Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สัมมาสังกัปปะ, สังกัปปะ, สัมมา , then สงกปป, สมมา, สมฺมา, สมมาสงกปป, สังกัปปะ, สัมม, สัมมา, สัมมาสังกัปปะ .

Budhism Thai-Thai Dict : สัมมาสังกัปปะ, 53 found, display 1-50
  1. สัมมาสังกัปปะ : ดำริชอบ คือ ๑.เนกขัมมสังกัปปะ ดำริจะออกจากกามหรือปลอดจากโลภะ ๒.อัพยาปาทสังกัปปะ ดำริในอันไม่พยาบาท ๓.อวิหิงสาสังกัปปะ ดำริในอันไม่เบียดเบียน (ข้อ ๒ ในมรรค)
  2. สัมมา : โดยชอบ, ดี, ถูกต้อง, ถูกถ้วน, สมบูรณ์, จริง, แท้
  3. ดำริชอบ : ดำริออกจากกาม ดำริในอันไม่พยาบาท ดำริในอันไม่เบียดเบียน ดู สัมมาสังกัปปะ
  4. มรรค : ทาง, หนทาง 1.มรรค ว่าโดยองค์ประกอบ คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่าทางมีองค์ ๘ ประการอันประเสริฐ เรียกสามัญว่า มรรคมีองค์ ๘ คือ ๑.สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ ๒.สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ ๓.สัมมาวาจา เจรจาชอบ ๔.สัมมากัมมันตะ ทำการชอบ ๕.สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ ๖.สัมมาวายามะ เพียรชอบ ๗.สัมมาสติ ระลึกชอบ ๘.สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ 2.มรรค ว่าโดยระดับการให้สำเร็จกิจ คือ ทางอันให้ถึงความเป็นอริยบุคคลแต่ละขั้น, ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด เป็นชื่อแห่งโลกุตตรธรรม คู่กับผล มี ๔ ชั้นคือ โสดาปัตติมรรค ๑ สกทาคามิมรรค ๑ อนาคามิมรรค ๑ อรหัตตมรรค ๑
  5. สัมมาทิฏฐิสูตร : พระสูตรแสดงความหมายต่าง ๆ แห่งสัมมาทิฏฐิ เป็นภาษิตของพระสารีบุตร (สูตรที่ ๙ ในมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระสุตตันตปิฏก)
  6. สัมมาสัมพุทธเจดีย์ : เจดีย์ที่เกี่ยวเนื่องด้วยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า, เจดีย์ที่เป็นเครื่องเตือนจิตให้ระลึกถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดู เจดีย์
  7. สัมมากัมมันตะ : ทำการชอบ หรือการงานชอบ ได้แก่ การกระทำที่เว้นจากความประพฤติชั่วทางกาย ๓ อย่าง คือฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม คือ เว้นจาก กายทุจริต ๓ (ข้อ ๔ ในมรรค)
  8. สัมมาญาณะ : รู้ชอบ ได้แก่ผลญาณ คือ ญาณอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากมรรคญาณ เช่น โสดาปัตติผล เป็นต้น และปัจจเวกขณญาณ (ข้อ ๙ ในสัมมัตตะ ๑๐)
  9. สัมมาทิฏฐิ : ปัญญาอันเห็นชอบ คือเห็นอริยสัจ ๔, เห็นชอบตามคลองธรรมว่า ทำดีมีผลดี ทำชั่วมีผลชั่ว มารดาบิดามี (คือมีคุณความดีควรแก่ฐานะหนึ่งที่เรียกว่ามารดาบิดา) ฯลฯ, เห็นถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าขันธ์ ๕ ไม่เที่ยงเป็นต้น (ข้อ ๑ ในมรรค)
  10. สัมมาปฏิบัติ : ปฏิบัติชอบ คือปฏิบัติชอบธรรม, ปฏิบัติถูกทำนองคลองธรรม, ปฏิบัติถูกทำนองคลองธรรม, ดำเนินในมรรคามีองค์ ๘ ประการ (ปฏิบัติตามมรรค)
