Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปฐวีกมฺป, ปฐวี, กมฺป , then กมป, กมฺป, กมฺปา, ปฐพี, ปฐว, ปฐวกมป, ปฐวี, ปฐวีกมฺป .

Budhism Thai-Thai Dict : ปฐวีกมฺป, 13 found, display 1-13
  1. ปฐวีธาตุ : ธาตุดิน คือธาตุที่มีลักษณะแข้นแข็ง ในร่างกายที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า; อย่างนี้เป็นการกล่าวถึงปฐวีธาตุในลักษณะที่คนสามัญทุกคนจะเข้าใจได้ และที่จะให้สำเร็จประโยชน์ในการเจริญกรรมฐาน แต่ในทางพระอภิธรรม ปฐวีธาตุเป็นสภาวะพื้นฐานที่มีอยู่ในรูปธรรมทุกอย่าง แม้แต่ในน้ำและในลมที่เรียกกันสามัญ ซึ่งรู้สึกถูกต้องได้ด้วยกายสัมผัส
  2. ปฐพี : แผ่นดิน
  3. กสิณ : วัตถุอันจูงใจ คือ จูงใจให้เข้าไปผูกอยู่ เป็นชื่อของกัมมัฏฐานที่ใช้วัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ มี ๑๐ อย่าง คือ ภูตกสิณ ๔ : - ๑) ปฐวี ดิน ๒) อาโป น้ำ ๓) เตโช ไฟ ๔) วาโย ลม วรรณกสิณ ๔ :- ๕) นีลํ สีเขียว ๖) ปีตํ สีเหลือง ๗) โลหิตํ สีแดง ๘) โอทาตํ สีขาว และ ๙) อาโลโก แสงสว่าง ๑๐) อากาโส ที่ว่าง - a meditation device; object of meditation; the method of inducing concentration by gazing at any of the ten objects, viz., earth, water, fire, air, blue, yellow, red, white, space and light.
  4. จตุธาตุววัตถาน : การกำหนดธาตุ ๔ คือ พิจารณาร่างกายนี้ แยกแยะออกไปมองเห็นแต่ส่วนประกอบต่างๆ ที่จัดเข้าไปในธาตุ ๔ คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย ทำให้รู้ภาวะความเป็นจริงของร่างกาย ว่าเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ ประชุมกันเข้าเท่านั้น ไม่เป็นตัวสัตว์บุคคลที่แท้จริง
  5. ภูต : ๑. สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเกิดเสร็จไปแล้ว, นัยหนึ่ง หมายถึงพระอรหันต์ เพราะไม่แสวงหาภพเป็นที่เกิดอีก อีกนัยหนึ่งหมายถึงสัตว์ที่เกิดเต็มตัวแล้ว เช่น คนคลอดจากครรภ์แล้ว ไก่ออกจากไข่แล้ว เป็นต้น ต่างกับ สัมภเวสี คือสัตว์ผู้ยังแสวงหาที่เกิด ซึ่งได้แก่ปุถุชนและพระเสขะผู้ยังแสวงหาภพที่เกิดอีก หรือสัตว์ในครรภ์และในไข่ที่ยังอยู่ระหว่างจะเกิด ๒. ผี, อมนุษย์ ๓. ภูตรูป คือ ธาตุ ๔ มักเรียก มหาภูต ภูตกสิณ กสิณ คือ ภูตรูป, กสิณคือ ธาตุ ๔ ได้แก่ ปฐวี ดิน, อาโป น้ำ, เตโช ไฟ, วาโย ลม
  6. ภูตะ : ๑. สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเกิดเสร็จไปแล้ว, นัยหนึ่ง หมายถึงพระอรหันต์ เพราะไม่แสวงหาภพเป็นที่เกิดอีก อีกนัยหนึ่งหมายถึงสัตว์ที่เกิดเต็มตัวแล้ว เช่น คนคลอดจากครรภ์แล้ว ไก่ออกจากไข่แล้ว เป็นต้น ต่างกับ สัมภเวสี คือสัตว์ผู้ยังแสวงหาที่เกิด ซึ่งได้แก่ปุถุชนและพระเสขะผู้ยังแสวงหาภพที่เกิดอีก หรือสัตว์ในครรภ์และในไข่ที่ยังอยู่ระหว่างจะเกิด ๒. ผี, อมนุษย์ ๓. ภูตรูป คือ ธาตุ ๔ มักเรียก มหาภูต ภูตกสิณ กสิณ คือ ภูตรูป, กสิณคือ ธาตุ ๔ ได้แก่ ปฐวี ดิน, อาโป น้ำ, เตโช ไฟ, วาโย ลม
  7. มหาภูตรูป : รูปใหญ่, รูปต้นเดิม คือ ธาตุ ๔ ได้แก่ ปฐวี อาโป เตโช และ วาโย ดู ธาตุ
