Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: บ้านใกล้, ใกล้, บ้าน , then กล, ใกล้, บาน, บ้าน, บ้านใกล้, ป้าน .

Budhism Thai-Thai Dict : บ้านใกล้, 112 found, display 1-50
  1. บ้าน : ที่อยู่ของคนครัวเดียวกัน มีเรือนหลังเดียว ๒ หลัง ๓ หลัง หรือมากกว่านั้น หรือรวมบ้านเหล่านั้นเข้าเป็นหมู่ก็เรียกว่าบ้าน, คำว่า คามสีมา หมายถึงแดนบ้านตามนัยหลังนี้
  2. ปาริเลยยกะ : ชื่อแดนบ้านแห่งหนึ่งใกล้เมืองโกสัมพีที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปอาศัยอยู่ในป่ารักขิตวันด้วยทรงปลีกพระองค์ จากพระสงฆ์ผู้แตกกันในกรุงโกสัมพี; ช้างที่ปฏิบัติพระพุทธเจ้าที่ป่านั้น ก็ชื่อ ปาริเลยยกะ; เราเรียกกันในภาษาไทยว่า ปาเลไลยก์ก็มี ป่าเลไลยก์ ก็มี ควรเขียน ปาริไลยก์ หรือปาเรไลยก์
  3. มหาโมคคัลลานะ : ชื่อพระอัครสาวกเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า เกิดที่หมู่บ้านโกลิตคาม ไม่ไกลจากเมืองราชคฤห์ เป็นบุตรของพราหมณ์นายบ้านแห่งนั้น มารดาชื่อนางโมคคัลลีพราหมณี เดิมเรียกชื่อว่าโกลิตะ ตามชื่อหมู่บ้านซึ่งบิดาของตนเป็นใหญ่ ต่อมาเรียก โมคคัลลานะ เพราะเป็นบุตรของนางพราหมณีโมคคัลลี หรือโมคคัลลานีนั้น ได้เป็นสหายกับอุปติสสะ (คือพระสารีบุตร) มาแต่เด็กต่อมาทั้ง ๒ ได้ออกบวชเป็นปริพาชก อยู่ในสำนักของสญชัยปริพาชกจนกระทั่งอุปติสสะได้พบพระอัสสชิสหายทั้ง ๒ จึงได้มาเฝ้าพระพุทธเจ้า บวชในพระธรรมวินัย เมื่อบวชแล้ว ถึงวันที่ ๗ โกลิตะ ซึ่งบัดนี้เรียกว่า มหาโมคคัลลานะก็ได้ บรรลุอรหัตตผลท่านได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางมีฤทธิ์มาก ในตอนปลายพุทธกาลท่านถูกพวกโจรซึ่งได้รับจ้างจากพวกเดียรถีย์ ลอบสังหารด้วยการทุบตีจนร่างแหลก พระพุทธเจ้าโปรดให้ก่อสถูปบรรจุอัฐิธาตุของท่านไว้ใกล้ซุ้มประตูวัดเวฬุวัน ในเขตเมืองราชคฤห์, ชื่อของท่านนิยมเรียกกันง่ายๆ ว่า พระโมคคัลลาน์
  4. ยส : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสีมีความเป็นอยู่อย่างสุขสมบูรณ์ วันหนึ่งเห็นสภาพในห้องนอนของตน เป็นเหมือนป่าช้า เกิดความสลดใจคิดเบื่อหน่าย จึงออกจากบ้านไปพบพระพุทธเจ้าที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในเวลาใกล้รุ่ง พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาอนุปุพพีกถา และอริยสัจโปรด ยสกุลบุตรได้ดวงตาเห็นธรรม ต่อมาได้ฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่เศรษฐีบิดาของตน ก็ได้บรรลุอรหัตตผลแล้วขออุปสมบท เป็นภิกษุสาวกองค์ที่ ๖ ของพระพุทธเจ้า
