Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สีม , then สม, สิม, สีม, สีมา .

Budhism Thai-Thai Dict : สีม, 72 found, display 1-50
  1. สีม : เขตกำหนดความพร้อมเพรียงของสงฆ์, เขตชุมนุมของสงฆ์, เขตที่สงฆ์ตกลงไว้สำหรับภิกษุทั้งหลายที่อยู่ภายในเขตนั้นจะต้องทำสังฆกรรมร่วมกัน แบ่งเป็น ๒ ประเภทใหญ่ คือ ๑.พัทธสีมา แดนที่ผูก ได้แก่ เขตที่สงฆ์กำหนดขึ้นเอง ๒.อพัทธสีมา แดนที่ไม่ได้ผูก ได้แก่เขตที่ทางบ้านเมืองกำหนดไว้แล้วตามปกติของเขา หรือที่มีอย่างอื่นในทางธรรมชาติเป็นเครื่องกำหนด สงฆ์ถือเอาตามกำหนดนั้นไม่วางกำหนดขึ้นเองใหม่
  2. สีมามีฉายาเป็นนิมิต : สีมาที่ทำเงาอย่างใดอย่างหนึ่ง มีเงาภูเขาเป็นต้นเป็นนิมิต (มติสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสว่า สีมาที่ถือเงาเป็นแนวนิมิต) จัดเป็นสีมาวิบัติอย่างหนึ่ง
  3. สมนุภาสนา : การสวดสมนุภาสน์, สวดประกาศห้ามไม่ให้ถือรั้นการอันมิชอบ
  4. สมสีสี : บุคคลผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับสิ้นชีวิต คือ บรรลุอรหัตตผล ในขณะเดียวกับที่สิ้นชีวิต; นี้เป็นความหมายหลักตามพระบาลี แต่ในมโนรถปูรณี อรรถกถาแห่งอังคุตตรนิกาย ให้ความหมายสมสีสี ว่าเป็นการสิ้นอาสวะพร้อมกับสิ้นอย่างอื่นอันใดอันหนึ่งใน ๔ อย่าง และแสดงสมสีสีไว้ ๔ ประเภท คือ ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับหายโรค เรียกว่า โรคสมสีสี ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับที่เวทนา ซึ่งกำลังเสวยอยู่สงบระงับไปเรียกว่า เวทนาสมสีสี ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับการสิ้นสุดของอิริยาบถอันใดอันหนึ่ง เรียกว่า อิริยาบถสมสีสี ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับสิ้นชีวิต เรียกว่า ชีวิตสมสีสี สมสีสีในความหมายหลักข้างต้น ก็คือ ชีวิตสมสีสี; อย่างไรก็ดีในอรรถกถาแห่งปุคคลปัญญัติ เป็นต้น แสดงสมสีสีไว้ ๓ ประเภท และอธิบายต่างออกไปบ้าง ไม่ขอนำมาแสดงในที่นี้ เพราะจะทำให้ฟั่นเฝือ
  5. สีมาวิบัติ : ความเสียโดยสีมา, เสียเพราะเขตชุมนุม (ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์), สีมาใช้ไม่ได้ ทำให้สังฆกรรมซึ่งทำ ณ ที่นั้นวิบัติคือเสียหรือใช้ไม่ได้ (เป็นโมฆะ) ไปด้วย, คัมภีร์ปริวารแสดงเหตุให้กรรมเสียโดยสีมา ๑๑ อย่าง เช่น ๑.สมมติสีมาใหญ่เกินกำหนด (เกิน ๓ โยชน์) ๒.สมมติสีมาเล็กเกินกำหนด (จุไม่พอภิกษุ ๒๑ รูปนั่งเข้าหัตถบาสกัน) ๓.สมมติสีมามีนิมิตขาด ๔.สมมติสีมามีฉายาเป็นนิมิต ๕.สมมติสีมาไม่มีนิมิต ฯลฯ, สังฆกรรมที่ทำในที่เช่นนี้ก็เท่ากับทำในที่มิใช่สีมานั่นเอง จึงย่อมใช้ไม่ได้ ดู วิบัติ(ของสังฆกรรม)
