Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สินค้าเถื่อน, เถื่อน, สินค้า , then ถอน, เถื่อน, สนคาถอน, สินค้า, สินค้าเถื่อน .

Budhism Thai-Thai Dict : สินค้าเถื่อน, 13 found, display 1-13
  1. ถอน : (ในคำว่า “รู้จักถอนไตรจีวร”) ยกเลิกของเดิม   ออกมาจากศัพท์ ปัจจุทธรณ์
  2. ภาษี : ค่าสิ่งของที่เก็บตามจำนวนสินค้าเข้าออก
  3. มิลักขะ : คนป่าเถื่อน, คนดอย, คนที่ยังไม่เจริญ, พวกเจ้าถิ่นเดิมของชมพูทวีป มิใช่ชาวอริยกะ
  4. ปัจจุทธรณ์ : ถอนคืน คือถอนคืนผ้าที่อธิษฐานไว้ เช่น อธิษฐานสบงคือ ตั้งใจกำหนดไว้ให้เป็นสบงครอง ภายหลังไม่อยากให้เป็นสบงครอง ภายหลังไม่อยากให้เป็นสบงครอง ก็ถอนคืนสบงนั้น เรียกว่า ปัจจุทธรณ์สบง, ตัวอย่าง ปัจจุทธรณ์สบงว่า “อิมํ อนฺตรวาสกํ ปจฺจุทฺธรามิ” (เปลี่ยน อนฺตรวาสกํ เป็น สงฺฆาฏึ” เป็น อุตฺตราสงฺคํ เป็นต้น สุดแต่ว่าจะถอนอะไร)
  5. นิสสารณา : การไล่ออก, การขับออกจากหมู่ เช่น นาสนะสามเณรผู้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าออกไปเสียจากหมู่ (อยู่ในอปโลกนกัมม์) ประกาศถอนธรรมกถึกผู้ไม่แตกฉานในธรรมในอรรถ คัดค้านคดีโดยหาหลักฐานมิได้ ออกเสียจากการระงับอธิกรณ์ (อยู่ในญัตติกัมม์) คู่กับ โอสารณา
  6. วิปัสสนา : ความเห็นแจ้ง คือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม; ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้, การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นของมันเอง (ข้อ ๒ ในกัมมัฏฐาน ๒ หรือภาวนา ๒) ดู ภาวนา, ไตรลักษณ์
  7. วิโมกข์ : ความหลุดพ้นจากกิเลส มี ๓ ประเภทคือ ๑.สุญญตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นอนัตตาแล้วถอนความยึดมั่นได้ มองเห็นความว่าง ๒.อนิมิตตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นอนิจจัง แล้วถอนนิมิตได้ ๓.อัปปณิหิตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นทุกข์ แล้วถอนความปรารถนาได้
  8. อนิมิตตวิโมกข์ : หลุดพ้นด้วยไม่ถือนิมิต คือ หลุดพ้นด้วยพิจารณาเห็นนามรูปเป็นอนิจจะ แล้วถอนนิมิตได้ (ข้อ ๒ ในวิโมกข์ ๓)
  9. อปริหานิยธรรม : ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม, ธรรมที่ทำให้ไม่เสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว มี ๗ อย่าง ที่ตรัสสำหรับภิกษุ (ภิกขุอปริหาริยธรรม) ยกมาแสดงหมวดหนึ่ง ดังนี้ ๑) หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ๒) เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ ๓) ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น ไม่ถอนสิ่งที่พระองค์บัญญัติไว้แล้ว สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทตามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ ๔) ภิกษุเหล่าใด เป็นผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน ๕) ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น ๖) ยินดีในเสนาสนะป่า ๗) ตั้งในอยู่ว่า เพื่อนภิกษุสามเณรซึ่งเป็นผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาส ขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข
  10. อพฺพุฬฺหสลฺโล : มีลูกศรอันถอนแล้ว หมายถึงหมดกิเลสที่ทิ่มแทง, เป็นคุณบทของพระอรหันต์
  11. อัปปณิหิตวิโมกข์ : ความหลุดพ้นด้วยไม่ทำความปรารถนา คือ พิจารณาเห็นนามรูปเป็นทุกข์ แล้วถอนความปรารถนาเสียได้ (ข้อ ๓ ในวิโมกข์ ๓)
  12. อาลยสมุคฺฆาโต : ความถอนขึ้นด้วยดี ซึ่งอาลัย, การถอนอาลัยคือตัณหาได้เด็ดขาด (เป็นไวพจน์แห่งวิราคะ)
  13. อุพพาหิกา : กิริยาที่ถอนนำไป, การเลือกแยกออกไป, หมายถึงวิธีระงับวิวาทาธิกรณ์ ในกรณีที่ที่ประชุมสงฆ์มีความไม่สะดวก ด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง สงฆ์จึงเลือกภิกษุบางรูปในที่ประชุมนั้น ตั้งเป็นคณะ แล้วมอบเรื่องให้นำเอาไปวินิจฉัย (เป็นทำนองตั้งคณะกรรมการพิเศษ)

(0.0229 sec)