สรรค์ : สร้าง
สาเกต : ชื่อมหานครแห่งหนึ่ง อยู่ในแคว้นโกศล ห่างจากเมืองสาวัตถี ๗ โยชน์ ธนัญชัยเศรษฐี บิดาของนางวิสาขาได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระเจ้าปเสนทิโกศล ให้เข้าตั้งถิ่นฐานและสร้างขึ้น เมื่อคราวที่ท่านเศรษฐีอพยพจากเมืองราชคฤห์มาอยู่ในแคว้นโกศลตามคำเชิญชวนของพระองค์
รังสฤษฏ์ : สร้าง, แต่งตั้ง
กบิลดาบส : ดาบสที่อยู่ในดงไม้สักกะ ประเทศหิมพานต์ พระราชบุตรและพระราชบุตรีของพระเจ้าโอกกากราชพากันไปสร้างพระนครใหม่ในที่อยู่ของกบิลดาบส จึงขนานนามพระนครที่สร้างใหม่ว่า กบิลพัสดุ์ แปลว่า ที่หรือที่ดินของกบิลดาบส
กัปปิยภูมิ : ที่สำหรับเก็บเสบียงอาหารของวัด, ครัววัด มี ๔ อย่าง คือ อุสสาวนันติกา กัปปิยภูมิที่ทำด้วยการประกาศให้รู้แต่แรกสร้างว่าจะทำเป็นกัปปิยภูมิ คือพอเริ่มยกเสาหรือตั้งฝาก็ประกาศให้ได้ยินว่า กปฺปิยภูมึ กโรม แปลว่า เราทั้งหลายทำกัปปิยกุฎี ๑ โคนิสาทิกา กัปปิยภูมิขนาดเล็ก เคลื่อนที่ได้ ดุจเป็นที่โคจ่อม ๑ คหปติกา เรือนของคฤหบดีเขาสร้างถวายเป็นกัปปิยภูมิ ๑ สัมมติกา กัปปิยภูมิที่สงฆ์สมมติ ได้แก่ กุฎีที่สงฆ์เลือกจะใช้เป็นกัปปิยกุฎี แล้วสวดประกาศด้วยญัตติทุติยกรรม ๑
กุฏิภัต : อาหารที่เขาถวายแก่ภิกษุผู้อยู่ในกุฎีอันเขาสร้าง
โกศล : ความฉลาด, ความเชี่ยวชาญ มี ๓ คือ ๑.อายโกศล ความฉลาดในความเจริญ, รอบรู้ทางเจริญและเหตุของความเจริญ ๒.อปายโกศล ความฉลาดในความเสื่อม, รอบรู้ทางเสื่อมและเหตุของความเสื่อม ๓.อุปายโกศล ความฉลาดในอุบาย, รอบรู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์และวิธีที่จะทำให้สำเร็จ ทั้งในการป้องกันความเสื่อมและในการสร้างความเจริญ
โกสัลละ : ความฉลาด, ความเชี่ยวชาญ มี ๓ คือ ๑.อายโกศล ความฉลาดในความเจริญ, รอบรู้ทางเจริญและเหตุของความเจริญ ๒.อปายโกศล ความฉลาดในความเสื่อม, รอบรู้ทางเสื่อมและเหตุของความเสื่อม ๓.อุปายโกศล ความฉลาดในอุบาย, รอบรู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์และวิธีที่จะทำให้สำเร็จ ทั้งในการป้องกันความเสื่อมและในการสร้างความเจริญ
คันธกุฎี : กุฎีอบกลิ่นหอม, ชื่อเรียกพระกุฎีที่ประทับของพระพุทธเจ้า เช่น พระคันธกุฎีที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวายที่พระเชตวัน ในนครสาวัตถี เป็นต้น พระกุฎีที่ประทับของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆ ก็เรียกว่าคันธกุฎีเช่นเดียวกัน (เช่น ขุ.อป.๓๒/๑๘/๘๕; ๑๗๒/๒๗๒; ๓๓/๑๓๑/๒๒๐) อย่างไรก็ตาม คำเรียกที่ประทับของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันว่าคันธกุฎีนั้น มีใช้แต่ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาลงมา (ไม่มีในพระไตรปิฎก)
เจ้าอธิการแห่งอาราม : ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับงานวัด แยกเป็น ๓ คือ ผู้ใช้คนงานวัด (อารามิกเปสก) ผู้ใช้สามเณร (สามเณรเปสก) และผู้ดูแลปลูกสร้าง (นวกัมมิกะ)
ติสสเถระ : ชื่อพระเถระองค์หนึ่งในเกาะลังกา เคยอุปการะพระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย คราวเสียราชสมบัติแก่ทมิฬ ภายหลังทรงกู้ราชสมบัติคืนได้แล้ว ได้สร้างวัดอภัยคีรีวิหารถวาย
ตุมพสตูป : พระสถูปบรรจุทะนานทองที่ใช้ตวงแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ โทณพราหมณ์เป็นผู้สร้าง
