อวิชชา : ความไม่รู้จริง, ความหลงอันเป็นเหตุไม่รู้จริง มี ๔ คือความไม่รู้อริยสัจ ๔ แต่ละอย่าง (ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุเกิดแห่งทุกข์ ไม่รู้ความดับทุกข์ ไม่รู้ทางให้ถึงความดับทุกข์), อวิชชา ๘ คือ อวิชชา ๔ นั้น และเพิ่ม ๕) ไม่รู้อดีต ๖) ไม่รู้อนาคต ๗) ไม่รู้ทั้งอดีตทั้งอนาคต ๘) ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท
อวิชชาสวะ : อาสวะคืออวิชชา, กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ทำให้ไม่รู้ตามความเป็นจริง (ข้อ ๓ ในอาสวะ ๓, ข้อ ๔ ในอาสวะ ๔)
อวิทยา : ความไม่รู้, อวิชชา
โมหะ : ความหลง, ความไม่รู้ตามเป็นจริง, อวิชชา (ข้อ ๓ ในอกุศลมูล ๓)
ไตรวัฏ : วัฏฏะ ๓, วงวน ๓ หรือวงจร ๓ ส่วนของปฏิจจสมุปบาท หมุนเวียนสืบทอดต่อๆ กันไป ทำให้มีการเวียนว่ายตายเกิด หรือวงจรแห่งทุกข์ ได้แก่ กิเลส กรรม และวิบาก (เรียกเต็มว่า ๑.กิเลสวัฏ ประกอบด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ๒.กรรมวัฏ ประกอบด้วย สังขาร ภพ ๓.วิปากวัฏ ประกอบด้วย วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส) คือ กิเลสเป็นเหตุให้ทำกรรม เมื่อทำกรรมก็ได้รับวิบากคือผลของกรรมนั้น อันเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสแล้วทำกรรมหมุนเวียนต่อไปอีก เช่น เกิดกิเลสอยากได้ของเขา จึงทำกรรมด้วยการไปลักของเขามา ประสบวิบากคือได้ของนั้นมาเสพเสวยเกิดสุข เวทนา ทำให้มีกิเลสเหิมใจอยากได้รุนแรงและมากยิ่งขึ้นจึงยิ่งทำกรรมมากขึ้น หรือในทางตรงข้ามถูกขัดขวาง ได้รับทุกขเวทนาเป็นวิบาก ทำให้เกิดกิเลส คือโทสะแค้นเคือง แล้วพยายามทำกรรมคือประทุษร้ายเขา เมื่อเป็นอยู่อย่างนี้ วงจรจะหมุนเวียนต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด
ไตรวัฏฏ์ : วัฏฏะ ๓, วงวน ๓ หรือวงจร ๓ ส่วนของปฏิจจสมุปบาท หมุนเวียนสืบทอดต่อๆ กันไป ทำให้มีการเวียนว่ายตายเกิด หรือวงจรแห่งทุกข์ ได้แก่ กิเลส กรรม และวิบาก (เรียกเต็มว่า ๑.กิเลสวัฏ ประกอบด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ๒.กรรมวัฏ ประกอบด้วย สังขาร ภพ ๓.วิปากวัฏ ประกอบด้วย วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส) คือ กิเลสเป็นเหตุให้ทำกรรม เมื่อทำกรรมก็ได้รับวิบากคือผลของกรรมนั้น อันเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสแล้วทำกรรมหมุนเวียนต่อไปอีก เช่น เกิดกิเลสอยากได้ของเขา จึงทำกรรมด้วยการไปลักของเขามา ประสบวิบากคือได้ของนั้นมาเสพเสวยเกิดสุข เวทนา ทำให้มีกิเลสเหิมใจอยากได้รุนแรงและมากยิ่งขึ้นจึงยิ่งทำกรรมมากขึ้น หรือในทางตรงข้ามถูกขัดขวาง ได้รับทุกขเวทนาเป็นวิบาก ทำให้เกิดกิเลส คือโทสะแค้นเคือง แล้วพยายามทำกรรมคือประทุษร้ายเขา เมื่อเป็นอยู่อย่างนี้ วงจรจะหมุนเวียนต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด
โยคะ : 1.กิเลสเครื่องประกอบ คือประกอบสัตว์ไว้ในภพ หรือผูกสัตว์ดุจเทียมไว้กับแอก มี ๔ คือ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา 2.ความเพียร