  11. สัมมาปาสะ : “บ่วงคล้องไว้มั่น”, ความรู้จักผูกผสานรวมใจประชาชน ด้วยการส่งเสริมอาชีพ เช่น ให้คนจนกู้ยืมทุนไปสร้างตัวในพาณิชยกรรม เป็นต้น (ข้อ ๓ ใน ราชสังคหวัตถุ ๔)
  12. สัมมาวาจา : เจรจาชอบ คือเว้นจาก วจีทุจริต ๔ (ข้อ ๓ ในมรรค)
  13. สัมมาวายามะ : เพียรชอบ คือเพียรในที่ ๔ สถาน ได้แก่ ๑.สังวรปธาน ๒.ปหานปธาน ๓.ภาวนาปธาน ๔.อนุรักขนาปธาน (ข้อ ๖ ในมรรค);
  14. สัมมาวิมุตติ : พ้นชอบ ได้แก่ อรหัตตผลวิมุตติ (ข้อ ๑๐ ในสัมมัตตะ ๑๐)
  15. สัมมาสติ : ระลึกชอบ คือระลึกใน สติปัฏฐาน ๔ (ข้อ ๗ ในมรรค)
  16. สัมมาสมาธิ : ตั้งจิตมั่นชอบ, จิตมั่นชอบ คือสมาธิที่เจริญตามแนวของ ฌาน ๔ (ข้อ ๘ ในมรรค)
  17. สัมมาสัมโพธิญาณ : ญาณเป็นเครื่องตรัสรู้เองโดยชอบ
  18. สัมมาอาชีวะ : เลี้ยงชีวิตชอบ คือเว้นจากเลี้ยงชีวิตโดยทางที่ผิด เช่น โกงเขาหลอกลวง สอพลอ บีบบังคับขู่เข็ญ ค้าคน ค้ายาเสพติด ค้ายาพิษ เป็นต้น (ข้อ ๕ ในมรรค)
  19. มิจฉาสังกัปปะ : ดำริผิด ได้แก่ดำริแส่ไปในกาม ดำริพยายาม ดำริเบียดเบียนเขา
  20. อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า : พระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง หมายถึง พระพุทธเจ้า
  21. การงานชอบ : ดู สัมมากัมมันตะ
  22. กุศลกรรมบถ : ทางแห่งกรรมดี, ทางทำดี, ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติมี ๑๐ อย่าง คือก.กายกรรม ๓ ได้แก่ ๑.ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำลายชีวิต ๒.อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาของที่เข้ามิได้ให้ ๓.กาเมสุมิจฉาจาร เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกามข.วจีกรรม ๔ ได้แก่ ๔.มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ ๕.ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด ๖.ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ ๗.สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อค.มโนกรรม ๓ ได้แก่ ๘.อนภิชฌา ไม่โลภคอยจ้องอยากได้ของเขา ๙.อพยาบาท ไม่คิดร้ายเบียดเบียนเขา ๑๐.สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม
  23. จักร : ล้อ, ล้อรถ, ธรรมนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ดุจล้อนำรถไปสู่ที่หมายมี ๔ อย่างคือ ๑.ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในถิ่นที่เหมาะ ๒.สัปปุริสูปัสสยะ สมาคมกับคนดี ๓.อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ ๔.ปุพเพกตปุญญตา ได้ทำความดีไว้ก่อน
  24. ตั้งใจชอบ : ดู สัมมาสมาธิ
