สกุล : วงศ์, เชื้อสาย, เผ่าพันธุ์
อุภโตสุชาต : เกิดมีแล้วทั้ง ๒ ฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายมารดาทั้งฝ่ายบิดา หมายความว่า มีสกุลสูง เป็นเชื้อสายวรรณะนั้นต่อเนื่องกันมาโดยตลอด ทั้งฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดา, เป็นคุณสมบัติที่พวกพราหมณ์และกษัตริย์บางวงศ์ถือเป็นสำคัญมาก
โอกกากราช : กษัตริย์ผู้เป็นต้นสกุลของศากยวงศ์
สโภชนสกุล : สกุลที่กำลังบริโภคอาหารอยู่, ครอบครัวที่กำลังบริโภคอาหารอยู่ (ห้ามไม่ให้ภิกษุไปนั่งแทรกแซง ตามสิกขาบทที่ ๓ แห่งอเจลกวรรค ปาจิตติยกัณฑ์)
กุล : ตระกูล, วงศ์, เชื้อสาย, เผ่าพันธุ์
โคตร : ตระกูล, เผ่าพันธุ์, วงศ์
ยสกุลบุตร : พระยสะเมื่อก่อนอุปสมบท เรียกว่า ยสกุลบุตร
ประทุษร้ายสกุล : ดู กุลทุสก
มรัมมวงศ์ : ชื่อนิกายพระสงฆ์ลังกาที่บวชจากพระสงฆ์พม่า
รามัญวงศ์ : ชื่อนิกายพระสงฆ์ลังกา ที่บวชจากพระสงฆ์มอญ
ศากยวงศ์ : เชื้อสายพวกศากยะ
ศากยสกุล : ตระกูลศากยะ, เหล่าก่อพวกศากยะ
สยามวงศ์ : ชื่อนิกายพระสงฆ์ลังกาที่บวชจากพระสงฆ์สยาม (คือพระสงฆ์ไทย) ในสมัยอยุธยา ซึ่งพระอุบาลีเป็นหัวหน้าไปประดิษฐาน ใน พ.ศ.๒๒๙๖
อริยวงศ์ : ปฏิปทาที่พระอริยบุคคลผู้เป็นสมณะ ปฏิบัติสืบกันมาไม่ขาดสาย, อริยประเพณี มี ๔ คือ ๑) สันโดษด้วยจีวร ๒) สันโดษด้วยบิณฑบาต ๓) สันโดษด้วยเสนาสนะ ๔) ยินดีในการบำเพ็ญกุศล ละอกุศล
อุปาลิวงศ์ : ชื่อนิกายพระสงฆ์ลังกาที่บวชจากพระสงฆ์สยาม (พระอุบาลีเป็นหัวหน้า นำคณะสงฆ์ไทยไปอุปสมบทกุลบุตรในประเทศลังกา เมื่อพ) ศ) ๒๒๙๖ ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ สมัยอยุธยาตอนปลาย)
วงศกุล : วงศ์และตระกูล
มหาวงส์ : ชื่อหนังสือพงศาวดารลังกา เรื่องใหญ่ แต่งขึ้นในสมัยอรรถกถาพรรณนาความเป็นมาของพระพุทธศาสนาและชาติลังกา ตั้งแต่เริ่มตั้งวงศ์กษัตริย์สิงหล ในตอนพุทธปรินิพพาน จนถึงประมาณ พ.ศ.๙๐๔ ประวัติต่อจากนั้นมีคัมภีร์ชื่อ จูฬวงส์ พรรณนาต่อไป
กาฬิโคธา : มารดาของพระภัททิยะ กษัตริย์ศากยวงศ์
กุลุปกะ : ผู้เข้าถึงสกุล, พระที่คุ้นเคยสนิท ไปมาหาสู่ประจำของตระกูล, พระที่เขาอุปถัมภ์และเป็นที่ปรึกษาประจำของครอบครัว
กุลูปกะ : ผู้เข้าถึงสกุล, พระที่คุ้นเคยสนิท ไปมาหาสู่ประจำของตระกูล, พระที่เขาอุปถัมภ์และเป็นที่ปรึกษาประจำของครอบครัว
โกลิยวงศ์ : ชื่อวงศ์กษัตริย์ข้างฝ่ายพระพุทธมารดา ที่ครองกรุงเทวทหะ; พระสิริมหามายา พุทธมารดา และ พระนางพิมพา ชายาของเจ้าชายสิทธัตถะ เป็นเจ้าหญิงฝ่ายโกลิยวงศ์
ควัมปติ : ชื่อกุลบุตรผู้เป็นสหายของพระยสะ เป็นบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสี ได้ทราบข่าวว่ายสกุลบุตรออกบวช จึงบวชตามพร้อมด้วยสหายอีก ๓ คน คือ วิมล สุพาหุ ปุณณชิ ต่อมาได้สำเร็จพระอรหัตทั้งหมด