ถาวรวัตถุ : สิ่งของที่มั่งคง ได้แก่ ของที่สร้างด้วยอิฐ ปูน หรือโลหะ เช่น โบสถ์ เจดีย์ วิหาร เป็นต้น
โทณพราหมณ์ : พราหมณ์ผู้ใหญ่ซึ่งมีฐานะเป็นครูอาจารย์ เป็นที่เคารพนับถือของคนจำนวนมากในชมพูทวีป เป็นผู้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้สำเร็จได้โดยสันติวิธี เป็นผู้สร้างตุมพสตูป บรรจุทะนานทองที่ใช้ตวงแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ
นวกัมมาธิฏฐายี : ผู้อำนวยการก่อสร้าง เช่น ที่พระโมคคัลลานะได้รับมอบหมายจากพระบรมศาสดาให้เป็นผู้อำนวยการสร้างบุพพารามที่นางวิสาขาบริจาคทุนสร้างที่กรุงสาวัตถี
นาถกรณธรรม : ธรรมทำที่พึ่ง, ธรรมสร้างที่พึ่ง, คุณธรรมที่ทำให้ตนได้ มี ๑๐ อย่าง คือ ๑.ศีล มีความประพฤติดี ๒.พาหุสัจจะ ได้เล่าเรียนสดับฟังมาก ๓.กัลยาณมิตตตา มีมิตรดีงาม ๔.โสวจัสสตา เป็นคนว่าง่าย ฟังเหตุผล ๕.กิงกรณีเยสุ ทักขตา เอาใจใส่กิจธุระของเพื่อนร่วมหมู่คณะ ๖.ธัมมกามตา เป็นผู้ใคร่ธรรม ๗.วิริยะ ความขยันหมั่นเพียร ๘.สันตุฏฐี มีความสันโดษ ๙.สติ มีสติ ๑๐.ปัญญา มีปัญญาเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
นิโครธาราม : อาหารที่พระญาติสร้างถวายพระพุทธเจ้า อยู่ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์
บุพพาราม :
วัดที่นางวิสาขาสร้างถวายพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ที่กรุงสาวัตถี พระพุทธเจ้าประทับที่วัดนี้ รวมทั้งสิ้น ๖ พรรษา ดู วิสาขา
ประดิษฐ์ : ตั้งขึ้น, จัดทำขึ้น, สร้างขึ้น, คิดทำขึ้น
ผาติกรรม : การทำให้เจริญ หมายถึง การจำหน่ายครุภัณฑ์ เพื่อประโยชน์สงฆ์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเอาของเลวแลกเปลี่ยนเอาของดีกว่าให้แก่สงฆ์ หรือเอาของตนถวายสงฆ์เป็นการทดแทนที่ตนทำของสงฆ์ชำรุดไป, รื้อของที่ไม่ดีออกทำให้ใหม่ดีกว่าของเก่า เช่น เอาที่วัดไปทำอย่างอื่นแล้วสร้างวัดถวายให้ใหม่; การชดใช้, การทดแทน
มิจฉาวิมุตติ : พ้นผิด เช่นการระงับกิเลสบาปธรรมได้ชั่วคราว เพราะกลัวอำนาจพระเจ้าผู้สร้างโลก การระงับกิเลสนั้นดี แต่การระงับเพราะกลัวอำนาจพระเจ้าสร้างโลกนั้น ผิดทาง ไม่ทำให้พ้นทุกข์ได้จริง
มุจจลินท์ : 1.ต้นจิก, ไม้จิก ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ พระพุทธเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นไม่นี้ ๗ วัน (สัปดาห์ ที่ ๓ ตามพระวินัย, สัปดาห์ที่ ๖ ตามคัมภีร์ชาดก) 2.ชื่อพระยานาคที่เข้ามาเฝ้าพระพุทธเจ้า ขณะที่ประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นจิก (มุจจลินท์) เสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นจิก (มุจจลินท์) ฝนตกพรำเจือด้วยลมหนาวตลอด ๗ วัน พระยามุจจลินทนาคราชจึงแผ่พังพานปกพระพุทธเจ้าเพื่อป้องกันฝนและลมมิให้ถูกต้องพระกาย นี่เป็นมูลเหตุของการสร้างพระพุทธรูปนาคปรก
โมริยกษัตริย์ : กษัตริย์ผู้ครองเมืองปิปผลิวัน ส่งทูตมาไม่ทันเวลาแจกพระบรมสารีริกธาตุ จึงได้แต่พระอังคารไปสร้างอังคารสตูป ที่เมืองของตน
รากขวัญ : ส่วนของร่างกายที่เรียกว่าไหปลาร้า; ตำนานกล่าวว่า ในบรรดาพระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายนั้น พระรากขวัญเบื้องขวาขึ้นไปประดิษฐานอยู่ในจุฬามณีเจดีย์ ณ ดาวดึงสเทวโลก พระรากขวัญเบื้องซ้าย ขึ้นไปประดิษฐานอยู่ในทุสสเจดีย์ (เจดีย์ที่ฆฏิการพรหมสร้างขึ้นไว้ก่อนแล้ว ให้เป็นที่บรรจุพระภูษาเครื่องทรงในฆราวาสที่พระโพธิสัตว์สละในคราวเสด็จออกบรรพชา) ณ พรหมโลก
