Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: มะ , then , มะ, มา .

Budhism Thai-Thai Dict : มะ, 440 found, display 1-50
  1. สัญญมะ : การยับยั้ง, การงดเว้น (จากบาป หรือจากการเบียดเบียน), การบังคับควบคุมตน; ท่านมักอธิบายว่า สัญญมะ ได้แก่ ศีล, บางทีแปลว่า สำรวม เหมือนอย่าง “สังวร”; เพื่อความเข้าใจชัดเจนในเบื้องต้น พึงเทียบความหมายระหว่างข้อธรรม ๓ อย่าง คือ สังวร เน้นความระวังในการรับเข้า คือปิดกั้นสิ่งเสียหายที่จะเข้ามาจากภายนอก สัญญมะ ควบคุมตนในการแสดงออก มิให้เป็นไปเพื่อการเบียดเบียน เป็นต้น ทมะ ฝึกฝนแก้ไขปรับปรุงตน ข่มกำจัดส่วนร้ายและเสริมส่วนที่ดีงามให้ยิ่งขึ้นไป; สังยมะ ก็เขียน
  2. วิติกกมะ : ดู วีติกกมะ
  3. สังหาริมะ : สิ่งที่เคลื่อนที่ได้ คือนำไปได้ เช่น สัตว์และสิ่งของที่ตั้งอยู่ลอย ๆ ไม่ติดที่ ได้แก่ เงิน ทอง เป็นต้น เทียบ อสังหาริมะ
  4. อสังหาริมะ : ซึ่งนำเอาไปไม่ได้, เคลื่อนที่ไม่ได้, ของติดที่ ขนเอาไปไม่ได้ เช่น ที่ดิน โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ต้นไม้ เรือน เป็นต้น เทียบ สังหาริมะ
  5. อามะ : คำรับในภาษาบาลี ตรงกับ ถูกแล้ว, ใช่, ครับ, ค่ะ, จ้ะ, เออ ถ้าผู้กล่าวรับเป็นผู้น้อยกว่าหรือมีพรรษาน้อยกว่าหรือเป็นคฤหัสถ์พูดกับพระสงฆ์กล่าวต่อว่า ภันเต เป็น อามะ ภันเต ถ้าผู้กล่าวรับเป็นผู้ใหญ่กว่าหรือมีพรรษามากว่า หรือเป็นพระสงฆ์พูดกับคฤหัสถ์ กล่าวตอบว่า อาวุโส เป็น อามะ อาวุโส (เขียนตามรูปบาลี เป็น อาม ภนฺเต, อาม อาวุโส)
  6. โขมะ : ผ้าทำด้วยเปลือกไม้ ใช้เปลือกไม้ทุกเอาแต่เส้น แล้วนำเส้นนั้นมาทอเป็นผ้า
  7. เคหสิตเปมะ : ความรักอันอาศัยเรือน ได้แก่รักกันโดยฉันเป็นคนเนื่องถึงกันเป็นญาติกัน เป็นคนร่วมเรือนเดียวกัน, ความรักฉันพ่อแม่ลูกและญาติพี่น้อง
  8. ธรรมกามะ : ผู้ใคร่ธรรม, ผู้ชอบตริตรองสอดส่องธรรม
  9. เนกขัมมะ : การออกจากกาม, การออกบวช, ความปลอดโปร่งจากสิ่งล่อเร้าเย้ายวน (พจนานุกรมเขียน เนกขัม)
  10. ปทปรมะ : “ผู้มีบท (คือถ้อยคำ) เป็นอย่างยิ่ง”, บุคคลผู้ด้อยปัญญาเล่าเรียนได้อย่างมากที่สุดก็เพียงถ้อยคำ หรือข้อความ ไม่อาจเข้าใจความหมาย ไม่อาจเข้าใจธรรม ดู บุคคล
  11. ยามะ : สวรรค์ชั้นที่ ๓ มีท้าวสุยามเทพบุตรปกครอง
  12. โยคักเขมะ : ดู โยคเกษม
  13. วีติกกมะ : การละเมิดพระพุทธบัญญัติ, การทำผิดวินัย
  14. สัตตักขัตตุปรมะ : พระโสดาบัน ซึ่งจะไปเกิดในภพอีก ๗ ครั้ง เป็นอย่างมากจึงจะได้บรรลุพระอรหัต (ข้อ ๓ ในโสดาบัน ๓)
  15. มธุกะ : มะทราง, น้ำคั้นมะทรางเจือน้ำแล้ว เรียกมธุกปานะ เป็นสัตตาหกาลิกอย่างหนึ่ง ดู ปานะ
  16. กาลามสูตร : สูตรหนึ่งในคัมภีร์ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระพุทธเจ้าตรัสสอนชนชาวกาลามะแห่งเกสปุตตนิคมใน แคว้นโกศล ไม่ให้เชื่อถืองมงายไร้เหตุผล ตามหลัก ๑๐ ข้อ คือ อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา, ด้วยการถือสืบๆ กันมา, ด้วยการเล่าลือ, ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์, ด้วยตรรก, ด้วยการอนุมาน, ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล, เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน, เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ, เพราะนับถือว่าท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา; ต่อเมื่อใด พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น เรียกอีกอย่างว่าเกสปุตติยสูตร หรือเกสปุตตสูตร.
