Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: รา , then , ระ, รา .

Budhism Thai-Thai Dict : รา, 127 found, display 1-50
  1. ราศรี : 1.ชื่อมาตราวัดจักรราศีคือ ๓๐ องศาเป็น ๑ ราศรี และ ๑๒ ราศรีเป็น ๑ รอบจักรราศี (อาณาเขตโดยรอบดวงอาทิตย์ที่ดาวพระเคราะห์เดิน) ; ราศี ๑๒ นั้น คือ ราศีเมษ (แกะ), พฤษภ (วัว), เมถุน (คนคู่), กรกฏ (ปู), สิงห์ (ราชสีห์), กันย์ (หญิงสาว) ตุล (คันชั่ง), พฤศจิก (แมลงป่อง), ธนู (ธนู), มกร (มังกร), กุมภ์ (หม้อน้ำ), มีน (ปลา ๒ ตัว) 2.อาการที่รุ่งเรือง, ลักษณะที่ดีงาม 3.กอง เชน บุญราศี ว่ากองบุญ
  2. ราชาณัติ : คำสั่งของพระราชา
  3. ราชายตนะ : ไม้เกต อยู่ทิศใต้แห่งต้นพระศรีมหาโพธิ ณ ที่นี้ พระพุทธเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข ๗ วัน พ่อค้า ๒ คน คือ ตปุสสะกับภัลลิกะ ซึ่งมาจากอุกกลชนบท ได้พบพระพุทธเจ้าที่นี่ ดู วิมุตติสุข
  4. รามายณะ : เรื่องราวของพระราม ว่าด้วยเรื่องศึกระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์ พระฤษีวาลมีกิเป็นผู้แต่ง ไทยเรียกรามเกียรติ์
  5. กวฬิงการาหาร : ดู กพฬิงการาหาร
  6. กพฬิงการาหาร : อาหารคือคำข้าว ได้แก่อาหารที่กลืนกินเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกาย, อาหารที่เป็นวัตถุ
  7. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี : เว้นจากประพฤติผิดในกาม, เว้นการล่วงประเวณี
  8. ราพาธ : อาพาธหนัก, ป่วยหนัก
  9. จตุราริยสัจ : อริยสัจ ๔ ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดู อริยสัจ
  10. นิรามิษ : หาเหยื่อมิได้, ไม่มีอามิษคือเหยื่อที่เป็นเครื่องล่อใจ, ไม่ต้องอาศัยวัตถุ
  11. ปฏาจารา : พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง เป็นธิดาเศรษฐีในพระนครสาวัตถีได้รับวิปโยคทุกข์อย่างหนักเพราะสามีตาย ลูกตาย พ่อแม่พี่น้องตายหมด ในเหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้นฉับพลันทันทีและติดต่อกัน ถึงกับเสียติดปล่อยผ้านุ่งผ้าห่มหลุดลุ่ย เดินบ่นเพ้อไปในที่ต่างๆ จนถึงพระเชตวัน พระศาสดาทรงแผ่พระเมตตา เปล่งพระวาจาให้นางกลับได้สติ แล้วแสดงพระธรรมเทศนา นางได้ฟังแล้วบรรลุโสดาปัตติผล บวชเป็นพระภิกษุณี ไม่ช้าได้สำเร็จพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางทรงพระวินัย
  12. ปาสราสิสูตร : ชื่อสูตรที่ ๒๖ ในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระสุตตันตปิฎก; เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อริยปริเยสนสูตร เพราะว่าด้วย อริยปริเยสนา
  13. ริบราชบาทว์ : เอาเป็นของหลวงตามกฎหมาย เพราะเจ้าของต้องโทษแผ่นดิน
  14. สังฆราชี : ความร้าวรานแห่งสงฆ์ คือ จะแตกแยกกัน แต่ยังไม่ถึงกับแยกทำอุโบสถปวารณาและสังฆกรรมต่างหากกัน เทียบ สังฆเภท
