Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ลัทธิจักรพรรดินิยม, จักรพรรดิ, ลัทธิ, นิยม .

Budhism Thai-Thai Dict : ลัทธิจักรพรรดินิยม, 95 found, display 1-50
  1. จักรพรรดิ : พระราชาธิราช หมายถึงพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ มีราชอาณาเขตปกครองขว้างขวางมาก บ้านเมืองในปกครองมีความร่มเย็นเป็นสุข ปราบข้าศึกศตรูด้วยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญาและศัสตรา มีรัตนะ ๗ ประการประจำพระองค์ คือ ช้างแก้ว ม้าแก้ว นางแก้ว ขุนคลังแก้ว ขุนพลแก้ว จักรแก้ว แก้วมณี
  2. นิยม : กำหนด, ชอบ, นับถือ
  3. ลัทธิ : ความเชื่อถือ, ความรู้และประเพณี ที่ได้รับและปฏิบัติสืบต่อกันมา
  4. จักรพรรดิราชสมบัติ : สมบัติ คือความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ, ความพรั่งพร้อมสมบูรณ์แห่งพระเจ้าจักรพรรดิ
  5. ลัทธิสมัย : สมัยคือลัทธิ หมายถึงลัทธินั่นเอง
  6. สัญชัย : ชื่อปริพาชกผู้เป็นอาจารย์ใหญ่คนหนึ่ง ในพุทธกาล ตั้งสำนักสอนลัทธิอยู่ในกรุงราชคฤห์ มีศิษย์มาก พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเคยบวชอยู่ในสำนักนี้ ภายหลัง เมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะพร้อมด้วยศิษย์ ๒๕๐ คนพากันไปสู่สำนักพระพุทธเจ้า สัญชัยเสียใจเป็นลมและอาเจียนเป็นโลหิต; นิยมเรียกว่า สญชัยปริพาชก เป็นคนเดียวกับ สัญชัยเวลัฏฐบุตร คนหนึ่งใน ติตถกร หรือครูทั้ง ๖
  7. พาหิรลัทธิ : ลัทธิภายนอกพระพุทธศาสนา
  8. สมัย : คราว, เวลา; ลัทธิ; การประชุม; การตรัสรู้
  9. พราหมณสมัย : ลัทธิพราหมณ์
  10. กฐินทาน : การทอดกฐิน, การถวายผ้ากฐิน คือการที่คฤหัสถ์ผู้ศรัทธาหรือแม้ภิกษุสามเณร นำผ้าไปถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว ณ วัดใดวัดหนึ่ง เพื่อทำเป็นผ้ากฐิน เรียกสามัญว่า ทอดกฐิน (นอกจากผ้ากฐินแล้วปัจจุบันนิยมมีของถวายอื่นๆ อีกด้วยจำนวนมาก เรียกว่า บริวารกฐิน)
  11. กัมมัฏฐาน : ที่ตั้งแห่งการงาน, อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ, อุบายทางใจ, วิธีฝึกอบรมจิต มี ๒ ประเภท คือ สมถกัมมัฏฐาน อุบายสงบใจ ๑ วิปัสสนากัมมัฏฐาน อุบายเรืองปัญญา ๑ (นิยมเขียน กรรมฐาน) ดู ภาวนา -subjects of meditation, meditation exercises, the act of meditation or contemplation, ground for mental culture.