โลกัตถจริยา :
พระพุทธจริยาเพื่อประโยชน์แก่โลก, ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่โลก คือ ทรงอาศัยพระมหากรุณา เสด็จไปประกาศพระศาสนาเพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนในถิ่นฐานแว่นแคว้นต่างๆ เป็นอันมาก และประดิษฐานพระศาสนาไว้เพื่อประโยชน์สุขแก่ชุมชนภายหลังตลอดกาลนาน ดู พุทธจริยา
วัฏฏคามณีอภัย : ชื่อพระเจ้าแผ่นดินแห่งเกาะลังกาพระองค์หนึ่ง ครองราชย์ประมาณ พ.ศ.๕๑๕-๕๒๗ ถูกพวกทมิฬแย่งชิงราชสมบัติ เสด็จไปซ่อนพระองค์อยู่ในป่า และได้รบความช่วยเหลือจากพระเถระรูปหนึ่ง ต่อมาพระองค์กู้ราชสมบัติคืนมา ได้ทรงสร้างอภัยคีรีวิหารและอาราธนาพระเถระรูปนั้นมาอยู่ครอง กับทั้งได้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอีกเป็นอันมาก การสังคายนาครั้งที่ ๕ ที่จารึกพุทธพจน์ลงในใบลาน ก็จัดทำในรัชกาลนี้
ศากยะ :
ชื่อกษัตริย์พวกหนึ่ง ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าโอกกากราช ซึ่งเป็นผู้สร้างและครองกรุงกบิลพัสดุ์ พระพุทธเจ้าก็เป็นกษัตริย์วงศ์นี้; ศากยะ เป็นคำสันสกฤต เรียกอย่างบาลีเป็น สักกะบ้าง, สักยะบ้าง, สากิยะบ้าง, ศากยะ หรือสักกะนี้ ใช้เป็นคำเรียกชื่อถิ่นหรือแคว้นของพวกเจ้าศากยะด้วย ดู สักกชนบท
สัมมาปาสะ : “บ่วงคล้องไว้มั่น”, ความรู้จักผูกผสานรวมใจประชาชน ด้วยการส่งเสริมอาชีพ เช่น ให้คนจนกู้ยืมทุนไปสร้างตัวในพาณิชยกรรม เป็นต้น (ข้อ ๓ ใน ราชสังคหวัตถุ ๔)
สาชีพ : แบบแผนแห่งความประพฤติที่ทำให้ชีวิตร่วมเป็นอันเดียวกัน ได้แก่สิกขาบททั้งปวงที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ในพระวินัย อันทำให้ภิกษุทั้งหลายผู้มาจากถิ่นฐานชาติตระกูลต่าง ๆกัน มามีความเป็นอยู่เสมอเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน; มาคู่กับ สิกขา
อนาถบิณฑิก : อุบาสกคนสำคัญในสมัยพุทธกาล เดิมชื่อ สุทัตต์ เป็นเศรษฐีอยู่ที่เมืองสาวัตถี ต่อมาได้นับถือพระพุทธศาสนา บรรลุโสดาปัตติผลเป็นผู้มีศรัทธาแรงกล้า สร้างวัดพระเชตวันถวายแด่พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ที่เมืองสาวัตถี ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ประทับจำพรรษารวมทั้งหมดถึง ๑๙ พรรษา ท่านอนาถบิณฑิก นอกจากอุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์แล้วยังได้สงเคราะห์คนยากไร้อนาถาอย่างมากมายเป็นประจำ จึงได้ชื่อว่าอนาถบิณฑิก ซึ่งแปลว่า ผู้มีก้อนข้าวเพื่อคนอนาถา ท่านได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในหมู่ทายกฝ่ายอุบาสก
อภยคิริวิหาร : ชื่อวัดที่พระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย ได้สร้างถวายพระติสสเถระในเกาะลังกา ซึ่งได้กลายเป็นเหตุให้สงฆ์ลังกาแตกแยกกัน แบ่งเป็นคณะมหาวิหารเดิมฝ่ายหนึ่ง คณะอภยคิริวิหารฝ่ายหนึ่ง มักเรียกว่า อภัยคีรี
อภินิหาร : อำนาจแห่งบารมี, อำนาจบุญที่สร้างสมไว้