  6. สีมาสมบัติ : ความพร้อมมูลโดยสีมา, ความสมบูรณ์แห่งเขตชุมชน, สีมาซึ่งสงฆ์สมมติแล้วโดยชอบ ไม่วิบัติ ทำให้สังฆกรรมซึ่งทำในสีมานั้นมีผลสมบูรณ์ กล่าวคือ สีมาปราศจากข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่เป็นเหตุให้สีมาวิบัติ (ดู สีมาวิบัติ) สังฆกรรมซึ่งทำ ณ ที่นั้นจึงชื่อว่าทำในสีมา จึงใช้ได้ในข้อนี้ ดู สมบัติ(ของสังฆกรรม)
  7. สมโจร : เป็นใจกับโจร
  8. สมชีวิตา : มีความเป็นอยู่พอเหมาะพอดี คือเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้ ไม่ฝืดเคืองนัก ไม่ฟูมฟายนัก (ข้อ ๔ ในทิฏฐธัมมิกัตถะ)
  9. สมถกัมมัฏฐาน : กรรมฐานคือสมถะ, งานฝึกจิตให้สงบ ดู สมถะ
  10. มหาวรรค : ชื่อคัมภีร์อันเป็นหมวดที่ ๓ ใน ๕ หมวด แห่งพระวินัยปิฎก คือ อาทิกัมม์ ปาจิตตีย์ มหาวรรค จุลวรรค บริวาร, มหาวรรค มี ๑๐ ขันธกะ (หมวด ตอน หรือบท) คือ ๑.มหาขันธกะ (ว่าด้วยการบรรพชาอปสมบท เริ่มแต่เหตุการณ์หลังตรัสรู้ใหม่ๆ และการประดิษฐานพระศาสนา) ๒.อุโปสถขันธกะ (ว่าด้วยอุโบสถและสีมา) ๓.วัสสูปนายิกขันธกะ (ว่าด้วยการเข้าพรรษา) ๔.ปวารณาขันธกะ (ว่าด้วยปวาณา) ๕.จัมมขันธกะ (ว่าด้วยเครื่องหนัง เช่น รองเท้าและเครื่องลาด) ๖.เภสัชชขันธกะ (ว่าด้วยเรื่องยาตลอดจนเรื่องกัปปิยะ อกัปปิยะ และกาลิกทั้ง ๔) ๗.กฐินขันธกะ (ว่าด้วยกฐิน) ๘.จีวรขันธกะ (ว่าด้วยเรื่องจีวร) ๙.จัมเปยยขันธกะ (ว่าด้วยข้อควรทราบบางอย่างเกี่ยวกับนิคคหกรรมต่างๆ) ๑๐.โกสัมพิกขันธกะ (ว่าด้วยเรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพี วิวาทกันและสังฆสามัคคี) ดู ไตรปิฎก
  11. นทีปารสีม : สีมาฝั่งน้ำ คือ สีมาที่สมมติคร่อมฝั่งน้ำทั้ง ๒ เปิดแม่น้ำไว้กลาง
  12. มหาสีม : สีมาใหญ่ผูกทั่ววัด มีขัณฑสีมาซ้อนภายในอีกชั้นหนึ่งโดยมีสีมันตริกคั่น
  13. คามสีม : แดนบ้าน คือเขตที่กำหนดด้วยบ้าน, สีมาที่ถือกำหนดตามเขตบ้าน, สีมาที่ถือกำหนดตามเขตบ้านเป็นอพัทธสีมาอย่างหนึ่ง
  14. ติจีวราวิปปวาสสีม : แดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร สมมติแล้วภิกษุอยู่ห่างจากไตรจีวรในสีมานั้นก็ไม่เป็นอันปราศ
  15. ธรรมเป็นเหตุให้สมหมาย : ธรรมที่จะช่วยให้ได้ ทุลลภธรรม สมหมายมี ๔ คือ ๑.สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๒.สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล ๓.จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาค ๔.ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา
  16. นิสัยสีม : คามสีมาเป็นที่อาศัยของพัทธสีม