  5. ยสะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสีมีความเป็นอยู่อย่างสุขสมบูรณ์ วันหนึ่งเห็นสภาพในห้องนอนของตน เป็นเหมือนป่าช้า เกิดความสลดใจคิดเบื่อหน่าย จึงออกจากบ้านไปพบพระพุทธเจ้าที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในเวลาใกล้รุ่ง พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาอนุปุพพีกถา และอริยสัจโปรด ยสกุลบุตรได้ดวงตาเห็นธรรม ต่อมาได้ฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่เศรษฐีบิดาของตน ก็ได้บรรลุอรหัตตผลแล้วขออุปสมบท เป็นภิกษุสาวกองค์ที่ ๖ ของพระพุทธเจ้า
  6. อารัญญกวัตร : ข้อปฏิบัติสำหรับภิกษุผู้อยู่ป่า, ธรรมเนียมที่ภิกษุผู้อยู่ป่าพึงถือปฏิบัติ ตามพุทธบัญญัติที่มาในวัตตขันธกะ จัดเป็นหัวข้อได้ดังนี้ ก) ๑) ภิกษุผู้อยู่ป่า พึงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ เอาถุงบาตรสวมบาตรแล้วคล้องบ่าไว้ พาดจีวรบนไหล่ สวมรองเท้า เก็บงำเครื่องไม้เครื่องดิน ปิดประตูหน้าต่าง แล้วลงจากเสนาสนะ (ที่พักอาศัย) ไป ๒) ทราบว่า “บัดนี้จักเข้าหมู่บ้าน” พึงถอดรองเท้า เคาะต่ำๆ แล้วใส่ถุงคล้องบ่าไว้ นุ่งให้เป็นปริมณฑล คาดประคดเอว ห่มสังฆาฏิซ้อนเป็น ๒ ชั้น กลัดลูกดุม ชำระบาตรแล้วถือเข้าหมู่บ้านโดยเรียบร้อยไม่รีบร้อน ไปในละแวกบ้านพึงปกปิกกายด้วยดี สำรวมด้วยดี ไม่เดินกระโหย่ง เมื่อจะเจ้านิเวศน์ พึงกำหนดว่า เรากจักเข้าทางนี้ จักออกทางนี้ ไม่พึงรีบร้อนเข้าไป ไม่พึงรีบร้อนออกมา พึงยืนไม่ไกลเกิดไป ไม่ใกล้เกินไป ไม่นานเกินไป ไม่กลับออกเร็วเกินไป เมื่อยืนอยู่ พึงกำหนดว่า เขาประสงค์จะถวายภิกษาหรือไม่ ฯลฯ เมื่อเขาถวายภิกษา พึงแหวกสังฆาฏิด้วยมือซ้าย น้อมบาตรเข้าไปด้วยมือขวา ใช้มือทั้ง ๒ ประคองบาตรรับภิกษา ไม่พึงมองดูหน้าสตรีผู้ถวาย พึงกำหนดว่า เขาประสงค์จะถวายแกงหรือไม่ ฯลฯ เมื่อเขาถวายภิกษาแล้ว พึงคลุมบาตรด้วยสังฆาฏิแล้วกลับโดยเรียบร้อย ไม่รีบร้อน เดินไปในละแวกบ้าน พึงปกปิดกายด้วยดี สำรวมด้วยดี ไม่เดินกระโหย่ง ๓) ออกจากบ้านแล้ว (หลังจากฉันและล้างบาตรแล้ว) เอาบาตรใส่ถุง คล้องบ่า พับจีวร วางบนศีรษะ สวมรองเท้าเดินไป ข) ภิกษุผู้อยู่ป่า พึงจัดเตรียมน้ำดื่มไว้ พึงจัดเตรียมน้ำใช้ไว้ พึงติดไฟเตรียมไว้ พึงจัดเตรียมไม้สีไฟไว้ พึงจัดเตรียมไม้เท้าไว้ ค) พึงเรียนทางนักษัตรไว้ (ดูดาวเป็น) ทั้งหมดหรือบางส่วน พึงเป็นผู้ฉลาดในทิศ
  7. อารัญญิกังคะ : องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร คือ ไม่อยู่ในเสนาสนะใกล้บ้าน แต่อยู่ป่าห่างจากบ้านอย่างน้อย ๒๕ เส้น (ข้อ ๘ ในธุดงค์ ๑๓)
  8. อุปจาร : เฉียด, จวนเจียน, ที่ใกล้ชิด, ระยะใกล้เคียง, ชาน, บริเวณรอบๆ; ดังตัวอย่างคำว่า อุปจารเรือน อุปจารบ้าน แสดงตามที่ท่านอธิบายในอรรถกถาพระวินัยดังนี้