  15. อารามิกเปสกะ : ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือ แต่งตั้งจากสงฆ์ให้มีหน้าที่เป็นผู้ใช้คนทำงานวัด
  16. เจ้าอธิการแห่งอารา : ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับงานวัด แยกเป็น ๓ คือ ผู้ใช้คนงานวัด (อารามิกเปสก) ผู้ใช้สามเณร (สามเณรเปสก) และผู้ดูแลปลูกสร้าง (นวกัมมิกะ)
  17. ตปุสสะ : พ่อค้าที่มาจารอุกกลชนบท คู่กับภัลลิกะ พบพระพุทธเจ้าขณะประทับอยู่ ณ ภายใต้ต้นไม้ราชายตนะ ภายหลังตรัสรู้ใหม่ๆ ได้ถวายเสบียงเดินทาง คือ ข้าวสัตตุผล ข้าวสัตตุก้อน แล้วแสดงตนเป็นอุบาสก ถึงพระพุทธเจ้ากับพระธรรมเป็นสรณะ นับเป็นปฐมอุบาสกผู้ถึงสรณะ ๒ ที่เรียกว่า เทฺววาจิก
  18. บุพพสิกขาวัณณนา : หนังสืออธิบายพระวินัย พระอมราภิรักขิต (อมร เกิด) วัดบรมนิวาส เป็นผู้แต่ง
  19. เบญจศีล : ศีล ๕ เว้นฆ่าสัตว์ เว้นลักทรัพย์ เว้นประพฤติผิดในกาม เว้นพูดปด เว้นของเมา มีคำสมาทานว่า ๑.ปาณาติปาตา ๒.อทินฺนาทานา ๓.กาเมสุมิจฺฉาจารา ๔.มุสาวาทา ๕.สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺานา ต่อท้ายด้วย เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ทุกข้อ
  20. รามาส : (ปะรามาด) การจับต้อง, การยึดฉวย, การจับไว้มั่น, การลูบหรือเสียดสีไปมา, ความยึดมั่น; มักแปลกันว่า การลูบคลำ
  21. ปัจฉิมโอวาท : คำสอนครั้งสุดท้าย หมายถึง ปัจฉิมวาจา คือ พระดำรัสสุดท้ายของพระพุทธเจ้าก่อนจะปรินิพพานว่า “วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ” แปลว่า “สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจง (ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น) ให้ถึงพร้อม ด้วยความไม่ประมาทเถิด”
  22. ผ้าป่า : ผ้าที่ทายกถวายแก่พระโดยวิธีปล่อยทิ้งให้พระมาชักเอาไปเอง อย่างเป็นผ้าบังสุกุล, ตามธรรมเนียมจะถวายหลังเทศกาลกฐินออกไป; คำถวายผ้าป่าว่า "อิมินา มยํ ภนฺเต, ปํสุกูลจีวรานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, ปํสุกูลจีวรานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย" แปลว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ของพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญฯ
  23. ภัลลิกะ : พ่อค้าที่มาจากอุกกลชนบท คู่กับ ตปุสสะ พบพระพุทธเจ้าขณะประทับอยู่ ณ ภายใต้ต้นไม้ราชายตนะ ได้ถวายเสบียงเดินทาง คือ ข้าวสัตตุผง ข้าวสัตตุก้อน แล้วแสดงตนเป็นอุบาสก ถึงพระพุทธเจ้ากับพระธรรมเป็นสรณะ นับเป็นปฐมอุบาสก
  24. ราชาธิรา : พระราชาผู้เป็นใหญ่กว่าพระราชาอื่นๆ
