Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ประเทศสหรัฐอเมริกา, สหรัฐอเมริกา, ประเทศ , then ปรทศ, ปรทศสหรฐอมรกา, ประเทศ, ประเทศสหรัฐอเมริกา, สหรฐอมรกา, สหรัฐอเมริกา .

Budhism Thai-Thai Dict : ประเทศสหรัฐอเมริกา, 51 found, display 1-50
  1. ประเทศบัญญัติ : บัญญัติจำเพาะถิ่น, สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้ เฉพาะสำหรับมัธยมประเทศ คือ จังหวัดกลางแห่งชมพูทวีป เช่น สิกขาบทที่ ๗ แห่งสุราปานวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์ ไม่ให้ภิกษุอาบน้ำในเวลาห่างกันหย่อนกว่ากึ่งเดือน เว้นแต่สมัย
  2. มัชฌิมประเทศ : ประเทศที่ตั้งอยู่ในท่ามกลาง, ถิ่นกลางเป็นอาณาเขตที่กำหนดว่า มีความเจริญรุ่งเรือง มีประชาชนหนาแน่น มีเศรษฐกิจดี เป็นศูนย์กลางแห่งการค้าขาย เป็นที่อยู่แห่งนักปราชญ์ผู้มีวิชาความรู้ เป็นที่รวมของการศึกษา เป็นต้น กำหนดเขต ทิศบูรพา ภายในนับแต่มหาศาลนครเข้ามา อาคเนย์ นักแต่แม่น้ำสัลลวดีเข้ามา ทักษิณ นับแต่เสตกัณณิกนิคมเข้ามา ปัจจิม นับแต่ถูกคามเข้ามา อุดร นับแต่ภูเขาอุสีรธชะเข้ามา นอกจากนั้นไปเป็นปัจจันตชนบท หรือ ปัจจันตประเทศ
  3. กัจฉประเทศ : รักแร้
  4. บาลีประเทศ : ข้อความตอนหนึ่งแห่งบาลี, ข้อความจากพระไตรปิฎก
  5. มัยมประเทศ : ดู มัชฌิมชนบท
  6. ปัจจันตประเทศ : ประเทศปลายแดน, ประเทศชายแดน, หัวเมืองชั้นนอก, ถิ่นที่ยังไม่เจริญ คือ นอกมัธยมประเทศ หรือ มัชฌิมชนบท
  7. โพธิมณฑะ : ประเทศเป็นที่ผ่องใสแห่งโพธิญาณ, บริเวณต้นโพธิ์เป็นที่ตรัสรู้
  8. มัชฌิมชนมบท : ประเทศที่ตั้งอยู่ในท่ามกลาง, ถิ่นกลางเป็นอาณาเขตที่กำหนดว่า มีความเจริญรุ่งเรือง มีประชาชนหนาแน่น มีเศรษฐกิจดี เป็นศูนย์กลางแห่งการค้าขาย เป็นที่อยู่แห่งนักปราชญ์ผู้มีวิชาความรู้ เป็นที่รวมของการศึกษา เป็นต้น กำหนดเขต ทิศบูรพา ภายในนับแต่มหาศาลนครเข้ามา อาคเนย์ นักแต่แม่น้ำสัลลวดีเข้ามา ทักษิณ นับแต่เสตกัณณิกนิคมเข้ามา ปัจจิม นับแต่ถูกคามเข้ามา อุดร นับแต่ภูเขาอุสีรธชะเข้ามา นอกจากนั้นไปเป็นปัจจันตชนบท หรือ ปัจจันตประเทศ
  9. กบิลดาบส : ดาบสที่อยู่ในดงไม้สักกะ ประเทศหิมพานต์ พระราชบุตรและพระราชบุตรีของพระเจ้าโอกกากราชพากันไปสร้างพระนครใหม่ในที่อยู่ของกบิลดาบส จึงขนานนามพระนครที่สร้างใหม่ว่า กบิลพัสดุ์ แปลว่า ที่หรือที่ดินของกบิลดาบส
  10. กบิลพัสดุ์ : เมืองหลวงของแคว้นสักกะหรือศากยะ ที่ได้ชื่อว่า กบิลพัสดุ์ เพราะเดิมเป็นที่อยู่ของกบิลดาบส บัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล
  11. กัมโพชะ : แคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้น แห่งชมพูทวีป มีนครหลวงชื่อทวารกะ บัดนี้อยู่ในประเทศอัฟกานิสถาน
  12. กาลเทศะ : เวลาและประเทศ, เวลา และ สถานที่
  13. โกลิยชนบท : แคว้นโกลิยะ หรือดินแดนของกษัตริย์โกลิยวงศ์ เป็นแคว้นหนึ่งในชมพูทวีปครั้งพุทธกาลมีนครหลวงชื่อ เทวทหะ และรามคาม บัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล
  14. จำปา : ชื่อเมืองในมัธยมประเทศ ที่ถูกเขียน จัมปา
  15. ชมพูทวีป : ชื่อประเทศอินเดียครั้งโบราณ ดู อินเดีย
  16. ชาติ : การเกิด, ชนิด, พวก, เหล่า, ปวงชนแห่งประเทศเดียวกัน
  17. ตักสิลา : ชื่อนครหลวงแห่งแคว้นคันธาระ ซึ่งเป็นแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นแห่งชมพูทวีป ตักสิลามีมาแต่ดึกดำบรรพ์ก่อนพุทธกาลเคยรุ่งเรืองด้วยศิลปวิทยาต่างๆ เป็นสถานที่มีชื่อเสียงที่สุดในการศึกษายุคโบราณ เรียกกันว่า เป็นเมืองมหาวิทยาลัย สันนิษฐานว่า บัดนี้ อยู่ในเขตราวัลปินดิ ในแคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน
  18. ทศวรรค : สงฆ์มีพวก ๑๐ คือ สงฆ์พวกที่กำหนดจำนวน ๑๐ รูปเป็นอย่างน้อย จึงจะครบองค์ ทำสังฆกรรมประเภทนั้นๆ ได้ เช่น การอุปสมบทในมัธยมประเทศ ต้องใช้สงฆ์ทศวรรค
  19. ทักขิณาบถ : เมืองแถบใต้, ประเทศฝ่ายทิศใต้
  20. นาคเสน : พระอรหันตเถระผู้โต้วาทะชนะพระยามิลินท์ กษัตริย์แห่งสาคลประเทศ ดงมีคำโต้ตอบปัญหามาในคัมภีร์มิลินทปัญหา ท่านเกิดหลังพุทธกาลประมาณ ๔๐๐ ปี ที่หมู่บ้านกชังคละในหิมวันตประเทศ เป็นบุตรของพราหมณ์ชื่อโสณุตตระ ท่านเป็นผู้ชำนาญในพระเวทและต่อมาได้อุปสมบท โดยมีพระโรหะเป็นพระอุปัชฌาย์; ดู มิลินท์, มิลินทปัญหา
  21. นิครนถนาฏบุตร : คณาจารย์เจ้าลัทธิคนหนึ่งในจำนวนครูทั้ง ๖ มีคนนับถือมาก มีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น วรรธมานบ้าง พระมหาวีระบ้าง เป็นต้น ศาสนาเชน ซึ่งยังมีอยู่ในประเทศอินเดีย
  22. นิรุตติปฏิสัมภิทา : ปัญญาแตกฉานในภาษา คือเข้าใจภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำให้คนเข้าใจ ตลอดทั้งรู้ภาษาต่างประเทศ (ข้อ ๓ ในปฏิสัมภิทา ๔)
  23. เนปาล : ชื่อประเทศอันเคยเป็นที่ตั้งของแคว้นศากยะบางส่วน รวมทั้งลุมพินีอันเป็นที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศอินเดียและทางใต้ของประเทศจีน มีเนื้อที่ ๑๔๐,๗๙๗ ตารางกิโลเมตร มีพลเมืองประมาณ ๑๓,๔๒๐,๐๐๐ คน (พ.ศ.๒๕๒๑); หนังสือเก่าเขียน เนปอล
  24. เนรเทศ : ขับไล่ออกจากถิ่นเดิม, ให้ออกไปเสียจากประเทศ
  25. ปฏิรูปเทสวาสะ : อยู่ในประเทศอันสมควร, อยู่ในถิ่นที่เหมาะ หมายถึงอยู่ในถิ่นเจริญ มีคนดี มีนักปราชญ์ (ข้อ ๑ ในจักร ๔)