  9. ระยะบ้านหนึ่ง : ในประโยคว่า “โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง เป็นปาจิตติยะ” ระยะทางชั่วไก่บินถึง แต่ในที่คนอยู่คับคั่ง ให้กำหนดตามเครื่องกำหนดที่มีอยู่โดยปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง (เช่นชื่อหมู่บ้าน)
  10. ใบฎีกา : 1.หนังสือนิมนต์พระ ตัวอย่าง “ขออาราธนาพระคุณเจ้า (พร้อมด้วยพระสงฆ์ในวัดนี้อีก......รูป) เจริญพระพุทธมนต์ (หรือสวดมนต์ หรือแสดงพระธรรมเทศนา) ในงาน.....บ้าน เลขที่.......ตำบล.......อำเภอ.......ในวันที่......เดือน.......พ.ศ........เวลา......น.” (หากจะอาราธนาให้รับอาหารบิณฑบาตเช้าหรือเพลหรือมีการตักบาตรใช้ปิ่นโต ก็ให้ระบุไว้ด้วย) 2.ตำแหน่งพระฐานานุกรมรองจากสมุห์ลงมา
  11. กรรม ๑๒ : กรรมจำแนกตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผล พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ ๑๒ อย่างคือ หมวดที่ ๑ ว่าด้วยปากกาล คือ จำแนกตามเวลาที่ให้ผล ได้แก่ ๑.ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้ ๒.อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า ๓.อปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพต่อๆไป ๔.อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล หมวดที่ ๒ ว่าโดยกิจ คือจำแนกการให้ผลตามหน้าที่ ได้แก่ ๕.ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิด หรือกรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด ๖.อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน คือเข้าสนับสนุนหรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม ๗.อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น คือเข้ามาบีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้นให้แปรเปลี่ยนทุเลาเบาบางหรือสั้นเข้า ๘.อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน คือกรรมแรงฝ่ายตรงข้ามที่เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรม ๒ อย่างนั้นให้ขาดหรือหยุดไปทีเดียว หมวดที่ ๓ ว่าโดยปากทานปริยาย คือจำแนกตามลำดับความแรงในการให้ผล ได้แก่ ๙.ครุกกรรม กรรมหนัก ให้ผลก่อน ๑๐.พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม กรรมทำมากหรือกรรมชิน ให้ผลรองลงมา ๑๑.อาสันนกรรม กรรมจวนเจียน หรือกรรมใกล้ตาย ถ้าไม่มี ๒ ข้อก่อนก็จะให้ผลก่อนอื่น ๑๒.กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม กรรมสักว่าทำ คือเจตนาอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้น ให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผล
  12. กัปปิละ : ชื่อพราหมณ์นายบ้านของหมู่บ้านพราหมณ์หมู่หนึ่ง ในแขวงกรุงราชคฤห์ เป็นบิดาของปิปผลิมาณพ
  13. กูฏทันตสูตร : สูตรหนึ่งในคัมภีร์ทีฆนิกายสีลขันธวรรค สุตตันตปิฎก พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่กูฏทันตพราหมณ์ ผู้กำลังเตรียมพิธีบูชายัญ ว่าด้วยวิธีบูชายัญตามความหมายในแบบของพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่ต้องมีการฆ่าฟันเบียดเบียนสัตว์ มีแต่การเสียสละทำทาน และการทำความดีอื่นๆ เริ่มด้วยการตระเตรียมพิธีโดยจัดการบ้านเมืองให้สงบเรียบร้อยก่อนตามธรรมวิธี มีการส่งเสริมกสิกรรม พาณิชยกรรม สัมมาชีพ และบำรุงส่งเสริมข้าราชการที่ดี ซึ่งจะทำให้ประชาชนขวนขวาย ขะมักเขม้นในหน้าที่การงานของตนๆ จนบ้านเมืองมีความเกษมปลอดภัย พลเมืองมีความสุข ราชทรัพย์บริบูรณ์ดีแล้ว จึงกระทำพิธีบูชายัญ ด้วยการบริจาคทรัพย์ทำทานเป็นต้น ผลของพระธรรมเทศนานี้ คือ กูฏทันตพราหมณ์ล้มเลิกพิธีบูชายัญของตน ปล่อยสัตว์ทั้งหลาย และประกาศตนเป็นอุบาสก
  14. คฤหบดีจีวร : ผ้าจีวรที่ชาวบ้านถวายพระ
  15. คฤหัสถ์ : ผู้ครองเรือน, ชาวบ้าน
  16. ความค้ำ : ในประโยคว่า เราจักไม่ทำความค้ำ ไปในละแวกบ้าน เดินเอามือค้ำบั้นเอว นั่งเท้าแขน
  17. คามเขต : เขตบ้าน, ละแวกบ้าน
  18. คามสีมา : แดนบ้าน คือเขตที่กำหนดด้วยบ้าน, สีมาที่ถือกำหนดตามเขตบ้าน, สีมาที่ถือกำหนดตามเขตบ้านเป็นอพัทธสีมาอย่างหนึ่ง
  19. ฆราวาส : การอยู่ครองเรือน, ชีวิตชาวบ้าน; ในภาษาไทย มักใช้หมายถึงผู้ครองเรือน คือ คฤหัสถ์
  20. ฆราวาสนิสัย : วิสัยของฆราวาส, ลักษณะที่เป็นภาวะของผู้ครองเรือน, เรื่องของชาวบ้าน
  21. ฆราวาสสมบัติ : สมบัติของการครองเรือน, ความพรั่งพร้อมสมบูรณ์ของชีวิตชาวบ้าน
  22. จักรพรรดิ : พระราชาธิราช หมายถึงพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ มีราชอาณาเขตปกครองขว้างขวางมาก บ้านเมืองในปกครองมีความร่มเย็นเป็นสุข ปราบข้าศึกศตรูด้วยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญาและศัสตรา มีรัตนะ ๗ ประการประจำพระองค์ คือ ช้างแก้ว ม้าแก้ว นางแก้ว ขุนคลังแก้ว ขุนพลแก้ว จักรแก้ว แก้วมณี
  23. จุนทะ : พระเถระผู้ใหญ่ชั้นมหาสาวกเป็นน้องชายของพระสารีบุตร เคยเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธองค์ และเป็นผู้นำอัฐิธาตุของพระสารีบุตรจากบ้าน เกิดที่ท่านปรินิพพานมาถวายแด่พระพุทธองค์ที่พระเชตวัน