  25. วินัยมุข : มุขแห่งวินัย, หลักใหญ่ๆ หรือหัวข้อสำคัญๆ ทีเป็นเบื้องต้นแห่งพระวินัย หรือเป็นปากทางนำเข้าสู่วินัยเป็นชื่อหนังสือที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงรจนาขึ้น เพื่อชี้ประโยชน์แห่งพระวินัยมุ่งช่วยให้พระภิกษุสามเณรตั้งอยู่ในปฏิบัติพองาม ผู้ไม่เคร่งจะได้รู้จักสำรวมรักษามรรยาทสมเป็นสมณะฝ่ายผู้เคร่งครัดเกินไปจะได้หายงมงาย ไม่สำคัญตนว่าดีกว่าผู้อื่น ตั้งรังเกียจผู้อื่นเพราะเหตุผลเล็กน้อย เพียงสักว่าธรรมเนียมหรือแม้ชักนำผู้อื่นในปฏิบัติอันดี ต่างจะได้อานิสงส์คือไม่มีวิปฏิสาร; ทรงมุ่งหมายเพื่อจะแต่งแก้หนังสือบุพพสิกขาวัณณนาของพระอมราภิรักขิต (อมร เกิด) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส; จัดพิมพ์เป็น ๓ เล่ม ใช้เป็นแบบเรียนนักธรรมชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก ตามลำดับ
  26. ศักดินา : อำนาจปกครองที่นา หมายความว่า พระมหากษัตริย์พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เจ้านาย และขุนนางเป็นต้น ถือนาได้มีกำหนดจำนวนไร่ เป็นเรือนหมื่นเรือนพันตามฐานานุรูป การพระราชทานให้ถือศักดินานั้น เป็นเครื่องเทียบยศและเป็นเครื่องปรับผู้ก้ำเกิน หรือเป็นเครื่องปรับผู้ถือศักดินานั่นเอง เมื่อทำผิด
  27. ศีล ๕ : สำหรับทุกคน คือ ๑.เว้นจากทำลายชีวิต ๒.เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้ ๓.เว้นจากประพฤติผิดในกาม ๔.เว้นจากพูดเท็จ ๕.เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท; คำสมาทานว่า ๑.ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ๒.อทินนาทานา- ๓.กาเมสุมิจฺฉานารา- ๔.มุสาวาทา- ๕.สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา- (คำต่อท้ายเหมือนข้อ ๑); ดู อาราธนาศีล ด้วย
  28. สังฆทาน : ทานเพื่อสงฆ์, การถวายแก่สงฆ์ คือถวายเป็นกลาง ๆ ไม่จำเพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เช่น จะทำพิธีถวายของที่มีจำนวนจำกัดพึงแจ้งแก่ทางวัดให้จัดพระไปรับตามจำนวนที่ต้องการ หัวหน้าสงฆ์จัดภิกษุใดไปพึงทำใจว่า ท่านมารับในนามของสงฆ์ หรือ เป็นผู้แทนของสงฆ์ทั้งหมด ไม่พึงเพ่งเล็งว่าเป็นบุคคลใด คิดตั้งใจแต่ว่าจะถวายอุทิศแก่สงฆ์; ในพิธีพึงจุดธูปเทียนบูชาพระ อาราธนาศีล รับศีล จบแล้วตั้งนโม ๓ จบ กล่าวคำถวายเสร็จแล้วประเคนของ และเมื่อพระสงฆ์อนุโมทนา พึงกรวดน้ำ รับพร เป็นเสร็จพิธี; คำถวายสังฆทานว่าดังนี้ : อิมานิ มยํ ภนฺเต, ภตฺตานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, ภตฺตานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย, แปลว่า : ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวาย ภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ ฯ
  29. สัตตุผง สัตตุก้อน : ข้าวตู เสบียงเดินทางที่ ๒ พ่อค้า คือ ตปุสสะ กับภัลลิกะ ถวายแด่พระพุทธเจ้า ขณะที่ประทับอยู่ใต้ต้นราชายตนะ
  30. สาเกต : ชื่อมหานครแห่งหนึ่ง อยู่ในแคว้นโกศล ห่างจากเมืองสาวัตถี ๗ โยชน์ ธนัญชัยเศรษฐี บิดาของนางวิสาขาได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระเจ้าปเสนทิโกศล ให้เข้าตั้งถิ่นฐานและสร้างขึ้น เมื่อคราวที่ท่านเศรษฐีอพยพจากเมืองราชคฤห์มาอยู่ในแคว้นโกศลตามคำเชิญชวนของพระองค์
