Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ริก , then รก, ริก, ริกา, รีก .

Budhism Thai-Thai Dict : ริก, 21 found, display 1-21
  1. สัทธิงวิหาริก : ศิษย์, ผู้อยู่ด้วย เป็นคำเรียกผู้ที่ได้รับอุปสมบท ถ้าอุปสมบทต่อพระอุปัชฌายะองค์ใดก็เป็นสัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌายะองค์นั้น
  2. สัทธิวิหาริก : ศิษย์, ผู้อยู่ด้วย เป็นคำเรียกผู้ที่ได้รับอุปสมบท ถ้าอุปสมบทต่อพระอุปัชฌายะองค์ใดก็เป็นสัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌายะองค์นั้น
  3. สัทธิวิหาริกวัตร : ข้อควรปฏิบัติต่อสัทธิวิหาริก, หน้าที่อันอุปัชฌาย์จะพึงกระทำแก่สัทธิวิหาริก คือ ๑.เอาธุระในการศึกษา ๒.สงเคราะห์ด้วยบาตรจีวร และบริขารอื่น ๆ ๓.ขวนขวายป้องกัน หรือ ระงับความเสื่อมเสีย เช่นระงับความคิดจะสึก เปลื้องความเห็นผิด ฯลฯ ๔.พยาบาลเมื่ออาพาธ เทียบ อุปัชฌายวัตร
  4. ปรทาริกกรรม : การประพฤติล่วงเมียคนอื่น, การเป็นชู้เมียเขา
  5. อัพโพหาริก : กล่าวไม่ได้ว่ามี, มีแต่ไม่ปรากฏ จึงไม่ได้โวหารว่ามี, มีเหมือนไม่มี เช่น สุราที่เขาใส่ในอาหารบางอย่างเพื่อฆ่าคาวหรือชูรส และเจตนาที่มีในเวลาหลับ เป็นต้น
  6. นาลันทา : ชื่อเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ห่างจากพระนครราชคฤห์ประมาณ ๑ โยชน์ ณ เมืองนี้ มีสวนมะม่วง ชื่อ ปาวาริกัมพวัน (สวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐี) ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับแรมหลายครั้ง คัมภีร์ฝ่ายมหายานกล่าวว่า พระสารีบุตร อัครสาวก เกิดที่เมืองนาลันทา แต่คัมภีร์ฝ่ายบาลีเรียกถิ่นเกิดของพระสารีบุตรว่า หมู่บ้านนาลกะหรือนาลันทคาม
  7. วัตร : กิจพึงกระทำ, หน้าที่, ธรรมเนียม, ความประพฤติ, ข้อปฏิบัติ จำแนกออกเป็น กิจวัตร วาด้วยกิจที่ควรทำ (เช่น อุปัชฌายวัตร สัทธิวิหาริกวัตร อาคันตุกวัตร) ๑.จริยาวัตร ว่าด้วยมารยาทอันควรประพฤติ (เช่น ไม่ทิ้งขยะทางหน้าต่างหรือทิ้งลงนอกฝานอกกำแพง ไม่จับวัตถุอนามาส) ๑.วิธีวัตร ว่าด้วยแบบอย่างที่พึงกระทำ (เช่น วิธีเก็บบาตร วิธีพับจีวร วิธีเปิดปิดหน้าต่างตามฤดู วิธีเดินเป็นหมู่), วัตรส่วนมากมาในวัตตขันธกะ
  8. สหชีวินี : คำเรียกแทนคำว่า สัทธิวิหารินีของภิกษุณี ทั้ง ๒ คำนี้แปลว่าผู้อยู่ร่วมตรงกับสัทธิวิหาริกในฝ่ายภิกษุ; ศิษย์ของ ปวัตตินี
  9. สัทธิวิหารินี : สัทธิวิหาริกผู้หญิง คือสัทธิวิหาริกในฝ่ายภิกษุณี แต่ตามปกติไม่เรียกอย่างนี้ เพราะมีคำเฉพาะเรียกว่า สหชีวินี
  10. อนาคาริยวินัย : วินัยของอนาคาริก ดู วินัย
  11. อาจริยวัตร : กิจที่อันเตวาสิกควรประพฤติ ปฏิบัติต่ออาจารย์ (เช่นเดียวกับ อุปัชฌายวัตร ที่สัทธิวิหาริกพึงปฏิบัติต่ออุปัชฌาย์)
  12. อุปเสน วังคันตบุตร : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์ชื่อ วังคันตะ มารดาชื่อนางสารี เป็นน้องชายของพระสารีบุตร เกิดที่หมู่บ้านนาลกะ เติบโตขึ้น เรียนไตรเพทจบแล้ว ต่อมาได้ฟังธรรม มีความเลื่อมใส จึงบวชในพระพุทธศาสนา หลังจากบวชได้ ๒ พรรษา จึงได้สำเร็จพระอรหัต ท่านออกบวชจากตระกูลใหญ่ มีคนรู้จักมากทั้งเป็นนักเทศก์ที่สามารถ จึงมีกุลบุตรเลื่อมใสมาขอบวชด้วยเป็นจำนวนมาก ตัวท่านเองเป็นผู้ถือธุดงค์ และสอนให้สัทธิวิหาริกถือธุดงค์ด้วย ปรากฏว่าทั้งตัวท่านและบริษัทของท่านเป็นที่เลื่อมใสของคนทั่วไปหมด จึงได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางทำให้เกิดความเลื่อมในทั่วทุกด้าน (คือไม่เฉพาะตนเองน่าเลื่อมใส แม้คณะศิษย์ก็น่าเลื่อมใสไปหมด)
