Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ตำราอาหาร, อาหาร, ตำรา .

Budhism Thai-Thai Dict : ตำราอาหาร, 96 found, display 1-50
  1. อาหาร : ปัจจัยอันนำมาซึ่งผล, เครื่องค้ำจุนชีวิต, เครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตมี ๔ คือ ๑) กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว ๒) ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ ๓) มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือมโนสัญเจตน ๔) วิญญาณหาร อาหารคือวิญญาณ
  2. ภัต : อาหาร, ของกิน, ของฉัน, อาหารที่รับประทาน (หรือฉัน) เป็นมื้อๆ
  3. ภัตร : อาหาร, ของกิน, ของฉัน, อาหารที่รับประทาน (หรือฉัน) เป็นมื้อๆ
  4. ศาสตร์ : ตำรา, วิชา
  5. เจ้าอธิการแห่งอาหาร : ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับอาหาร มี ๔ อย่าง คือผู้จัดแจกภัต (ภัตตุเทสก์) ผู้แจกยาคู (ยาคุภาชก) ผู้แจกผลไม้ (ผลภาชก) และผู้แจกของเคี้ยว (ขัชชภาชก)
  6. ปกรณ์ : คัมภีร์, ตำรา, หนังสือ
  7. ภักษา : เหยื่อ, อาหาร
  8. ภักษาหาร : เหยื่อ, อาหาร
  9. จังหัน : ข้าว, อาหาร (ใช้แก่พระสงฆ์)
  10. อนติริตตะ : (อาหาร) ซึ่งไม่เป็นเดน (ที่ว่าเป็นเดน มี ๒ คือเป็นเดนภิกษุใช้ ๑ เป็นของที่ภิกษุทำให้เป็นเดน ๑)
  11. จตุปัจจัย : เครื่องอาศัยของชีวิต หรือสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต ๔ อย่าง คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานเภสัช (เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่ ยา)
  12. ปัจจัย : 1.เหตุที่ให้ผลเป็นไป, เหตุ, เครื่องหนุนให้เกิด 2.ของสำหรับอาศัยใช้, เครื่องอาศัยของชีวิต, สิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต มี ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย) คิลานเภสัช (ยาบำบัดโรค)
  13. ปาหุเนยฺโย : ผู้ควรแก่ของต้อนรับ, พระสงฆ์เป็นผู้ควรได้รับของต้อนรับ คือ ของสำหรับแขกที่ควรถวายเมื่อไปถึงบ้าน เช่น น้ำดื่ม อาหาร เป็นต้น (ข้อ ๖ ในสังฆคุณ ๙)
  14. สัปปายะ : สิ่ง สถาน หรือบุคคล ซึ่งเป็นที่สบาย เหมาะกัน เกื้อกูล หรือเอื้ออำนวยโดยเฉพาะที่ช่วยเกื้อกูลแก่การบำเพ็ญและประคับประคองรักษาสมาธิ ท่านแสดงไว้ ๗ อย่าง คือ อาวาส (ที่อยู่) โคจร (ที่บิณฑบาตหรือแหล่งอาหาร) ภัสสะ (เรื่องพูดคุยที่เสริมการปฏิบัติ) บุคคล (ผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยแล้วช่วยให้จิตผ่องใสสงบมั่นคง) โภชนะ (อาหาร) อุตุ (สภาพแวดล้อมและอุณหภูมิ) อิริยาบถ; ทั้ง ๗ นี้ที่เหมาะกันเป็นสัปปายะ ที่ไม่สบายเป็นอสัปปายะ
  15. อามิสบูชา : การบูชด้วยอามิส คือ ด้วยสิ่งของมีดอกไม้ของหอม อาหาร และวัตถุอื่นๆ (ข้อ ๑ ในบูชา ๒)
  16. กพฬิงการาหาร : อาหารคือคำข้าว ได้แก่อาหารที่กลืนกินเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกาย, อาหารที่เป็นวัตถุ
  17. กุฏิภัต : อาหารที่เขาถวายแก่ภิกษุผู้อยู่ในกุฎีอันเขาสร้าง
  18. คิลานภัต : อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุอาพาธ
  19. คิลานุปัฏฐากภัต : อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุผู้พยาบาลไข้
  20. ตำรับ : ตำราที่กำหนดไว้เป็นเฉพาะแต่ละเรื่องละราย
  21. ตำหรับ : ตำราที่กำหนดไว้เป็นเฉพาะแต่ละเรื่องละราย
  22. นิโครธาราม : อาหารที่พระญาติสร้างถวายพระพุทธเจ้า อยู่ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์