  12. กัสสปะ : 1.พระนามพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอดีต ดู พระพุทธเจ้า๕2.ชื่อของพระมหากัสสปเถระเมื่อเรียกตามโคตร ท่านมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ปิปผลิ หรือ ปิปผลิมาณพ 3.หมายถึงกัสสป ๓ พี่น้อง คยากัสสปะ เป็นนักบวชประเภทชฎิล ถือลัทธิบูชาไฟ เป็นที่เคารพนับถือของชาวราชคฤห์ ภายหลังได้เป็นพระอรหันต์พร้อมกันทั้ง ๓ พี่น้องและบริวารหนึ่งพัน ด้วยได้ฟังเทศนาอาทิตตปริยายสูตร จากพระพุทธเจ้า
  13. กาพย์ : คำร้อยกรองที่แต่งทำนองฉันท์ แต่ไม่นิยมครุลหุเหมือนฉันท์ทั้งหลาย
  14. กุสาวดี : ชื่อเก่าของเมืองกุสินารา นครหลวงของแคว้นมัลละ เมื่อครั้งเป็นราชธานีของพระเจ้ามหาสุทัศน์ จักรพรรดิครั้งโบราณ
  15. ขนบธรรมเนียม : แบบอย่างที่นิยมกัน
  16. ขันธปัญจก : หมวด ๕ แห่งขันธ์ อันไดแก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (นิยมเรียก ขันธปัญจก) ดู ขันธ์
  17. โฆสัปปมาณิกา : คนพวกที่ถือเสียงเป็นประมาณ, คนที่นิยมเสียง เกิดความเลื่อมใสศรัทธาเพราะเสียง ชอบฟังเสียงไพเราะ เช่น เสียงสวดสรภัญญะ เทศน์มหาชาติเป็นทำนอง เสียงประโคม เป็นต้น; อีกนัยหนึ่งว่า ผู้ถือชื่อเสียงกิตติศัพท์ หรือความโด่งดังเป็นประมาณ เห็นใครมีชื่อเสียงก็ตื่นไปตาม
  18. จักกวัตติสูตร : ชื่อสูตรที่ ๓ แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระสุตตันตปิฎก พระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุทั้งหลายให้พึ่งตน คือพึ่งธรรม ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งจะทำให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ดำเนินอยู่ในแดนของตนเองที่สืบมาแต่บิดา จะมีแต่ความดีงามเจริญขึ้นไม่เปิดช่องให้แก่มาร เช่นเดียวกับพระเจ้าจักรพรรดิที่ทรงประพฤติตามหลักจักรวรรดิวัตร อันสืบกันมาแต่บรรพชนของพระองค์ ย่อมทำให้จักรรัตนะบังเกิดขึ้นมาเอง, จักรวรรดิวัตร นั้นมี ๔ ข้อใหญ่ ใจความว่า ๑.พระเจ้าจักรพรรดิเป็นธรรมาธิปไตย และจัดการคุ้มครองป้องกันโดยชอบธรรม แก่ชนทุกหมู่เหล่าในแผ่นดิน ตลอดไปถึงสัตว์ที่ควรสงวนพันธุ์ทั้งหลาย ๒.มิให้มีการอันอธรรมเกิดขึ้นในแผ่นดิน ๓.ปันทรัพย์เฉลี่ยให้แก่ผู้ไร้ทรัพย์ ๔.ปรึกษาสอบถามการดีชั่ว ข้อควรและไม่ควรประพฤติ กะสมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ อยู่เสมอ; จักรวรรดิวัตร ๔ ข้อนี้ บางทีจัดเป็น ๕ โดยแยกข้อ ๑.เป็น ๒ ข้อ คือ เป็นธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่อย่างหนึ่ง กับจัดการคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรม อย่างหนึ่ง, นอกจากนั้น สมัยต่อมา อรรถกถาจัดแบ่งซอยออกไป และเพิ่มเข้ามาอีก รวมเป็น ๑๒ ข้อ เรียกว่า จักรวรรดิวัตร ๑๒ ; พระสูตรนี้ถือว่าเป็นคำสอนแสดงหลักวิวัฒนาการของสังคมตามแนวจริยธรรม กล่าวถึงหลักการปกครอง และหลักความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจกับจริยธรรม; เรื่องพระศรีอารยเมตไตรย ก็มีต้นเค้ามาจากพระสูตรนี้