  13. อุปัชฌายวัตร : ธรรมเนียมหรือข้อปฏิบัติที่สัทธิวิหาริกพึงกระทำต่ออุปัชฌาย์ของตน, หน้าที่ต่ออุปัชฌาย์ โดยย่อคือ เอาใจใส่ปรนนิบัติรับใช้ คอยศึกษาเล่าเรียนจากท่าน ขวนขวายป้องกันหรือระงับความเสื่อมเสีย เช่น ความคิดจะสึก ความเห็นผิด เป็นต้น รักษาน้ำใจของท่าน มีความเคารพ จะไปไหนบอกลา ไม่เที่ยวตามอำเภอใจ และเอาใจใส่พยาบาลเมื่อท่านอาพาธ เทียบ สัทธิวิหาริกวัตร
  14. ติณวัตถารกวิธี : วิธีแห่ง ติณวัตถารกวินัย
  15. ติณวัตถารกวินัย : ระเบียบดังกลบไว้ด้วยหญ้า ได้แก่กิริยาที่ให้ประนีประนอมกันทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่ต้องชำระสะสางหาความเดิม เป็นวิธีระงับอาปัตตาธิกรณ์ ที่ใช้ในเมื่อจะระงับลหุกาบัติที่เกี่ยวกับภิกษุจำนวนมาก ต่างก็ประพฤติไม่สมควรและซัดทอดกันเป็นเรื่องนุงนังซับซ้อน ชวนให้ทะเลาะวิวาท กล่าวซัดลำเลิกกันไปไม่มีที่สุด จะระงับวิธีอื่นก็จะเป็นเรื่องลุกลามไป เพราะถ้าจะสืบสวนสอบสวนปรับให้กันและกันแสดงอาบัติ ก็มีแต่จะทำให้อธิกรณ์รุนแรงยิ่งขึ้น จึงระงับเสียด้วยติณวัตถารกวิธี คือแบบกลบไว้ด้วยหญ้า ตัดตอนยกเลิกเสีย ไม่สะสางความหลังกันอีก
  16. อภิสมาจาริกาสิกขา : หลักการศึกษาอบรมในฝ่ายขนบธรรมเนียมที่จะชักนำความประพฤติ ความเป็นอยู่ของพระสงฆ์ให้ดีงามมีคุณยิ่งขึ้นไป, สิกขาฝ่ายอภิสมาจาร เทียบ อาทิพรหมจริยกาสิกขา
  17. กัมมลักขณะ : การอันมีลักษณะเป็น (สังฆ) กรรมนั้นได้, กิจการที่มีลักษณะอันจัดเข้าเป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่ง ในสังฆกรรมประเภทนั้นได้ แต่ท่านไม่ได้ออกชื่อไว้ และไม่อาจจัดเข้าในชื่ออื่นๆ แห่งสังฆกรรมประเภทเดียวกัน เช่น การอปโลกน์แจกอาหารในโรงฉัน เป็นกัมมลักขณะ ในอปโลกนกรรม การประกาศเริ่มต้นระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกวินัย เป็นกัมมลักขณะในญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรมที่สวดในลำดับไปในการระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกวินัย เป็นกัมมลักขณะในญัตติทุติยกรรม อุปสมบทและอัพภานเป็นกัมมลักขณะในญัตติจตุตถกรรม
  18. คณญัตติกรรม : การประกาศให้สงฆ์ทราบแทนคณะคือพวกฝ่ายตน ได้แก่ การที่ภิกษุรูปหนึ่งในนามแห่งภิกษุฝ่ายหนึ่ง สวดประกาศขออนุมัติเป็นผู้แสดงแทนซึ่งอาบัติของฝ่ายตนและของตนเองด้วยติณวัตถารกวิธี (อีกฝ่ายหนึ่งก็พึงทำเหมือนกันอย่างนั้น) ; เป็นขั้นตอนหนึ่งแห่งการระงับอธิกรณ์ ด้วยติณวัตถารกวินัย
  19. วินิบาต : โลกหรือวิสัยเป็นที่ตกไปแห่งสัตว์อย่างไร้อำนาจ, แดนเป็นที่ตกลงไปพินาศย่อยยับ; อรรถกถาแห่งอิติวุตตกะอธิบายนัยหนึ่งว่าเป็นไวพจน์ของคำว่านรกนั่นเอง อีกนัยหนึ่งว่า หมายถึงกำเนิดอสุรกาย
  20. อธิกรณสมถะ : ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์, วิธีดำเนินการเพื่อระงับอธิกรณ์มี ๗ อย่าง คือ ๑) สัมมุขาวินัย วิธีระงับในที่พร้อมหน้า ๒) สติวินัย วิธีระงับโดยถือสติเป็นหลัก ๓) อมูฬหวินัย วิธีระงับสำหรับผู้หายจากเป็นบ้า ๔) ปฏิญญาตกรณะ การทำตามที่รับ ๕) ตัสสปาปิยสิกา การตัดสินลงโทษแก่ผู้ผิด (ที่ไม่รับ) ๖) เยภุยยสิกา การตัดสินตามคำของคนข้างมาก ๗) ติณวัตถารกวินัย วิธีดุจกลบไว้ด้วยหญ้า (ประนีประนอม)
  21. อาทิพรหมจริยกาสิกขา : หลักการศึกษาอบรมในฝ่ายบทบัญญัติหรือข้อปฏิบัติที่เป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์ สำหรับป้องกันความประพฤติเสียหาย, ข้อศึกษาที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ หมายถึง สิกขาบท ๒๒๗ ที่มาในพระปาฏิโมกข์ เทียบ อภิสมาจาริกาสิกขา
  22. [1-21]

(0.0179 sec)