Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พื้นห้อง, ห้อง, พื้น , then พน, พื้น, พื้นห้อง, หอง, ห้อง .

Budhism Thai-Thai Dict : พื้นห้อง, 34 found, display 1-34
  1. ครรภ์ : ท้อง, ลูกในท้อง, ห้อง
  2. ภูมิ : 1.พื้นเพ, พื้น, ชั้น, ที่ดิน, แผ่นดิน 2.ชั้นของจิต, ระดับจิตใจ, ระดับชีวิต มี ๔ คือ ๑.กามาวจรภูมิ ชั้นที่ยังท่องเที่ยวอยู่ในกาม ๒.รูปาวจรภูมิ ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่รูป หรือชั้นของพวกที่ได้รูปฌาน ๓.อรูปาวจรภูมิ ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่อรูป หรือชั้นของพวกที่ได้อรูปฌาน ๔.โลกุตตรภูมิ ชั้นที่พ้นโลก หรือระดับพระอริยบุคคล
  3. พุทธิจริต : พื้นนิสัยที่หนักในความรู้ มักใช้ความคิด พึงส่งเสริมด้วยแนะนำให้ใช้ความคิดในทางที่ชอบ (ข้อ ๕ ใน จริต ๖)
  4. เมทนีดล : พื้นแผ่นดิน
  5. โมหจริต : พื้นนิสัยที่หนักในโมหะ โง่เขลา งมงาย พึงแก้ด้วยให้มีการเรียน การถาม การฟังธรรม สนทนาธรรม ตามกาล หรืออยู่กับครู (ข้อ ๓ ในจริต ๖)
  6. ราคจริต : พื้นนิสัยที่หนักในราคะ เช่น รักสวย รักงาม แก้ด้วยเจริญกายคตาสติ หรืออสุภกัมมัฏฐาน (ข้อ ๑ ในจริต ๖)
  7. วิตกจริต : พื้นนิสัยหนักในทางตรึก, มีวิตกเป็นปกติ, มีปกตินึกพล่านหรือคิดจับจดฟุ้งซ่าน, ผู้มีจริตชนิดนี้พึงแก้ด้วย เพ่งกสิณ หรือเจริญอานาปานสติ
  8. สัทธาจริต : พื้นนิสัยหนักในสัทธา เชื่อง่าย พึงแก้ด้วยปสาทนียกถา คือถ้อยคำที่นำให้เกิดความเลื่อมใสในทางที่ถูก ที่ควร และด้วยความเชื่อที่มีเหตุผล (ข้อ ๔ ในจริต ๖)
  9. กระหย่ง : (ในคำว่า นั่งกระหย่ง) นั่งคุกเข่าเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่านั่งกระโหย่ง ก็ได้; บางแห่งว่าหมายถึงนั่งยองๆ
  10. กุฏกะ : เครื่องลาดที่ใหญ่ ชนิดที่มีนางฟ้อน ๑๖ คนยืนฟ้อนรำได้ (เช่นพรมปูห้อง)
  11. คณะมหานิกาย : คณะสงฆ์ไทยเดิมทีสืบมาแต่สมัยสุโขทัย, เป็นชื่อที่ใช้เรียกในเมื่อได้เกิดมีคณะธรรมยุตขึ้นแล้ว; สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงให้ความหมายว่า พระสงฆ์อันมีเป็นพื้นเมือง (ของประเทศไทย-ผู้เขียน) ก่อนเกิด ธรรมยุติกนิกาย (การคณะสงฆ์ น.๙๐)
  12. ครุกรรม : กรรมหนักทั้งที่เป็นกุสลและอกุศล ในฝ่ายกุศลได้แก่ฌานสมาบัติในฝ่ายอกุศลได้แก่อนันตริยกรรม กรรมนี้ให้ผลก่อนกรรมอื่นเหมือนคนอยู่บนที่สูงเอาวัตถุต่างๆ ทิ้งลงมาอย่างไหนหนักที่สุด อย่างนั้นถึงพื้นก่อน