  23. นิตยภัต : อาหารหรือค่าอาหารที่ถวายแก่ภิกษุสามเณรเป็นประจำ
  24. บิณฑบาต : อาหารที่ใส่ลงในบาตรพระ, อาหารถวายพระ; ในภาษาไทยใช้ในความหมายว่า รับของใส่บาตร เช่นที่ว่า พระไปบิณฑบาต คือ ไปรับอาหารที่เขาจะใส่ลงในบาตร
  25. ปักขิกะ : อาหารที่เขาถวายปักษ์ละครั้ง คือ สิบห้าวันครั้งหนึ่ง
  26. ปาฏิปทิกะ : อาหารถวายในวันปาฏิบท
  27. ผัสสาหาร : อาหารคือผัสสะ, ผัสสะเป็นอาหาร คือเป็นปัจจัยอุดหนุนหล่อเลี้ยงให้เกิดเวทนา ได้แก่ อายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ กระทบกัน ทำให้เกิดเวทนา คือ สุขบ้าง ทุกข์บ้าง เป็นอุเบกขาบ้าง (ข้อ ๒ ในอาหาร ๔)
  28. ภัตตาหาร : อาหารคือข้าวของฉัน, อาหารที่สำหรับฉันเป็นมื้อๆ
  29. โภชนาหาร : อาหารคือของกิน
  30. ลักษณะพยากรณศาสตร์ : ตำราว่าด้วยการทายลักษณะ
  31. วิญญาณาหาร : อาหารคือวิญญาณ, วิญญาณเป็นอาหารคือเป็นปัจจัยอุดหนุนหล่อเลี้ยงให้เกิดนามรูป (ข้อ ๔ ในอาหาร ๔)
  32. ศิลปศาสตร์ : ตำราว่าด้วยวิชาความรู้ต่างๆ มี ๑๘ ประการ เช่นตำราว่าด้วยการคำนวณ ตำรายิงธนู เป็นต้น อันได้มีการเรียนการสอนกันมาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล; ๑๘ ประการนั้น มีหลายแบบ ยกมาดูแบบหนึ่งจากคัมภีร์โลกนิติ และธรรมนิติ ได้แก่ ๑.สูติ ความรู้ทั่วไป ๒.สัมมติ ความรู้กฎธรรมเนียม ๓.สังขยา คำนวณ ๔.โยคยันตร์ การช่างการยนตร์ ๕.นีติ นิติศาสตร์ ๖.วิเสสิกา ความรู้การอันให้เกิดมงคล ๗.คันธัพพา วิชาร้องรำ ๘.คณิกา วิชาบริหารร่างกาย ๙.ธนุพเพธา วิชายิงธนู ๑๐.ปุราณา โบราณคดี ๑๑.ติกิจฉา วิชาแพทย์ ๑๒.อิติหาสา ตำนานหรือประวัติศาสตร์ ๑๓.โชติ ดาราศาสตร์ ๑๔.มายา ตำราพิชัยสงคราม ๑๕.ฉันทสา การประพันธ์ ๑๖.เกตุ วิชาพูด ๑๗.มันตา วิชามนต์ ๑๘.สัททา วิชาไวยากรณ์, ทั้ง ๑๘ อย่างนี้โบราณเรียกรวมว่า สิปปะ หรือศิลปะ ไทยแปลออกเป็น ศิลปศาสตร์ (ตำราว่าด้วยศิลปะต่างๆ); แต่ในสมัยปัจจุบัน ได้แยกความหมายศิลปะ กับ ศาสตร์ ออกจากกัน คือ ศิลปะ หมายถึง วิทยาการที่มีวัตถุประสงค์ตรง ความงาม เช่น ดุริยางคศิลป์ นาฏศิลป์ และจิตรกรรม เป็นต้น ศาสตร์ หมายถึง วิทยาการที่มีวัตถุประสงค์ตรงความจริง เช่น คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
  33. สลากภัต : อาหารถวายตามสลาก หมายเอาสังฆภัตอันทายกเข้ากันถวาย ต่างคนต่างจัดมา เป็นของต่างกัน เขามักทำในเทศกาลที่ผลไม้เผล็ดแล้วถวายพระด้วยวิธีจับสลาก; ดู สลาก
  34. สังฆภัต : อาหารถวายสงฆ์ หมายถึงอาหารที่เจ้าของนำมา หรือส่งมาถวายสงฆ์ในอารามพอแจกทั่วกัน
  35. อนามัฏฐบิณฑบาต : อาหารที่ภิกษุบิณฑบาตได้มายังไม่ได้ฉัน จะให้แก่ผู้อื่นที่ไม่ใช่ภิกษุด้วยกันไม่ได้ นอกจากมารดาบิดา
  36. อักขรวิธี : ตำราว่าด้วยวิธีเขียนและอ่านหนังสือให้ถูกต้อง
  37. อาคันตุกภัต : อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุอาคันตุกะ คือผู้จรมาจากต่างถิ่น
  38. อุทเทสภัต : อาหารอุทิศสงฆ์หรือภัตที่ทายกถวายตามที่สงฆ์แสดงให้ หมายถึงของที่เขาถวายสงฆ์แต่ไม่พอแจกทั่วกัน ท่านให้แจกไปตามลำดับ เริ่มตั้งแต่พระสังฆเถระลงมา ของหมดแค่ลำดับไหน กำหนดไว้ เมื่อของมีมาอีกจึงแจกต่อไปตั้งแต่ลำดับที่ค้างอยู่ อย่างนี้เรื่อยไปจนทั่วกัน แล้วจึงเวียนขึ้นต้นใหม่อีก เทียบ สังฆภัต
  39. อุทริยะ : อาหารใหม่, อาหารที่รับประทานเข้าไปแล้วอยู่ในท้อง ในลำไส้กำลังผ่านกระบวนการย่อย แต่ยังไม่กลายเป็นอุจจาระ
  40. อุโปสถิกภัต : อาหารที่เขาถวายในวันอุโบสถ คือ วันพระ ในเดือนหนึ่ง ๔ วัน, เป็นของจำพวกสังฆภัตหรืออุทเทสภัตนั่นเอง แต่มีกำหนดวันเฉพาะคือ ถวายเฉพาะในวันอุโบสถ