  17. มาร : 1.สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากความดีหรือจากผลที่หมายอันประเสริฐ, ตัวการที่กำจัดหรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี มี ๕ คือ ๑.กิเลสมาร มารคือกิเลส ๒.ขันธมาร มารคือเบญจขันธ์ ๓.อภิสังขารมาร มารคืออภิสังขารที่ปรุงแต่งกรรม ๔.เทวปุตตมาร มารคือเทพบุตร ๕.มัจจุมาร มารคือความตาย 2.พระยามารที่มีเรื่องราวปรากฏบ่อยๆ ในคัมภีร์ คอยมาแทรกแซงเหตุการณ์ต่างๆ ในพุทธประวัติ เช่น ยกพลเสนามาผจญพระมหาบุรุษในวันที่จะตรัสรู้ พระองค์ชนะพระยามารได้ด้วยทรงนึกถึงบารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา มารในกรณีเช่นนี้ บางทีท่านอธิบายออกชื่อว่าเป็นสวัตดีมาร ซึ่งครองแดนหนึ่งในสวรรค์ชั้นสูงสุด แห่งระดับกามาวจรคือปรนิมิตวสวัตดี เป็นผู้คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไว้มิให้ล่วงพ้นจากแดนกามซึ่งอยู่ในอำนาจครอบงำของตน อย่างไรก็ดี ผู้ศึกษาพึงพิจารณาเทียบจากมาร ๕ ในความหมายที่ 1.ด้วย
  18. นิรามิสสุข : สุขไม่เจืออามิส, สุขไม่ต้องอาศัยเครื่องล่อหรือกามคุณ ได้แก่ สุขที่อิงเนกขัมมะ ดู สุข
  19. บารมี : คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง มี ๑๐ คือ ทาน, ศีล เนกขัมมะ, ปัญญา, วิริยะ, ขันติ, สัจจะ, อธิษฐาน, เมตตา, อุเบกขา
  20. บุคคล ๔ จำพวก : คือ ๑.อุคฆฏิตัญญู ผู้รู้เข้าใจได้ฉบพลัน แต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง ๒.วิปจิตัญญู ผู้รู้เข้าใจต่อเมื่อท่านขยายความ ๓.เนยยะ ผู้ที่พอจะแนะนำต่อไปได้ ๔.ปทปรมะ ผู้ได้แค่ตัวบทคือถ้อยคำเป็นอย่างยิ่ง ไม่อาจเข้าใจความหมาย
  21. โพธิสัตว์ : ท่านผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งกำลังบำเพ็ญบารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา
  22. สังยมะ : ดู สัญญมะ
  23. สาวัตถี : นครหลวงของแคว้นโกศล; แคว้นโกศลตั้งอยู่ระหว่างภูเขาหิมาลัยกับแม่น้ำคงคาตอนกลาง อาณาเขตทิศเหนือจดเทือกเขาเนปาล ทิศตะวันออก จดแคว้นกาสี ต่อกับแคว้นมคธ ทิศใต้และทิศตะวันตกจดแม่น้ำคงคา; พระนครสาวัตถีเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่พระพุทธศาสนาครั้งพุทธกาลเป็นที่ที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษามากที่สุด รวมถึง ๒๕ พรรษา บัดนี้เรียกสะเหต-มะเหต (Sahet-Mahat)
  24. สุข : ความสบาย, ความสำราญ, มี ๒ ๑.กายิกสุข สุขทางกาย ๒.เจตสิกสุข สุขทางใจ, อีกหมวดหนึ่ง มี ๒ คือ ๑.สามิสสุข สุขอิงอามิส คืออาศัยกามคุณ ๒.นิรามิสสุข สุขไม่อิงอามิส คืออิงเนกขัมมะ (ท่านแบ่งเป็นคู่ ๆ อย่างนี้อีกหลายหมวด)
  25. โสดาบัน : ผู้ถึงกระแสที่จะนำไปสู่นิพพาน, พระอริยบุคคลผู้ได้บรรลุโสดาปัตติผล มี ๓ ประเภทคือ ๑.เอกพีซี เกิดอีกครั้งเดียว ๒.โกลังโกละ เกิดอีก ๒-๓ ครั้ง ๓.สัตตักขัตตุปรมะ เกิดอีก ๗ ครั้ง เป็นอย่างมาก