  13. จริต : ความประพฤติ, พื้นนิสัย หรือพื้นเพแห่งจิตของคนทั้งหลายที่หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง แตกต่างกันไปคือ ๑.ราคจริต ผู้มีจาคะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางรักสวยรักงาม มักติดใจ) ๒.โทสจริต ผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางใจร้อนขี้หงุดหงิด) ๓.โมหจริต ผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางเหงาซึม งมงาย) ๔.สัทธาจริต ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางน้อมใจเชื่อ) ๕.พุทธิจริต ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดพิจารณา) ๖.วิตกจริต ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดจับจดฟุ้งซ่าน)
  14. จักรวรรดิวัตร ๑๒ : ๑.อนฺโตชนสฺมึ พลกายสฺมึ คุ้มครองสงเคราะห์แก่ชนในพระราชฐานและพยุหเสนา ๒.ขตฺติเยสุ แก่กษัตริย์เมืองขึ้นหรือผู้ครองนครภายใต้พระบรมเดชานุภาพ ๓.อนุยนฺเตสุ แก่กษัตริย์ที่ตามเสด็จคือ เหล่าเชื้อพระวงศ์ผู้เป็นราชบริพาร ๔.พฺราหฺมณคหปติเกสุ แก่พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ๕.เนคมชานปเทสุ แก่ชาวนิคมและชาวชนบทคือ ราษฎรพื้นเมืองทั้งเหล่าย ๖.สมณพฺราหฺมเณสุ แก่เหล่าสมณพราหมณ์ ๗.มิคปกฺขีสุ แก่เหล่าเนื้อนกอันพึงบำรุงไว้ให้มีสืบพันธุ์ ๘.อธมฺมการปฏิกฺเขโป ห้ามปรามมิให้มีความประพฤติการอันไม่เป็นธรรม ๙.อธนานํ ธนานุปฺปทานํ เจือจานทรัพย์ทำนุบำรุงแก่ผู้ขัดสนไร้ทรัพย์ ๑๐.สมณพฺราหฺมเณ อุปสงฺกมิตฺวา ปญฺหาปุจฺฉนํ ไปสู่หาพราหมณ์ไต่ถามอรรถปฤษณา ๑๑.อธมฺมราคสฺส ปหานํ เว้นความกำหนัดในกามโดยอาการไม่เป็นธรรม ๑๒.วิสมโลภสฺส ปหานํ เว้นโลภกล้า ไม่เลือกควรไม่ควร
  15. จิตตสันดาน : การสืบต่อมาโดยไม่ขาดสายของจิต; ในภาษาไทยหมายถึง พื้นความรู้สึกนึกคิดหรืออุปนิสัยใจคอที่ฝังอยู่ในส่วนลึกของจิตใจมาแต่กำเนิด (ความหมายนัยหลังนี้ มิใช่มาในบาลี)
  16. ญาณจริต : คนที่มีพื้นนิสัยหนักในความรู้ มักใช้ความคิด พึงส่งเสริมด้วย แนะนำให้ใช้ความคิดในทางที่ชอบ (เป็นอีกชื่อหนึ่งของพุทธจริต)
  17. โทสจริต : คนมีพื้นนิสัยหนักในโทสะ หงุดหงิด โกรธง่าย แก้ด้วยเจริญเมตตา (ข้อ ๒ ในจริต ๖)
  18. เบญจางคประดิษฐ์ : การกราบด้วยตั้งอวัยวะทั้ง ๕ อย่างลงกับพื้น คือกราบเอาเข่าทั้ง ๒ มือทั้ง ๒ และศีรษะ (หน้าผาก) จดลงกับพื้น
  19. ปฐวีธาตุ : ธาตุดิน คือธาตุที่มีลักษณะแข้นแข็ง ในร่างกายที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า; อย่างนี้เป็นการกล่าวถึงปฐวีธาตุในลักษณะที่คนสามัญทุกคนจะเข้าใจได้ และที่จะให้สำเร็จประโยชน์ในการเจริญกรรมฐาน แต่ในทางพระอภิธรรม ปฐวีธาตุเป็นสภาวะพื้นฐานที่มีอยู่ในรูปธรรมทุกอย่าง แม้แต่ในน้ำและในลมที่เรียกกันสามัญ ซึ่งรู้สึกถูกต้องได้ด้วยกายสัมผัส
  20. ภวังคจิต : จิตที่เป็นองค์แห่งภพ, ตามหลักอภิธรรมว่า จิตที่เป็นพื้นอยู่ระหว่างปฏิสนธิและจุติ คือ ตั้งแต่เกิดจนถึงตาย ในเวลาที่มิได้เสวยอารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ มีจักขุทวารเป็นต้น แต่เมื่อใดมีการรับรู้อารมณ์ เช่น เกิดการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ก็เกิดเป็นวิถีจิตแทนภวังคจิต เมื่อวิถีจิตดับหมดไป ก็เกิดเป็นภวังคจิตขึ้นอย่างเดิม