  41. อุโปสถิกะ : อาหารที่เขาถวายในวันอุโบสถ คือ วันพระ ในเดือนหนึ่ง ๔ วัน, เป็นของจำพวกสังฆภัตหรืออุทเทสภัตนั่นเอง แต่มีกำหนดวันเฉพาะคือ ถวายเฉพาะในวันอุโบสถ
  42. กัปปิยภูมิ : ที่สำหรับเก็บเสบียงอาหารของวัด, ครัววัด มี ๔ อย่าง คือ อุสสาวนันติกา กัปปิยภูมิที่ทำด้วยการประกาศให้รู้แต่แรกสร้างว่าจะทำเป็นกัปปิยภูมิ คือพอเริ่มยกเสาหรือตั้งฝาก็ประกาศให้ได้ยินว่า กปฺปิยภูมึ กโรม แปลว่า เราทั้งหลายทำกัปปิยกุฎี ๑ โคนิสาทิกา กัปปิยภูมิขนาดเล็ก เคลื่อนที่ได้ ดุจเป็นที่โคจ่อม ๑ คหปติกา เรือนของคฤหบดีเขาสร้างถวายเป็นกัปปิยภูมิ ๑ สัมมติกา กัปปิยภูมิที่สงฆ์สมมติ ได้แก่ กุฎีที่สงฆ์เลือกจะใช้เป็นกัปปิยกุฎี แล้วสวดประกาศด้วยญัตติทุติยกรรม ๑
  43. กัมมลักขณะ : การอันมีลักษณะเป็น (สังฆ) กรรมนั้นได้, กิจการที่มีลักษณะอันจัดเข้าเป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่ง ในสังฆกรรมประเภทนั้นได้ แต่ท่านไม่ได้ออกชื่อไว้ และไม่อาจจัดเข้าในชื่ออื่นๆ แห่งสังฆกรรมประเภทเดียวกัน เช่น การอปโลกน์แจกอาหารในโรงฉัน เป็นกัมมลักขณะ ในอปโลกนกรรม การประกาศเริ่มต้นระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกวินัย เป็นกัมมลักขณะในญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรมที่สวดในลำดับไปในการระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกวินัย เป็นกัมมลักขณะในญัตติทุติยกรรม อุปสมบทและอัพภานเป็นกัมมลักขณะในญัตติจตุตถกรรม
  44. กาลามสูตร : สูตรหนึ่งในคัมภีร์ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระพุทธเจ้าตรัสสอนชนชาวกาลามะแห่งเกสปุตตนิคมใน แคว้นโกศล ไม่ให้เชื่อถืองมงายไร้เหตุผล ตามหลัก ๑๐ ข้อ คือ อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา, ด้วยการถือสืบๆ กันมา, ด้วยการเล่าลือ, ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์, ด้วยตรรก, ด้วยการอนุมาน, ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล, เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน, เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ, เพราะนับถือว่าท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา; ต่อเมื่อใด พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น เรียกอีกอย่างว่าเกสปุตติยสูตร หรือเกสปุตตสูตร.
  45. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ : องค์แห่งผู้ถือ ห้ามภัตที่เขานำมาถวายภายหลัง คือ เมื่อลงมือฉันแล้วมีผู้นำอาหารมาถวายอีก ก็ไม่รับ (ธุดงค์ข้อ ๗)
  46. คมิยภัต : ภัตเพื่อผู้ไป, อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุผู้จะเดินทางไปอยู่ที่อื่น ; คมิกภัต ก็ว่า
  47. คันถะ : 1.กิเลสที่ร้อยรัดมัดใจสัตว์ให้ติดอยู่ 2.ตำรา, คัมภีร์
  48. คัมภีร์ : ลึกซึ้ง, ตำราที่ยกย่อง เช่นตำราทางศาสนา ตำราโหราศาสตร์
  49. คูถภักขา : มีคูถเป็นอาหาร ได้แก่สัตว์จำพวก ไก่ สุกร สุนัข เป็นต้น
  50. เจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์ : ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือแต่งตั้งจากสงฆ์ให้ทำหน้าที่ต่างๆ เกี่ยวกับการของส่วนรวมในวัดตามพระวินัยแบ่งไว้เป็น ๕ ประเภทคือ ๑.เจ้าอธิการแห่งจีวร ๒.เจ้าอธิการแห่งอาหาร ๓.เจ้าอธิการแห่งเสนาสนะ ๔.เจ้าอธิการแห่งอาราม ๕.เจ้าอธิการแห่งคลัง
  51. [1-50] | 51-96

(0.0224 sec)