  19. จักรรัตนะ : จักรแก้ว หมายถึงตัวอำนาจแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ
  20. จีวร : ผ้าที่ใช้นุ่งห่มของพระในพระพุทธศาสนาผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ในจำนวน ๓ ผืนที่เรียกว่า ไตรจีวร คือผ้าทาบ (สังฆาฏิ) ผ้าห่ม (อุตราสงค์) และผ้านุ่ง (อันตรวาสก); แต่ในภาษาไทย นิยมเรียกเฉพาะผ้าห่มคืออุตราสงค์ ว่า จีวร ดู ไตรจีวร ด้วย
  21. เจตภูต : สภาพเป็นผู้คิดอ่าน, ตามที่เข้าใจกัน หมายถึงดวงวิญญาณหรือดวงชีพอันเที่ยงแท้ที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าวกันว่าออกจากร่างได้ในเวลานอนหลับ และเป็นตัวไปเกิดใหม่เมื่อกายนี้แตกทำลาย เป็นคำที่ไทยเราใช้เรียกแทนคำว่า อาตมัน หรืออัตตาของลัทธิพราหมณ์และเป็นความเชื่อนอกพระพุทธศาสนา
  22. ชฎิล : นักบวชประเภทหนึ่ง เกล้าผมมุ่นเป็นมวยสูงขึ้น มักถือลัทธิบูชาไฟ บางครั้งจัดเข้าในพวกฤษี
  23. ชนเมชยะ : พระเจ้าแผ่นดินในครั้งโบราณ เคยทำพิธีอัศวเมธ เพื่อประกาศความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
  24. ชีโว : ผู้เป็น, ดวงชีพ ตรงกับ อาตมัน หรือ “อัตตา” ของลัทธิพราหมณ์
  25. ติตถกร : เจ้าลัทธิ หมายถึงคณาจารย์ ๖ คน คือ ๑.ปูรณกัสสป ๒.มักขลิโคสาล ๓.อชิตเกสกัมพล ๔.ปกุทธกัจจายนะ ๕.สัญชัยเวลัฏฐบุตร ๖.นิครนถนาฏบุตร มักเรียกว่า ครูทั้ง ๖
  26. ติตถิยปริวาส : วิธีอยู่กรรมสำหรับเดียรถีย์ที่ขอบวชในพระพุทธศาสนา กล่าวคือ นักบวชในลัทธิศาสนาอื่น หากปรารถนาจะบวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา จะต้องประพฤติปริวาสก่อน ๔ เดือน หรือจนกว่าพระสงฆ์พอใจ จึงจะอุปสมบทได้
  27. ถูปารหบุคคล : บุคคลผู้ควรแก่สถูป คือ บุคคลที่ควรนำกระดูกบรรจุสถูปไว้บูชา มี ๔ คือ ๑.พระพุทธเจ้า ๒.พระปัจเจกพุทธเจ้า ๓.พระอรหันตสาวก ๔.พระเจ้าจักรพรรดิ
  28. เถรวาท : วาทะหรือลัทธิของพระเถระ, นิกายพระพุทธศาสนาฝ่ายใต้ ซึ่งถือตามคติที่พระอรหันต์พุทธสาวกได้วางหลักธรรมวินัยเป็นแบบแผนไว้ เมื่อครั้งปฐมสังคายนา ได้แก่ พระพุทธศาสนาอย่างที่นับถือแพร่หลายในประเทศไทย พม่า ลังกา ลาว และ กัมพูชา (อีกนิกายหนึ่ง คือ มหายาน)
  29. ทสพลญาณ : พระญาณเป็นกำลังของพระพุทธเจ้า ๑๐ ประการ เรียกตามบาลีว่า ตถาคตพลญาณ (ญาณเป็นกำลังของพระตถาคต) ๑๐ คือ ๑.ฐานาฐานญาณ ๒.กรรมวิปากญาณ ๓.สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ ๔.นานาธาตุญาณ ๕.นานาธิมุตติกญาณ ๖.อินทริยปโรปริยัตตญาณ ๗.ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ๙.จุตูปปาตญาณ ๑๐.อาสวักขยญาณ; นิยมเขียน ทศพลญาณ; ดู ญาณ ชื่อนั้นๆ
  30. ทักษิณนิกาย : นิกายพุทธศาสนาฝ่ายใต้ที่พวกอุตตรนิกายตั้งชื่อให้ว่าหีนยาน ใช้บาลีมคธ บัดนี้ นิยมเรียกว่า เถรวาท
