เครื่องภัณฑ์ : สิ่งของสำหรับถวายพระเทศน์
กรรมกรณ์ : เครื่องลงอาชญา, ของสำหรับใช้ลงโทษ เช่น โซ่ ตรวน ขื่อ คา เป็นต้น
กัปปิยบริขาร : เครื่องใช้สอยที่สมควรแก่สมณะ, ของใช้ที่สมควรแก่ภิกษุ
กุฏกะ : เครื่องลาดที่ใหญ่ ชนิดที่มีนางฟ้อน ๑๖ คนยืนฟ้อนรำได้ (เช่นพรมปูห้อง)
คากรอง : เครื่องปกปิดร่างกายที่ทำด้วยหญ้า หรือเปลือกไม้
เครื่องต้น : เครื่องทรงสำหรับกษัตริย์, สิ่งของที่พระเจ้าแผ่นดินทรงใช้และเสวย
จตุปัจจัย : เครื่องอาศัยของชีวิต หรือสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต ๔ อย่าง คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานเภสัช (เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่ ยา)
จรณะ : เครื่องดำเนิน, ปฏิปทา คือข้อปฏิบัติอันเป็นทางบรรลุวิชา มี ๑๕ คือ สีลสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยศีล อปัณณกปฏิปทา ๓ สัทธรรม ๗ และ ฌาน ๔
จิตตกา : เครื่องลาดทำด้วยขนแกะ ที่ปักหรือทอเป็นลวดลายต่างๆ
ตะโพน : เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง มีหนัง ๒ หน้า ตรงกลางป่อง ริม ๒ ข้างสอบลง
ทุกขลักษณะ : เครื่องกำหนดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่จัดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าเป็นทุกข์คือ ๑.ถูกการเกิดขึ้นและการดับสลายบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา ๒.ทนได้ยากหรือคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ๓.เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ ๔.แย้งต่อสุขหรือเป็นสภาวะที่ปฏิเสธความสุข
ธงแห่งคฤหัสถ์ : เครื่องนุ่งห่มของคฤหัสถ์, การนั่งห่มอย่างนิยมกันของชาวบ้าน
ธงแห่งเดียรถีย์ : เครื่องนุ่งห่มของเดียรถีย์ เช่น หนังเสือ ผ้าคากรอง เป็นต้น, การนุ่งห่มอย่างที่ชื่นชมกันของนักบวชนอกพระศาสนา
บริขาร : เครื่องใช้สอยของนักพรต, เครื่องใช้สอยของพระในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอกกรองน้ำ นิยมเรียกรวมว่า อัฐบริขาร (บริขาร ๘)
ปฏลิกา : เครื่องลาดทำด้วยขนแกะที่มีสัณฐานเป็นพวงดอกไม้
ปฏิกา : เครื่องลาดทำด้วยขนแกะที่มีสีขาวล้วน
ปลิโพธ : เครื่องผูกพันหรือหน่วงเหนี่ยวเป็นเหตุให้ใจพระวักพะวนห่วงกังวล, เหตุกังวล, ข้อติดข้อง; ปลิโพธที่ผู้จะเจริญกรรมฐานพึงตัดเสียให้ได้ เพื่อให้เกิดความปลอดโปร่งพร้อมที่จะเจริญกรรมฐานให้ก้าวหน้าไปได้ดี มี ๑๐ อย่าง คือ ๑.อาวาสปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับวัดหรือที่อยู่ ๒.กุลปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับตระกูลญาติหรืออุปัฏฐาก ๓.ลาภปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับลาภ ๔.คณปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับคณะศิษย์หรือหมู่ชนที่ตนต้องรับผิดชอบ ๕.กรรมปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการงาน เช่น การก่อสร้าง ๖.อัทธานปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการเดินทางไกลเนื่องด้วยกิจธุระ ๗.ญาติปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับญาติหรือคนใกล้ชิดที่จะต้องเป็นห่วงซึ่งกำลังเจ็บป่วยเป็นต้น ๘.อาพาธปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับความเจ็บไข้ของตนเอง ๙.คันถปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียน ๑๐.อิทธิปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับฤทธิ์ของปุถุชนที่จะต้องคอยรักษาไม่ให้เสื่อม (ข้อท้ายนี้เป็นปลิโพธสำหรับผู้จะเจริญวิปัสสนาเท่านั้น)
ปัญจพิธพันธนะ : เครื่องตรึง ๕ อย่าง คือ ตรึงเหล็กอันร้อนที่มือทั้ง ๒ ข้างที่เท้าทั้ง ๒ ข้าง และที่กลางอก ซึ่งเป็นการลงโทษที่นายนิรยบาลกระทำต่อสัตว์นรก