  25. ทิฏฐิปปัตตะ : ผู้ถึงทิฏฐิ คือ บรรลุสัมมาทิฏฐิ, พระอริยบุคคลตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป จนถึงผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค ที่เป็นผู้มีปัญญินทรีย์แรงกล้า ไม่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ (ถ้าบรรลุอรหัตตผล กลายเป็นปัญญาวิมุต) ดู อริยบุคคล
  26. เบญจธรรม : ธรรม ๕ ประการ, ความดี ๕ อย่างที่ควรประพฤติคู่กันไปกับการรักษาเบญจศีลตามลำดับข้อดังนี้ ๑.เมตตากรุณา ๒.สัมมาอาชีวะ ๓.กามสังวร (สำรวมในกาม) ๔.สัจจะ ๕.สติสัมปชัญญะ ; บางตำราว่าแปลกไปบางข้อคือ ๒.ทาน ๓.สทารสันโดษ = พอใจเฉพาะภรรยาของตน ๕.อัปปมาทะ = ไม่ประมาท ; เบญจกัลยาณธรรม ก็เรียก
  27. ปธาน : ความเพียร, ความเพียรที่ชอบเป็นสัมมาวายามะ มี ๔ อย่าง คือ ๑.สังวรปธาน เพียรระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น ๒.ปหานปธาน เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ๓.ภาวนาปธาน เพียรเจริญทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ๔.อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เสื่อมไปและให้เพิ่มไพบูลย์
  28. ปริเยสนา : การแสวงหา มี ๒ คือ ๑.อนริยปริเยสนา แสวงหาอย่างไม่ประเสริฐ ตนยังมีทุกข์ ก็ยังแสวงหาสภาพที่ไม่มีทุกข์ ได้แก่ นิพพาน; สำหรับคนทั่วไป ท่านอธิบายว่า มิจฉาอาชีวะ เป็น อนริยปริเยสนา สัมมาอาชีวะ เป็น อริยปริเยสนา
  29. พาวรี : พราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ใหญ่ตั้งอาศรมสอนไตรเพทแก่ศิษย์อยู่ฝั่งแม่น้ำโคธาวรี ณ สุดเขตแดนแคว้นอัสสกะ ได้ส่งศิษย์ ๑๖ คนไปถามปัญหาพระศาสดา เพื่อจะทดสอบว่าพระองค์เป็นพระสัมมาสัมพุทธะจริงหรือไม่ ภายหลังได้รับคำตอบแล้ว ศิษย์ชื่อปิงคิยะซึ่งเป็นหลานของท่านได้กลับมาเล่าเรื่องและแสดงคำตอบปัญหาของพระศาสดา ทำให้ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอนาคามี
  30. พุทธะ : ท่านผู้ตรัสรู้แล้ว, ผู้รู้อริยสัจ ๔ อย่างถ่องแท้ ตามอรรถกถาท่านแบ่งเป็น ๓ คือ ๑.พระพุทธเจ้า ท่านผู้ตรัสรู้เองและสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม (บางทีเรียกพระสัมมาสัมพุทธะ) ๒.พระปัจเจกพุทธะ ท่านผู้ตรัสรู้เองจำเพาะผู้เดียว ๓.อนุพุทธะ ท่านผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า (เรียกอีกอย่างว่า สาวกพุทธะ); บางแห่งจัดเป็น ๔ คือ สัพพัญญูพุทธะ ปัจเจกพุทธะ จตุสัจจพุทธะ (=พระอรหันต์) และ สุตพุทธะ (=ผู้เป็นพหูสูต)
  31. มโนสุจริต : ความประพฤติชอบด้วยใจ, ความสุจริตทางใจ มี ๓ อย่าง คือ ๑.อนภิชฌา ไม่โลภอยากได้ของเขา ๒.อพยาบาท ไม่พยาบาทปองร้ายเขา ๓.สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม (ข้อ ๓ ในสุจริต ๓)
  32. มหาสมณะ : พระนามหนึ่งสำหรับเรียกสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