สังโยชน์ : กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ ก.โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่ ๑.สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน ๒.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ๓.สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต ๔.กามราคะ ความติดใจในกามคุณ ๕.ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ ข.อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่ ๖.รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต ๗.อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม ๘.มานะ ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่ ๙.อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน ๑๐.อวิชชา ความไม่รู้จริง; พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้, พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย, พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด, พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ; ในพระอภิธรรมท่านแสดงสังโยชน์อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑.กามราคะ ๒.ปฏิฆะ ๓.มานะ ๔.ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๕.วิจิกิจฉา ๖.สีลัพพตปรามาส ๗.ภวราคะ (ความติดใจในภพ) ๘.อิสสา (ความริษยา) ๙.มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ๑๐.อวิชชา
อนุสัย : กิเลสที่แฝงตัวนอนเนื่องอยู่ในสันดาน มี ๗ คือ ๑) กามราคะ ความกำหนัดในกาม ๒) ปฏิฆะ ความหงุดหงิด ๓) ทิฏฐิ ความเห็นผิด ๔) วิจิกิจฉา ความลังเลสัยสัย ๕) มานะ ความถือตัว ๖) ภวราคะ ความกำหนดในภพ ๗) อวิชชา ความไม่รู้จริง
อรหํ : เป็นพระอรหันต์ คือ เป็นผู้ไกลจากกิเลสและบาปธรรม ทรงความบริสุทธิ์, หรือเป็นผู้กำจัดข้าศึกคือกิเลสสิ้นแล้ว, หรือเป็นผู้หักกรรมแห่งสังสารจักร อันได้แก่ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม, หรือเป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอน เป็นผู้ควรรับความเคารพ ควรแก่ทักษิณา และการบูชาพิเศษ, หรือเป็นผู้ไม่มีข้อลับ คือไม่มีข้อเสียหาย อันควรปกปิด (ข้อ ๑ ในพุทธคุณ ๙)
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ :
สังโยชน์เบื้องสูง ได้แก่ กิเลสผูกใจสัตว์อย่างละเอียด มี ๕ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา พระอรหันตจึงละได้; ดู สังโยชน์
โอฆะ : ห้วงน้ำคือสงสาร, ห้วงน้ำคือการเวียนว่ายต่ายเกิด; กิเลสอันเป็นดุจกระแสน้ำหลากท่วมใจสัตว์ มี ๔ คือ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา
ตถาคต : พระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า เป็นคำที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกหรือตรัสถึงพระองค์เอง แปลได้ความหมาย ๘ อย่าง คือ ๑.พระผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น คือ เสด็จมาทรงบำเพ็ญพุทธจริยา เพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก เป็นต้น เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ อย่างไรก็อย่างนั้น ๒.พระผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น คือทรงทำลายอวิชชาสละปวงกิเลสเสด็จไปเหมือนอย่างพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ อย่างไรก็อย่างนั้น ๓.พระผู้เสด็จมาถึงตถลักษณะ คือ ทรงมีพระญาณหยั่งรู้เข้าถึงลักษณะที่แท้จริงของสิ่งทั้งหลายหรือของธรรมทุกอย่าง๔.พระผู้ตรัสรู้ตถธรรมตามที่มันเป็น คือ ตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือปฏิจจสมุปบาทอันเป็นธรรมที่จริงแท้แน่นอน ๕.พระผู้ทรงเห็นอย่างนี้ คือ ทรงรู้เท่าทันสรรพอารมณ์ที่ปรากฏแก่หมู่สัตว์ทั้งเทพและมนุษย์ ซึ่งสัตวโลกตลอดถึงเทพถึงพรหมได้ประสบและพากันแสวงหา ทรงเข้าใจสภาพที่แท้จริง ๖.