  8. อวินิพโภครูป : “รูปที่แยกออกจากกันไม่ได้”, รูปที่มีอยู่ด้วยกันเป็นประจำเสมอไป อย่างขาดมิได้เลยในสิ่งที่เป็นรูปทุกอย่าง กล่าวคือในสิ่งที่เป็นรูปทุกอย่าง แม้แต่ปรมาณูที่เล็กที่สุดก็จะต้องมีรูปธรรมชุดนี้อยู่เป็นอย่างน้อย, คุณสมบัติพื้นฐานที่มีอยู่เป็นประจำในวัตถุ, มี ๘ อย่าง คือ ปฐวี (ภาวะแผ่ขยายหรือรองรับ) อาโป (ภาวะเอิบอาบเกาะกุม) เตโช (ภาวะร้อน) วาโย (ภาวะเคลื่อนไหวเคร่งตึง) วัณณะ (สี) คันธะ (กลิ่น) รสะ (รส) โอชา (อาหารรูป); ใน ๘ อย่างนี้ ๔ อย่างแรกเป็นมหาภูตรูป หรือธาต ๔, ๔ อย่างหลังเป็นอุปาทายรูป
  9. ธาตุ ๔ : คือ ๑.ปฐวีธาตุ สภาวะที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่ เรียกสามัญว่า ธาตุแข้นแข็งหรือธาตุดิน ๒.อาโปธาตุ สภาวะที่เอิบอาบดูดซึม เรียกสามัญว่า ธาตุเหลวหรือธาตุน้ำ ๓.เตโชธาตุ สภาวะที่ทำให้ร้อน เรียกสามัญว่า ธาตุไฟ ๔.วาโยธาตุ สภาวะที่ทำให้เคลื่อนไหว เรียกสามัญว่า ธาตุลม ; ธาตุ ๖ คือ เพิ่ม ๕.อากาสธาตุ สภาวะที่ว่าง ๖.วิญญาณธาตุ สภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์ หรือ ธาตุรู้
  10. อุปาทายรูป : รูปอาศัย, รูปที่เกิดสืบเนื่องจากมหาภูตรูป, อาการของมหาภูตรูป ตามหลักฝ่ายอภิธรรมว่า มี ๒๔ คือ ก) ประสาท หรือ ปสาทรูป ๕ ได้แก่ จักขุ ตา, โสต หู, ฆาน จมูก, ชิวหา ลิ้น, กาย, มโน ใจ, ข) โคจรรูป หรือ วิสัยรูป (รูปที่เป็นอารมณ์) ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (โผฏฐัพพะ ไม่นับเข้าจำนวน เพราะตรงกับปฐวี เตโช วาโย ซึ่งเป็นมหาภูตรูป) ค) ภาวรูป ๒ ได้แก่ อิตถีภาวะ ความเป็นหญิง และปุริสภาวะ ความเป็นชาย ง) หทัยรูป ๑ คือ หทัยวัตถุ หัวใจ จ) ชีวิตรูป ๑ คือ ชีวิตินทรีย์ ภาวะที่รักษารูปให้เป็นอยู่ ฉ) อาหารรูป ๑ คือกวฬิงการาหาร อาหารที่กินเกิดเป็นโอชา ช) ปริจเฉทรูป ๑ คือ อากาศธาตุ ช่องว่าง ญ) วิญญัติรูป ๒ คือ กายวิญญัติ ไหวกายให้รู้ความ วจีวิญญัติ ไหววาจาให้รู้ความ คือพูดได้ ฎ) วิการรูป ๕ อาการดัดแปลงต่างๆ ได้แก่ ลหุตา ความเบา, มุทุตา ความอ่อน, กัมมัญญตา ความควรแก่งาน, (อีก ๒ คือ วิญญัติรูป ๒ นั่นเอง ไม่นับอีก) ฏ) ลักขณรูป ๔ ได้แก่ อุปจยะ ความเติบขึ้นได้, สันตติ สืบต่อได้, ชรตา ทรุดโทรมได้, อนิจจตา ความสลายไม่ยั่งยืน (นับโคจรรูปเพียง ๔ วิการรูป เพียง ๓ จึงได้ ๒๔); ดู มหาภูต ด้วย
  11. ปฐพีมณฑล : แผ่นดิน, ผืนแผ่นดิน
  12. อชาตปฐพี : ปฐพีไม่แท้ คือดินที่เป็นหินเป็นกรวด เป็นกระเบื้อง เป็นแร่ เป็นทรายล้วน หรือมีดินร่วนดินเหนียวน้อย เป็นของอื่นมากก็ดี ดินที่ไฟเผาแล้วก็ดี กองดินร่วน หรือกองดินเหนียว ที่ฝนตกรดหย่อนกว่า ๔ เดือนก็ดี
  13. ชาตปฐพี : ดินเกิดเอง, ปฐพีแท้ คือมีดินร่วนล้วน มีดินเหนียวล้วน หรือมีของอื่น เช่นหินกรวด กระเบื้อง แร่ และทรายน้อย มีดินร่วน ดินเหนียวมากดินนี้ประสงค์เอาที่ยังไม่ได้เผาไฟกองดินร่วนก็ดี กองดินเหนียวก็ดี มีฝนตกรดเกิน ๔ เดือนมาแล้วนับเข้าในปฐพีแท้

(0.0230 sec)