  31. ทิฏฐุปาทาน : ความถือมั่นในทิฏฐิ, ความยึดติดฝังใจในลัทธิ ทฤษฎี และหลักความเชื่อต่างๆ (ข้อ ๒ ในอุปาทาน ๔)
  32. เทพเจ้า : พระเจ้าบนสวรรค์ ลัทธิพราหมณ์ถือว่าเป็นผู้บันดาลสุขทุกข์ให้แก่มนุษย์
  33. เทวรูป : รูปเทวดาที่นับถือ ตามลัทธิที่นับถือเทวดา
  34. เทวรูปนาคปรก : เทวรูปลักษณะคล้ายพระพุทธรูปนาคปรก แต่ภายในนาคปรกนั้นเป็นเทวรูป ไม่ใช่พระพุทธรูป ที่เทวสถานเมืองลพบุรีมีมาก เป็นของลัทธิพราหมณ์
  35. เทโวโรหณะ : “การลงจากเทวโลก” หมายถึงการที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ตำนานเล่าว่าในพรรษาที่ ๗ แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับจำพรรษาในดาวดึงสเทวโลก ทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดาพร้อมทั้งหมู่เทพ ณ ที่นั้น เมื่อถึงเวลาออกพรรษาในวันมหาปวารณา (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑) ได้เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ กลับคืนสู่โลกมนุษย์ ณ ประตูเมืองสังกัสสะ โดยมีเทวดาและมหาพรหมทั้งหลายแวดล้อม ลงมาส่งเสด็จ ฝูงชนจำนวนมากมายก็ได้ไปคอยรับเสด็จ กระทำมหาบูชาเป็นการเอิกเกริกมโหฬารและพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม มีผู้บรรลุคุณวิเศษจำนวนมาก ชาวพุทธในภายหลังได้ปรารภเหตุการณ์พิเศษครั้งนี้ ถือเป็นกาลกำหนดสำหรับบำเพ็ญการกุศล ทำบุญตักบาตรคราวใหญ่แด่พระสงฆ์ เป็นประเพณีนิยมสืบมา ดังปรากฏในประเทศไทย เรียกกันว่า ตักบาตรเทโวโรหณะ หรือนิยมเรียกสั้นๆ ว่า ตักบาตรเทโว บางวัดก็จัดพิธีในวันออกพรรษา คือวันมหาปวารณา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ บางวัดจัดถัดจากนั้น ๑ วัน คือในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑
  36. ธงแห่งคฤหัสถ์ : เครื่องนุ่งห่มของคฤหัสถ์, การนั่งห่มอย่างนิยมกันของชาวบ้าน
  37. ธรรมเนียม : ประเพณี, แบบอย่างที่เคยทำกันมา, แบบอย่างที่นิยมใช้กัน
  38. ธรรมราชา : พระราชาแห่งธรรม, พระราชาโดยธรรม หมายถึงพระพุทธเจ้าและบางแห่งหมายถึง พระเจ้าจักรพรรดิ
  39. ธัมมาธิปเตยยะ : ถือธรรมเป็นใหญ่ คือ นึกถึงความจริง ความถูกต้องสมควรก่อนแล้วจึงทำ บัดนี้นิยมเขียน ธัมมาธิปไตย ดู อธิปเตยยะ
  40. นิคคหิต : อักขระที่ว่ากดเสียง, อักขระที่ว่าหุบปากกดกรณ์ไว้ไม่ปล่อย มีรูปเป็นพินทุ เช่น สงฺฆํ อุปสมฺปทํ; บัดนี้นิยมเขียน นิคหิต
  41. นิครนถนาฏบุตร : คณาจารย์เจ้าลัทธิคนหนึ่งในจำนวนครูทั้ง ๖ มีคนนับถือมาก มีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น วรรธมานบ้าง พระมหาวีระบ้าง เป็นต้น ศาสนาเชน ซึ่งยังมีอยู่ในประเทศอินเดีย
  42. บริขาร : เครื่องใช้สอยของนักพรต, เครื่องใช้สอยของพระในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอกกรองน้ำ นิยมเรียกรวมว่า อัฐบริขาร (บริขาร ๘)