พระผู้ตรัสอย่างนั้น (หรือมีพระวาจาที่แท้จริง) คือ พระดำรัสทั้งปวงนับแต่ตรัสรู้จนเสด็จดับขันธปรินิพพาน ล้วนเป็นสิ่งแท้จริงถูกต้อง ไม่เป็นอย่างอื่น ๗.พระผู้ทำอย่างนั้น คือ ตรัสอย่างใดทำอย่างนั้น ทำอย่างใด ตรัสอย่างนั้น ๘.พระผู้เป็นเจ้า (อภิภู) คือ ทรงเป็นผู้ใหญ่ยิ่งเหนือกว่าสรรพสัตว์ตลอดถึงพระพรหมที่สูงสุด เป็นผู้เห็นถ่องแท้ ทรงอำนาจ เป็นราชาที่พระราชาทรงบูชา เป็นเทพแห่งเทพ เป็นอินทร์เหนือพระอินทร์ เป็นพรหมเหนือประดาพรหม ไม่มีใครจะอาจวัดหรือจะทดเทียมพระองค์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ
ปฏิโลม : ทวนลำดับ, ย้อนจากปลายมาหาต้น เช่นว่า ตจปัญจกกัมมัฏฐาน จากคำท้ายมาหาคำต้นว่า ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา (ตรงข้ามกับอนุโลม ตามลำดับว่า เกสา โลมา......), สาวเรื่องทวนจากผลเข้าไปหาเหตุ เช่น วิญญาณเป็นผล มีเพราะสังขาร เป็นเหตุ, สังขารเป็นผล มีเพราะอวิชชาเป็นเหตุ เป็นต้น
ปัญญาวิมุตต : ความหลุดพ้นด้วยปัญญา, ความหลุดพ้นที่บรรลุด้วยการกำจัดอวิชชาได้ ทำให้สำเร็จอรหัตตผล และทำให้เจโตวิมุตติ เป็น เจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบ คือ ไม่กลับกลายได้อีกต่อไป เทียบ เจโตวิมุตติ
โยนิโสมนสิการ : การทำในใจโดยแยบคาย, กระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย, การพิจารณาโดยแยบคาย คือพิจารณาเพื่อเข้าถึงความจริงโดยสืบค้นหาเหตุผลไปตามลำดับจนถึงต้นเหตุ แยกแยะองค์ประกอบจนมองเห็นตัวสภาวะและความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยหรือตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีที่ชั่ว ยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้นโดยอุบายที่ชอบ ซึ่งจะมิให้เกิดอวิชชาและตัณหา, ความรู้จักคิด, คิดถูกวิธี
สำรอก : ทำสิ่งที่ไม่ต้องการให้หลุดออกมา, นำออก, เอาออก เช่น สำรอกสี จิตสำรอกจากอาสวะ อวิชชาสำรอกไป (วิราคะ)
เหตุผลสนธิ : หัวเงื่อนระหว่างเหตุในอดีตกับผลในปัจจุบัน หรือหัวเงื่อนระหว่างเหตุในปัจจุบันกับผลในอนาคต ในวงจรปฏิจจสมุปบาท (เหตุในอดีต คืออวิชชาและสังขาร, ผลในปัจจุบัน คือวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา, เหตุในปัจจุบัน คือ ตัณหา อุปาทาน ภพ, ผลในอนาคต คือชาติ ชรา มรณะ)
อนุโลม : เป็นไปตาม, คล้อยตาม, ตามลำดับ เช่น ว่าตจปัญจกรรมฐานไปตามลำดับอย่างนี้ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ (ตรงข้ามกับปฏิโลม คือ ทวนลำดับว่า ตโจ ทันตา นขา โมลา เกสา) ; สาวออกไปตามลำดับจากเหตุไปหาผลข้างหน้า เช่น อวิชชาเป็นเหตุสังขารเป็นผล, สังขารเป็นเหตุ วิญญาณเป็นผล เป็นต้น; จัดเข้าได้, นับได้ว่าเป็นอย่างนั้น เช่น อนุโลมนุสา
อโยนิโสมนสิการ : การทำในใจโดยไม่แยบคาย, การไม่ใช้ปัญญาพิจารณา, ความไม่รู้จักคิด, การปล่อยให้อวิชชาตัณหาครอบงำ; เทียบ โยนิโสมนสิการ
อาสวะ : กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ไหลซึมซ่านไปย้อมจิตเมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ มี ๓ อย่าง คือ ๑) กามาสวะ อาสวะคือกาม ๒) ภาวสวะ อาสวะคือภพ ๓) อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา; อีกหมวดหนึ่งมี ๔ คือ ๑) กามาสวะ ๒) ภวาสวะ ๓) ทิฏฐาสวะ อาสวะคือทิฏฐิ ๔) อวิชชาสวะ, ในทางพระวินัยและความหมายสามัญ หมายถึงเมรัย เช่น ปุปฺผาสโว น้ำดองดอกไม้, ผลาสโว น้ำดองผลไม้