อภิธัมมัตถสังคหะ : คัมภีร์ประมวล สรุปเนื้อความในพระอภิธรรมปิฎกอนุรุทธาจารย์แห่งมูลโสมวิหาร ในลังกาทวีป รจนาขึ้น เมื่อประมาณ พ) ศ) ๑๗๐๐
อภิธัมมัตถวิภาวินี : ชื่อคัมภีร์ฎีกาอธิบายความในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ พระสุมังคละผู้เป็นศิษย์ของพระอาจารย์สารีบุตร ซึ่งเป็นปราชญ์ในรัชกาลของพระเจ้าปรักกมพาหุที่ ๑ (พ) ศ) ๑๖๙๖-๑๗๒๙) รจนาขึ้นในลังกาทวีป
สังคหวัตถุ : เรื่องสงเคราะห์กัน, คุณเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจของผู้อื่นไว้ได้, หลักการสงเคราะห์ คือ ช่วยเหลือกันยึดเหนี่ยวใจกันไว้ และเป็นเครื่องเกาะกุมประสานโลกคือสังคมแห่งหมู่สัตว์ไว้ ดุจสลักเกาะยึดรถที่กำลังแล่นไปให้คงเป็นรถและวิ่งแล่นไปได้ มี ๔ อย่าง คือ ๑.ทาน การแบ่งปันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน ๒.ปิยวาจา พูดจาน่ารักน่านิยมนับถือ ๓.อัตถจริยา บำเพ็ญประโยชน์ ๔.สมานัตตตา ความมีตนเสมอ คือทำตัวให้เข้ากันได้ เช่น ไม่ถือตัว ร่วมสุขร่วมทุกข์กัน เป็นต้น
ราชสังคหวัตถุ : สังคหวัตถุของพระราชา, หลักการสงเคราะห์ประชาชนของนักปกครอง มี ๔ คือ ๑.สัสสเมธะ ฉลาดบำรุงธัญญาหาร ๒.ปุริสเมธะ ฉลาดบำรุงข้าราชการ ๓.สัมมาปาสะ ผูกผสานรวมใจประชา (ด้วยการส่งเสริมสัมมาอาชีพให้คนจนตั้งตัวได้) ๔.วาชไปยะ มีวาทะดูดดื่มใจ
ปิยวาจา :
วาจาเป็นที่รัก, พูดจาน่ารัก น่านิยมนับถือ, วาจาน่ารัก, วาจาที่กล่าวด้วยจิตเมตตา, คำที่พูดด้วยความรักความปรารถนาดี เช่น คำพูดสุภาพอ่อนโยน คำแนะนำตักเตือนด้วยความหวังดี ดู สังคหวัตถุ
ปุริสเมธ : ความฉลาดในารบำรุงข้าราชการ รู้จักส่งเสริมคนดีมีความสามารถ เป็นสังคหวัตถุประการหนึ่ง ของผู้ปกครองบ้านเมือง
พละ :
กำลัง 1.พละ ๕ คือธรรมอันเป็นกำลัง ซึ่งเป็นเครื่องเกื้อหนุนแก่อริยมรรค จัดอยู่ในจำพวกโพธิปักขิยธรรม มี ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา; ดู อินทรีย์๕2.พละ ๔ คือธรรมอันเป็นพลังทำให้ดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจ ไม่ต้องหวาดหวั่นกลัวภัยต่างๆ ได้แก่ ๑.ปัญญาพละ กำลังปัญญา ๒.วิริยพละ กำลังความเพียร ๓.อนวัชชพละ กำลังคือการกระทำที่ไม่มีโทษ (กำลังความสุจริตและการกระทำแต่กิจกรรมที่ดีงาม) ๔.สังคหพละ กำลังการสงเคราะห์ คือช่วยเหลือเกื้อกูลอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยดี ทำตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคม 3.พละ ๕ หรือ ขัตติยพละ ๕ ได้แก่กำลังของพระมหากษัตริย์ หรือกำลังที่ทำให้มีความพร้อมสำหรับความเป็นกษัตริย์ ๕ ประการ ดังแสดงในคัมภีร์ชาดกคือ ๑.พาหาพละ หรือ กายพละ กำลังแขนหรือกำลังกาย คือแข็งแรงสุขภาพดี สามารถในการใช้แขนใช้มือใช้อาวุธ มีอุปกรณ์พรั่งพร้อม ๒.โภคพละ กำลังโภคสมบัติ ๓.อมัจจพละ กำลังข้าราชการที่ปรึกษาและผู้บริหารที่สามารถ ๔.อภิชัจจพละ กำลังความมีชาติสูง ต้องด้วยความนิยมเชิดชูของมหาชนและได้รับการศึกษาอบรมมาดี ๕.ปัญญาพละ กำลังปัญญา ซึ่งเป็นข้อสำคัญที่สุด
วาชเปยะ : “วาจาดูดดื่มใจ”, “น้ำคำควรดื่ม”, ความรู้จักพูด รู้จักทักทายปราศรัย มีถ้อยคำสุภาพนุ่มนวล ประกอบด้วยเหตุผลมีประโยชน์ เป็นทางแห่งสามัคคี ทำให้เกิดความเข้าใจอันดี ความเชื่อถือและความนิยมนับถือ (ข้อ ๔ ในราชสังคหวัตถุ ๔)
วาชไปยะ : “วาจาดูดดื่มใจ”, “น้ำคำควรดื่ม”, ความรู้จักพูด รู้จักทักทายปราศรัย มีถ้อยคำสุภาพนุ่มนวล ประกอบด้วยเหตุผลมีประโยชน์ เป็นทางแห่งสามัคคี ทำให้เกิดความเข้าใจอันดี ความเชื่อถือและความนิยมนับถือ (ข้อ ๔ ในราชสังคหวัตถุ ๔)
สงเคราะห์ :
๑.การช่วยเหลือ, การเอื้อเฟื้อเกื้อกูล ดู สังคหวัตถุ๒.การรวมเข้า, ย่นเข้า, จัดเข้า
สมานัตตตา : ความเป็นผู้มีตนเสมอ หมายถึง การทำตนให้เข้ากันได้ ด้วยการร่วมสุขร่วมทุกข์ ไม่ถือตัว มีความเสมอภาค และวางตัวเหมาะสม (ข้อ ๔ ในสังคหวัตถุ ๔)
สัมมาปาสะ : “บ่วงคล้องไว้มั่น”, ความรู้จักผูกผสานรวมใจประชาชน ด้วยการส่งเสริมอาชีพ เช่น ให้คนจนกู้ยืมทุนไปสร้างตัวในพาณิชยกรรม เป็นต้น (ข้อ ๓ ใน ราชสังคหวัตถุ ๔)
สัสสเมธะ : ความฉลาดในการบำรุงข้าวกล้า, พระปรีชาในการบำรุงพืชพันธุ์ธัญญาหาร ส่งเสริมการเกษตรให้อุดมสมบูรณ์ เป็นสังคหวัตถุประการหนึ่งที่พระราชาจะพึงทรงบำเพ็ญ
อัตถจริยา : ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น, การบำเพ็ญประโยชน์ (ข้อ ๓ ในสังคหวัตถุ ๔)