Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สห .

Budhism Thai-Thai Dict : สห, 16 found, display 1-16
  1. สหธรรมิก : ผู้มีธรรมร่วมกัน, ผู้ประพฤติธรรมร่วมกัน แสดงไว้ในคัมภีร์มหานิทเทส แห่งพระสุตตันตปิฏก มี ๗ คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา; ในสัตตาหกรณียะ สหธรรมิก ๕ (คัมภีร์ฝ่ายวินัยทั่วไปก็มักหมายเฉพาะจำนวน ๕)
  2. สหชีวินี : คำเรียกแทนคำว่า สัทธิวิหารินีของภิกษุณี ทั้ง ๒ คำนี้แปลว่าผู้อยู่ร่วมตรงกับสัทธิวิหาริกในฝ่ายภิกษุ; ศิษย์ของ ปวัตตินี
  3. สหธรรมิกวรรค : ตอนที่ว่าด้วยเรื่องภิกษุถูกว่ากล่าวโดยชอบธรรม เป็นต้น เป็นวรรคที่ ๘ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ มี ๑๒ สิกขาบท
  4. สหวาส : อยู่ร่วม เป็นประการหนึ่งในรัตติเฉท คือเหตุขาดราตรีแห่งการประพฤติมานัตและการอยู่ปริวาสหมายถึงการอยู่ร่วมในชายคาเดียวกับ ปกตัตตภิกษุ ดู รัตติเฉท
  5. สหเสยยสิกขาบท : สิกขาบทเกี่ยวกับการนอนร่วมมี ๒ ข้อ ข้อหนึ่งปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้นอนร่วมกับอนุปสัมบันเกิน ๒-๓ คืน อีกข้อหนึ่งปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้นอนร่วม (คือนอนในที่มุงที่บังเดียวกัน) กับหญิงแม้ในคืนแรก (ข้อ ๕ และ ๖ ในมุสาวาทวรรค ปาจิตติยกัณฑ์)
  6. สหไสย : การนอนด้วยกัน, การนอนร่วม
  7. จูฬสุทธันตปริวาส : สุทธันตปริวาสอย่างเล็ก หมายความว่า ปริวาสที่ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายคราวด้วยกัน จำจำนวนอาบัติและวันที่ปิดได้บ้าง อยู่ปริวาสไปจนกว่าจะเห็นว่าบริสุทธิ์
  8. ภิกษุ : ชายผู้ได้อุปสมบทแล้ว, ชายที่บวชเป็นพระ, พระผู้ชาย; แปลตามรูปศัพท์ว่า ผู้ขอ หรือ ผู้มองเห็นภัยในสังขาร หรือ ผู้ทำลายกิเลส ดู บริษัทสหธรรมิก, บรรพชิต, อุปสัมบัน ภิกษุสาวกรูปแรก ได้แก่ พระอัญญาโกณฑัญญะ ภิกษุณี หญิงที่ได้อุปสมบทแล้ว, พระผู้หญิงในพระพุทธศาสนา เทียบ ภิกษุ
  9. มหาสุทธันตปริวาส : สุทธันตปริวาส ที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายคราวด้วยกันจนจำจำนวนอาบัติและจำนวนวันที่ไม่ได้เลย อยู่ปริวาสจนกว่าจะเห็นว่าบริสุทธิ์ โดยกะเอาตั้งแต่บวชมาถึงเวลาใดยังไม่เคยต้องสังฆาทิเสสเลยเป็นช่วงแรก แล้วถอยหลังจากปัจจุบันไปจนตลอดเวลาที่ไม่ได้ต้องอีกช่วงหนึ่ง กำหนดเอาระหว่างช่วงทั้ง ๒ นี้
  10. มิสสกสโมธาน : การประมวลครุกาบัติระคนกัน, เป็นชื่อปริวาสสำหรับภิกษุผู้ปวารณาจะออกจากอาบัติสังฆาทิเสสต่างวัตถุกัน หมายความว่าต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวต่างสิกขาบทกัน ซึ่งมีวันปิดเท่ากันบ้าง ไม่เท่ากันบ้าง ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสเหล่านั้น ขอปริวาสจากสงฆ์เพื่ออยู่กรรม ชดใช้ทั้งหมด
  11. โมหาโรปนกรรม : กิริยาที่สวดประกาศยกโทษภิกษุว่า แสร้งทำหลง คือรู้แล้วทำเป็นไม่รู้; เมื่อสงฆ์สวดประกาศแล้ว ยังแกล้งทำไม่รู้อีก ต้องปาจิตตีย์ (สิกขาบทที่ ๓ แห่งสหธรรมิกวรรค ปาจิตติยกัณฑ์)