  33. มหาสุบิน : ความฝันอันยิ่งใหญ่, ความฝันครั้งสำคัญ หมายถึงความฝัน ๕ เรื่อง (ปัญจมหาสุบิน) ของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระอรรถกถาจารย์ระบุว่าทรงพระสุบินในคืนก่อนตรัสรู้ คือ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖) ดังตรัสไว้ในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต พระสุตตันตปิฎก
  34. มัชฌิมาปฏิปทา : ทางสายกลาง, ข้อปฏิบัติเป็นกลางๆ ไม่หย่อนจนเกินไป และไม่ตึงจนเกินไป ไม่ข้องแวะที่สุด ๒ อย่างคือ กามสุขัลลิกานุโยค และ อัตตกิลมถานุโยค, ทางแห่งปัญญา (เริ่มด้วยปัญญา, ดำเนินด้วยปัญญา นำไปสู่ปัญญา) อันพอดีที่จะให้ถึงจุดหมาย คือ ความดับกิเลสและความทุกข์ หรือความหลุดพ้นเป็นอิสระสิ้นเชิง ได้แก่มรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น สัมมาสมาธิเป็นที่สุด
  35. มิจฉัตตะ : ความเป็นผิด, ภาวะที่ผิดมี ๑๐ อย่าง คือ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ มิจฉาญาณ มิจฉาวิมุตติ
  36. เยวาปนกธรรม : “ก็หรือว่าธรรมแม้อื่นใด” หมายถึงธรรมจำพวกที่กำหนดแน่ไม่ได้ว่าข้อไหนจะเกิดขึ้น ได้แก่ เจตสิก ๑๖ เป็นพวกที่เกิดในกุศลจิต ๙ คือ ๑.ฉันทะ ๒.อธิโมกข์ ๓.มนสิการ ๔.อุเบกขา (ตัตรมัชฌัตตตา) ๕.กรุณา ๖.มุทิตา ๗.สัมมาวาจา (วจีทุจริตวิรัติ) ๘.สมมากันมันตะ (กายทุจริตวิรัติ) ๙.สัมมาอาชีวะ (มิจฉาชีววิรัติ) เป็นพวกที่เกิดในอกุศลจิต ๑๐ คือ ๑.ฉันทะ ๒.อธิโมกข์ ๓.มนสิการ ๔.มานะ ๕.อิสสา ๖.มัจฉริยะ ๗.ถีนะ ๘.มิทธะ ๙.อุทธัจจะ ๑๐.กุกกุจจะ นับเฉพาะที่ไม่ซ้ำ (คือเว้น ๓ ข้อแรก) เป็น ๑๖
  37. ระลึกชอบ : ดู สัมมาสติ
  38. ราชสังคหวัตถุ : สังคหวัตถุของพระราชา, หลักการสงเคราะห์ประชาชนของนักปกครอง มี ๔ คือ ๑.สัสสเมธะ ฉลาดบำรุงธัญญาหาร ๒.ปุริสเมธะ ฉลาดบำรุงข้าราชการ ๓.สัมมาปาสะ ผูกผสานรวมใจประชา (ด้วยการส่งเสริมสัมมาอาชีพให้คนจนตั้งตัวได้) ๔.วาชไปยะ มีวาทะดูดดื่มใจ
  39. วาจาชอบ : ดู สัมมาวาจา
  40. เวสารัชชญาณ : พระปรีชาญาณอันทำให้พระพุทธเจ้าทรงมีความแกล้วกล้าไม่ครั่นคร้าม ด้วยไม่ทรงเห็นว่าจะมีใครท้วงพระองค์ได้โดยชอบธรรม ในฐานะทั้ง ๔ คือ ๑.ท่านปฏิญญาว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ ท่านยังไม่รู้แล้ว ๒.ท่านปฏิญญาว่าเป็นขีณาสพ อาสวะนี้ของท่านยังไม่สิ้นแล้ว ๓.ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่อาจทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง ๔.ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็นทางนำผู้ทำตามให้ถึงความสิ้นทุกข์ โดยชอบได้จริง
  41. สัมมัตตะ : ความเป็นถูก, ภาวะที่ถูกมี ๑๐ อย่าง ๘ ข้อต้น ตรงกับองค์มรรคทั้ง ๘ ข้อ เพิ่ม ๒ ข้อท้าย คือ ๙.สัมมาญาณ รู้ชอบ ได้แก่ผลญาณ และปัจจเวกขณญาณ ๑๐.สัมมาวิมุตติ พ้นชอบได้แก่อรหัตตผลวิมุตติ; เรียกอีกอย่างว่า อเสขธรรม ๑๐, ตรงข้ามกับ มิจฉัตตะ ๑๐
  42. สาธุชน : คนดี, คนมีศีลธรรม, คนมีสัมมาทิฏฐิ