อโศกมหาราช : พระราชาผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของชมพูทวีป และเป็นพุทธศาสนูปถัมภกที่สำคัญยิ่ง เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ ๓ แห่งราชวงศ์ โมริยะ ครองราชสมบัติ ณ พระนคร ปาฎลีบุตร ตั้งแต่ พ) ศ) ๒๑๘ ถึง พ) ศ) ๒๖๐ (นักประวัติศาสตร์ปัจจุบันส่วนมากกว่า พ) ศ) ๒๗๐-๓๒๑) เมื่อครองราชย์ได้ ๘ พรรษา ทรงยกทัพไปปราบแคว้นกลิงคะที่เป็นชนชาติเข้มแข็งลงได้ ทำให้อาณาจักรของพระองค์กว้างใหญ่ที่สุดในประวัติชาติอินเดีย แต่ในการสงครามนั้น มีผู้คนล้มตายและประสบภัยพิบัติมากมาย ทำให้พระองค์สลดพระทัย พอดีได้ทรงสดับคำสอนในพระพุทธศาสนา ทรงเลื่อมใสได้ทรงเลิกการสงคราม หันมาทำนุบำรุงพระศาสนาและความรุ่งเรืองในทางสงบของประเทศ ทรงสร้างมหาวิหาร ๘๔,๐๐๐ แห่ง ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ ๓ และการส่งศาสนทูตออกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในนานาประเทศ เช่น พระมหินถเถระ ไปยังลังกาทวีป และพระโสณะพระอุตตระมายังสุวรรณภูมิ เป็นต้น ชาวพุทธไทยมักเรียกพระองค์ว่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช
อโศการาม : ชื่อวัดสำคัญที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างในกรุงปาฏลีบุตร เป็นที่ทำ สังคายนาครั้งที่ ๓
อังคารสตูป : พระสถูปที่บรรจุพระอังคาร ซึ่งโมริยกษัตริย์สร้างไว้ที่เมืองปิปผลิวัน
อาราม : วัด, ที่เป็นที่มายินดี, สวนเป็นที่รื่นรมย์, ความยินด, ความรื่นรมย์, ความเพลิดเพลิน; ในทางพระวินัย เกี่ยวกับสงฆ์ หมายถึง ของปลูกสร้างในอารามตลอดจนต้นไม้
อุทเทสิกเจดีย์ : เจดีย์สร้างอุทิศพระพุทธเจ้า, เจดีย์ที่สร้างเป็นเครื่องเตือนจิตให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ได้แก่ พระพุทธรูป (ข้อ ๔ ในเจดีย์ ๔)
อุพภตกสัณฐาคาร : ท้องพระโรงชื่ออุพภตก เป็นท้องพระโรง หรือหอประชุมที่สร้างขึ้นใหม่ของมัลลกษัตริย์แห่งเมืองปาวา มัลลกษัตริย์ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าไปประทับพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เพื่อเป็นสิริมงคลก่อนจะเปิดใช้งาน ณ ที่นี้ พระสารีบุตรได้แสดงสังคีติสูตร อันเป็นต้นแบบของการสังคายนา
อุรุเวลกัสสป : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เคยเป็นนักบวชประเภทชฎิล นับถือลัทธิบูชาไฟ ถือตัวว่าเป็นพระอรหันต์สร้างอาศรมสั่งสอนลัทธิของตนอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา เพราะเหตุที่เป็นชาวกัสสปโคตร และอยู่ ณ ตำบลอุรุเวลา จึงได้ชื่อว่า อุรุเวลกัสสป ท่านผู้นี้เป็นคณาจารย์ใหญ่ที่ชาวราชคฤห์นับถือมาก มีน้องชาย ๒ คน คนหนึ่งชื่อนทีกัสสป อีกคนหนึ่งชื่อคยากสสป ล้วนเป็นหัวหน้าชฎิลตั้งอาศรมอยู่ถัดกันไปบนฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ไม่ห่างไกลจากอาศรมของพี่ชายใหญ่ ต่อมาพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาทรงทรมานอุรุเวลกัสสปด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ จนห่างชฎิลใหญ่ คลายพยศ ยอมมอบตัวเป็นพุทธสาวกขอบรรพชา ทำให้ชฎิลผู้น้องทั้ง ๒ พร้อมด้วยบริวารออกบวชตามด้วยทั้งหมด ครั้นบวชแล้วได้ฟังเทศนาอาทิตตปริยายสูตร จากพระพุทธเจ้า ก็ได้สำเร็จพระอรหัต ทั้งสามพี่น้องพร้อมด้วยบริวารทั้งหมดรวมหนึ่งพันองค์ พระอุรุเวลกัสสปได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางมีบริษัติใหญ่ คือ มีบริวารมาก