  31. สามัญญลักษณะ : ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง ได้แก่ ๑.อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง ๒.ทุกขตา ความเป็นทุกข์หรือความเป็นของคงทนอยู่มิได้ ๓.อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตัวตนแสดงความตามบาลีดังนี้ ๑.สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ๒.สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ๓.สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัวตน; ลักษณะเหล่านี้มี ๓ อย่าง จึงเรียกว่า ไตรลักษณ์, ลักษณะเหล่านี้เป็นของแน่นอน เป็นกฎธรรมดา จึงเรียกว่า ธรรมนิยาม
  32. สุเนตตะ : นามของพระศาสดาองค์หนึ่งในอดีต มีคุณสมบัติ คือ กาเมสุ วีตราโค (มีราคะไปปราศแล้วในกามทั้งหลาย) มีศิษย์จำนวนมาก ได้เจริญเมตตาจิตถึง ๗ ปี แต่ก็ไม่อาจพ้นจากชาติ ชรา มรณะ เพราะไม่รู้อริยศีล อริยสมาธิ อริยปัญญา และอริยวิมุตติ
  33. สุรเสนะ : ชื่อแคว้นหนึ่งในมัชฌิมชนบทในชมพูทวีป ตั้งอยู่ทางใต้ของแคว้นกุรุในระหว่างแม่น้ำสินธูกับแม่น้ำยมุนาตอนล่าง นครหลวงชื่อมถุรา
  34. อาหาร : ปัจจัยอันนำมาซึ่งผล, เครื่องค้ำจุนชีวิต, เครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตมี ๔ คือ ๑) กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว ๒) ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ ๓) มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือมโนสัญเจตน ๔) วิญญาณหาร อาหารคือวิญญาณ
  35. อุกกลชนบท : ชื่อชนบทที่พ่อค้า ๒ คน คือ ตปุสสะ กับ ภัลลิกะ เดินทางจากมาแล้ว ได้พบพระพุทธเจ้าขณะที่ประทับอยู่ภายใต้ต้นราชายตนะ ภายหลังตรัสรู้ใหม่ๆ
  36. อุเทศ : การยกขึ้นแสดง, การยกขึ้นชี้แจง, ข้อที่ยกขึ้นแสดง, หัวข้อ, การเรียนการสอน, การสวดปาฏิโมกข์, ปาฏิโมกข์ที่ยกขึ้นสวด, หมวดหนึ่งๆ แห่งปาฏิโมกข์ที่จัดไว้สำหรับสวด, ในคำว่า สงฆ์มีอุเทศเดียวกัน หมายความว่า ร่วมฟังสวดปาฏิโมกข์ด้วยกัน; อุเทศในปาฏิโมกข์จัดโดยย่อมี ๕ คือ ๑) นิทานุทเทส ๒) ปาราชิกุทเทส ๕) วิตถารุทเทส, อุทเทสที่ ๕ นั้น รวมเอา นิสสัคคิยุทเทส ปาจิตติยุทเทส ปาฏิเทสนียุทเทส เสขิยุทเทส และสมถุทเทส เข้าไว้ด้วยกัน ถ้าแยกออกนับโดยพิสดารก็จะเป็น ๙ อุเทส การรู้จักอุเทศหรืออุทเทสเหล่านี้เป็นประโยชน์สำหรับการตัดตอนสวดปาฏิโมกข์ย่อได้ในคราวจำเป็น ดู ปาฏิโมกข์ย่อ