  26. อนุรุทธะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่งเป็นเจ้าชายในศากยวงศ์ เป็นพระโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ และเป็นอนุชาของเจ้ามหานามะ ภายหลังออกบวชพร้อมกับเจ้าชายอานนท์ เป็นต้น เรียนกรรมฐานในสำนักของพระสารีบุตรได้บรรลุพระอรหัตที่ป่าปาจีนวังสทายวัน ในแคว้นเจตี พระศาสดาทรงยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางทิพยจักษุ
  27. อมิโตทนะ : กษัตริย์ศากยวงศ์ เป็นพระราชบุตรองค์ที่ ๓ ของพระเจ้าสีหหนุ เป็นพระอนุชาองค์ที่ ๒ ของพระเจ้าสุทโธทนะ เป็นพระเจ้าอาของพระพุทธเจ้า มีโอรสชื่อมหานามะ และอนุรุทธะ
  28. มทนิมฺมทโน : ธรรมยังความเมาให้สร่าง, ความสร่างเมา (ไวพจน์อย่างหนึ่งของวิราคะ)
  29. เทวทูต : ทูตของยมเทพ, สื่อแจ้งข่าวของมฤตยู, สัญญาที่เตือนให้ระลึกถึงคติ ธรรมดาของชีวิตมิให้มีความประมาท จัดเป็น ๓ ก็มี ได้แก่ คนแก่ คนเจ็บ และคนตาย, จัดเป็น ๕ ก็มี ได้แก่ เด็กแรกเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนถูกลงราชทัณฑ์ และคนตาย (เทวทูต ๓ มาในอังคุตตรนิกาย ติกนิบาต, เทวทูต ๕ มาในเทวทูตสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์); ส่วน เทวทูต ๔ ที่เจ้าชายสิทธัตถะพบก่อนบรรพชา คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย สมณะนั้น ๓ อย่างแรก เป็นเทวทูต ส่วนสมณะเรียกรวมเป็นเทวทูตไปด้วยโดยปริยาย เพราะมาในหมวดเดียวกัน แต่ในบาลี ท่านเรียกว่า นิมิต ๔ หาเรียกเทวทูต ๔ ไม่ อรรถกถาบางแห่งพูดแยกว่า พระสิทธัตถะเห็นเทวทูต ๓ และสมณะ (มีอรรถกถาแห่งหนึ่งอธิบายในเชิงว่าอาจเรียกทั้ง ๔ อย่างเป็นเทวทูตได้ โดยความหมายว่า เป็นของที่เทวดานิรมิตไว้ ระหว่างทางเสด็จของพระสิทธัตถะ)
  30. ผ้าป่า : ผ้าที่ทายกถวายแก่พระโดยวิธีปล่อยทิ้งให้พระมาชักเอาไปเอง อย่างเป็นผ้าบังสุกุล, ตามธรรมเนียมจะถวายหลังเทศกาลกฐินออกไป; คำถวายผ้าป่าว่า "อิมินา มยํ ภนฺเต, ปํสุกูลจีวรานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, ปํสุกูลจีวรานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย" แปลว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ของพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญฯ
  31. พากุละ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรเศรษฐีเมืองโกสัมพี มีเรื่องเล่าว่า เมื่อยังเป็นทารก ขณะที่พี่เลี้ยงนำไปอาบ***เล่นที่แม่*** ท่านถูกปลาใหญ่กลืนลงไปอยู่ในท้อง ต่อมาปลานั้นถูกจับได้ที่เมืองพาราณสี และถูกขายให้แก่ภรรยาเศรษฐีเมืองพาราณสี ภรรยาเศรษฐีผ่าท้องปลาพบเด็กแล้วเลี้ยงไว้เป็นบุตร ฝ่ายมารดาเดิมทราบข่าว จึงขอบุตรคืน ตกลงกันไม่ได้ จนพระราชาทรงตัดสินให้เด็กเป็นทายาทของทั้ง ๒ ตระกูล ท่านจึงได้ชื่อว่า "พากุละ" แปลว่า คน ๒ ตระกูล หรือผู้ที่ ๒ ตระกูลเลี้ยง ท่านอยู่ครองเรือนมาจนอายุ ๘๐ ปี จึงได้ฟังพระศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนา มีความเลื่อมใสขอบวชแล้วบำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ วัน ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางเป็นผู้มีอาพาธน้อย คือสุขภาพดี; พักกุละ ก็เรียก