  26. ประเทศราช : เมืองอิสระที่สังกัดประเทศอื่น
  27. ปริสวิบัติ : เสียเพราะบริษัท, วิบัติโดยบริษัท, ถึงพร้อมด้วยบริษัท, ความสมบูรณ์ของที่ประชุม คือไม่เป็นปริสวิบัติ (ตัวอย่าง ประชุมภิกษุให้ครบองค์กำหนด เช่น จะทำกฐินกรรม ต้องมีภิกษุอย่างน้อย ๕ รูป จะให้อุปสมบทในมัธยมประเทศ ต้องมีภิกษุอย่างน้อย ๑๐ รูป เป็นต้น)
  28. ปาฐา : ชื่อเมืองหนึ่งในมัธยมประเทศ ครั้งพุทธกาล ภิกษุชาวเมืองนี้คณะหนึ่ง เป็นเหตุปรารภให้พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการกรานกฐิน; พระไตรปิฎกบางฉบับเขียนเป็น ปาวา
  29. มคธชนบท : แคว้นมคธ, ประเทศมคธ
  30. มหาชนบท : แคว้นใหญ่, ประเทศใหญ่
  31. มหายาน : ยานใหญ่, ชื่อเรียกพระพุทธศาสนา นิกายที่ผู้นับถือมากในประเทศฝ่ายเหนือของทวีปเอเชีย เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ทิเบต และมองโกเลีย บางทีเรียก อุตตรนิกาย (นิกายฝ่ายเหนือ) บ้าง อาจารยวาท (ลัทธิของอาจารย์) บ้าง เป็นคู่กับนิกายฝ่ายใต้ (ทักษิณนิกาย) คือ เถรวาท ที่ฝ่ายมหายานเรียกว่า หีนยาน อย่างที่นับถืออยู่ในประเทศไทยและลังกา เป็นต้น
  32. มหาวิโลกนะ : “การตรวจดูอันยิ่งใหญ่”, ขอตรวจสอบพิจารณาที่สำคัญ หมายถึง สิ่งที่พระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาตรวจดู ก่อนจะตัดสินพระทัยประทานปฏิญาณรับอาราธนาของเทพยดาทั้งหลาย ว่าจะจุติจากดุสิตเทวโลกไปบังเกิดในพระชาติสุดท้ายที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า มี๕อย่าง (นิยมเรียกว่า ปัญจมหาวิโลกนะ) คือ ๑.กาล คืออายุกาลของมนุษย์จะต้องอยู่ระหว่าง ๑๐๐ ถึง ๑ แสนปี (ไม่สั้นกว่าร้อยปี ไม่ยาวเกินแสนปี) ๒.ทีปะ คือทวีป จะอุบัติแต่ในชมพูทวีป ๓.เทสะ คือประเทศ หมายถึงดินแดนจะอุบัติในมัธยมประเทศ และทรงกำหนดเมืองกบิลพัสดุ์เป็นที่พึงบังเกิด ๔.กุละ คือ ตระกูล จะอุบัติเฉพาะในขัตติยสกุลหรือในพราหมณสกุล และทรงกำหนดว่าเวลานั้นโลกสมมติว่าตระกูลกษัตริย์ประเสริฐกว่าตระกูลพราหมณ์ จึงจะอุบัติในตระกูลกษัตริย์ โดยทรงเลือกพระเจ้าสุทโธทนะเป็นพุทธบิดา ๕.ชเนตติอายุปริจเฉท คือมารดา และกำหนดอายุของมารดา มารดาจะต้องมีศีล ๕ บริสุทธิ์ ไม่โลเลในบุรุษ ไม่เป็นนักดื่มสุรา ได้บำเพ็ญบารมีมาตลอดแสนกัลป์ ทรงกำหนดได้พระนางมหามายา และทรงทราบว่าพระนางจะมีพระชนม์อยู่เกิน ๑๐ เดือนไปได้ ๗ วัน (สรุปตามแนวอรรถกถาชาดก)
  33. มหาวิหาร : ชื่อวัดสำคัญวัดหนึ่ง เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนา ในประเทศลังกาสมัยอดีต เคยเป็นที่พำนักของพระพุทธโฆษาจารย์ชาวชมพูทวีปเมื่อครั้งท่านมาแปลคัมภีร์สิงหฬเป็นมคธ