  43. สีลขันธ์ : กองศีล, หมวดธรรมว่าด้วยศีล เช่น กายสุจริต สัมมาอาชีวะ อินทรียสังวร โภชเนมัตตัญญุตา เป็นต้น (ข้อ ๑ ในธรรมขันธ์ ๕)
  44. โสภณเจตสิก : เจตสิกฝ่ายดีงาม มี ๒๕ แบ่งเป็น ก.โสภณสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตดีงามทุกดวง) ๑๙ คือ สัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ อโลภะ อโทสะ ตัตรมัชฌัตตตา (ความเป็นกลางในอารมณ์นั้น ๆ = อุเบกขา) กายปัสสัทธิ (ความคลายสงบแห่งกองเจตสิก) จิตตปัสสัทธิ (แห่งจิต) กายลหุตา (ความเบาแห่งกองเจตสิก) จิตตลหุตา (แห่งจิต) กายมุทุตา (ความนุ่มนวลแห่งกองเจตสิก) จิตตมุทุตา (แห่งจิต) กายกัมมัญญตา (ความควรแก่งานแห่งกองเจตสิก) จิตตกัมมัญญตา (แห่งจิต) กายปาคุญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งกองเจตสิก) จิตตปาคุญญตา (แห่งจิต) กายชุกตา (ความซื่อตรงแห่งกองเจตสิก) จิตตุชุกตา (แห่งจิต) ข.วีรตีเจตสิก (เจตสิกที่เป็นตัวงดเว้น) ๓ คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ค.อัปปมัญญาเจตสิก (เจตสิกคืออัปปมัญญา) ๒ คือ กรุณา มุทิตา (อีก ๒ ซ้ำกับอโทสะและตัตรมัชฌัตตตา) ง.ปัญญินทรียเจตสิก ๑ คือ ปัญญินทรีย์ หรือ อโมหะ
  45. เห็นชอบ : ดู สัมมาทิฏฐิ
  46. องค์มรรค : (บาลีว่า มคฺคงฺค) องค์ประกอบของมรรค, องค์ธรรม ๘ อย่าง มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น ที่ประกอบกันเข้าเป็นมรรค หรือที่เรียกชื่อเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค ดู มรรค 1
  47. องค์แห่งภิกษุใหม่ ๕ : คือ ๑) ปาฏิโมกขสังวร สำรวมในพระปาฏิโมกข์ ๒) อินทรียสังวร สำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ ๓) ภัสสปริยันตะ พูดคุยมีขอบเขต ไม่เอิกเกริกเฮฮา ๔) กายวูปกาสะ อยู่ในเสนาสนะอันสงัด ๕) สัมมาทัสสนะ ตั้งตนไว้ในความเห็นชอบ
  48. อนุพุทธ : ผู้ตรัสรู้ตาม คือ ตรัสรู้ด้วยได้สดับเล่าเรียนและปฏิบัติตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน ได้แก่ พระอรหันตสาวกทั้งหลาย ดู พุทธะ
  49. อรหันตขีณาสพ : พระอรหันต์ผู้สิ้นอาสวะแล้ว ใช้สำหรับพระสาวก, สำหรับพระพุทธเจ้า ใช้คำว่า อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบเอง
  50. อสิตดาบส : ดาบสผู้คุ้นเคย และเป็นที่นับถือของศากยราชสกุล อาศัยอยู่ข้างเขาหิมพานต์ ได้ทราบข่าวว่าพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะประสูติใหม่ จึงเข้าไปเยี่ยม ได้เห็นพระราชโอรสนั้นมีลักษณะต้องด้วยตำรับมหาปุริสลักษณะ จึงกราบลงที่พระบาททั้ง ๒ ของพระราชโอรสแล้วกล่าวคำทำนายว่า ถ้าอยู่ครองฆราวาส จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าออกทรงผนวช จักได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระศาสดาเอกในโลก; มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า กาฬเทวิลดาบส
  51. [1-50] | 51-53

(0.0380 sec)