  32. โพธิ : ต้นโพธิ์, ต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าได้ประทับ ณ ภายใต้ร่มเงาในคราวตรัสรู้, ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้และต้นไม้อื่นที่เป็นชนิดเดียวกันนั้น สำหรับพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์ไม้อัสสัตถะ (ต้นโพ) ต้นที่อยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลคยา; ต้นโพธิ์ ตรัสรู้ที่เป็นหน่อของต้นเดิมที่คยา ได้ปลูกเป็นต้นแรกในสมัยพุทธกาล (ปลูกจากเมล็ด) ที่ประตูวัดพระเชตวัน โดยพระอานนท์เป็นผู้ดำเนินการตามความปรารภของอนาถบิณฑิกเศรษฐี และเรียกชื่อว่า อานันทโพธิ; หลังพุทธกาล ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระนาง สังฆมิตตาเถรี ได้นำกิ่งด้านขวาของต้นมหาโพธิ์ที่คยานั้นไปมอบแด่พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ทรงปลูกไว้ ณ เมืองอนุราธปุระ ในลังกาทวีป ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นต้นไม้เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน; ในประเทศไทย สมัยราชวงศ์จักรี พระสมณทูตไทยในสมัย ร.๒ ได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์ที่เมืองอนุราธปุระมา ๖ ต้น ใน พ.ศ. ๒๓๕๗ โปรดให้ปลูกไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช ๒ ต้น นอกนั้นปลูกที่วัดมหาธาตุ วัดสุทัศน์ วัดสระเกศและที่เมืองกลันตัน แห่งละ ๑ ต้น; ต่อมา ในสมัย ร.๕ ประเทศไทยได้พันธุ์ต้นมหาโพธิจากคยาโดยตรงครั้งแรก ได้ปลูกไว้ ณ วัดเบญจมบพิตรและวัดอัษฎางคนิมิตร
  33. โพธิพฤกษ์ : ต้นโพธิ์, ต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าได้ประทับ ณ ภายใต้ร่มเงาในคราวตรัสรู้, ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้และต้นไม้อื่นที่เป็นชนิดเดียวกันนั้น สำหรับพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์ไม้อัสสัตถะ (ต้นโพ) ต้นที่อยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลคยา; ต้นโพธิ์ ตรัสรู้ที่เป็นหน่อของต้นเดิมที่คยา ได้ปลูกเป็นต้นแรกในสมัยพุทธกาล (ปลูกจากเมล็ด) ที่ประตูวัดพระเชตวัน โดยพระอานนท์เป็นผู้ดำเนินการตามความปรารภของอนาถบิณฑิกเศรษฐี และเรียกชื่อว่า อานันทโพธิ; หลังพุทธกาล ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระนาง สังฆมิตตาเถรี ได้นำกิ่งด้านขวาของต้นมหาโพธิ์ที่คยานั้นไปมอบแด่พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ทรงปลูกไว้ ณ เมืองอนุราธปุระ ในลังกาทวีป ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นต้นไม้เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน; ในประเทศไทย สมัยราชวงศ์จักรี พระสมณทูตไทยในสมัย ร.