  34. มิลินท์ : มหากษัตริย์เชื้อชาติกรีก แห่งสาคลประเทศในชมพูทวีป ผู้เป็นปราชญ์ยิ่งใหญ่ โต้วาทะชนะนักปราชญ์ทั้งหลายในสมัยนั้น จนในที่สุดได้โต้กับพระนาคเสน ยอมเลื่อมใสหันมานับถือพระพุทธศาสนา และเป็นองค์อุปถัมภกสำคัญ พระนามภาษากรีกว่า พระเจ้าเมนานเดอร์ ครองราชย์ พ.ศ.๔๒๓ สวรรคต พ.ศ.๔๕๓
  35. ราชการ : กิจการงานของประเทศ หรือของพระเจ้าแผ่นดิน, หน้าที่หลั่งความยินดีแก่ประชาชน
  36. ราชา : “ผู้ยังเหล่าชนให้อิ่มเอมใจ” หรือ “ผู้ทำให้คนอื่นมีความสุข”, พระเจ้าแผ่นดิน, ผู้ปกครองประเทศ
  37. รามคาม : นครหลวงของแคว้นโกลิยะ บัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล เป็นที่ประดิษฐานสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแห่งหนึ่ง
  38. รามัญนิกาย : นิกายมอญ หมายถึงพระสงฆ์ผู้สืบเชื้อสายมาจากรามัญประเทศ ส่วนมากเป็นมอญเองด้วยโดยสัญชาติ
  39. ลุมพินีวัน : ชื่อสวนเป็นที่ประสูติของพระพุทธเจ้า เป็นสังเวชนียสถานหนึ่งใน ๔ แห่ง ตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ และกรุงเทวทหะ บัดนี้เรียก รุมมินเด อยู่ที่ปาเดเรีย ในเขตประเทศเนปาล ห่างจากเขตแดนประเทศอินเดียไปทางเหนือ ประมาณ ๖ กิโลเมตรครึ่ง พระสิทธัตถะประสูติที่สวนนี้ เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศก ๘๐ ปี (มีปราชญ์คำนวณว่าตรงกับวันศุกร์ ปีจอ เวลาใกล้เที่ยง) ดู สังเวชนียสถาน
  40. สักกชนบท : ชื่อแคว้นหนึ่งในชมพูทวีปตอนเหนือ นครหลวงชื่อกบิลพัสดุ์ เป็นชาติภูมิของพระพุทธเจ้ามีการปกครองโดยสามัคคีธรรม มีประวัติสืบมาแต่สมัยพระเจ้าโอกกากราช บัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล
  41. สิงหล : ชาวสิงหล, ชาวลังกา, ซึ่งมีหรือผู้อยู่ในประเทศลังกา, ชนเชื้อชาติสิงหลหรือเผ่าสิงหลที่ต่างหากจากชนเชื้อชาติอื่น มีทมิฬเป็นต้น ในประเทศลังกา
  42. สิงหฬ : ชาวสิงหล, ชาวลังกา, ซึ่งมีหรือผู้อยู่ในประเทศลังกา, ชนเชื้อชาติสิงหลหรือเผ่าสิงหลที่ต่างหากจากชนเชื้อชาติอื่น มีทมิฬเป็นต้น ในประเทศลังกา
  43. สีหลทวีป : “เกาะของชาวสิงหล”, เกาะลังกา, ประเทศลังกา
  44. สีหฬ : ชาวสิงหล, ชาวลังกา, ซึ่งมีหรือผู้อยู่ในประเทศลังกา, ชนเชื้อชาติสิงหลหรือเผ่าสิงหลที่ต่างหากจากชนเชื้อชาติอื่น มีทมิฬเป็นต้น ในประเทศลังกา
  45. สุวรรณภูมิ : “แผ่นดินทอง”, “แหลมทอง”, ดินแดนที่พระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระโสณะและพระอุตตระ หัวหน้าพระศาสนทูตสายที่ ๘ (ใน ๙ สาย) ไปประกาศพระศาสนา ปราชญ์หลายท่านสันนิษฐานว่าได้แก่ดินแดนบริเวณจังหวัดนครปฐม (พม่าว่าได้แก่เมืองสะเทิมในประเทศพม่า)