  43. บอกศักราช : เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ไทยแต่โบราณ มีการบอกกาลเวลา เรียกว่าบอกศักราช ตอนท้ายสวดมนต์ และก่อนจะแสดงพระธรรมเทศนา (หลังจากให้ศีลจบแล้ว) ว่าทั้งภาษาบาลีและคำแปลภาษาไทย การบอกอย่างเก่า บอกปี ฤดู เดือน วัน ทั้งที่เป็นปัจจุบัน อดีต และอนาคต คือบอกว่าล่วงไปแล้วเท่าใด และยังจะมีมาอีกเท่าใด จึงจะครบจำนวนอายุพระพุทธศาสนา๕พันปี แต่ประมาณ พ.ศ.๒๔๘๔ ที่รัฐบาลประกาศใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เป็นต้นมา ได้มีวิธีบอกศักราชอย่างใหม่ขึ้นใช้แทน บอกเฉพาะปี พ.ศ.เดือน วันที่ และวันในปัจจุบัน ทั้งบาลีและคำแปล บัดนี้ไม่นิยมกันแล้ว คงเป็นเพราะมีปฏิทินและเครื่องบอกเวลาอย่างอื่น ใช้กันดื่นทั่วไป
  44. ปรมัตถมัญชุสา : ชื่อคัมภีร์ฎีกาที่พระธรรมบาลรจนาขึ้น เพื่ออธิบายความในคัมภีร์วิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆษาจารย์; นิยมเรียกว่า มหาฎีกา
  45. ประมาณ : การวัด, การกะ, เครื่องวัด, เกณฑ์, การถือเกณฑ์; บุคคลในโลกแบ่งตามประมาณคือหลักเกณฑ์ในใจที่ใช้วัดในการที่จะเกิดความเชื่อถือหรือความนิยมเลื่อมใส ท่านแสดงไว้ ๔ จำพวก คือ ๑.รูปประมาณ หรือ รูปัปปมาณิกา ผู้ถือรูปร่าง เป็นประมาณ ๒.โฆษประมาณ หรือ โฆสัปปมาณิกา ผู้ถือเสียงหรือชื่อเสียงเป็นประมาณ ๔.ธรรมประมาร หรือ ธัมมัปปมาณิกา ผู้ถือธรรมคือเอาเนื้อหาสาระเหตุผลหลักการและความถูกต้องเป็นประมาณ
  46. ปรัปวาท : (ปะรับปะวาด) คำกล่าวของคนพวกอื่นหรือลัทธิอื่น, คำกล่าวโทษคัดค้านโต้แย้งของคนพวกอื่น, หลักการของฝ่ายอื่น, ลัทธิภายนอก
  47. ปัญจกัชฌาน : ฌานหมวด ๕ หมายถึงรูปฌานที่ตามปกติอย่างในพระสูตรแบ่งเป็น ๔ ขั้น แต่ในพระอภิธรรมนิยมแบ่งซอยละเอียดออกไปเป็น ๕ ชั้น (ท่านว่าที่แบ่ง ๕ นี้ เป็นการแบ่งในกรณีที่ผู้เจริญฌานมีญาณไม่แก่กล้า จึงละวิตกและวิจารได้ทีละองค์) ดู ฌาน
  48. ปัญจมฌาน : ฌานที่ ๕ ตามแบบที่นิยมในอภิธรรม ตรงกับฌานที่ ๔ แบบทั่วไป หรือแบบพระสูตร มีองค์ ๒ คือ อุเบกขาและเอกัคคตา ดู ฌาน
  49. ปานะ : เครื่องดื่ม, น้ำสำหรับดื่ม ที่คั้นจากลูกไม้ (น้ำคั้นผลไม้) จัดเป็นยามกาลิก ท่านแสดงไว้ ๘ ชนิด คือ ๑.อมฺพปานํ น้ำมะม่วง ๒.ชมฺพุปานํ น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า ๓.โจจปานํ น้ำกล้วยมีเม็ด ๔.โมจปานํ น้ำกล้วยไม่มีเม็ด ๕.มธุกปานํ น้ำมะม่วง (ต้องเจือน้ำจึงจะควร) ๖.มุทฺทิกปานํ น้ำลูกจันทร์หรือองุ่น ๗.สาลุกปานํ น้ำเหง้าอุบล ๘.ผารุสกปานํ น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่ นิยมเรียกว่า อัฏฐบาล หรือ น้ำอัฏฐบาน (ปานะ ๘ อย่าง)
  50. ปิยวาจา : วาจาเป็นที่รัก, พูดจาน่ารัก น่านิยมนับถือ, วาจาน่ารัก, วาจาที่กล่าวด้วยจิตเมตตา, คำที่พูดด้วยความรักความปรารถนาดี เช่น คำพูดสุภาพอ่อนโยน คำแนะนำตักเตือนด้วยความหวังดี ดู สังคหวัตถุ
  51. [1-50] | 51-95

(0.0269 sec)