๒ ได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์ที่เมืองอนุราธปุระมา ๖ ต้น ใน พ.ศ. ๒๓๕๗ โปรดให้ปลูกไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช ๒ ต้น นอกนั้นปลูกที่วัดมหาธาตุ วัดสุทัศน์ วัดสระเกศและที่เมืองกลันตัน แห่งละ ๑ ต้น; ต่อมา ในสมัย ร.๕ ประเทศไทยได้พันธุ์ต้นมหาโพธิจากคยาโดยตรงครั้งแรก ได้ปลูกไว้ ณ วัดเบญจมบพิตรและวัดอัษฎางคนิมิตร
  34. เมตติยาภิกษุณี : ภิกษุณีผู้เป็นตัวการรับมอบหมายจากพระเมตติยะและพระภุมมชกะมาเป็นผู้โจทพระทัพพมัลลบุตรด้วยข้อหาปฐมปาราชิก
  35. สังฆทาน : ทานเพื่อสงฆ์, การถวายแก่สงฆ์ คือถวายเป็นกลาง ๆ ไม่จำเพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เช่น จะทำพิธีถวายของที่มีจำนวนจำกัดพึงแจ้งแก่ทางวัดให้จัดพระไปรับตามจำนวนที่ต้องการ หัวหน้าสงฆ์จัดภิกษุใดไปพึงทำใจว่า ท่านมารับในนามของสงฆ์ หรือ เป็นผู้แทนของสงฆ์ทั้งหมด ไม่พึงเพ่งเล็งว่าเป็นบุคคลใด คิดตั้งใจแต่ว่าจะถวายอุทิศแก่สงฆ์; ในพิธีพึงจุดธูปเทียนบูชาพระ อาราธนาศีล รับศีล จบแล้วตั้งนโม ๓ จบ กล่าวคำถวายเสร็จแล้วประเคนของ และเมื่อพระสงฆ์อนุโมทนา พึงกรวดน้ำ รับพร เป็นเสร็จพิธี; คำถวายสังฆทานว่าดังนี้ : อิมานิ มยํ ภนฺเต, ภตฺตานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, ภตฺตานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย, แปลว่า : ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวาย ภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ ฯ
  36. กุมารกัสสปะ : พระเถระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรธิดาเศรษฐีในพระนครราชคฤห์ คลอดเมื่อมารดาบวชเป็นภิกษุณีแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเลี้ยงเป็นโอรสบุญธรรม ทารกนั้นได้นามว่า กัสสปะ ภายหลังเรียกกันว่า กุมารกัสสปะ เพราะท่านเป็นเด็กสามัญ แต่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างราชกุมาร ท่านอุปสมบทในสำนักของพระศาสดา ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะในทางแสดงธรรมวิจิตร
  37. โกสัมพี : ชื่อนครหลวงของแคว้นวังสะ อยู่ตอนใต้ของแม่น้ำยมุนา บัดนี้เรียกว่า โกสัม (Kosam)