  21. ยส : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสีมีความเป็นอยู่อย่างสุขสมบูรณ์ วันหนึ่งเห็นสภาพในห้องนอนของตน เป็นเหมือนป่าช้า เกิดความสลดใจคิดเบื่อหน่าย จึงออกจากบ้านไปพบพระพุทธเจ้าที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในเวลาใกล้รุ่ง พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาอนุปุพพีกถา และอริยสัจโปรด ยสกุลบุตรได้ดวงตาเห็นธรรม ต่อมาได้ฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่เศรษฐีบิดาของตน ก็ได้บรรลุอรหัตตผลแล้วขออุปสมบท เป็นภิกษุสาวกองค์ที่ ๖ ของพระพุทธเจ้า
  22. ยสะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสีมีความเป็นอยู่อย่างสุขสมบูรณ์ วันหนึ่งเห็นสภาพในห้องนอนของตน เป็นเหมือนป่าช้า เกิดความสลดใจคิดเบื่อหน่าย จึงออกจากบ้านไปพบพระพุทธเจ้าที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในเวลาใกล้รุ่ง พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาอนุปุพพีกถา และอริยสัจโปรด ยสกุลบุตรได้ดวงตาเห็นธรรม ต่อมาได้ฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่เศรษฐีบิดาของตน ก็ได้บรรลุอรหัตตผลแล้วขออุปสมบท เป็นภิกษุสาวกองค์ที่ ๖ ของพระพุทธเจ้า
  23. วาสนา : อาการกายวาจา ที่เป็นลักษณะพิเศษของบุคคล ซึ่งเกิดจากกิเลสบางอย่าง และได้สั่งสมอบรมมาเป็นเวลานานจนเคยชินติดเป็นพื้นประจำตัว แม้จะละกิเลสนั้นได้แล้ว แต่ก็อาจจะละอาการกายวาจาที่เคยชินไม่ได้ เช่น คำพูดติดปาก อาการเดินที่เร็ว หรือเดินต้วมเตี้ยม เป็นต้น ท่านขยายความว่า วาสนา ที่เป็นกุศล ก็มี เป็นอกุศล ก็มี เป็นอัพยากฤต คือ เป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ก็มี ที่เป็นกุศลกับอัพยากฤตนั้น ไม่ต้องละ แต่ที่เป็นอกุศลซึ่งควรจะละนั้น แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่จะเป็นเหตุให้เกิดอาการแสดงออกทางกายวาจาแปลกๆ ต่างๆ ส่วนแรก พระอรหันต์ทุกองค์ละได้ พระอรหันต์อื่นละไม่ได้ จึงมีคำกล่าวว่า พระพุทธเจ้าเท่านั้นละกิเลสทั้งหมดได้ พร้อมทั้งวาสนา; ในภาษาไทย คำว่า วาสนา มีความหมายเพี้ยนไป กลายเป็นอำนาจบุญเก่า หรือกุศลที่ทำให้ได้รับลาภยศ
  24. เวหาสกุฎี : โครงที่ตั้งขึ้นในวิหาร ปักเสาตอม่อขึ้นแล้ววางรอดบนนั้น สูงพอศีรษะไม่กระทบพื้น ถ้าไม่ปูพื้นข้างบนก็เอาเตียงวางลงไป ให้พื้นเตียงคานรอดอยู่ ขอเตียงห้อยลงไป ใช้อยู่ได้ทั้งข้างบนข้างล่าง ข้างบนเรียกว่าเวหาสกุฎี เป็นของต้องห้ามตามสิกขาบทที่ ๘ แห่งภูตคามวรรค ปาจิตตีย์
