อาบัติชั่วหยาบ :
ในประโยคว่า “บอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบัน” อาบัติปาราชิก และอาบัติสังฆาทิเสส ดู ทุฏฐุลลาบัติ
วาจาชั่วหยาบ :
ในวินัยหมายถึงถ้อยคำพาดพิงทวารหนักทวารเบาและเมถุน ดู ทุฏฐุลลวาจา
ทารุณ : หยาบช้า, ร้ายกาจ, รุนแรง, ดุร้าย, โหดร้าย
กุศลกรรมบถ : ทางแห่งกรรมดี, ทางทำดี, ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติมี ๑๐ อย่าง คือก.กายกรรม ๓ ได้แก่ ๑.ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำลายชีวิต ๒.อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาของที่เข้ามิได้ให้ ๓.กาเมสุมิจฉาจาร เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกามข.วจีกรรม ๔ ได้แก่ ๔.มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ ๕.ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด ๖.ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ ๗.สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อค.มโนกรรม ๓ ได้แก่ ๘.อนภิชฌา ไม่โลภคอยจ้องอยากได้ของเขา ๙.อพยาบาท ไม่คิดร้ายเบียดเบียนเขา ๑๐.สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม
ถุลลัจจัย :
“ความล่วงละเมิดที่หยาบ”, ชื่ออาบัติหยาบอย่างหนึ่งเป็นความผิดขั้นถัดรองลงมาจากอาบัติสังฆาทิเสส เช่น ภิกษุชักสื่อให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ภิกษุชักสื่อบัณเฑาะก์ (กะเทย) ต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุนุ่งห่มหนังเสืออย่างเดียรถีย์ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ดู อาบัติ
ทุฏฐุลลวาจา : วาจาชั่วหยาบ เป็นชื่ออาบัติสังฆาทิเสสข้อที่ ๓ ที่ว่าภิกษุผู้มีความกำหนัด พูดเคาะมาตุคามด้วย วาจาชั่วหยาบ คือ พูดเกี้ยวหญิง กล่าววาจาหยาบโลมพาดพิงเมถุน
ทุฏฐุลลาบัติ : อาบัติชั่วหยาบ ได้แก่อาบัติปาราชิก และสังฆาทิเสส แต่ในบางกรณีท่านหมายเอาเฉพาะอาบัติสังฆาทิเสส
ผรุสวาจา : วาจาหยาบ, คำพูดเผ็ดร้อน, คำหยาบคาย (ข้อ ๖ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)
ผรุสาย วาจาย เวรมณี : เว้นจากพูดคำหยาบ (ข้อ ๖ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)
มิจฉาวาจา : วาจาผด, เจรจาผิด ได้แก่ ๑.มุสาวาท พูดปด ๒.ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด ๓.ผรุสวาจา พูดคำหยาบ ๔.สัมผัปปลาป พูดเพ้อเจ้อ
โลน : กิริยาวาจาหยาบคายไม่สุภาพ
วจีกรรม :
การกระทำทางวาจา, การกระทำด้วยวาจา, ทำกรรมด้วยคำพูด, ที่ดี เช่น พูดจริง พูดคำสุภาพ ที่ชั่ว เช่น พูดเท็จ พูดคำหยาบ ดู กุศลกรรมบถ, อกุศลกรรมบถ
วจีทุจริต :
ประพฤติชั่วด้วยวาจา, ประพฤติชั่วทางวาจามี ๔ อย่างคือ ๑.มุสาวาท พูดเท็จ ๒.ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด ๓.ผรุสวาจา พูดคำหยาบ ๔.สัมผัปปลาป พูดเพ้อเจ้อ ดู ทุจริต
สันตติ : การสืบต่อ คือ การเกิดดับต่อเนื่องกันไปโดยอาการที่เป็นปัจจัยส่งผลแก่กัน ในทางรูปธรรม ที่พอมองเห็นอย่างหยาบ เช่น ขนเก่าหลุดร่วง ไปขนใหม่เกิดขึ้นแทน ความสืบต่อแห่งรูปธรรม จัดเป็น อุปาทายรูป อย่างหนึ่ง; ในทางนางธรรม จิตก็มีสันตติ คือเกิดดับเป็นปัจจัยสืบเนื่องต่อกันไป
