Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อามิส , then อามส, อามิษ, อามิส .

Budhism Thai-Thai Dict : อามิส, 20 found, display 1-20
  1. อามิส : เครื่องล่อใจ, เหยื่อ, สิ่งของ
  2. อามิสทายาท : ทายาทแห่งอามิส, ผู้รับมรดกอามิส, ผู้รับเอาสมบัติทางวัตถุ เช่น ปัจจัย ๔ จากพระพุทธเจ้ามาเสพเสวย ด้วยอาศัยผลแห่งพุทธกิจ ที่ได้ทรงบำเพ็ญไว้; โดยตรง หมายถึง รับเอาปัจจัย ๔ มาบริโภค โดยอ้อมหมายถึง ทำกุศลที่นำไปสู่วัฏฏะเช่นให้ทานบำเพ็ญฌานสมาบัติ ด้วยมงหมายมนุษยสมบัติและเทวสมบัติ; พระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุทั้งหลาย ให้เป็นธรรมทายาท มิให้เป็นอามิสทายาท เทียบ ธรรมทายาท
  3. อามิสสมโภค : คบหากันในทางอามิส ได้แก่ ให้หรือรับอามิส
  4. อามิสบูชา : การบูชด้วยอามิส คือ ด้วยสิ่งของมีดอกไม้ของหอม อาหาร และวัตถุอื่นๆ (ข้อ ๑ ในบูชา ๒)
  5. กินร่วม : ในประโยคว่า ภิกษุใดรู้อยู่กินรวมก็ดี อยู่ร่วมก็ดี สำเร็จการนอนด้วยก็ดี คบหากันในทางให้หรือรับอามิส และคบหากันในทางสอนธรรมเรียนธรรม
  6. ทาน : การให้, สิ่งที่ให้, ให้ของที่ควรให้แก่คนที่ควรให้เพื่อประโยชน์แก่เขา, สละให้ปันสิ่งของของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น; ทาน ๒ คือ ๑.อามิสทาน ให้สิ่งของ ๒.ธรรมทาน ให้ธรรม; ทาน ๒ อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑.สังฆทาน ให้แก่สงฆ์ หรือให้เพื่อส่วนรวม ๒.ปาฏิบุคลิกทาน ให้เจาะจงแก่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ
  7. ธรรมทายาท : ทายาทแห่งธรรม, ผู้รับมรดกธรรม, ผู้รับเอาธรรมของพระพุทธเจ้ามาเป็นสมบัติด้วยการประพฤติปฏิบัติให้เข้าถึง; โดยหมายถึงรับเอาโลกุตตรธรรม ๙ ไว้ได้ด้วยการบรรลุเอง โดยอ้อมหมายถึง รับปฏิบัติกุศลธรรม จะเป็นทาน ศีล หรือภาวนาก็ตาม ตลอดจนการบูชา ที่เป็นไปเพื่อบรรลุซึ่งโลกุตตรธรรมนั้น เทียบ อามิสทายาท
  8. ธรรมปฏิสันถาร : การต้อนรับด้วยธรรม คือกล่าวธรรมให้ฟังหรือแนะนำในทางธรรม อย่างนี้เป็นธรรมปฏิสันถารโดยเอกเทศคือส่วนหนึ่งด้านหนึ่ง ธรรมปฏิสันถารที่บำเพ็ญอยู่อย่างบริบูรณ์ คือการต้อนรับโดยธรรม ได้แก่ เอาใจใส่ช่วยเหลือสงเคราะห์ แก่ไขปัญหาบรรเทาข้อสงสัย ขจัดปัดเป่าข้อติดขัดยากลำบากเดือนร้อนทั้งหลาย ให้เขาลุล่วงกิจอันเป็นกุศล พ้นความอึดอัดขัดข้อง เทียบ อามิสปฏิสันถาร