  24. ฉันนะ : อำมาตย์คนสนิทผู้เป็นสหชาติและเป็นสารถีของเจ้าชายสิทธัตถะในวันเสด็จออกบรรพชา ฉันนะตามเสด็จไปด้วย ภายหลังบวชเป็นภิกษุถือตัวว่าเป็นคนใกล้ชิดพระพุทธเจ้ามาแต่เก่าก่อน ใครว่าไม่ฟังเกิดความบ่อยๆ หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ถูกสงฆ์ลงพรหมทัณฑ์หายพยศ และได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
  25. ชีต้น : พระสงฆ์ที่คุ้นเคยใกล้ชิตกับครอบครัวหรือตระกูล ซึ่งเขาเคารพนับถือเป็นอาจารย์เป็นที่ปรึกษา เรียกอย่างคำบาลีว่า กุลุปกะ, กุลูปกะ หรือกุลุปก์ ดู กุลุปกะ
  26. ตโปทาราม : สวนซึ่งอยู่ใกล้ บ่อน้ำพุร้อนชื่อตโปทา ใกล้พระนครราชคฤห์ เป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตโอภาสแก่พระอานนท์
  27. ตระกูลอันมั่งคั่ง : จะตั้งอยู่นานไม่ได้ เพราะเหตุ ๔ คือ ๑.ไม่แสวงหาพัสดุที่หายแล้ว ๒.ไม่บูรณะพัสดุที่คร่ำคร่า ๓.ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคสมบัติ ๔.ตั้งสตรีหรือบุรุษทุศีล ให้เป็นแม่บ้านพ่อเรือน
  28. ถือบังสุกุล : ใช้ผ้าเฉพาะที่ได้จากกองฝุ่นกองหยากเยื่อ คือผ้าที่เขาทิ้งแล้ว มาทำเครื่องนุ่งห่ม ไม่ใช้ผ้าที่ชาวบ้านถวาย ดู ปังสุกูลิกังคะ
  29. ธงแห่งคฤหัสถ์ : เครื่องนุ่งห่มของคฤหัสถ์, การนั่งห่มอย่างนิยมกันของชาวบ้าน
  30. ธุดงค์ : องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส, ชื่อข้อปฏิบัติประเภทวัตร ที่ผู้สมัครใจจะพึงสมาทานประพฤติได้ เป็นอุบายขัดเกลากิเลส ส่งเสริมความมักน้อยสันโดษเป็นต้น มี ๑๓ ข้อคือ หมวดที่ ๑ จีวรปฏิสังยุต-เกี่ยวกับจีวร มี ๑.ปังสุกูลิกังคะ ถือใช้แต่ผ้าบังสุกุล ๒.เตจีวริกังคะ ใช้ผ้าเพียง ๓ ผืน; หมวดที่ ๒ ปิณฑปาตปฏิสังยุต-เกี่ยวกับบิณฑบาต มี ๓.ปิณฑปาติกังคะ เที่ยวบิณฑบาตเป็นประจำ ๔.สปทานจาริกังคะ บิณฑบาตตามลำดับบ้าน ๕.เอกาสนิกังคะ ฉันมื้อเดียว ๖.ปัตตปิณฑิกังคะ ฉันเฉพาะในบาตร ๗.ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ลงมือฉันแล้วไม่ยอมรับเพิ่ม; หมวดที่ ๓ เสนาสนปฏิสังยุต -เกี่ยวกับเสนาสนะมี ๘.อารัญญิกังคะ ถืออยู่ป่า ๙.รุกขมูลิกังคะ อยู่โคนไม้ ๑๐.อัพโภกาสิกังคะ อยู่กลางแจ้ง ๑๑.โสสานิกังคะ อยู่ป่าช้า ๑๒.ยถาสันถติกังคะ อยู่ในที่แล้วแต่เขาจัดให้; หมวดที่ ๔ วิริยปฏิสังยุต-เกี่ยวกับความเพียร มี ๑๓.เนสัชชิกังคะ ถือนั่งอย่างเดียวไม่นอน (นี้แปลเอาความสั้นๆ ความหมายละเอียด พึงดูตามลำดับอักษรของคำนั้นๆ) ธุระ “สิ่งที่จะต้องแบกไป”, หน้าที่, ภารกิจ, การงาน, เรื่องที่จะต้องรับผิดชอบ, กิจในพระศาสนา แสดงไว้ในอรรถกถา ๒ อย่างคือ คันถธุระ และวิปัสสนาธุระ
  31. นาลันทะ : ชื่อหมู่บ้านแห่งหนึ่งไม่ไกลจากกรุงราชคฤห์ เป็นบ้านเกิดของพระสารีบุตร ดู นาลกะ 2.