  25. ศิลาดวด : หินที่สูงขึ้นไปบนพื้นดิน
  26. สปทานจาริกังคะ : องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับบ้านเป็นวัตร คือรับตามลำดับบ้านตามแถวเดียวกัน ไม่รับข้ามบ้านข้ามแถว, เที่ยวบิณฑบาตไปตามตรอก ตามห้องแถวเรียงลำดับเรื่อยไปเป็นแนวเดียวกัน ไม่ข้ามไปเลือกรับที่โน้นที่นี่ตามใจชอบ (ข้อ ๔ ในธุดงค์ ๑๓)
  27. อธิศีลสิกขา : การศึกษาในอธิศีล, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง, การฝึกฝนอบรมความประพฤติทางกาย วาจา คือ ระเบียบวินัย การอยู่ร่วมกับผู้อื่นและในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ด้วยดี ให้เกื้อกูล ไม่เบียดเบียน ไม่ทำลาย เป็นพื้นฐานแห่งการฝึกอบรมจิตใจในอธิจิตตสิกขา (ข้อ ๑ ในสิกขา ๓ หรือไตรสิกขา), เขียนอย่างบาลีเป็น อธิสีลสิกขา และ เรียกกันง่ายๆ ว่า ศีล
  28. อวินิพโภครูป : “รูปที่แยกออกจากกันไม่ได้”, รูปที่มีอยู่ด้วยกันเป็นประจำเสมอไป อย่างขาดมิได้เลยในสิ่งที่เป็นรูปทุกอย่าง กล่าวคือในสิ่งที่เป็นรูปทุกอย่าง แม้แต่ปรมาณูที่เล็กที่สุดก็จะต้องมีรูปธรรมชุดนี้อยู่เป็นอย่างน้อย, คุณสมบัติพื้นฐานที่มีอยู่เป็นประจำในวัตถุ, มี ๘ อย่าง คือ ปฐวี (ภาวะแผ่ขยายหรือรองรับ) อาโป (ภาวะเอิบอาบเกาะกุม) เตโช (ภาวะร้อน) วาโย (ภาวะเคลื่อนไหวเคร่งตึง) วัณณะ (สี) คันธะ (กลิ่น) รสะ (รส) โอชา (อาหารรูป); ใน ๘ อย่างนี้ ๔ อย่างแรกเป็นมหาภูตรูป หรือธาต ๔, ๔ อย่างหลังเป็นอุปาทายรูป
  29. อาทิพรหมจรรย์ : หลักเบื้องต้นของพรหมจรรย์, หลักการพื้นฐานของชีวิตประเสริฐ
  30. อารามวัตถุ : ที่ดินวัด, ที่ดินพื้นวัด
  31. อุปนิสัย : ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาในสันดาน, ความดีที่เป็นทุนหรือเป็นพื้นอยู่ในจิต, ธรรมที่เป็นเครื่องอุดหนุน
  32. อถัพพนเพท : ชื่อคัมภีร์พระเวทลำดับที่ ๔ ว่าด้วยคาถาอาคมทางไสยศาสตร์ การปลุกเสกต่างๆ เป็นส่วนเพิ่มเข้ามาต่อจาก ไตรเพท, อาถัพพนเวท อถรรพเวท อาถรรพณเวท ก็เขียน
  33. วิกุพพนฤทธิ์ : ฤทธิ์คือการแผลง, ฤทธิ์บิดผัน, ฤทธิ์ผันแผลง คือ เปลี่ยนจากรูปร่างปกติ แปลงเป็นเด็ก เป็นครุฑ เป็นเทวดา เป็นเสือ เป็นงู เป็นต้น (ต้องห้ามทางพระวินัย)
  34. อทิสสมานกาย : กายที่มองไม่เห็น, ผู้มีกายไม่ปรากฏ, ไม่ปรากฏร่าง, มองไม่เห็นตัว กล่าวคือ เป็นวิสัยของผู้มีฤทธิ์บางประเภท (วิกุพพนฤทธิ์) อาจทำการบางอย่างโดยไม่ให้ผู้อื่นมองเห็นร่างกาย; อีกอย่างหนึ่ง เป็นความเชื่อของพราหมณ์ว่าบรรพบุรุษที่ตายไป มีถิ่นเป็นที่อยู่เรียกว่าปิตฤโลก ยังทรงอยู่ด้วยเป็นอทิสสมานกาย ความเชื่อนี้คนไทยก็รับมาแต่ให้บรรพบุรุษเหล่านั้น คงอยู่ที่บ้านเรือนเดิม อย่างที่เรียกว่า ผีเรือน
  35. [1-34]

(0.0115 sec)