  17. นิสิตสีม : พัทธสีมาอาศัยคามสีม
  18. ชีวิตสมสีสี : ผู้สิ้นกิเลสพร้อมกับสิ้นชีวิต, ผู้ได้บรรลุธรรมวิเศษแล้วก็ดับจิตพอดี
  19. นิคมสีม : แดนนิคม, อพัทธสีมาที่สงฆ์กำหนดด้วยเขตนิคมที่ตนอาศัยอยู่
  20. ปัญญาสมวาร : วันที่ ๕๐, วันที่ครบ ๕๐
  21. เลขสม : คนที่ยินยอมเป็นกำลังงานของผู้มีอำนาจคนใดคนหนึ่งด้วยความสมัครใจในสมัยโบราณ
  22. สมานลาภสีม : แดนมีลาภเสมอกัน ได้แก่เขตที่สงฆ์ตั้งแต่ ๒ อาวาสขึ้นไปทำกติกากันไว้ว่า ลาภเกิดขึ้นในอาวาสหนึ่ง สงฆ์อีกอาวาสหนึ่งมีส่วนได้รับแจกด้วย; ดู กติกา ด้วย
  23. สมานสังวาสสีม : แดนมีสังวาสเสมอกัน, เขตที่กำหนดความพร้อมเพรียงและสิทธิในการเข้าอุโบสถปวารณาและสังฆกรรมด้วยกัน
  24. พัทธสีม : แดนผูก ได้แก่ เขตที่สงฆ์กำหนดขึ้นมาเอง โดยจัดตั้งนิมิตคือสิ่งที่เป็นเครื่องหมายกำหนดเอาไว้ ดู สีม
  25. ขัณฑสีม : สีมาเล็กผูกเฉพาะโรงอุโบสถที่อยู่ในมหาสีมา มีสีมันตริกคั่น
  26. สีมาสังกระ : สีมาคาบเกี่ยวกัน, เป็นเหตุสีมาวิบัติอย่างหนึ่ง
  27. กัมมัฏฐาน : ที่ตั้งแห่งการงาน, อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ, อุบายทางใจ, วิธีฝึกอบรมจิต มี ๒ ประเภท คือ สมถกัมมัฏฐาน อุบายสงบใจ ๑ วิปัสสนากัมมัฏฐาน อุบายเรืองปัญญา ๑ (นิยมเขียน กรรมฐาน) ดู ภาวนา -subjects of meditation, meditation exercises, the act of meditation or contemplation, ground for mental culture.
  28. กายบริหาร : การรักษาร่างกายให้เหมาะสมแก่ความเป็นสมณะ เช่นไม่ไว้ยาวเกินไป ไม่ไว้หนวดเครา ไม่ไว้เล็บยาว ไม่ผัดหน้า ไม่แต่งเครื่องประดับกาย ไม่เปลือยกาย เป็นต้น
  29. ของสังฆกรรม : มี ๔ คือ ๑.วัตถุวิบัติ เสียโดยวัตถุ เช่น อุปสมบทคนอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ๒.สีมาวิบัติ เสียโดยสีมา เช่น สีมาไม่มีนิมิต ๓.ปริสวิบัติ เสียโดยบริษัทคือที่ประชุม เช่น ภิกษุเข้าประชุมไม่ครบองค์สงฆ์ ๔.กรรมวาจาวิบัติ เสียโดยกรรมวาจา เช่น สวดผิดพลาดตกหล่น สวดแต่อนุสาวนาไม่ได้ตั้งญัตติ เป็นต้น (ข้อกรรมวาจาวิบัติบางกรณีแยกเป็นญัตติวิบัติและอนุสาวนาวิบัติ กลายเป็นวิบัติ ๕ ก็มี) เทียบ สมบัติ
  30. คณปูรกะ : ภิกษุผู้เป็นที่ควรจำนวน ในคณะนั้นๆ เช่น สังฆกรรมที่ต้องมีภิกษุ ๔ รูป หรือยิ่งขึ้นไป เป็นผู้ทำยังขาดอยู่เพียงจำนวนใดจำนวนหนึ่ง มีภิกษุอื่นมาสมบท ทำให้ครบองค์สงฆ์ ในสังฆกรรมนั้นๆ ภิกษุที่มาสมทบนั้น เรียกว่า คณปูรกะ
  31. ความปรารถนา : ของบุคคลในโลกที่ได้สมหมายด้วยยาก ๔ อย่าง ดู ทุลลภธรรม