  46. หิมพานต์ : มีหิมะ, ปกคลุมด้วยหิมะ, ชื่อภูเขาใหญ่ที่อยู่ทางทิศเหนือของประเทศอินเดีย บัดนี้เรียกภูเขาหิมาลัย, ป่าที่อยู่รอบบริเวณภูเขานี้ ก็เรียกกันว่าป่าหิมพานต์, หิมวันต์ ก็เรียก
  47. อโศกมหาราช : พระราชาผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของชมพูทวีป และเป็นพุทธศาสนูปถัมภกที่สำคัญยิ่ง เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ ๓ แห่งราชวงศ์ โมริยะ ครองราชสมบัติ ณ พระนคร ปาฎลีบุตร ตั้งแต่ พ) ศ) ๒๑๘ ถึง พ) ศ) ๒๖๐ (นักประวัติศาสตร์ปัจจุบันส่วนมากกว่า พ) ศ) ๒๗๐-๓๒๑) เมื่อครองราชย์ได้ ๘ พรรษา ทรงยกทัพไปปราบแคว้นกลิงคะที่เป็นชนชาติเข้มแข็งลงได้ ทำให้อาณาจักรของพระองค์กว้างใหญ่ที่สุดในประวัติชาติอินเดีย แต่ในการสงครามนั้น มีผู้คนล้มตายและประสบภัยพิบัติมากมาย ทำให้พระองค์สลดพระทัย พอดีได้ทรงสดับคำสอนในพระพุทธศาสนา ทรงเลื่อมใสได้ทรงเลิกการสงคราม หันมาทำนุบำรุงพระศาสนาและความรุ่งเรืองในทางสงบของประเทศ ทรงสร้างมหาวิหาร ๘๔,๐๐๐ แห่ง ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ ๓ และการส่งศาสนทูตออกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในนานาประเทศ เช่น พระมหินถเถระ ไปยังลังกาทวีป และพระโสณะพระอุตตระมายังสุวรรณภูมิ เป็นต้น ชาวพุทธไทยมักเรียกพระองค์ว่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช
  48. อาหาเรปฏิกูลสัญญา : กำหนดหมายความเป็นปฏิกูลในอาหาร, ความสำคัญหมายในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล พิจารณาให้เห็นว่าเป็นของน่าเกลียด โดยอาการต่างๆ เช่น ปฏิกูล โดยบริโภค, โดยประเทศที่อยู่ของอาหาร, โดยสั่งสมอยู่นาน เป็นต้น (ข้อ ๓๕ ในกรรมฐาน ๔๐)
  49. อินเดีย : ชื่อประเทศ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย ถัดจากประเทศพม่าออกไป มีเมืองหลวงชื่อ นิวเดลี (New Delhi) อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๓,๑๐๐ กิโลเมตร อินเดียมีเนื้อที่ทั้งหมด ๓,๒๘๗,๕๙๐ ตารางกิโลเมตร มีพลเมืองใน พ) ศ) ๒๕๒๔ ประมาณ ๖๘๓ ล้านคน ครั้งโบราณเรียกชมพูทวีป เป็นประเทศที่เกิดพระพุทธศาสนา พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๒,๐๐๐ กิโลเมตร
  50. อุตรนิกาย : นิกายฝ่ายเหนือ หมายถึง พระพุทธศาสนาอย่างที่นับถือกันแพร่หลายในประเทศฝ่ายเหนือ มี จีน เกาหลี ญี่ปุ่น เป็นต้น ที่เรียกตัวเองว่า มหายาน ในภาษาสันสกฤต
  51. [1-50]

(0.0232 sec)