Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หลักธรรม, หลัก, ธรรม , then ธมฺม, ธรรม, ธรรมะ, ธรรมา, หลก, หลัก, หลักธรรม, หลักธรรมะ .

Budhism Thai-Thai Dict : หลักธรรม, 580 found, display 1-50
  1. ธรรม : สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจจธรรม, ความจริง; เหตุ, ต้นเหตุ; สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด; คุณธรรม, ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ; หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่; ความชอบ, ความยุติธรรม; พระธรรม, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฏขึ้น
  2. หลักกำหนดธรรมวินัย : หลักตัดสินธรรมวินัย หรือลักษณะตัดสินธรรม วินัย ๘ อย่าง คือ ก.ธรรมเหล่าใด เป็นไป ๑.เพื่อความย้อมใจติด ๒.เพื่อความประกอบทุกข์ ๓.เพื่อความพอกพูนกิเลส ๔.เพื่อความมักมากอยากใหญ่ ๕.เพื่อความไม่สันโดษ ๖.เพื่อความคลุกคลีในหมู่ ๗.เพื่อความเกียจคร้าน ๘.เพื่อความเลี้ยงยาก, ธรรมเหล่านี้ พึงรู้ว่าไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่สัตถุศาสน์, ข.ธรรมเหล่าใดเป็นไป ๑.เพื่อความคลายหายติด ๒.เพื่อความไม่ประกอบทุกข์ ๓.เพื่อความไม่พอกพูนกิเลส ๔.เพื่อความมักน้อย ๕.เพื่อความสันโดษ ๖.เพื่อความสงัด ๗.เพื่อการประกอบความเพียร ๘.เพื่อความเลี้ยงง่าย, ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่า เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุศาสน์
  3. ธรรมวินัย : ธรรมและวินัย, คำสั่งสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้า ซึ่งประกอบด้วย ธรรม= คำสอนแสดงหลักความจริงและแนะนำความประพฤติ, วินัย = บทบัญญัติกำหนดระเบียบความเป็นอยู่และกำกับความประพฤติ ; ธรรม= เครื่องควบคุมใจ, วินัย= เครื่องควบคุมกายและวาจา
  4. ธรรม ๒ หมวดหนึ่ง : คือ ๑.รูปธรรม ได้แก่รูปขันธ์ทั้งหมด ๒.อรูปธรรม ได้แก่ นามขันธ์ ๔ และนิพพาน; อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑.โลกียธรรม ธรรมเป็นเป็นวิสัยของโลก ๒.โลกุตตรธรรม ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ; อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑.สังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งได้แก่ขันธ์ ๕ ทั้งหมด ๒.อสังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ได้แก่ นิพพาน
  5. ธรรมวาที : “ผู้มีปกติกล่าวธรรม”, ผู้พูดเป็นธรรม, ผู้พูดตามธรรม, ผู้พูดตรงตามธรรมหรือพูดถูกต้องตามหลักไม่พูดผิดธรรม ไม่พูดนอกหลักธรรม
  6. ธรรมสวนะ : การฟังธรรม, การหาความรู้ความเข้าใจในหลักความจริง ความถูกต้องดีงาม ด้วยการเล่าเรียน อ่านและสดับฟัง, การศึกษาหาความรู้ ที่ปราศจากโทษ; ธัมมัสสวนะ ก็เขียน
  7. ขัตติยธรรม : หลักธรรมสำหรับกษัตริย์, ธรรมของพระเจ้าแผ่นดิน