  32. คารวะ : ความเคารพ, ความเอื้อเฟือ, ความใส่ใจมองเห็นความสำคัญที่จะต้องปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆ ให้ถูกต้องเหมาะสม มี ๖ อย่างคือ ๑.พุทฺธคารวตา ความเคารพในพระพุทธเจ้า ๒.ธมฺมคารวตา ความเคารพในพระธรรม ๓.สงฺฆคารวตา ความเคารพในพระสงฆ์ ๔.สิกฺขาคารวตา ความเคารพในการศึกษา ๕.อปฺปมาทคารวตา ความเคารพในความไม่ประมาท ๖.ปฏิสนฺถารคารวตา ความเคารพในปฏิสันถาร คือ การต้อนรับปราศรัย
  33. จักรวรรดิวัตร ๑๒ : ๑.อนฺโตชนสฺมึ พลกายสฺมึ คุ้มครองสงเคราะห์แก่ชนในพระราชฐานและพยุหเสนา ๒.ขตฺติเยสุ แก่กษัตริย์เมืองขึ้นหรือผู้ครองนครภายใต้พระบรมเดชานุภาพ ๓.อนุยนฺเตสุ แก่กษัตริย์ที่ตามเสด็จคือ เหล่าเชื้อพระวงศ์ผู้เป็นราชบริพาร ๔.พฺราหฺมณคหปติเกสุ แก่พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ๕.เนคมชานปเทสุ แก่ชาวนิคมและชาวชนบทคือ ราษฎรพื้นเมืองทั้งเหล่าย ๖.สมณพฺราหฺมเณสุ แก่เหล่าสมณพราหมณ์ ๗.มิคปกฺขีสุ แก่เหล่าเนื้อนกอันพึงบำรุงไว้ให้มีสืบพันธุ์ ๘.อธมฺมการปฏิกฺเขโป ห้ามปรามมิให้มีความประพฤติการอันไม่เป็นธรรม ๙.อธนานํ ธนานุปฺปทานํ เจือจานทรัพย์ทำนุบำรุงแก่ผู้ขัดสนไร้ทรัพย์ ๑๐.สมณพฺราหฺมเณ อุปสงฺกมิตฺวา ปญฺหาปุจฺฉนํ ไปสู่หาพราหมณ์ไต่ถามอรรถปฤษณา ๑๑.อธมฺมราคสฺส ปหานํ เว้นความกำหนัดในกามโดยอาการไม่เป็นธรรม ๑๒.วิสมโลภสฺส ปหานํ เว้นโลภกล้า ไม่เลือกควรไม่ควร
  34. ฉันทะ : 1.ความพอใจ, ความชอบใจ, ความยินดี, ความต้องการ, ความรักใคร่สิ่งนั้นๆ, ความรักงาน (เป็นกลางๆ เป็นอกุศลก็มี เป็นกุศลก็มี, เป็นอัญญสมานาเจตสิกข้อ ๑๓, ที่เป็นอกุศล เช่นในกามฉันทะ ที่เป็นกุศลเช่น ข้อ ๑ ในอิทธิบาท ๔) 2.ความยินยอม, ความยอมให้ที่ประชุมทำกิจนั้นๆ ในเมื่อตนมิได้ร่วมอยู่ด้วย, เป็นธรรมเนียมของภิกษุ ที่อยู่ในวัดซึ่งมีสีมารวมกัน มีสิทธิที่จะเข้าประชุมทำกิจของสงฆ์ เว้นแต่ภิกษุนั้นอาพาธจะเข้าร่วมประชุมด้วยไม่ได้ ก็มอบฉันทะคือแสดงความยินยอมให้สงฆ์ทำกิจนั้นๆ ได้
  35. ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา : การอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม ได้แก่วิธีอุปสมบทที่สงฆ์เป็นผู้กระทำอย่างที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยภิกษุประชุมครบองค์กำหนด ในเขตชุมนุมซึ่งเรียกว่าสีมา กล่าววาจาประกาศเรื่องความที่จะรับคนนั้นเข้าหมู่ และได้รับความยินยอมของภิกษุทั้งปวงผู้เข้าประชุม เป็นสงฆ์นั้น; พระราธะเป็นบุคคลแรกที่ได้รับอุปสมบทอย่างนี้
  36. ญัตติทุติยกรรม : กรรมมีญัตติเป็นที่ ๒ หรือกรรมมีวาจาครบ ๒ ทั้งญัตติ, กรรมอันทำด้วยตั้งญัตติแล้วสวดอนุสาวนาหนเดียว เช่น การสมมติสีมา การสังคายนา และการมอบให้ผากฐิน เป็นต้น