ฆนิโตทนะ : กษัตริย์ศากยวงศ์ เป็นพระราชบุตรองค์ที่ ๕ ของพระเจ้าสีหนุ เป็นพระอาองค์ที่ ๔ ของพระเจ้าสุทโธทนะ เป็นพระเจ้าอาของพระพุทธเจ้า
จักรวรรดิวัตร ๑๒ : ๑.อนฺโตชนสฺมึ พลกายสฺมึ คุ้มครองสงเคราะห์แก่ชนในพระราชฐานและพยุหเสนา ๒.ขตฺติเยสุ แก่กษัตริย์เมืองขึ้นหรือผู้ครองนครภายใต้พระบรมเดชานุภาพ ๓.อนุยนฺเตสุ แก่กษัตริย์ที่ตามเสด็จคือ เหล่าเชื้อพระวงศ์ผู้เป็นราชบริพาร ๔.พฺราหฺมณคหปติเกสุ แก่พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ๕.เนคมชานปเทสุ แก่ชาวนิคมและชาวชนบทคือ ราษฎรพื้นเมืองทั้งเหล่าย ๖.สมณพฺราหฺมเณสุ แก่เหล่าสมณพราหมณ์ ๗.มิคปกฺขีสุ แก่เหล่าเนื้อนกอันพึงบำรุงไว้ให้มีสืบพันธุ์ ๘.อธมฺมการปฏิกฺเขโป ห้ามปรามมิให้มีความประพฤติการอันไม่เป็นธรรม ๙.อธนานํ ธนานุปฺปทานํ เจือจานทรัพย์ทำนุบำรุงแก่ผู้ขัดสนไร้ทรัพย์ ๑๐.สมณพฺราหฺมเณ อุปสงฺกมิตฺวา ปญฺหาปุจฺฉนํ ไปสู่หาพราหมณ์ไต่ถามอรรถปฤษณา ๑๑.อธมฺมราคสฺส ปหานํ เว้นความกำหนัดในกามโดยอาการไม่เป็นธรรม ๑๒.วิสมโลภสฺส ปหานํ เว้นโลภกล้า ไม่เลือกควรไม่ควร
ญาติสาโลหิต : พี่น้องร่วมสายโลหิต (ญาติ = พี่น้องที่ยังนับรู้กันได้, สาโลหิต = ผู้ร่วมสายเลือดคือญาติที่สืบสกุลมาโดยตรง)
ทายาท : ผู้สืบสกุล, ผู้ควรรับมรดก
เทือกเถา : ต้นวงศ์ที่นับสายตรงลงมา, ญาติโดยตรงตั้งแต่บิดามารดาขึ้นไปถึงทวด
โธโตทนะ : กษัตริย์ศากยวงศ์ เป็นพระราชบุตรองค์ที่ ๔ ของพระเจ้าสีหหนุ เป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ เป็นพระเจ้าอาของพระพุทธเจ้า
บุรพบุรุษ : คนก่อนๆ, คนรุ่นก่อน, คนเก่าก่อน, คนผู้เป็นต้นวงศ์ตระกูล, บรรพบุรุษ
ปมิตา : เจ้าหญิงองค์หนึ่งในวงศ์ศากยะ เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าสีหหนุ เป็นพระเชฏฐภคินีของพระนางอมิตา เป็นพระเจ้าอาของพระพุทธเจ้า
ปัพพาชนียกรรม : กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันพึงจะไล่เสีย, การขับออกจากหมู่, การไล่ออกจากวัด, กรรมนี้สงฆ์ทำแก่ภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุลและประพฤติเลวทรามเป็นข่าวเซ็งแซ่ หรือแก่ภิกษุผู้เล่นคะนอง ๑ อนาจาร ๑ ลบล้างพระบัญญัติ ๑ มิจฉาชีพ ๑ (ข้อ ๓ ในนิคหกรรม ๖)
ปาปสมาจาร :
ความประพฤติเหลวไหลเลวทราม ชอบสมคบกับคฤหัสถ์ด้วยการอันมิชอบ ที่เรียกว่าประทุษร้ายสกุล ดู กุลทูสก
ปุณณชิ : บุตรเศรษฐีเมืองพาราณสี เป็นสหายของยสกุลบุตร ได้ทราบข่าวยสกุลบุตรออกบวช จึงได้บวชตาม พร้อมด้วยสหายอีก ๓ คน คือวิมละ สุพาหุ และควัมปติ ได้เป็นองค์หนึ่งในอสีติมหาสาวก
ภัททิยะ : ๑. ชื่อภิกษุรูปหนึ่งในคณะปัญจวัคคีย์ เป็นพระอรหันต์รุ่นแรก ๒. กษัตริย์ศากยวงศ์ โอรสของนางกาฬิโคธา สละราชสมบัติที่มาถึงตามวาระแล้วออกบวชพร้อมกับพระอนุรุทธะ สำเร็จอรหัตตผล ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้มาจากตระกูลสูง และจัดเป็นมหาสาวกองค์หนึ่งในจำนวน ๘๐
