ทวาร : ประตู, ทาง, ช่องตามร่างกาย 1.ทางรับรู้อารมณ์ มี ๖ คือ ๑.จักษุทวาร ทางตา ๒.โสตทวาร ทางหู ๓.ฆานทวาร ทางจมูก ๔.ชิวหาทวาร ทางลิ้น ๕.กายทวาร ทางกาย ๖.มโนทวาร ทางใจ 2.ทางทำกรรม มี ๓ คือ ๑.กายทวาร ทางกาย ๒.วจีทวาร ทางวาจา ๓.มโนทวาร ทางใจ
ไตรทวาร : ทวาร ๓, ทางทำกรรม ๓ ทาง คือ กายทวาร วจีทวาร และมโนทวาร
ทวารบาล : คนเฝ้าประตู
ทวารเบา : ช่องปัสสาวะ
ทวารหนัก : ช่องอุจจาระ
วจีทวาร : ทวารคือวาจา, ทางวาจา, ทางคำพูด (ข้อ ๒ ใน ทวาร ๓)
มโนทวาร : ทวารคือใจ, ทางใจ, ใจ โดยฐานเป็นทางทำมโนกรรม คือ สำหรับคิดนึกต่างๆ (ข้อ ๓ ในทวาร ๓)
อุดรทวาร : ประตูด้านเหนือ
กายทวาร : ทวารคือกาย, กายในฐานเป็นทางทำกรรม, ทางกาย
กรรม ๓ : กรรมจำแนกตามทวารคือทางที่ทำกรรม มี ๓ คือ ๑.กายกรรม การกระทำทางกาย ๒.วจีกรรม การกระทำทางวาจา ๓.มโนกรรม การกระทำทางใจ
กัมโพชะ : แคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้น แห่งชมพูทวีป มีนครหลวงชื่อทวารกะ บัดนี้อยู่ในประเทศอัฟกานิสถาน
ภคันทลา : โรคริดสีดวงทวารหนัก
ภวังคจิต : จิตที่เป็นองค์แห่งภพ, ตามหลักอภิธรรมว่า จิตที่เป็นพื้นอยู่ระหว่างปฏิสนธิและจุติ คือ ตั้งแต่เกิดจนถึงตาย ในเวลาที่มิได้เสวยอารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ มีจักขุทวารเป็นต้น แต่เมื่อใดมีการรับรู้อารมณ์ เช่น เกิดการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ก็เกิดเป็นวิถีจิตแทนภวังคจิต เมื่อวิถีจิตดับหมดไป ก็เกิดเป็นภวังคจิตขึ้นอย่างเดิม
ภารทวาชโคตร : ตระกูลภารทวารชะ เป็นตระกูลพราหมณ์เก่าแก่ ปรากฏตั้งแต่สมัยร้อยกรองพระเวท แต่ในพุทธกาลปรากฏตามคัมภีร์วินัยปิฎก ว่าเป็นตระกูลต่ำ
วัตถิกรรม : การผูกรัดที่ทวารหนักคือผูกรัดหัวริดสีดวงงอกที่ทวารหนัก ท่านสันนิษฐานว่า อาจจะหมายถึงการสวนทวารเบาก็ได้
วาจาชั่วหยาบ :
ในวินัยหมายถึงถ้อยคำพาดพิงทวารหนักทวารเบาและเมถุน ดู ทุฏฐุลลวาจา