  37. อุปาทายรูป : รูปอาศัย, รูปที่เกิดสืบเนื่องจากมหาภูตรูป, อาการของมหาภูตรูป ตามหลักฝ่ายอภิธรรมว่า มี ๒๔ คือ ก) ประสาท หรือ ปสาทรูป ๕ ได้แก่ จักขุ ตา, โสต หู, ฆาน จมูก, ชิวหา ลิ้น, กาย, มโน ใจ, ข) โคจรรูป หรือ วิสัยรูป (รูปที่เป็นอารมณ์) ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (โผฏฐัพพะ ไม่นับเข้าจำนวน เพราะตรงกับปฐวี เตโช วาโย ซึ่งเป็นมหาภูตรูป) ค) ภาวรูป ๒ ได้แก่ อิตถีภาวะ ความเป็นหญิง และปุริสภาวะ ความเป็นชาย ง) หทัยรูป ๑ คือ หทัยวัตถุ หัวใจ จ) ชีวิตรูป ๑ คือ ชีวิตินทรีย์ ภาวะที่รักษารูปให้เป็นอยู่ ฉ) อาหารรูป ๑ คือกวฬิงการาหาร อาหารที่กินเกิดเป็นโอชา ช) ปริจเฉทรูป ๑ คือ อากาศธาตุ ช่องว่าง ญ) วิญญัติรูป ๒ คือ กายวิญญัติ ไหวกายให้รู้ความ วจีวิญญัติ ไหววาจาให้รู้ความ คือพูดได้ ฎ) วิการรูป ๕ อาการดัดแปลงต่างๆ ได้แก่ ลหุตา ความเบา, มุทุตา ความอ่อน, กัมมัญญตา ความควรแก่งาน, (อีก ๒ คือ วิญญัติรูป ๒ นั่นเอง ไม่นับอีก) ฏ) ลักขณรูป ๔ ได้แก่ อุปจยะ ความเติบขึ้นได้, สันตติ สืบต่อได้, ชรตา ทรุดโทรมได้, อนิจจตา ความสลายไม่ยั่งยืน (นับโคจรรูปเพียง ๔ วิการรูป เพียง ๓ จึงได้ ๒๔); ดู มหาภูต ด้วย
  38. โพธิ : ต้นโพธิ์, ต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าได้ประทับ ณ ภายใต้ร่มเงาในคราวตรัสรู้, ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้และต้นไม้อื่นที่เป็นชนิดเดียวกันนั้น สำหรับพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์ไม้อัสสัตถะ (ต้นโพ) ต้นที่อยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลคยา; ต้นโพธิ์ ตรัสรู้ที่เป็นหน่อของต้นเดิมที่คยา ได้ปลูกเป็นต้นแรกในสมัยพุทธกาล (ปลูกจากเมล็ด) ที่ประตูวัดพระเชตวัน โดยพระอานนท์เป็นผู้ดำเนินการตามความปรารภของอนาถบิณฑิกเศรษฐี และเรียกชื่อว่า อานันทโพธิ; หลังพุทธกาล ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระนาง สังฆมิตตาเถรี ได้นำกิ่งด้านขวาของต้นมหาโพธิ์ที่คยานั้นไปมอบแด่พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ทรงปลูกไว้ ณ เมืองอนุราธปุระ ในลังกาทวีป ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นต้นไม้เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน; ในประเทศไทย สมัยราชวงศ์จักรี พระสมณทูตไทยในสมัย ร.๒ ได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์ที่เมืองอนุราธปุระมา ๖ ต้น ใน พ.ศ. ๒๓๕๗ โปรดให้ปลูกไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช ๒ ต้น นอกนั้นปลูกที่วัดมหาธาตุ วัดสุทัศน์ วัดสระเกศและที่เมืองกลันตัน แห่งละ ๑ ต้น; ต่อมา ในสมัย ร.๕ ประเทศไทยได้พันธุ์ต้นมหาโพธิจากคยาโดยตรงครั้งแรก ได้ปลูกไว้ ณ วัดเบญจมบพิตรและวัดอัษฎางคนิมิตร