อกุศลกรรมบถ : ทางแห่งกรรมชั่ว, ทางแห่งกรรมที่เป็นอกุศล, กรรมชั่วอันเป็นทางนำไปสู่ทุคติ มี ๑๐ อย่าง คือ ก) กรรม ๓ ได้แก่ ๑) ปาณาติบาต การทำลายชีวิต ๒) อทินนาทาน ถือเอาของที่เขามิได้ให้ ๓) กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม ข) วจีกรรม ๔ ได้แก่ ๔) มุสาวาท พูดเท็จ ๕) ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด ๖) ผรุสวาจา พูดคำหยาบ ๗) สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ ค) มโนกรรม ๓ ได้แก่ ๘) อภิชฌา ละโมบคอยจ้องอยากได้ของเขา ๙) พยาบาท คิดร้ายเขา ๑๐) มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม เทียบ กุศลกรรมบถ
อัฏฐารสเภทกรวัตถุ : เรื่องทำความแตกกัน ๑๘ อย่าง, เรื่องที่จะก่อให้เกิดความแตกแยกแก่สงฆ์ ๑๘ ประการ ท่านจัดเป็น ๙ คู่ (แสดงแต่ฝ่ายคี่) คือ ภิกษุแสดงสิ่งมิใช่ธรรมว่าเป็นธรรม, แสดงสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นวินัย, แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ตรัสว่าได้ตรัส, แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ประพฤติ ว่าได้ประพฤติ, แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้บัญญัติ ว่าได้บัญญัติ, แสดงอาบัติว่ามิใช่อาบัติ, แสดงอาบัติเบาว่าเป็นอาบัติหนัก, แสดงอาบัติมีส่วนเหลือวาเป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ, แสดงอาบัติหยาบคายว่ามิใช่อาบัติหยาบคาย (ฝ่ายคู่ก็ตรงกันข้ามจากนี้ตามลำดับ เช่น แสดงธรรมว่ามิใช่ธรรม, แสดงวินัยว่ามิใช่วินัย ฯลฯ แสดงอาบัติไม่หยาบคาย ว่าเป็นอาบัติหยาบคาย)
อัตตวาทุปาทาน : การถือมั่นวาทะว่าตน คือ ความยึดถือสำคัญมั่นหมายว่า นั่นนี่เป็นตัวตน เช่น มองเห็นเบญจขันธ์เป็นอัตตา, อย่างหยาบขึ้นมา เช่น ยึดถือมั่นหมายว่า นี่เรา นั่นของเรา จนเป็นเหตุแบ่งแยกเป็นพวกเรา พวกเขา และเกิดความถือพวก (ข้อ ๔ ในอุปาทาน ๔)
อาบัติ : การต้อง, การล่วงละเมิด, โทษที่เกิดแต่การละเมิดสิกขาบท; อาบัติ ๗ คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต; อาบัติ ๗ กองนี้จัดรวมเป็นประเภทได้หลายอย่าง โดยมากจัดเป็น ๒ เช่น ๑) ครุกาบัติ อาบัติหนัก (ปาราชิกและสังฆาทิเสส) ๒) ลหุกาบัติ อาบัติเบา (อาบัติ ๕ อย่างที่เหลือ); คู่ต่อไปนี้ก็เหมือนกัน คือ ๑) ทุฏฐลลาบัติ อาบัติไม่ชั่วหยาบ; ๑) อเทสนนาคามินี อาบัติที่ไม่พ้นได้ด้วยการแสดง ๒) เทสนาคามินี อาบัติที่พ้นได้ด้วยการแสดงคือเปิดเผยความผิดของตน; คู่ต่อไปนี้จัดต่างออกไปอีกแบบหนึ่งตรงกันทั้งหมด คือ ๑) อเตกิจฉา เยียวยาแก้ไขไม่ได้ (ปาราชิก) ๒) สเตกิจฉา เยียวยาแก้ไขได้ (อาบัติ ๖ อย่างที่เหลือ); ๑) อนวเสส ไม่มีส่วนเหลือ ๒) สาวเสส ยังมีส่วนเหลือ; ๑) อัปปฏิกัมม์หรืออปฏิกรรม ทำคืนไม่ได้คือแก้ไขไม่ได้ ๒) สัปปฏิกัมม์ หรือ สปฏิกรรม ยังทำคืนได้ คือแก้ไขได้
โอรัมภาคิยสังโยชน์ :
สังโยชน์เบื้องต่ำ, กิเลสผูกใจสัตว์อย่างหยาบ มี ๕ อย่าง คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามราคะ ปฏิฆะ; ดู สังโยชน์