  9. นิรามิสสุข : สุขไม่เจืออามิส, สุขไม่ต้องอาศัยเครื่องล่อหรือกามคุณ ได้แก่ สุขที่อิงเนกขัมมะ ดู สุข
  10. บูชา : ให้ด้วยความนับถือ, แสดงความเคารพเทิดทูน มี ๒ คือ อามิสบูชา และ ปฏิบัติบูชา
  11. ปฏิสันถาร : การทักทายปราศรัย, การต้อนรับแขก มี ๒ อย่างคือ ๑.อามิสปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยธรรม คือ กล่าวแนะนำในทางธรรม อีกนัยหนึ่งว่า ต้อนรับโดยธรรม คือ การต้อนรับที่ทำพอดีสมควรแก่ฐานะของแขก มีการลุกรับเป็นต้น หรือช่วยเหลือสงเคราะห์ขจัดปัญหาข้อติดขัด ทำกุศลกิจให้ลุล่วง
  12. ไพบูลย์ : ความเต็มเปี่ยม, ความเจริญเต็มที่ มี ๒ คือ ๑.อามิสไพบูลย์ ความไพบูลย์แห่งอามิส ๒.ธรรมไพบูลย์ ความไพบูลย์แห่งธรรม ดู เวปุลละ
  13. ฤทธิ์ : อำนาจศักดิ์สิทธิ์, ความเจริญ, ความสำเร็จ, ความงอกงาม, เป็นรูปสันสกฤตของ อิทธิ; ฤทธิ์ หรือ อิทธิ คือความสำเร็จ ความรุ่งเรือง มี ๒ คือ ๑.อามิสฤทธิ์ อามิสเป็นฤทธิ์, ความสำเร็จหรือความรุ่งเรืองทางวัตถุ ๒.ธรรมฤทธิ์ ธรรมเป็นฤทธิ์, ความสำเร็จหรือความรุ่งเรืองทางธรรม
  14. เวปุลละ : ความไพบูลย์, ความเต็มเปี่ยม, ความเจริญเต็มที่ มี ๒ อย่าง คือ ๑.อามิสเวปุลละ อามิสไพบูลย์ หรือความไพบูลย์แห่งอามิส หมายถึง ความมากมายพรั่งพร้อมด้วยปัจจัย ๔ ตลอดจนวัตถุอำนวยความสุดความสะดวกสบายต่างๆ ๒.ธัมมเวปุลละ ธรรมไพบูลย์หรือความไพบูลย์แห่งธรรม หมายถึง ความเจริญเต็มเปี่ยมเพียบพร้อมแห่งธรรม ด้วยการฝึกอบรมปลูกฝังให้มีในตนจนเต็มบริบูรณ์ หรือด้วยการประพฤติปฏิบัติกันในสังคมจนแพร่หลายทั่วไปทั้งหมด
  15. สามิษ : เจือด้วยอามิสคือ เครื่องล่อ, ต้องขึ้นต่อวัตถุหรืออารมณ์ภายนอก
  16. สามิส : เจือด้วยอามิสคือ เครื่องล่อ, ต้องขึ้นต่อวัตถุหรืออารมณ์ภายนอก
  17. สามิสสุข : สุขเจืออามิส, สุขที่ต้องอาศัยเหยื่อล่อ ได้แก่สุขที่เกิดจากกามคุณ (ข้อ ๑ ในสุข ๒)
  18. สุข : ความสบาย, ความสำราญ, มี ๒ ๑.กายิกสุข สุขทางกาย ๒.เจตสิกสุข สุขทางใจ, อีกหมวดหนึ่ง มี ๒ คือ ๑.สามิสสุข สุขอิงอามิส คืออาศัยกามคุณ ๒.นิรามิสสุข สุขไม่อิงอามิส คืออิงเนกขัมมะ (ท่านแบ่งเป็นคู่ ๆ อย่างนี้อีกหลายหมวด)
  19. นิรามิษ : หาเหยื่อมิได้, ไม่มีอามิษคือเหยื่อที่เป็นเครื่องล่อใจ, ไม่ต้องอาศัยวัตถุ
  20. นิรามิส : หาเหยื่อมิได้, ไม่มีอามิษคือเหยื่อที่เป็นเครื่องล่อใจ, ไม่ต้องอาศัยวัตถุ

(0.0173 sec)