  12. รัตติเฉท : กาลขาดราตรี หมายถึงเหตุขาดราตรีแห่งมานัต หรือปริวาส; สำหรับมานัต มี ๔ คือ สหวาโส อยู่ร่วม ๑ วิปฺปวาโส อยู่ปราศ ๑ อนาโรจนา ไม่บอก ๑ อูเน คเณ จรณํ ประพฤติในคณะอันพร่อง ๑ ; สำหรับปริวาส มี ๓ คือ สหวาโส อยู่ร่วม ๑ วิปฺปวาโส อยู่ปราศ ๑ อนาโรจนา ไม่บอก ๑ เมื่อขาดราตรีในวันใด ก็นับวันนั้นเข้าในจำนวนวันที่จะต้องอยู่ปริวาสหรือประพฤติมานัตไม่ได้; ดูความหมายที่คำนั้นๆ
  13. สัตตาหกรณียะ : ธุระเป็นเหตุให้ภิกษุออกจากวัดในระหว่างพรรษาได้ ๗ วัน ได้แก่ ๑.ไปเพื่อพยาบาลสหธรรมิกหรือมารดาบิดาผู้เจ็บไข้ ๒.ไปเพื่อระงับสหธรรมิกที่กระสันจะสึก ๓.ไปเพื่อกิจสงฆ์ เช่น ไปหาทัพพสัมภาระมาซ่อมวิหารที่ชำรุดลงในเวลานั้น ๔.ไปเพื่อบำรุงศรัทธาของทายกซึ่งส่งมานิมนต์เพื่อการบำเพ็ญกุศลของเขา และธุระอื่นจากนี้ที่เป็นกิจลักษณะอนุโลมตามนี้ได้
  14. สัทธิวิหารินี : สัทธิวิหาริกผู้หญิง คือสัทธิวิหาริกในฝ่ายภิกษุณี แต่ตามปกติไม่เรียกอย่างนี้ เพราะมีคำเฉพาะเรียกว่า สหชีวินี
  15. อนาโรจนา : การไม่บอก คือ ไม่บอกประจานตัวแก่ภิกษุทั้งหลายภายในเขต ๒ เลฑฑุบาตจากเครื่องล้อมหรือจากอุปจารแห่งอาวาส ให้รู้ทั่วกันว่าตนต้องอาบัติสังฆาทิเสส กำลังอยู่ปริวาสหรือประพฤติมานัตต์; เป็นเหตุอย่างหนึ่งของการขาดราตรีแห่งมานัตต์หรือปริวาส ผู้ประพฤติมานัตต์ ต้องบอกทุกวัน แต่ผู้อยู่ปริวาส ไม่ต้องบอกทุกวัน ปกตัตตภิกษุรูปใดยังไม่ได้รับบอก เธอบอกแก่ภิกษุรูปนั้นครั้งหนึ่งแล้ว ไม่ต้องบอกอีกตลอดกาลที่อยู่ในอาวาสหรือในอนาวาสนั้นแต่ต้องบอกในท้ายอุโบสถ ท้ายปวารณาเมื่อถึงวันนั้นๆ และภิกษุใดได้รับบอกแล้ว ออกจากอาวาสหรืออนาวาสนั้นไป เมื่อกลับมาใหม่ต้องได้รับบอกอีก ดู รัตติเฉท
  16. เอกเสสนัย : อาการกำหนดด้วยเหลือศัพท์เดียว, เป็นวิธีการอย่างหนึ่งในไวยากรณ์บาลี กล่าวคือ บุคคล วัตถุ หรือภาวะบางอย่าง เป็นของควบคู่กันมาด้วยกันเสมอ เมื่อเห็นอย่างหนึ่งก็เป็นอันรู้ถึงอีกอย่างหนึ่งด้วย หรือเป็นของชุดเดียวกัน จำพวกเดียวกัน เมื่อเรียกอย่างหนึ่ง จะหมายถึงอย่างหนึ่งอย่างใดในชุดหรือในจำพวกนั้นก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ บางทีท่านกล่าวถึงหรือออกชื่อไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เพียงอันเดียวให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังหมายรู้อีกอย่างหนึ่งด้วย หรือให้เข้าใจเอาเอง จากข้อความแวดล้อมว่า ในที่นั้น หมายถึงอย่างไหนข้อใดในชุดหรือในจำพวกนั้น จึงเรียกว่า เหลือไว้อย่างเดียว หรือเหลือไว้ศัพท์เดียว เช่น พูดอย่างคำบาลีว่า พระสารีบุตรทั้งหลาย ก็หมายถึง พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ หรือในหลักปฏิจจสมุปบาท คำว่า นามรูป เป็นเอกเสสหมายถึง นามหรือรูป หรือทั้งนามและรูป คำว่า สฬายตนะ ก็เป็นเอกเสส หมายถึง อายตนะที่ ๖ ก็ได้ อายตนะทั้ง ๖ ก็ได้ ดังนั้น เมื่อพูดว่านามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ ถ้าหมายถึงอรูปภพก็ต้องแปลความว่า นามเป็นปัจจัยให้เกิดอายตนะที่ ๖ (คือมโน) อนึ่ง เมื่อสิ่งอื่นในชุดเดียวกัน มีคำเฉพาะระบุชัดอยู่แล้ว คำที่เป็นชื่อรวมๆ ของชุด ก็ย่อมหมายถึงสิ่งที่ยังไม่ถูกระบุด้วยคำอื่น เช่น ในคำว่า สุคติ (และ) โลกสวรรค์ สวรรค์เป็นสุคติ แต่มีคำเฉพาะระบุไว้แล้ว ดังนั้น คำว่าสุคติในกรณีนี้จึงหมายถึง โลกมนุษย์ ซึ่งเป็นสุคติอย่างเดียวที่เหลือนอกจากสวรรค์

(0.0132 sec)