  8. ครุธรรม : ธรรมอันหนัก, หลักความประพฤติสำหรับนางภิกษุณีจะพึงถือเป็นเรื่องสำคัญอันต้องปฏิบัติด้วยความเคารพไม่ละเมิดตลอดชีวิต มี ๘ ประการ คือ ๑.ภิกษุณีแม้บวชร้อยพรรษาแล้ว ก็ต้องกราบไหว้ภิกษุแม้บวชวันเดียว ๒.ภิกษุณีจะอยู่ในวัดที่ไม่มีภิกษุไม่ได้ ๓.ภิกษุณีต้องไปถามวันอุโบสถและเข้าไปฟังโอวาทจากภิกษุทุกกึ่งเดือน ๔.ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้วต้องปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่ายโดยสถานทั้ง ๓ คือ โดยได้เห็น โดยได้ยิน โดยรังเกียจ (รังเกียจหมายถึง ระแวงสงสัยหรือประพฤติกรรมอะไรที่น่าเคลือบแคลง) ๕.ภิกษุณีต้องอาบัติหนัก ต้องประพฤติมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย (คือ ทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์) ๑๕ วัน ๖.ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสัมปทาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย เพื่อนางสิกขมานา ๗.ภิกษุณีไม่พึงด่าไม่พึงบริภาษภิกษุไม่ว่าจะโดยปริยายใดๆ ๘.ไม่ให้ภิกษุณีว่ากล่าวภิกษุแต่ภิกษุว่ากล่าวภิกษุณีได้
  9. ฆราวาสธรรม : หลักธรรมสำหรับการครองเรือน, ธรรมของผู้ครองเรือน มี ๔ อย่างคือ ๑.สัจจะ ความจริง เช่น ซื่อสัตย์ต่อกัน ๒.ทมะ ความฝึกฝน ปรับปรุงตน เช่น รู้จักข่มใจ ควบคุมอารมณ์ บังคับตนเองปรับตัวเข้ากับการงานและสิ่งแวดล้อมให้ได้ดี ๓.ขันติ ความอดทน ๔.จาคะ ความเสียสละ เผื่อแผ่ แบ่งปัน มีน้ำใจ
  10. วิหารธรรม : ธรรมเป็นเครื่องอยู่, ธรรมประจำใจ, ธรรมที่เป็นหลักใจในการดำเนินชีวิต
  11. สัจจธรรม : ธรรมที่จริงแท้, หลักสัจจะ เช่น ในคำว่า อริยสัจธรรมทั้ง ๔
  12. สัปปุริสธรรม : ธรรมของสัตบุรุษ, ธรรมของคนดี, ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ มี ๗ อย่างคือ ๑.ธัมมัญญุตา รู้หลักหรือรู้จักเหตุ ๒.อัตถัญญุตา รู้ความมุ่งหมายหรือรู้จักผล ๓.อัตตัญญุตา รู้จักตน ๔.มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ ๕.กาลัญญุตา รู้จักกาล ๖.ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน ๗.ปุคคลัญญุตา รู้จักบุคคล; อีกหมวดหนึ่งมี ๘ อย่างคือ ๑.ประกอบด้วย สัทธรรม ๗ ประการ ๒.ภักดีสัตบุรษ (คบหาผู้มีสัทธรรม ๗) ๓.คิดอย่างสัตบุรุษ ๔.ปรึกษาอย่างสัตบุรุษ ๕.พูดอย่างสัตบุรุษ ๖.ทำอย่างสัตบุรุษ (๓-๔-๕-๖ คือ คิดปรึกษา พูด ทำ มิใช่เพื่อเบียดเบียนตน และผู้อื่น) ๗.มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ (คือเห็นชอบว่า ทำดีมีผลดี ทำชั่วมีผลชั่วเป็นต้น) ๘.ให้ทานอย่างสัตบุรุษ (คือให้โดยเคารพ เอื้อเฟื้อ แก่ของและผู้รับทาน เป็นต้น)
  13. สัมปรายิกัตถะ : ประโยชน์ภายหน้า, ประโยชน์ขั้นสูงขึ้นไป อันได้แก่ความมีจิตใจเจริญงอกงามด้วยคุณธรรมความดี ทำให้ชีวิตนี้มีค่าและเป็นหลักประกันชีวิตในภพหน้า ซึ่งจะสำเร็จได้ด้วยธรรม ๔ ประการ คือ ๑.สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๒.สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล ๓.จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาค ๔.ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา ธรรม ๔ อย่างนี้เรียกเต็มว่า สัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม
  14. ธรรมานุธรรมปฏิบัติ : การประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม หมายถึงการปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลัก เช่น หลักย่อยสอดคล้องกับหลักใหญ่ และเข้าแนวกับธรรมที่เป็นจุดมั่งหมาย, ปฏิบัติถูกต้องตามกระบวนธรรม; ดู วุฑฒิ
  15. พร้อมหน้าธรรมวินัย : (ระงับอธิกรณ์) โดยนำเอาธรรมวินัย และสัตถุศาสน์ที่เป็นหลักสำหรับระงับอธิกรณ์นั้นมาใช้โดยครบถ้วน คือวินิจฉัยถูกต้องโดยธรรมและถูกต้องโดยวินัย (ธัมมสัมมุขตา วินยสัมมุขตา)