  32. นาลันทา : ชื่อเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ห่างจากพระนครราชคฤห์ประมาณ ๑ โยชน์ ณ เมืองนี้ มีสวนมะม่วง ชื่อ ปาวาริกัมพวัน (สวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐี) ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับแรมหลายครั้ง คัมภีร์ฝ่ายมหายานกล่าวว่า พระสารีบุตร อัครสาวก เกิดที่เมืองนาลันทา แต่คัมภีร์ฝ่ายบาลีเรียกถิ่นเกิดของพระสารีบุตรว่า หมู่บ้านนาลกะหรือนาลันทคาม
  33. นิโครธาราม : อาหารที่พระญาติสร้างถวายพระพุทธเจ้า อยู่ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์
  34. นิมันตนะ : การนิมนต์ หรืออาหารที่ได้ในที่นิมนต์ หมายเอาการนิมนต์ของทายกเพื่อไปฉันที่บ้านเรือนของเขา
  35. บังสุกุลจีวร : ผ้าที่เกลือกกลั้วด้วยฝุ่น, ผ้าที่ได้มาจากกองฝุ่น, กองหยากเยื่อ ซึ่งเขาทิ้งแล้ว ตลอดถึงผ้าห่อคลุมศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ไม่ใช่ผ้าที่ชาวบ้านถวาย, ปัจจุบันมักหมายถึงผ้าที่พระชักจากศพโดยตรงก็ตาม จากสายโยงศพก็ตาม
  36. บิณฑจาริกวัตร : วัตรของผู้เที่ยวบิณฑบาต, ธรรมเนียมหรือข้อควรปฏิบัติสำหรับภิกษุที่จะไปรับบิณฑบาต เช่น นุ่งห่มให้เรียบร้อย สำรวมกิริยาอาการ ถือบาตรภายในจีวรเอาออกเฉพาะเมื่อจะรับบิณฑบาต กำหนดทางเข้าออกแห่งบ้านและอาการของชาวบ้านที่จะให้ภิกขาหรือไม่ รับบิณฑบาตด้วยอาการสำรวม รูปที่กลับมาก่อน จัดที่ฉัน รูปที่มาทีหลัง ฉันแล้วเก็บกวาด
  37. ประธานาธิบดี : หัวหน้าผู้ปกครองบ้านเมืองแบบสาธารณรัฐ
  38. ปลงบริขาร : มอบบริขารให้แก่ผู้อื่นในเวลาใกล้จะตาย เป็นการให้อย่างขาดกรรมสิทธิ์ไปทีเดียวตั้งแต่เวลานั้น (ใช้สำหรับภิกษุผู้จะถึงมรณภาพเพื่อให้ถูกต้องตามพระวินัย)
  39. ปลิโพธ : เครื่องผูกพันหรือหน่วงเหนี่ยวเป็นเหตุให้ใจพระวักพะวนห่วงกังวล, เหตุกังวล, ข้อติดข้อง; ปลิโพธที่ผู้จะเจริญกรรมฐานพึงตัดเสียให้ได้ เพื่อให้เกิดความปลอดโปร่งพร้อมที่จะเจริญกรรมฐานให้ก้าวหน้าไปได้ดี มี ๑๐ อย่าง คือ ๑.อาวาสปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับวัดหรือที่อยู่ ๒.กุลปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับตระกูลญาติหรืออุปัฏฐาก ๓.ลาภปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับลาภ ๔.คณปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับคณะศิษย์หรือหมู่ชนที่ตนต้องรับผิดชอบ ๕.กรรมปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการงาน เช่น การก่อสร้าง ๖.อัทธานปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการเดินทางไกลเนื่องด้วยกิจธุระ ๗.ญาติปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับญาติหรือคนใกล้ชิดที่จะต้องเป็นห่วงซึ่งกำลังเจ็บป่วยเป็นต้น ๘.อาพาธปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับความเจ็บไข้ของตนเอง ๙.คันถปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียน ๑๐.อิทธิปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับฤทธิ์ของปุถุชนที่จะต้องคอยรักษาไม่ให้เสื่อม (ข้อท้ายนี้เป็นปลิโพธสำหรับผู้จะเจริญวิปัสสนาเท่านั้น)
