และมั่นคงยั่งยืน ตราบเท่าชรา ทั้งยังปรารถนาจะพบกันทั้งชาตินี้และชาติหน้า เคยทูลขอให้พระพุทธเจ้าแสดงหลักธรรมที่จะทำให้สามีภรรยาครองรักกันยั่งยืนตลอดไปทั้งภพนี้และภพหน้า เมื่อท่านนกุลบิดาเจ็บป่วยออดแอดร่างกายอ่อนแอ ไม่สบายด้วยโรคชรา ท่านได้ฟังพระธรรมเทศนาครั้งหนึ่ง ที่ท่านประทับใจมากคือ พระดำรัสที่แนะนำให้ทำใจว่า “ถึงแม้ร่างกายของเราจะป่วย แต่ใจของเราจะไม่ป่วย” ท่านนกุลบิดาได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสกผู้สนิทสนมคุ้นเคย (วิสสาสิกะ)
นาคาวโลก : การเหลียวมองอย่างพญาช้าง, มองอย่างช้างเหลียวหลัง คือ เหลียวดูโดยหันกายกลับมาทั้งหมด เป็นกิริยาของพระพุทธเจ้า; เป็นชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง ซึ่งทำกิริยาอย่างนั้น
เนรัญชรา : ชื่อแม่น้ำสำคัญ พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณที่ภายใต้ต้นโพธิ์ ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำสายนี้ และก่อนหน้านั้นในวันตรัสรู้ ทรงลอยถาดข้าวมธุปายาสที่นางสุชาดาถวายในแม่น้ำสายนี้
บัณเฑาะว์ : (อ่านว่าบันเดาะ) กลองเล็กชนิดหนึ่งมีหนัง ๒ หน้าตรงกลางคอด ริมทั้ง ๒ ใหญ่ พราหมณ์ใช้ในพิธีต่างๆ ขับโดยใช้ลูกตุ้มกระทบหน้ากลองทั้ง ๒ ข้าง; สีมามีสัณฐานดุจบัณเฑาะว์ คือมีลักษณะทรวดทรงเหมือนบัณเฑาะว์
บุรพนิมิตต์ : เครื่องหมายให้รู้ล่วงหน้า, ลางที่บอกเหตุขึ้นก่อน บัดนี้ เขียน บุพนิมิต
เบญจางค์ : อวัยวะทั้ง ๕ คือ ศีรษะ ๑ มือทั้ง ๒ เท้าทั้ง ๒
เบญจางคประดิษฐ์ : การกราบด้วยตั้งอวัยวะทั้ง ๕ อย่างลงกับพื้น คือกราบเอาเข่าทั้ง ๒ มือทั้ง ๒ และศีรษะ (หน้าผาก) จดลงกับพื้น
ปฏิภาณ : โต้ตอบได้ทันทีทันควัน, ปัญญาแก้การณ์เฉพาะหน้า, ความคิดทันการ
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา : ความแตกฉานในปฏิภาณได้แก่ไหวพริบ คือ โต้ตอบปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที หรือแก้ไขเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ฉับพลันทันการ (ข้อ ๔ ในปฏิสัมภิทา ๔)
ปรภพ : ภพหน้า, โลกหน้า
ปรมัตถประโยชน์ : ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ พระนิพพาน; เป็นคำเรียกกันมาติดปาก ความจริงคือ ปรมัตถะ แปลว่าประโยชน์อย่างยิ่ง เหมือนทิฏฐธัมมิกัตถะ แปลว่าประโยชน์ปัจจุบัน และสัมปรายิกัตถะ แปลว่าประโยชน์เบื้องหน้า ก็มักเรียกกันว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ และสัมปรายิกัตถประโยชน์
ประจักษ์ : ชัดเจน, แจ่มแจ้ง, ต่อหน้าต่อตา
ปัจฉาสมณะ : พระตามหลัง, พระผู้ติดตาม เช่น พระพุทธเจ้ามักทรงเป็นพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ (คู่กับปุเรสมณะพระนำหน้า)
ปัญจพิธพันธนะ : เครื่องตรึง ๕ อย่าง คือ ตรึงเหล็กอันร้อนที่มือทั้ง ๒ ข้างที่เท้าทั้ง ๒ ข้าง และที่กลางอก ซึ่งเป็นการลงโทษที่นายนิรยบาลกระทำต่อสัตว์นรก
ปัณณัติติวัชชะ : อาบัติที่เป็นโทษทางพระบัญญัติ คือคนสามัญทำเข้าไม่เป็นความผิดความเสีย เป็นผิดเฉพาะแก่ภิกษุ โดยฐานละเมิดพระบัญญัติ เช่น ฉันอาหารในเวลาวิกาล ขุดดินใช้จีวรที่ไม่ได้พินทุ นั่นนอนบนเตียงตั่งที่ไม่ได้ตรึงเท้าให้แน่นเป็นต้น
ปาทุกา :
รองเท้าประเภทหนึ่ง แปลกันมาว่า เขียงเท้า เป็นรองเท้าที่ต้องห้ามทางพระวินัย อันภิกษุไม่พึงใช้ ดู รองเท้า
ปาริเลยยกะ : ชื่อแดนบ้านแห่งหนึ่งใกล้เมืองโกสัมพีที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปอาศัยอยู่ในป่ารักขิตวันด้วยทรงปลีกพระองค์ จากพระสงฆ์ผู้แตกกันในกรุงโกสัมพี; ช้างที่ปฏิบัติพระพุทธเจ้าที่ป่านั้น ก็ชื่อ ปาริเลยยกะ; เราเรียกกันในภาษาไทยว่า ปาเลไลยก์ก็มี ป่าเลไลยก์ ก็มี ควรเขียน ปาริไลยก์ หรือปาเรไลยก์
ปุคคลสัมมุขตา : ความเป็นต่อหน้าบุคคล, ในวิวาทาธิกรณ์ หมายความว่าคู่วิวาทอยู่พร้อมหน้ากัน