  38. ปรมาตมัน : อาตมันสูงสุด หรออัตตาสูงสุด (บรมอาตมัน หรือ บรมอัตตา) เป็นสภาวะแท้จริง และเป็นจุดหมายสูงสุดตามหลักความเชื่อของศาสนาฮินดู (เดิมคือศาสนาพราหมณ์) ซึ่งถือว่า ในบุคคลแต่ละคนนี้ มีอาตมัน คือ อัตตาหรือตัวตน สิงสู่อยู่ครอง เป็นสภาวะเที่ยงแท้ถาวรเป็นผู้คิดผู้นึก ผู้เสวยเวทนา เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนย่อยที่แบ่งภาคออกมาจากปรมาตมันนั้นเอง เมื่อคนตาย อาตมันนี้ออกจากร่างไป สิงอยู่ในร่างอื่นต่อไป เหมือนถอดเสื้อผ้าเก่าสวมเสื้อผ้าใหม่ หรือออกจากเรือนเก่าไปอยู่ในเรือนใหม่ ได้เสวยสุขหรือทุกข์ เป็นต้น สุดแต่กรรมที่ได้ทำไว้ เวียนว่ายตายเกิดเรื่อยไป จนกว่าจะตระหนักรู้ว่าตนเองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับปรมาตมัน และเข้าถึงความบริสุทธิ์จากบาปโดยสิ้นเชิง จึงจะได้กลับเข้ารวมกับปรมาตมันดังเดิม ไม่เวียนตายเวียนเกิดอีกต่อไป, ปรมาตมันนี้ ก็คือ พรหม หรือ พรหมัน นั่นเอง
  39. อโนมา : ชื่อแม่น้ำกั้นพรมแดนระหว่างแคว้นสักกะกับแคว้นมัลละ พระสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชา มาถึงฝั่งแม่น้ำอโนมา ตรัสสั่งนายฉันนะให้นำม้าพระที่นั่งกลับคืนพระนคร ทรงตัดพระเมาลีด้วยพระขรรค์ อธิษฐานเพศบรรพชิต ณ ฝั่งแม่น้ำอโนมานี้
  40. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ : ดู ธรรมานุธรรมปฏิบัติ
  41. ธัมมานุปัสสนา : การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม, สติพิจารณาธรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศลที่บังเกิดกับใจเป็นอารมณ์ว่า ธรรมนี้ก็สักว่าธรรมไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา (ข้อ ๔ ในสติปัฏฐาน ๔)
  42. ธัมมานุสติ : ระลึกถึงคุณของพระธรรม (ข้อ ๒ ในอนุสติ ๑๐)
  43. ธัมมานุสารี : “ผู้แล่นไปตามธรรม”, “ผู้แล่นตามไปด้วยธรรม”, พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ที่มีปัญญินทรีย์แรงกล้า (ถ้าบรรลุผลกลายเป็นทิฏฐิปปัตตะ) ดู อริยบุคคล
  44. นวกัมมาธิฏฐายี : ผู้อำนวยการก่อสร้าง เช่น ที่พระโมคคัลลานะได้รับมอบหมายจากพระบรมศาสดาให้เป็นผู้อำนวยการสร้างบุพพารามที่นางวิสาขาบริจาคทุนสร้างที่กรุงสาวัตถี
  45. นวกัมมิกะ : ผู้ดูแลนวกรรม, ภิกษุผู้ได้รับสมมติคือแต่งตั้งจากสงฆ์ ให้ทำหน้าที่ดูแลการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์ในอาราม
  46. นิโครธาราม : อาหารที่พระญาติสร้างถวายพระพุทธเจ้า อยู่ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์
  47. เนกขัมมวิตก : ความตรึกที่จะออกจากกาม หรือตรึกที่จะออกบวช, ความดำริ หรือความคิดที่ปลอดจากความโลภ (ข้อ ๓ ในกุศลวิตก ๓)
  48. ปุริสสัพพนาม : คำทางไวยากรณ์ หมายถึงคำแทนชื่อเพื่อกันความซ้ำซาก ในภาษาบาลีหมายถึง ต, ตุมฺห, อมฺห, ศัพท์ในภาษาไทย เช่น ฉัน, ผม, ท่าน, เธอ, เขา, มัน เป็นต้น
  49. ภุมมชกภิกษุ : ชื่อภิกษุผู้โจทพระทัพพมัลลบุตร คู่กับพระเมตติยะ
  50. ภุมมเทวะ : เทวดาผู้อาศัยอยู่บนแผ่นดิน เช่น พระภูมิ เป็นต้น
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-440

(0.0406 sec)