  39. โพธิพฤกษ์ : ต้นโพธิ์, ต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าได้ประทับ ณ ภายใต้ร่มเงาในคราวตรัสรู้, ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้และต้นไม้อื่นที่เป็นชนิดเดียวกันนั้น สำหรับพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์ไม้อัสสัตถะ (ต้นโพ) ต้นที่อยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลคยา; ต้นโพธิ์ ตรัสรู้ที่เป็นหน่อของต้นเดิมที่คยา ได้ปลูกเป็นต้นแรกในสมัยพุทธกาล (ปลูกจากเมล็ด) ที่ประตูวัดพระเชตวัน โดยพระอานนท์เป็นผู้ดำเนินการตามความปรารภของอนาถบิณฑิกเศรษฐี และเรียกชื่อว่า อานันทโพธิ; หลังพุทธกาล ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระนาง สังฆมิตตาเถรี ได้นำกิ่งด้านขวาของต้นมหาโพธิ์ที่คยานั้นไปมอบแด่พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ทรงปลูกไว้ ณ เมืองอนุราธปุระ ในลังกาทวีป ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นต้นไม้เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน; ในประเทศไทย สมัยราชวงศ์จักรี พระสมณทูตไทยในสมัย ร.๒ ได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์ที่เมืองอนุราธปุระมา ๖ ต้น ใน พ.ศ. ๒๓๕๗ โปรดให้ปลูกไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช ๒ ต้น นอกนั้นปลูกที่วัดมหาธาตุ วัดสุทัศน์ วัดสระเกศและที่เมืองกลันตัน แห่งละ ๑ ต้น; ต่อมา ในสมัย ร.๕ ประเทศไทยได้พันธุ์ต้นมหาโพธิจากคยาโดยตรงครั้งแรก ได้ปลูกไว้ ณ วัดเบญจมบพิตรและวัดอัษฎางคนิมิตร
  40. ธรรมสามิสร : ดู ธรรมสวามิศร
  41. พาหิรทุกข์ : ทุกข์ภายนอก
  42. พาหิรลัทธิ : ลัทธิภายนอกพระพุทธศาสนา
  43. ภัตร : อาหาร, ของกิน, ของฉัน, อาหารที่รับประทาน (หรือฉัน) เป็นมื้อๆ
  44. สักการะ : เคารพนับถือบูชา, เครื่องแสดงความเคารพบูชา
  45. สิงคิวรรณ : ผ้าเนื้อเกลี้ยงสีดังทองสิงคี บุตรของมัลลกษัตริย์ชื่อปุกกุสะ ถวายแด่พระพุทธเจ้าในวันที่จะปรินิพพาน
  46. สุงสุมารคีระ : ชื่อนครหลวงแห่งแคว้นภัคคะ ที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาที่ ๘; สุงสุมารคีรี ก็เรียก
  47. อมระ : ผู้ไม่ตาย เป็นคำเรียกเทวดาผู้ได้ดื่มน้ำอมฤต
  48. อาจาระ : ความประพฤติดี, มรรยาทดีงาม, จรรยา
  49. กรมการ : เจ้าพนักงานคณะหนึ่งมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในระดับหนึ่งๆ เช่น กรมการจังหวัด กรมการอำเภอ เป็นต้น
  50. กรรม : การกระทำ หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา คือทำด้วยความจงใจหรือจงใจทำ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เช่น ขุดหลุมพรางดักคนหรือสัตว์ให้ตกลงไปตาย เป็นกรรม แต่ขุดบ่อน้ำไว้กินใช้ สัตว์ตกลงไปตายเอง ไม่เป็นกรรม (แต่ถ้ารู้อยู่ว่าบ่อน้ำที่ตนขุดไว้อยู่ในที่ซึ่งคนจะพลัดตกได้ง่าย แล้วปล่อยปละละเลย มีคนตกลงไปตาย ก็ไม่พ้นเป็นกรรม) การกระทำที่ดีเรียกว่า กรรมดี ที่ชั่ว เรียกว่า กรรมชั่ว - 1.Karma; Kamma; a volitional action; action; deed; good and bad volition. 2.work; job; activity; transaction.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-127

(0.0280 sec)