ปละ : (ปะละ) ชื่อมาตราสำหรับชั่งน้ำหนักประมาณ ๕ ชั่ง
ปลา : ในโภชนะ ๕ อย่างคือ ข้าวสุก ๑ ขนมสด ๑ ขนมแห้ง ๑ ปลา ๑ เนื้อ ๑ ปลาในที่นี้หมายความรวมไปถึง หอย กุ้ง และสัตว์น้ำเหล่าอื่นที่ใช้เป็นอาหาร
กรรม : การกระทำ หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา คือทำด้วยความจงใจหรือจงใจทำ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เช่น ขุดหลุมพรางดักคนหรือสัตว์ให้ตกลงไปตาย เป็นกรรม แต่ขุดบ่อน้ำไว้กินใช้ สัตว์ตกลงไปตายเอง ไม่เป็นกรรม (แต่ถ้ารู้อยู่ว่าบ่อน้ำที่ตนขุดไว้อยู่ในที่ซึ่งคนจะพลัดตกได้ง่าย แล้วปล่อยปละละเลย มีคนตกลงไปตาย ก็ไม่พ้นเป็นกรรม) การกระทำที่ดีเรียกว่า กรรมดี ที่ชั่ว เรียกว่า กรรมชั่ว - 1.Karma; Kamma; a volitional action; action; deed; good and bad volition. 2.work; job; activity; transaction.
ปมาทะ : ความประมาท, ความเลินเล่อ, ความเผลอ, ความขาดสติ, ความปล่อยปละละเลย เทียบ อัปปมาทะ
อัปปมาท : ความไม่ประมาท, ความเป็นอยู่อย่างไม่ขาดสติ, ความไม่เผลอ, ความไม่เลินเล่อเผลอสติ, ความไม่ปล่อยปละละเลย, ความระมัดระวังที่จะไม่ทำเหตุแห่งความผิดพลาดเสียหาย และไม่ละเลยโอกาสที่จะทำเหตุแห่งความดีงามและความเจรญ, ความมีสติรอบคอบ
ปลาสะ : ตีเสมอ คือยกตนเทียมท่าน (ข้อ ๖ ในอุปกิเลส ๑๖)
ปัณฑุปลาส : ใบไม้เหลือง (ใบไม้แก่); คนเตรียมบวช, คนจะขอบวช
วปลาส : กิริยาที่ถือโดยอาการวิปริตผิดจากความเป็นจริง, ความเห็นหรือความเข้าใจคลาดเคลื่อนจากสภาพที่เป็นจริง มีดังนี้; ก.วิปลาสด้วยอำนาจจิตต์และเจตสิก ๓ ประการ คือ ๑.วิปลาสด้วยอำนาจสำคัญผิด เรียกว่า “สัญญาวิปลาส” ๒.วิปลาสด้วยอำนาจคิดผิด เรียกว่า “จิตตวิปลาส” ๓.วิปลาสด้วยอำนาจเห็นผิด เรียกว่า “ทิฏฐิวิปลาส” ข.วิปลาสด้วยสามารถวัตถุเป็นที่ตั้ง ๔ ประการ คือ ๑.วิปลาสในของที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง ๒.วิปลาสในของที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ๓.วิปลาสในของที่ไม่ใช่ตน ว่าเป็นตน ๔.วิปลาสในของที่ไม่งาม ว่างาม
สัมผัปปลาปะ : พูดเพ้อเจ้อ, พูดเหลวไหล, พูดไม่เป็นประโยชน์ ไม่มีเหตุผลไร้สาระ ไม่ถูกกาลถูกเวลา (ข้อ ๗ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)
กาลิก : เนื่องด้วยกาล, ขึ้นกับกาล, ของอันจะกลืนกินให้ล่วงลำคอเข้าไปซึ่งพระวินัยบัญญัติให้ภิกษุรับเก็บไว้และฉันได้ภายในเวลาที่กำหนด จำแนกเป็น ๔ อย่าง คือ ๑.ยาวกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ชั่วเวลาเช้าถึงเที่ยงของวันนั้น เช่น ข้าว ปลา เนื้อ ผัก ผลไม้ ขนมต่างๆ ๒.ยามกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่ง คือก่อนอรุณของวันใหม่ ได้แก่ ปานะ คือ น้ำคั้นผลไม้ที่ทรงอนุญาต ๓.สัตตาหกาลิก รับประเคนไว้แล้วฉันได้ภายในเวลา ๗ วัน ได้แก่เภสัชทั้ง ๕ ๔.ยาวชีวิก รับประเคนแล้ว ฉันได้ตลอดไปไม่จำกัดเวลา ได้แก่ของที่ใช้ปรุงเป็นยา นอกจากกาลิก ๓ ข้อต้น (ความจริงยาวชีวิก ไม่เป็นกาลิก แต่นับเข้าด้วยโดยปริยาย เพราะเป็นของเกี่ยวเนื่องกัน)
ข้าวสุก : ในโภชนะ ๕ อย่างคือ ข้าวสุก ๑ ขนมสด ๑ ขนมแห้ง ๑ ปลา ๑ เนื้อ ๑ ข้าวสุกในที่นี้หมายถึงธัญญชาติทุกชนิด ที่หงให้สุกแล้ว เช่นข้าวเจ้าข้าวเหนียว หรือที่ตกแต่งเป็นของต่างชนิด เช่น ข้าวมัน ข้าวผัด เป็นต้น
โภชนะ : ของฉัน, ของกิน, โภชนะทั้ง ๕ ได้แก่ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ
โภชนะอันประณีต : เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม
โภชนียะ : ของควรบริโภค, ของสำหรับฉัน ได้แก่ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ
ราศรี : 1.ชื่อมาตราวัดจักรราศีคือ ๓๐ องศาเป็น ๑ ราศรี และ ๑๒ ราศรีเป็น ๑ รอบจักรราศี (อาณาเขตโดยรอบดวงอาทิตย์ที่ดาวพระเคราะห์เดิน) ; ราศี ๑๒ นั้น คือ ราศีเมษ (แกะ), พฤษภ (วัว), เมถุน (คนคู่), กรกฏ (ปู), สิงห์ (ราชสีห์), กันย์ (หญิงสาว) ตุล (คันชั่ง), พฤศจิก (แมลงป่อง), ธนู (ธนู), มกร (มังกร), กุมภ์ (หม้อน้ำ), มีน (ปลา ๒ ตัว) 2.อาการที่รุ่งเรือง, ลักษณะที่ดีงาม 3.กอง เชน บุญราศี ว่ากองบุญ
สัจจะ : ๑.ความจริง มี ๒ คือ ๑.สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ เช่น คน พ่อค้า ปลา แมว โต๊ะ เก้าอี้ ๒.ปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถ์ เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ๒.ความจริง คือ จริงใจ ได้แก่ ซื่อสัตย์ จริงวาจา ได้แก่พูดจริง และ จริงการ ได้แก่ทำจริง (ข้อ ๑ ในฆราวาสธรรม ๔, ข้อ ๒ ในอธิษฐานธรรม ๔, ข้อ ๔ ในเบญจธรรม, ข้อ ๗ ในบารมี ๑๐)
พากุละ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรเศรษฐีเมืองโกสัมพี มีเรื่องเล่าว่า เมื่อยังเป็นทารก ขณะที่พี่เลี้ยงนำไปอาบ***เล่นที่แม่*** ท่านถูกปลาใหญ่กลืนลงไปอยู่ในท้อง ต่อมาปลานั้นถูกจับได้ที่เมืองพาราณสี และถูกขายให้แก่ภรรยาเศรษฐีเมืองพาราณสี ภรรยาเศรษฐีผ่าท้องปลาพบเด็กแล้วเลี้ยงไว้เป็นบุตร ฝ่ายมารดาเดิมทราบข่าว จึงขอบุตรคืน ตกลงกันไม่ได้ จนพระราชาทรงตัดสินให้เด็กเป็นทายาทของทั้ง ๒ ตระกูล ท่านจึงได้ชื่อว่า "พากุละ" แปลว่า คน ๒ ตระกูล หรือผู้ที่ ๒ ตระกูลเลี้ยง ท่านอยู่ครองเรือนมาจนอายุ ๘๐ ปี จึงได้ฟังพระศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนา มีความเลื่อมใสขอบวชแล้วบำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ วัน ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางเป็นผู้มีอาพาธน้อย คือสุขภาพดี; พักกุละ ก็เรียก
มิจฉาวาจา : วาจาผด, เจรจาผิด ได้แก่ ๑.มุสาวาท พูดปด ๒.ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด ๓.ผรุสวาจา พูดคำหยาบ ๔.สัมผัปปลาป พูดเพ้อเจ้อ
วจีทุจริต :
ประพฤติชั่วด้วยวาจา, ประพฤติชั่วทางวาจามี ๔ อย่างคือ ๑.มุสาวาท พูดเท็จ ๒.ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด ๓.ผรุสวาจา พูดคำหยาบ ๔.สัมผัปปลาป พูดเพ้อเจ้อ ดู ทุจริต
อกุศลกรรมบถ : ทางแห่งกรรมชั่ว, ทางแห่งกรรมที่เป็นอกุศล, กรรมชั่วอันเป็นทางนำไปสู่ทุคติ มี ๑๐ อย่าง คือ ก) กรรม ๓ ได้แก่ ๑) ปาณาติบาต การทำลายชีวิต ๒) อทินนาทาน ถือเอาของที่เขามิได้ให้ ๓) กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม ข) วจีกรรม ๔ ได้แก่ ๔) มุสาวาท พูดเท็จ ๕) ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด ๖) ผรุสวาจา พูดคำหยาบ ๗) สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ ค) มโนกรรม ๓ ได้แก่ ๘) อภิชฌา ละโมบคอยจ้องอยากได้ของเขา ๙) พยาบาท คิดร้ายเขา ๑๐) มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม เทียบ กุศลกรรมบถ
อุปกิเลส : โทษเครื่องเศร้าหมอง, สิ่งที่ทำจิตใจให้เศร้าหมองขุ่นมัว รับคุณธรรมได้ยาก มี ๑๖ อย่าง คือ ๑) อภิชฌาวิสมโลภะ ละโมบ จ้องจะเอาไม่เลือกควรไม่ควร ๒) โทสะ คิดประทุษร้าย ๓) โกธะ โกรธ ๔) อุปนาหะ ผูกโกรธไว้ ๕) มักขะ ลบหลู่คุณท่าน ๖) ปลาสะ ตีเสมอ ๗) อิสสา ริษยา ๘) มัจฉริยะ ตระหนี่ ๙) มายา เจ้าเล่ห์ ๑๐) สาเถยยะ โอ้อวด ๑๑) ถัมภะ หัวดื้อ ๑๒) สารัมภะ แข่งดี ๑๓) มานะ ถือตัว ๑๔) อติมานะ ดูหมั่นท่าน ๑๕) มทะ มัวเมา ๑๖) ปมาทะ เลินเล่อหรือละเลย