  40. ปัจฉิมโพธิกาล : โพธิกาลช่วงหลัง, ระยะเวลาบำเพ็ญพุทธกิจตอนท้ายคือ ช่วงใกล้จนถึงปรินิพพาน กำหนดคร่าวๆ ตามมหาปรินิพพานสูตรตั้งแต่ปลงพระชนมายุสังขารถึงปรินิพพาน
  41. ปาหุเนยฺโย : ผู้ควรแก่ของต้อนรับ, พระสงฆ์เป็นผู้ควรได้รับของต้อนรับ คือ ของสำหรับแขกที่ควรถวายเมื่อไปถึงบ้าน เช่น น้ำดื่ม อาหาร เป็นต้น (ข้อ ๖ ในสังฆคุณ ๙)
  42. ปุริสเมธ : ความฉลาดในารบำรุงข้าราชการ รู้จักส่งเสริมคนดีมีความสามารถ เป็นสังคหวัตถุประการหนึ่ง ของผู้ปกครองบ้านเมือง
  43. พรหมทัณฑ์ : โทษอย่างสูง คือ สงฆ์ตกลงกันลงโทษภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง โดยภิกษุทั้งหลายพร้อมใจกันไม่พูดด้วย ไม่ว่ากล่าวตักเตือน หรือสั่งสอนภิกษุรูปนั้น, พระฉันนะซึ่งเป็นพระเจ้าพยศ ถือตัวว่าเป็นคนเก่าใกล้ชิดพระพุทธเจ้ามาก่อนใครอื่น ใครว่าไม่ฟัง ภายหลังถูกสงฆ์ลงพรหมทัณฑ์ถึงกับเป็นลมล้มสลบหายพยศได้
  44. พรหมไทย : ของอันพรหมประทาน, ของให้ที่ประเสริฐสุด หมายถึง ที่ดิน หรือบ้านเมืองที่พระราชทานเป็นบำเหน็จ เช่น เมืองอุกกุฏฐะที่พระเจ้าปเสนทิโกศลพระราชทานแก่โปกขรสาติพราหมณ์ และนครจัมปาที่พระเจ้าพิมพิสารพระราชทานให้โสณทัณฑพราหมณ์ปกครอง
  45. พระพุทธเจ้า : พระผู้ตรัสรู้เองโดยชอบแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม, ท่านผู้รู้ดีรู้ชอบด้วยตนเองก่อนแล้วสอนประชุมชนให้ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ; พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ที่ใกล้กาลปัจจุบันที่สุดและคัมภีร์กล่าวถึงบ่อยๆ คือ พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ และพระโคดม; พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์แห่งภัทรกัปป์ปัจจุบันนี้ คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคดม และพระเมตเตยยะ (เรียกกันสามัญว่า พระศรีอาริย์ หรือ พระศรีอารยเมตไตรย); พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์นับแต่พระองค์แรกที่พระโคตมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) ได้ทรงพบและทรงได้รับการพยากรณ์ว่าจะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า (รวม ๒๔ พระองค์) จนถึงพระองค์เองด้วย คือ ๑.พระทีปังกร ๒.พระโกณฑัญญะ ๓.พระมังคละ ๔.พระสุมนะ ๕.พระเรวตะ ๖.พระโสภิตะ ๗.พระอโนมทัสสี ๘.พระปทุมะ ๙.พระนารทะ ๑๐.พระปทุมุตตระ ๑๑.พระสุเมธะ ๑๒.พระสุชาตะ ๑๓.พระปิยทัสสี ๑๔.พระอัตถทัสสี ๑๕.พระธัมมทัสสี ๑๖.พระสิทธัตถะ ๑๗.พระติสสะ ๑๘.พระปุสสะ ๑๙.พระวิปัสสี ๒๐.พระสิขี ๒๑.พระเวสสภู ๒๒.พระกกุสันธะ ๒๓.พระโกนาคมน์ ๒๔.พระกัสสปะ ๒๕.พระโคตมะ (เรื่องมาในคัมภีร์พุทธวงส์ แห่งขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฎก); ดู พุทธะ ด้วย