  37. ญายธรรม : ความถูกต้องชอบธรรม, ความยุติธรรม, สิ่งที่สมเหตุผล, ทางที่ถูกต้อง, ข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง หมายถึง อริยอัฏฐังคิกมรรค, ภาวะอันจะลุถึงได้ด้วยข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง ได้แก่ นิพพาน
  38. ญายะ : ความถูกต้องชอบธรรม, ความยุติธรรม, สิ่งที่สมเหตุผล, ทางที่ถูกต้อง, ข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง หมายถึง อริยอัฏฐังคิกมรรค, ภาวะอันจะลุถึงได้ด้วยข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง ได้แก่ นิพพาน
  39. ทิฏฐธัมมิกัตถะ : ประโยชน์ในปัจจุบัน, ประโยชน์สุขสามัญที่มองเห็นกันในชาตินี้ ที่คนทั่วไปปรารถนา มีทรัพย์ ยศ เกียรติ ไมตรี เป็นต้น อันจะสำเร็จด้วยธรรม ๔ ประการ คือ ๑.อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น ๒.อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา ๓.กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี ๔.สมชีวิตา การเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้; มักเรียกคล่องปากว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์
  40. ทุลลภธรรม : สิ่งที่ได้ยาก, ความปรารถนาของคนในโลกที่ได้สมหมายโดยยาก มี ๔ คือ ๑.ขอโภคสมบัติจงเกิดมีแก่เราโดยทางชอบธรรม ๒.ขอยศจงเกดมีแก่เรากับญาติพวกพ้อง ๓.ขอเราจงรักษาอายุอยู่ได้ยืนนาน ๔.เมื่อสิ้นชีพแล้ว ขอเราจงไปบังเกิดในสวรรค์ ; ดู ธรรมเป็นเหตุให้สมหมาย ด้วย
  41. นิมิต : 1.เครื่องหมาย ได้แก่วัตถุอันเป็นเครื่องหมายแห่งสีมา, วัตถุที่ควรใช้เป็นนิมิตมี ๘ อย่าง ภูเข ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ น้ำ 2.(ในคำว่าทำนิมิต) ทำอาการเป็นเชิงชวนให้เขาถวาย, ขอเขาโดยวิธีให้รู้โดยนัย ไม่ขอตรงๆ 3.เครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนดในการเจริญกรรมฐาน, ภาพที่เห็นในใจของผู้เจริญกรรมฐาน, ภาพที่เป็นอารมณ์กรรมฐาน มี ๓ คือ ๑.บริกรรมนิมิต นิมิตแห่งบริกรรม หรือนิมิตตระเตรียม ได้แก่สิ่งที่เพ่ง หรือกำหนดนึกเป็นอารมณ์กรรมฐาน ๒.อุคคหนิมิต นิมิตที่ใจเรียน หรือนิมิตติดตาติดใจ ได้แก่ สิ่งที่เพ่งหรือนึกนั้นเอง ที่แม่นในใจ จนหลับตามองเห็น ๓.ปฏิภาคนิมิต นิมิตเสมือน หรือนิมิตเทียบเคียง ได้แก่ อุคคหนิมิตนั้น เจนใจจนกลายเป็นภาพที่เกิดจากสัญญา เป็นของบริสุทธิ์ จะนึกขยาย หรือย่อส่วนก็ได้ตามปรารถนา 4.สิ่งที่พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นก่อนเสด็จออกบรรพชา ๔ อย่าง ดู เทวทูต