มหานาม : 1.ชื่อพระเถระองค์หนึ่งในคณะพระปัญจวัคคีย์ เป็นพระอรหันต์รุ่นแรก 2.เจ้าชายในศากยวงศ์ โอรสของพระเจ้าอมิโตทนศากยะ เป็นเชฏฐภาดา (พี่ชาย) ของพระอนุรุทธะ ได้เป็นราชาปกครองแคว้นศากยะในสมัยพุทธกาล (ภายหลังพระเจ้าสุทโธทนะ) และเป็นอุบาสกผู้มีศรัทธาแรงกล้า ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาผู้ถวายของประณีต
มหาภารตะ : ชื่อบทประพันธ์มหากาพย์ เรื่องใหญ่เรื่องหนึ่งของอินเดีย แสดงเรื่องสงคราม ระหว่างกษัตริย์เผ่าปาณฑพกับกษัตริย์เผ่าโกรพ เพื่อแย่งความเป็นใหญ่ ในหัสตินาปุระ นครหลวงของกษัตริย์จันทรวงศ์ เผ่าโกรพ
มหาวิโลกนะ : “การตรวจดูอันยิ่งใหญ่”, ขอตรวจสอบพิจารณาที่สำคัญ หมายถึง สิ่งที่พระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาตรวจดู ก่อนจะตัดสินพระทัยประทานปฏิญาณรับอาราธนาของเทพยดาทั้งหลาย ว่าจะจุติจากดุสิตเทวโลกไปบังเกิดในพระชาติสุดท้ายที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า มี๕อย่าง (นิยมเรียกว่า ปัญจมหาวิโลกนะ) คือ ๑.กาล คืออายุกาลของมนุษย์จะต้องอยู่ระหว่าง ๑๐๐ ถึง ๑ แสนปี (ไม่สั้นกว่าร้อยปี ไม่ยาวเกินแสนปี) ๒.ทีปะ คือทวีป จะอุบัติแต่ในชมพูทวีป ๓.เทสะ คือประเทศ หมายถึงดินแดนจะอุบัติในมัธยมประเทศ และทรงกำหนดเมืองกบิลพัสดุ์เป็นที่พึงบังเกิด ๔.กุละ คือ ตระกูล จะอุบัติเฉพาะในขัตติยสกุลหรือในพราหมณสกุล และทรงกำหนดว่าเวลานั้นโลกสมมติว่าตระกูลกษัตริย์ประเสริฐกว่าตระกูลพราหมณ์ จึงจะอุบัติในตระกูลกษัตริย์ โดยทรงเลือกพระเจ้าสุทโธทนะเป็นพุทธบิดา ๕.ชเนตติอายุปริจเฉท คือมารดา และกำหนดอายุของมารดา มารดาจะต้องมีศีล ๕ บริสุทธิ์ ไม่โลเลในบุรุษ ไม่เป็นนักดื่มสุรา ได้บำเพ็ญบารมีมาตลอดแสนกัลป์ ทรงกำหนดได้พระนางมหามายา และทรงทราบว่าพระนางจะมีพระชนม์อยู่เกิน ๑๐ เดือนไปได้ ๗ วัน (สรุปตามแนวอรรถกถาชาดก)
มัจฉริยะ : ความตระหนี่, ความหวง (ข้อ ๔ ใน มละ ๙), มัจฉริยะ ๕ คือ ๑.อาวาสมัจฉริยะ ตระหนี่ที่อยู่ ๒.กุลมัจฉริยะ ตระหนี่สกุล ๓.ลาภมัจฉริยะ ตระหนี่ลาภ ๔.วัณณมัจฉริยะ ตระหนี่วรรณะ ๕.ธัมมมัจฉริยะ ตระหนี่ธรรม
ยส : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสีมีความเป็นอยู่อย่างสุขสมบูรณ์ วันหนึ่งเห็นสภาพในห้องนอนของตน เป็นเหมือนป่าช้า เกิดความสลดใจคิดเบื่อหน่าย จึงออกจากบ้านไปพบพระพุทธเจ้าที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในเวลาใกล้รุ่ง พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาอนุปุพพีกถา และอริยสัจโปรด ยสกุลบุตรได้ดวงตาเห็นธรรม ต่อมาได้ฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่เศรษฐีบิดาของตน ก็ได้บรรลุอรหัตตผลแล้วขออุปสมบท เป็นภิกษุสาวกองค์ที่ ๖ ของพระพุทธเจ้า
ยสะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสีมีความเป็นอยู่อย่างสุขสมบูรณ์ วันหนึ่งเห็นสภาพในห้องนอนของตน เป็นเหมือนป่าช้า เกิดความสลดใจคิดเบื่อหน่าย จึงออกจากบ้านไปพบพระพุทธเจ้าที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในเวลาใกล้รุ่ง พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาอนุปุพพีกถา และอริยสัจโปรด ยสกุลบุตรได้ดวงตาเห็นธรรม ต่อมาได้ฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่เศรษฐีบิดาของตน ก็ได้บรรลุอรหัตตผลแล้วขออุปสมบท เป็นภิกษุสาวกองค์ที่ ๖ ของพระพุทธเจ้า
ยโสธรา : 1.เจ้าหญิงศากยวงศ์ เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าชยเสนะ เป็นพระมเหสีของพระเจ้าอัญชนะผู้ครองกรุงเทวทหะ เป็นพระมารดาของพระนางสิริมหามายา และพระนางปชาบดีโคตมี 2.อีกชื่อหนึ่งว่าพิมพา เป็นเจ้าหญิงแห่งเทวทหนคร เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าสุปปพุทธะ เป็นพระชายาของพระสิทธัตถะ เป็นมารดาของพระราหุล ต่อมาออกบวช เรียกชื่อว่า พระภัททา กัจจานา
โรหิณี : 1.เจ้าหญิงองค์หนึ่งแห่งศากยวงศ์เป็นพระธิดาของพระเจ้าอมิโตทนะ ซึ่งเป็นพระเจ้าอาของพระพุทธเจ้า เป็นกนิษฐภคินี คือน้องสาวของพระอนุรุทธ ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน 2.ชื่อแม่น้ำที่เป็นเส้นแบ่งเขตแดน ระหว่างแคว้นศากยะกับแคว้นโกลิยะ การแย่งกันใช้น้ำในการเกษตรเคยเป็นมูลเหตุให้เกิดกรณีพิพาทระหว่างแคว้นทั้ง ๒ จนจวนเจียนจะเกิดสงคราม ระหว่างพระญาติ ๒ ฝ่าย พระพุทธเจ้าเสด็จมาระงับศึก จึงสงบลงได้ สันนิษฐานกันว่า เป็นเหตุการณ์ในพรรษาที่ ๕ (บางท่านว่า ๑๔ หรือ ๑๕) แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ และเป็นที่มาของพระพุทธรูปปางห้ามญาติ; ปัจจุบันเรียก Rowai หรือ Rohwaini
วิธัญญา : ชื่อนครหรือถิ่นหนึ่งในสักกชนบท ปกครองโดยกษัตริย์วงศ์ศากยะ; เวธัญญะ ก็เรียก
วิมละ : บุตรเศรษฐีเมืองพาราณสีเป็นสหายของยสกุลบุตร ได้ทราบข่าวยสกุลบุตรออกบวช จึงได้บวชตามพร้อมด้วยสหายอีก ๓ คน คือ สุพาหุ ปุณณชิ และ ควัมปติ จัดเป็นพระมหาสาวกองค์หนึ่ง
ศากยกุมาร : กุมารวงศ์ศากยะ, เจ้าชายวงศ์ศากยะ
ศากยตระกูล : ตระกูลศากยะ, วงศ์ศากยะ
ศากยราช : กษัตริย์ศากยะ, พระเจ้าแผ่นดินวงศ์ศากยะ
ศากยะ :
ชื่อกษัตริย์พวกหนึ่ง ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าโอกกากราช ซึ่งเป็นผู้สร้างและครองกรุงกบิลพัสดุ์ พระพุทธเจ้าก็เป็นกษัตริย์วงศ์นี้; ศากยะ เป็นคำสันสกฤต เรียกอย่างบาลีเป็น สักกะบ้าง, สักยะบ้าง, สากิยะบ้าง, ศากยะ หรือสักกะนี้ ใช้เป็นคำเรียกชื่อถิ่นหรือแคว้นของพวกเจ้าศากยะด้วย ดู สักกชนบท
สมพงศ์ : การร่วมวงศ์หรือตระกูลกัน, ร่วมวงศ์กันได้ ลงกันได้