  46. ภัตตัคควัตร : ข้อควรปฏิบัติในหอฉัน, ธรรมเนียมในโรงอาหาร ท่านจัดเข้าเป็นกิจวัตรประเภทหนึ่ง กล่าวย่อ มี ๑๑ ข้อ คือ นุ่งห่มให้เรียบร้อย, รู้จักอาสนะอันสมควรแก่ตน, ไม่นั่งทับผ้าสังฆาฏิในบ้าน, รับน้ำและโภชนะของถวายจากทายกโดยเอื้อเฟือ และคอยระวังให้ได้รับทั่วถึงกัน, ถ้าพอจะแลเห็นทั่วกัน พระสังฆเถระพึงลงมือฉัน เมื่อภิกษุทั้งหมดได้รับโภชนะทั่วกันแล้ว, ฉันด้วยอาการเรียบร้อยตามหลักเสขิยวัตร, อิ่มพร้อมกัน (หัวหน้ารอยังไม่บ้วนปากและล้างมือ), บ้วนปากและล้างมือระวังไม่ให้น้ำกระเซ็น ฉันในที่มีทายกจัดถวาย เสร็จแล้วอนุโมทนา, เมือกลับอย่าเบียดเสียดกันออกมา, ไม่เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวหรือของเป็นเดนในบ้านเขา
  47. ภูตคาม : ของเขียวหรือพืชพรรณอันเป็นอยู่กับที่ มี ๕ ชนิด ๑. พืชเกิดจากเหง้า คือ ใช้เหง้าเพาะ เช่น ขมิ้น ๒. พืชเกิดจากต้น คือตอนออกได้จากไม้ต้นทั้งหลาย เช่น ต้นโพธิ์ ๓. พืชเกิดจากข้อ คือใช้ข้อปลูก ได้แก่ไม้ลำ เช่น อ้อย ไม้ไผ่ ๔. พืชเกิดจากยอด คือ ใช้ยอดปักก็เป็น ได้แก่ ผักต่างๆ มีผักชีล้อม ผักบุ้ง เป็นต้น ๕. พืชเกิดจากเมล็ด คือใช้เมล็ดเพาะ ได้แก่ ถั่ว งา ข้าว, แปลตามรูปศัพท์ว่า บ้านของภูต, คู่กับ พีชคาม ภูตคามวรรค หมวดที่ว่าด้วยภูตคาม เป็นวรรคที่ ๒ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ในมหาวิภังค์แห่งพระวินัยปิฎก
  48. มหากัสสปะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เกิดที่หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อมหาติตถะในแคว้นมคธ เป็นบุตรของกปิลพราหมณ์ มีชื่อเดิมว่าปิปผลิมาณพ เมื่ออายุ ๒๐ ปี ได้สมรสกับนางภัททกาปิลานี ตามความประสงค์ของมารดาบิดาแต่ไม่มีความยินดีในชีวิตครองเรือน ต่อมาทั้งสามีภรรยาได้สละเรือน นุ่งห่มผ้ากาสาวะออกบวชกันเอง เดินทางออกจากบ้านแล้วแยกกันที่ทาง ๒ แพร่ง ปิปผลิมาณพได้พบพระพุทธเจ้าที่พหุปุตตกนิโครธระหว่างเมืองราชคฤห์กับเมืองนาลันทา ได้อุปสมบทด้วยโอวาท ๓ ข้อ และได้ถวายผ้าสังฆาฏิของตนแลกกับจีวรเก่าของพระพุทธเจ้า แล้วสมาทานธุดงค์ ครั้นบวชล่วงไปแล้ว ๗ วัน ก็ได้บรรลุพระอรหัต เป็นผู้มีปฏิปทามักน้อย สันโดษ ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะ ในทางถือธุดงค์ เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ท่านได้เป็นผู้ริเริ่มและเป็นประธานในปฐมสังคายนา ท่านดำรงชีวิตสืบมาจนอายุ ๑๒๐ ปี จึงปรินิพพาน
  49. มหาปรินิพพานสูตร : สูตรที่ ๓ ในคัมภีร์ทีฆนิกาย มหาวรรค พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยเหตุการณ์ใกล้พุทธปรินิพพาน จนถึงโทณพราหมณ์แจกพระบรมสารีริกธาตุเสร็จ
  50. มหาวัน : 1.ป่าใหญ่ใกล้นครกบิลพัสดุ์ ที่พระพุทธเจ้าเคยไปทรงพักผ่อน ระหว่างประทับอยู่ที่นิโครธาราม 2.ป่าใหญ่ใกล้เมืองพาราณสี ณ ที่นี้พระศาสดาทรงอนุญาตให้มีภิกษุณีขึ้นเป็นครั้งแรก โดยประทานอนุญาตให้พระมหาปชาบดีบวชเป็นภิกษุณี ด้วยวิธีรับครุธรรม ๘ ประการ
  51. [1-50] | 51-100 | 101-112

(0.0223 sec)