  42. นิมิตขาด : (ในคำว่าสีมามีนิมิตขาด) สีมามีนิมิตแนวเดียว ชักแนวบรรจบไม่ถึงกัน; ตามนัยอรรถกถาว่า ทักนิมิต ไม่ครบรอบถึงจุดเดิมที่เริมต้น
  43. บริวาร : 1.ผู้แวดล้อม, ผู้ห้อมล้อม ติดตาม, ผู้รับใช้ 2.สิ่งแวดล้อม, ของสมบท, สิ่งประกอบร่วม เช่น ผ้าบริวาร บริวารกฐิน เป็นต้น 3.ชื่อคัมภีร์พระวินัยปิฎก หมวดสุดท้ายใน ๕ หมวด คือ อาทิกัมม์ ปาจิตตีย์ มหาวรรค จุลวรรค บริวาร
  44. บัณเฑาะว์ : (อ่านว่าบันเดาะ) กลองเล็กชนิดหนึ่งมีหนัง ๒ หน้าตรงกลางคอด ริมทั้ง ๒ ใหญ่ พราหมณ์ใช้ในพิธีต่างๆ ขับโดยใช้ลูกตุ้มกระทบหน้ากลองทั้ง ๒ ข้าง; สีมามีสัณฐานดุจบัณเฑาะว์ คือมีลักษณะทรวดทรงเหมือนบัณเฑาะว์
  45. บ้าน : ที่อยู่ของคนครัวเดียวกัน มีเรือนหลังเดียว ๒ หลัง ๓ หลัง หรือมากกว่านั้น หรือรวมบ้านเหล่านั้นเข้าเป็นหมู่ก็เรียกว่าบ้าน, คำว่า คามสีมา หมายถึงแดนบ้านตามนัยหลังนี้
  46. ปฏิรูป : สมควร, เหมาะสม, ปรับปรุงให้สมควร; ถ้าอยู่ท้ายในคำสมาสแปลว่า เทียม ปลอม ไม่แท้ เช่น สัทธรรม ปฏิรูป แปลว่า สัทธรรมเทียม หรือ ธรรมปลอม
  47. ปฐมาปัตติกะ : ให้ต้องอาบัติแต่แรกทำ หมายถึง อาบัติสังฆาทิเสส ๙ สิกขาบท ข้างต้นซึ่งภิกษุล่วงเข้าแล้ว ต้องอาบัติทันที สงฆ์ไม่ต้องสวดสมนุภาสน์ คู่กับ ยาวตติยกะ
  48. ปาริสุทธิ : ความบริสุทธิ์ของภิกษุ; เป็นธรรมเนียมว่า ถ้ามีภิกษุอาพาธอยู่ในสีมาเดียวกัน เมื่อถึงวันอุโบสถไม่สามารถไปร่วมประชุมได้ ภิกษุผู้อาพาธต้องมอบปาริสุทธิแก่ภิกษุรูปหนึ่งมาแจ้งแก่สงฆ์ คือให้นำความมาแจ้งแก่สงฆ์ว่าตนมีความบริสุทธิ์ทางพระวินัยไม่มีอาบัติติดค้าง หรือในวันอุโบสถ มีภิกษุอยู่เพียงสองหรือสามรูป (คือเป็นเพียงคณะ) ไม่ครบองค์สงฆ์ที่จะสวดปาฏิโมกข์ได้ ก็ให้ภิกษุสองหรือสามรูปนั้นบอกความบริสุทธิ์แก่กันแทนการสวดปาฏิโมกข์
  49. ภัททกาปิลานี : พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง เป็นธิดาพราหมณ์โกสิยโคตรในสาคลนครแห่งมัททรัฐ (คัมภีร์อปทานว่าไว้ชัดดังนี้ แต่อรรถกถาอังคุตตรนิกายคลาดเคลื่อนเป็นแคว้นมคธ) พออายุ ๑๖ ปี ได้สมรสกับปิปผลิมาณพ (พระมหากัสสปะ) ต่อมามีความเบื่อหน่ายในฆราวาส จึงออกบวชเป็นปริพาชิกา เมื่อพระมหาปชาบดีผนวชเป็นภิกษุณีแล้ว นางได้มาบวชอยู่ในสำนักของพระมหาปชาบดี เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานด้วยความไม่ประมาท ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางปุพเพนิวาสานุสสติ เรียกภัททากาปิลานี บ้าง ภัททากปิลานีบ้าง
  50. มูลนาย : (ในคำว่า “เลขสม คือ เลขสมัครมีมูลนาย”) ผู้อุปการะเป็นเจ้าบุญนายคุณ อย่างที่ใช้ว่า เจ้าขุนมูลนาย
  51. [1-50] | 51-72

(0.0337 sec)