Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เข็มฉีดยา, ฉีดยา, เข็ม , then ขม, เข็ม, เข็มฉีดยา, ฉีดยา .

Budhism Thai-Thai Dict : เข็มฉีดยา, 14 found, display 1-14
  1. บริขาร : เครื่องใช้สอยของนักพรต, เครื่องใช้สอยของพระในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอกกรองน้ำ นิยมเรียกรวมว่า อัฐบริขาร (บริขาร ๘)
  2. ทักขิณาวัฏ : เวียนขวา, วนไปทางขวา คือ วนเลี้ยวทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา เขียน ทักขิณาวัฏ หรือ ทักษิณาวรรต ก็มี
  3. เนา : เอาผ้าทาบกันเข้า เอาเข็มเย็บเป็นช่วงยาวๆ พอกันผ้าเคลื่อนจากกัน ครั้นเย็บแล้วก็เลาะเนานั้นออกเสีย
  4. ประทักษิณ : เบื้องขวา, การเวียนขวา คือ เวียนเลี้ยวไปทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา เป็นอาการแสดงความเคารพ
  5. เภทนกปาจิตตีย์ : อาบัติปาจิตตีย์ที่ต้องทำลายสิ่งของที่เป็นเหตุให้ต้องอาบัติเสียก่อน จึงแสดงอาบัติได้ ได้แก่ สิกขาบทที่ ๔ แห่งรตนวรรคที่ ๙ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ (ปาจิตตีย์ ข้อที่ ๘๖ ทำกล่องเข็มด้วยกระดูก งา หรือ เขาสัตว์)
  6. ราชธรรม : ธรรมสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน, คุณสมบัติของนักปกครองที่ดี สามารถปกครองแผ่นดินโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชนจนเกิดความชื่นชมยินดี มี ๑๐ ประการ (นิยมเรียกว่า ทศพิธราชธรรม) คือ ๑.ทาน การให้ทรัพย์สินสิ่งของ ๒.ศีล ประพฤติดีงาม ๓.ปริจจาคะ ความเสียสละ ๔.อาชชวะ ความซื่อตรง ๕.มัททวะ ความอ่อนโยน ๖.ตบะ ความทรงเผากิเลสตัณหา ไม่หมกมุ่นในความสุขสำราญ ๗.อักโกธะ ความไม่กริ้วโกรธ ๘.อวิหิงสา ความไม่ข่มเหงเบียดเบียน ๙.ขันติ ความอดทนเข็มแข็งไม่ท้อถอย ๑๐.อวิโรธนะ ความไม่คลาดธรรม
  7. ลหุภัณฑ์ : ของเบา เช่น บิณฑบาต เภสัชและของใช้ประจำตัว มีเข็ม มีดพับ มีดโกน เป็นต้น, คู่กับ ครุภัณฑ์
  8. อัปปมัตตกวิสัชชกะ : ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือ แต่งตั้งจากสงฆ์ให้มีหน้าที่เป็นผู้จ่ายของเล็กน้อย เช่น เข็มเย็บผ้า มีดตัดเล็บ ประคด เภสัชทั้ง ๕ เป็นต้น ให้แก่ภิกษุทั้งหลาย
  9. อุตตราวัฏฏ์ : เวียนซ้าย, เวียนรอบ โดยหันข้างซ้ายให้ คือ เวียนเลี้ยวทางซ้ายย้อนเข็มนาฬิกา (พจนานุกรมเขียน อุตราวัฏ)
  10. อทุกขมสุข : ไม่ทุกข์ไม่สุข, ความรู้สึกเฉยๆ (ข้อ ๓ ในเวทนา ๓)
  11. ทรมาน : ข่ม, ปราบ, ฝึก, ทำให้เสื่อมพยศ, ทำให้เสื่อมการถือตัว, ทำให้กลับใจ บัดนี้มักหมายถึง ทำให้ลำบาก
  12. ลหุ : เสียงเบา ได้แก่ รัสสะสระไม่มีตัวสะกด อ อิ อุ เช่น น ขมติ
  13. เวทนา : ความเสวยอารมณ์, ความรู้สึก, ความรู้สึกสุขทุกข์ มี ๓ อย่าง คือ ๑.สุขเวทนา ความรู้สึกสุขสบาย ๒.ทุกขเวทนา ความรู้สึกไม่สบาย ๓.อทุกขมสุขเวทนา ความรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ คือ เฉยๆ เรียกอีกอย่างว่า อุเบกขาเวทนา; อีกหมวดหนึ่งจัดเป็น เวทนา ๕ คือ ๑.สุข สบายกาย ๒.ทุกข์ ไม่สบายกาย ๓.โสมนัส สบายใจ ๔.โทมนัส ไม่สบายใจ ๕.อุเบกขา เฉยๆ; ในภาษาไทย ใช้หมายความว่าเจ็บปวดบ้าง สงสารบ้าง ก็มี
  14. อุเบกขา : 1) ความวางใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงด้วยชอบหรือชัง, ความวางใจเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาเห็นผลอันเกิดขึ้นโดยสมควรแก่เหตุ และรู้ว่าพึงปฏิบัติต่อไปตามธรรม หรือตามควรแก่เหตุนั้น, ความรู้จักวางใจเฉยดู เมื่อเห็นเขารับผิดชอบตนเองได้ หรือในเมื่อเขาควรต้องได้รับผลอันสมควรแก่ความรับผิดชอบของเขาเอง, ความวางทีเฉยคอยดูอยู่ในเมื่อคนนั้นๆ สิ่งนั้นๆ ดำรงอยู่หรือดำเนินไปตามควรของเขาตามควรของมัน ไม่เข้าข้างไม่ตกเป็นฝักฝ่าย ไม่สอดแส่ ไม่จู้จี้สาระแน ไม่ก้าวก่ายแทรกแซง(ข้อ ๔ ในพรหมวิหาร ๔, ข้อ ๗ ในโพชฌงค์ ๗, ข้อ ๑๐ ในบารมี ๑๐, ข้อ ๙ ในวิปัสสนูปกิเลส ๑๐) 2) ความรู้สึกเฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ เรียกเต็มว่าอุเบกขาเวทนา (= อทุกขมสุข)

(0.0101 sec)