มัจฉริยะ : ความตระหนี่, ความหวง (ข้อ ๔ ใน มละ ๙), มัจฉริยะ ๕ คือ ๑.อาวาสมัจฉริยะ ตระหนี่ที่อยู่ ๒.กุลมัจฉริยะ ตระหนี่สกุล ๓.ลาภมัจฉริยะ ตระหนี่ลาภ ๔.วัณณมัจฉริยะ ตระหนี่วรรณะ ๕.ธัมมมัจฉริยะ ตระหนี่ธรรม
กุลมัจฉริยะ :
ตระหนี่ตระกูล ได้แก่หวงแหนตระกูล ไม่ยอมให้ตระกูลอื่นมาเกี่ยวดองด้วย ถ้าเป็นบรรพชิตก็หวงแหนอุปัฏฐาก ไม่พอใจให้ไปบำรุงภิกษุอื่น ดู มัจฉริยะ
ธัมมมัจฉริยะ : ตระหนี่ธรรม ได้แก่ หวงแหนความรู้ ไม่ยอกบอก ไม่ยอมสอนคนอื่น เพราะเกรงว่าเขาจะรู้เท่าตน (ข้อ ๕ ในมัจฉริยะ ๕)
ลาภมัจฉริยะ : ตระหนี่ลาภ ได้แก่ หวงผลประโยชน์ พยายามกีดกันผู้อื่นไม่ให้ได้ (ข้อ ๓ ในมัจฉริยะ ๕)
วัณณมัจฉริยะ : ตระหนี่วรรณะ คือหวงผิวพรรณ ไม่พอใจให้คนอื่นสวยงาม หรือหวงคุณวัณณะ ไม่พอใจให้ใครมีคุณความดีมาแข่งตน (ข้อ ๔ ในมัจฉริยะ ๕)
อาวาสมัจฉริยะ : ตระหนี่ที่อยู่ ได้แก่ หวงแหน ไม่พอใจให้ใครๆ เข้ามาอยู่แทรกแซง หรือกีดกันผู้อื่นที่มิใช่พวกของตนไม่ให้เข้าอยู่ (ข้อ ๑ ในมัจฉริยะ ๕)
ตระหนี่ : เหนียว, เหนียวแน่น, ไม่อยากให้ง่ายๆ, ขี้เหนียว (มัจฉริยะ)
มละ : มลทิน, เครื่องทำให้มัวหมอง เปรอะเปื้อน, กิเลสดุจสนิมใจ มี ๙ อย่าง คือ ๑.โกธะ ความโกรธ ๒.มักขะ ความลบหลู่คุณท่าน ๓.อิสสา ความริษยา ๔.มัจฉริยะ ความตระหนี่ ๕.มายา มารยา ๖.สาเถยยะ ความโอ้อวดหลอกเขา ๗.มุสาวาท การพูดเท็จ ๘.ปาปิจฉา ความปรารถนาลามก ๙.มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด
เยวาปนกธรรม : “ก็หรือว่าธรรมแม้อื่นใด” หมายถึงธรรมจำพวกที่กำหนดแน่ไม่ได้ว่าข้อไหนจะเกิดขึ้น ได้แก่ เจตสิก ๑๖ เป็นพวกที่เกิดในกุศลจิต ๙ คือ ๑.ฉันทะ ๒.อธิโมกข์ ๓.มนสิการ ๔.อุเบกขา (ตัตรมัชฌัตตตา) ๕.กรุณา ๖.มุทิตา ๗.สัมมาวาจา (วจีทุจริตวิรัติ) ๘.สมมากันมันตะ (กายทุจริตวิรัติ) ๙.สัมมาอาชีวะ (มิจฉาชีววิรัติ) เป็นพวกที่เกิดในอกุศลจิต ๑๐ คือ ๑.ฉันทะ ๒.อธิโมกข์ ๓.มนสิการ ๔.มานะ ๕.อิสสา ๖.มัจฉริยะ ๗.ถีนะ ๘.มิทธะ ๙.อุทธัจจะ ๑๐.กุกกุจจะ นับเฉพาะที่ไม่ซ้ำ (คือเว้น ๓ ข้อแรก) เป็น ๑๖
สังโยชน์ : กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ ก.โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่ ๑.สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน ๒.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ๓.สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต ๔.กามราคะ ความติดใจในกามคุณ ๕.ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ ข.อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่ ๖.รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต ๗.อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม ๘.มานะ ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่ ๙.อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน ๑๐.อวิชชา ความไม่รู้จริง; พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้, พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย, พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด, พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ; ในพระอภิธรรมท่านแสดงสังโยชน์อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑.กามราคะ ๒.ปฏิฆะ ๓.มานะ ๔.ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๕.วิจิกิจฉา ๖.สีลัพพตปรามาส ๗.ภวราคะ (ความติดใจในภพ) ๘.อิสสา (ความริษยา) ๙.มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ๑๐.อวิชชา
อุปกิเลส : โทษเครื่องเศร้าหมอง, สิ่งที่ทำจิตใจให้เศร้าหมองขุ่นมัว รับคุณธรรมได้ยาก มี ๑๖ อย่าง คือ ๑) อภิชฌาวิสมโลภะ ละโมบ จ้องจะเอาไม่เลือกควรไม่ควร ๒) โทสะ คิดประทุษร้าย ๓) โกธะ โกรธ ๔) อุปนาหะ ผูกโกรธไว้ ๕) มักขะ ลบหลู่คุณท่าน ๖) ปลาสะ ตีเสมอ ๗) อิสสา ริษยา ๘) มัจฉริยะ ตระหนี่ ๙) มายา เจ้าเล่ห์ ๑๐) สาเถยยะ โอ้อวด ๑๑) ถัมภะ หัวดื้อ ๑๒) สารัมภะ แข่งดี ๑๓) มานะ ถือตัว ๑๔) อติมานะ ดูหมั่นท่าน ๑๕) มทะ มัวเมา ๑๖) ปมาทะ เลินเล่อหรือละเลย