ภาษี : ค่าสิ่งของที่เก็บตามจำนวนสินค้าเข้าออก
มรดก : ทรัพย์สมบัติของผู้ตาย
จีวรมรดก : จีวรของภิกษุหรือสามเณรผู้ถึงมรณภาพ (มตกจีวร) สงฆ์พึงมอบให้แก่คิลานุปฐาก (ผู้พยาบาลคนไข้) ด้วยญัตติทุติยกรรม อย่างไรก็ตาม อรรถกถาแสดงมติไว้ว่า กรณีเช่นนี้เป็นกรรมไม่สำคัญนัก จะทำด้วยอปโลกนกรรม ก็ควร
เกินพิกัด : เกิดกำหนดที่จะต้องเสียภาษีอากร
ของต้องพิกัด : ของเข้ากำหนดที่จะต้องเสียภาษี
ทายาท : ผู้สืบสกุล, ผู้ควรรับมรดก
ธรรมทายาท : ทายาทแห่งธรรม, ผู้รับมรดกธรรม, ผู้รับเอาธรรมของพระพุทธเจ้ามาเป็นสมบัติด้วยการประพฤติปฏิบัติให้เข้าถึง; โดยหมายถึงรับเอาโลกุตตรธรรม ๙ ไว้ได้ด้วยการบรรลุเอง โดยอ้อมหมายถึง รับปฏิบัติกุศลธรรม จะเป็นทาน ศีล หรือภาวนาก็ตาม ตลอดจนการบูชา ที่เป็นไปเพื่อบรรลุซึ่งโลกุตตรธรรมนั้น เทียบ อามิสทายาท
พลี : ทางพราหมณ์ คือ บวงสรวง, ทางพุทธ คือสละเพื่อช่วยหรือบูชา มี ๕ คือ ๑.ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ ๒.อติถิพลี สงเคราะห์แขก ๓.ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย ๔.ราชพลี ถวายเป็นหลวง เช่น เสียภาษีอากร ๕.เทวตาพลี ทำบุญอุทิศให้เทวดา
พินัยกรรม : หนังสือสำคัญที่เจ้าทรัพย์ทำไว้ก่อนตาย แสดงความประสงค์ว่าเมื่อตายแล้วขอมอบมรดกที่ระบุไว้ในหนังสือหนังสือสำคัญนั้น ให้แก่คนนั้นๆ, ตามพระวินัย ถ้าภิกษุทำเช่นนี้ ไม่มีผล ต้องปลงบริขาร จึงใช้ได้
ราชพลี : ถวายเป็นหลวง มีเสียภาษีอากรเป็นต้น (ข้อ ๔ แห่งพลี ๕ ในโภคอาทิยะ ๕)
สังกฆาตะ : ด่านภาษี
อามิสทายาท : ทายาทแห่งอามิส, ผู้รับมรดกอามิส, ผู้รับเอาสมบัติทางวัตถุ เช่น ปัจจัย ๔ จากพระพุทธเจ้ามาเสพเสวย ด้วยอาศัยผลแห่งพุทธกิจ ที่ได้ทรงบำเพ็ญไว้; โดยตรง หมายถึง รับเอาปัจจัย ๔ มาบริโภค โดยอ้อมหมายถึง ทำกุศลที่นำไปสู่วัฏฏะเช่นให้ทานบำเพ็ญฌานสมาบัติ ด้วยมงหมายมนุษยสมบัติและเทวสมบัติ; พระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุทั้งหลาย ให้เป็นธรรมทายาท มิให้เป็นอามิสทายาท เทียบ ธรรมทายาท