  16. ลักษณะตัดสินธรรมวินัย : ดู หลักตัดสินธรรมวินัย
  17. ธรรมปฏิรูป : ธรรมปลอม, ธรรมที่ไม่แท้, ธรรมเทียม
  18. ธรรมเป็นเหตุให้สมหมาย : ธรรมที่จะช่วยให้ได้ ทุลลภธรรม สมหมายมี ๔ คือ ๑.สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๒.สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล ๓.จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาค ๔.ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา
  19. ธรรมพิเศษ : ธรรมชั้นสูง หมายถึง โลกุตตรธรรม
  20. รัฏฐานุบาลโนบายราชธรรม : ธรรมของพระราชา ซึ่งเป็นวิธีปกครองบ้านเมือง, หลักธรรมสำหรับพระราชาใช้เป็นแนวปกครองบ้านเมือง
  21. สัจธรรม : ธรรมที่จริงแท้, หลักสัจจะ เช่น ในคำว่า อริยสัจธรรมทั้ง ๔
  22. อธิกรณสมถะ : ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์, วิธีดำเนินการเพื่อระงับอธิกรณ์มี ๗ อย่าง คือ ๑) สัมมุขาวินัย วิธีระงับในที่พร้อมหน้า ๒) สติวินัย วิธีระงับโดยถือสติเป็นหลัก ๓) อมูฬหวินัย วิธีระงับสำหรับผู้หายจากเป็นบ้า ๔) ปฏิญญาตกรณะ การทำตามที่รับ ๕) ตัสสปาปิยสิกา การตัดสินลงโทษแก่ผู้ผิด (ที่ไม่รับ) ๖) เยภุยยสิกา การตัดสินตามคำของคนข้างมาก ๗) ติณวัตถารกวินัย วิธีดุจกลบไว้ด้วยหญ้า (ประนีประนอม)
  23. ธรรมกามะ : ผู้ใคร่ธรรม, ผู้ชอบตริตรองสอดส่องธรรม
  24. ธรรมของฆราวาส ๔ : ดู ฆราวาสธรรม
  25. ธรรมขันธ์ : กองธรรม, หมวดธรรม, ประมวลธรรมเข้าเป็นหมวดใหญ่ มี ๕ คือ สีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ; กำหนดหมวดธรรมในพระไตรปิฎกว่ามี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็นวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ สุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ และอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
  26. ธรรมคุณ : คุณของพระธรรม มี ๖ อย่าง คือ ๑.สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ๒.สนฺทิฏฺฐิโก อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ๓.อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาล ๔.เอหิปสฺสิโก ควรเรียกให้มาดู ๕.โอปนยิโก ควรน้อมเข้ามา ๖.ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
  27. ธรรมคุ้มครองโลก : ดู โลกบาลธรรม
  28. ธรรมจริยา : การประพฤติธรรม, การประพฤติเป็นธรรม, การประพฤติถูกตามธรรม เป็นชื่อหนึ่งของ กุศลกรรมบถ ๑๐
  29. ธรรมจักษุ : ดวงตาเห็นธรรมคือ ปัญญา รู้เห็นความจริงว่า สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวง ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา; ธรรมจักษุโดยทั่วไป เช่น ที่เกิดแก่ท่านโกณฑัญญะเมื่อสดับธรรมจักร ได้แก่ โสดาปัตติมรรคหรือโสดาปัตติมรรคญาณ คือญาณที่ทำให้เป็นโสดาบน
  30. ธรรมเจดีย์ : เจดีย์บรรจุพระธรรมคือ จารึกพระพุทธพจน์ เช่น อริยสัจ ปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น ลงในใบลานแล้วนำไปบรรจุในเจดีย์ (ข้อ ๓ ในเจดีย์ ๔)
  31. ธรรมฐิติ : ความดำรงคงตัวแห่งธรรม, ความตั้งอยู่แน่นอนแห่งกฎธรรมดา
  32. ธรรมทาน : การให้ธรรม, การสั่งสอนแนะนำเกี่ยวกับธรรม, การให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ดู ทาน
  33. ธรรมทายาท : ทายาทแห่งธรรม, ผู้รับมรดกธรรม, ผู้รับเอาธรรมของพระพุทธเจ้ามาเป็นสมบัติด้วยการประพฤติปฏิบัติให้เข้าถึง; โดยหมายถึงรับเอาโลกุตตรธรรม ๙ ไว้ได้ด้วยการบรรลุเอง โดยอ้อมหมายถึง รับปฏิบัติกุศลธรรม จะเป็นทาน ศีล หรือภาวนาก็ตาม ตลอดจนการบูชา ที่เป็นไปเพื่อบรรลุซึ่งโลกุตตรธรรมนั้น เทียบ อามิสทายาท
  34. ธรรมเทศนา : การแสดงธรรม, การบรรยายธรรม
  35. ธรรมเทศนาปฏิสังยุต : ธรรมเนียมที่เกี่ยวกับการแสดงธรรม (หมวดที่ ๓ แห่งเสขิยวัตร มี ๑๖ สิกขาบท)
  36. ธรรมเทศนาสิกขาบท : สิกขาบทปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้แสดงธรรมแก่มาตุคามเกินกว่า ๕-๖ คำเว้นแต่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ด้วย (สิกขาบทที่ ๗.ในมุสาวาทวรรคแห่งปาจิตตีย์)
  37. ธรรมนิยาม : กำหนดแน่นอนแห่งธรรมดา กฎธรรมชาติที่ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง, สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ดู ไตรลักษณ์
  38. ธรรมปฏิบัติ : การปฏิบัติธรรม; การปฏิบัติที่ถูกต้องตามธรรม
  39. ธรรมปฏิสันถาร : การต้อนรับด้วยธรรม คือกล่าวธรรมให้ฟังหรือแนะนำในทางธรรม อย่างนี้เป็นธรรมปฏิสันถารโดยเอกเทศคือส่วนหนึ่งด้านหนึ่ง ธรรมปฏิสันถารที่บำเพ็ญอยู่อย่างบริบูรณ์ คือการต้อนรับโดยธรรม ได้แก่ เอาใจใส่ช่วยเหลือสงเคราะห์ แก่ไขปัญหาบรรเทาข้อสงสัย ขจัดปัดเป่าข้อติดขัดยากลำบากเดือนร้อนทั้งหลาย ให้เขาลุล่วงกิจอันเป็นกุศล พ้นความอึดอัดขัดข้อง เทียบ อามิสปฏิสันถาร
  40. ธรรมเป็นโลกบาล ๒ : คือ ๑.หิริ ความละอายแก่ใจ ๒.โอตตัปปะ ความกลัวบาป ดู โลกบาลธรรม
  41. ธรรมไพบูลย์ : ความไพบูลย์แห่งธรรม, ความพรั่งพร้อมเต็มเปี่ยมแห่งธรรม ด้วยการฝึกฝนอบรมให้มีในตนจนบริบูรณ์ หรือด้วยการประพฤติปฏิบัติกันในสังคมจนแพร่หลายทั่วไปทั้งหลาย ดู ไพบูลย์ เวปุลละ
  42. ธรรมภาษิต : ถ้อยคำที่เป็นธรรม, ถ้อยคำที่แสดงธรรม หรือเกี่ยวกับธรรม
  43. ธรรมยุต : ดู คณะธรรมยุต
  44. ธรรมยุติกนิกาย : ดู คณะธรรมยุต
  45. ธรรมราชา : พระราชาแห่งธรรม, พระราชาโดยธรรม หมายถึงพระพุทธเจ้าและบางแห่งหมายถึง พระเจ้าจักรพรรดิ
  46. ธรรมวิจัย : การเฟ้นธรรม ดู ธัมมวิจยะ
  47. ธรรมวิจารณ์ : การใคร่ครวญพิจารณาข้อธรรมต่างๆ ว่าแต่ละข้อมีอรรถคือความหมายอย่างไร ตื้นลึกเพียงไรแล้ว แสดงความคิดเห็นออกมาว่าธรรมข้อนั้นข้อนี้มีอรรถคือความหมายอย่างนั้นอย่างนี้
  48. ธรรมวิภาค : การจำแนกธรรม, การจัดหัวข้อธรรมจำแนกออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกแก่การศึกษาค้นคว้าอธิบายและทำความเข้าใจ
  49. ธรรมสมโภค : คบหากันในทางเรียนธรรม ได้แก่ สอนธรรมให้หรือขอเรียนธรรม
  50. ธรรมสมาทาน : การสมาทานหรือปฏิบัติธรรม, การทำกรรม จัดได้เป็น ๔ ประเภท คือ การทำกรรมบางอย่างให้ทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป, บางอย่างให้ทุกข์ในปัจจุบันแต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป, บางอย่างให้สุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป, บางอย่างให้สุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-580

(0.0801 sec)