ปานะ : เครื่องดื่ม, น้ำสำหรับดื่ม ที่คั้นจากลูกไม้ (น้ำคั้นผลไม้) จัดเป็นยามกาลิก ท่านแสดงไว้ ๘ ชนิด คือ ๑.อมฺพปานํ น้ำมะม่วง ๒.ชมฺพุปานํ น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า ๓.โจจปานํ น้ำกล้วยมีเม็ด ๔.โมจปานํ น้ำกล้วยไม่มีเม็ด ๕.มธุกปานํ น้ำมะม่วง (ต้องเจือน้ำจึงจะควร) ๖.มุทฺทิกปานํ น้ำลูกจันทร์หรือองุ่น ๗.สาลุกปานํ น้ำเหง้าอุบล ๘.ผารุสกปานํ น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่ นิยมเรียกว่า อัฏฐบาล หรือ น้ำอัฏฐบาน (ปานะ ๘ อย่าง)
ภูษา : เครื่องนุ่งห่ม, ผ้าทรง
ยาน : เครื่องนำไป, พาหนะต่างๆ เช่น รถ, เกวียน, เรือ เป็นต้น
ราชูปโภค : เครื่องใช้สอยของพระราชา
วิกติกา : เครื่องลาดที่เป็นรูปสัตว์ร้าย เช่น ราชสีห์ เสือ เป็นต้น
สังกิเลส : เครื่องทำใจให้เศร้าหมอง
อชินปเวณิ : เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่ออชินะ มีขนอ่อนนุม จัดเป็นอุจจาสยนะมหาสยนะอย่างหนึ่ง
อลังการ : เครื่องประดับประดา
อามิส : เครื่องล่อใจ, เหยื่อ, สิ่งของ
อายตนะภายนอก : เครื่องต่อภายนอก, สิ่งที่ถูกรู้มี ๖ คือ ๑) รูป รูป ๒) สัททะ เสียง ๓) คันธะ กลิ่น ๔) รส รส ๕) โผฏฐัพพะ สิ่งต้องกาย ๖) ธัมมะ ธรรมารมณ์ คือ อารมณ์ที่เกิดกับใจ หรือสิ่งที่ใจรู้; อารมณ์ ๖ ก็เรียก
อายตนะภายใน : เครื่องต่อภายใน, เครื่องรับรู้มี ๖ คือ ๑) จักขุ ตา ๒) โสต หู ๓) ฆาน จมูก ๔) ชิวหา ลิ้น ๕) กาย กาย ๖) มโน ใจ; อินทรีย์ ๖ ก็เรียก
อารมณ์ : เครื่องยึดหน่วงของจิต, สิ่งที่จิตยึดหน่วง, สิ่งที่ถูกรู้หรือถูกรับรู้ ได้แก่ อายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์; ในภาษาไทย ความหมายเลื่อนไปเป็นความรู้สึก หรือความเป็นไปแห่งจิตใจ ในขณะหรือช่วงเวลาหนึ่งๆ เช่นว่า อย่าทำตามอารมณ์ วันนี้อารมณ์ดี อารมณ์เสีย เป็นต้น
อาวรณ์ : เครื่องกั้น, เครื่องกำบัง; ไทยมักใช้ในความหมายว่า ห่วงใย, อาลัย, คิดกังวลถึง
อุทธโลมิ : เครื่องลาดที่มีขนตั้ง
เอกันตโลมิ : เครื่องลาดที่มีขนตกไปข้างเดียวกัน
กรรมกิเลส : กรรมเครื่องเศร้าหมอง, การกระทำที่เป็นเหตุให้เศร้าหมอง มี ๔ อย่างคือ ๑.ปาณาติบาต การทำชีวิตให้ตกล่วงคือ ฆ่าฟันสังหารกัน ๒.อทินนาทาน ถือเอาของที่เจ้าของเขามิได้ให้คือลักขโมย ๓.กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม ๔.มุสาวาท พูดเท็จ - an action causing impurity; depravity of action; vice of conduct.
กรวดน้ำ : ตั้งใจอุทิศบุญกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ พร้อมไปกับหลั่งรินน้ำเป็นเครื่องหมาย และเป็นเครื่องรวมกระแสจิตที่ตั้งใจอุทิศนั้นให้แน่วแน่; เริ่มรินน้ำเมื่อพระองค์หัวหน้าเริ่มสวดยถา รินน้ำหมดพร้อมกับพระหัวหน้าสวดยถาจบ และพระทั้งหมดเริ่มสวดพร้อมกัน จากนั้นวางที่กรวดน้ำลงแล้วประนมมือรับพรต่อไป; คำกรวดน้ำอย่างสั้นว่า อิทัง โน ญาตีนัง โหตุ ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่....(ออกชื่อผู้ล่วงลับ) และญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด จะต่ออีกก็ได้ว่า สุขิตา โหนตุ ญาตโย ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุขเถิด - to pour the water of dedication (to transfer merit to other beings)
กายบริหาร : การรักษาร่างกายให้เหมาะสมแก่ความเป็นสมณะ เช่นไม่ไว้ยาวเกินไป ไม่ไว้หนวดเครา ไม่ไว้เล็บยาว ไม่ผัดหน้า ไม่แต่งเครื่องประดับกาย ไม่เปลือยกาย เป็นต้น
เกษมจากโยคธรรม :
ปลอดภัยจากธรรมเครื่องผูกมัด, ปลอดโปร่งจากเรื่องที่จะต้องถูกเทียมแอก, พ้นจากภัยคือกิเลสที่เป็นตัวการสวมแอก ดู โยคเกษมธรรม
คันโพง : คันชั่งที่ถ่วงภาชนะสำหรับตักน้ำ เพื่อช่วยทุนแรงเวลาตักน้ำขึ้นจากบ่อลึกๆ (คัน = คันชั่งที่ใช้ถ่วง, โพง = ภาชนะสำหรับตักน้ำในบ่อลึกๆ), เครื่องสำหรับตักน้ำ หรือโพงน้ำ มีคันยาวที่ปลายเพื่อถ่วงให้เบาแรง เวลาตักหรือโพงน้ำขึ้น (โพง=ตัก, วิด)
จันทร์ : ไม้จันทร์ เป็นไม้มีกลิ่นหอมใช้ทำยาและปรุงเครื่องหอม
จัมมขันธกะ : ชื่อขันธกะที่ ๕ แห่งคัมภีร์มหาวรรค วินัยปิฎก ว่าด้วยเครื่องหนังต่างๆ มีรองเท้าและเครื่องลาดเป็นต้น
ชฎา : ผมที่เกล้าเป็นมวยสูงขึ้น, เครื่องประดับสำหรับศีรษะ รูปคล้ายมงกุฎ
ชาคริยานุโยค :
การประกอบความเพียร เครื่องตื่นอยู่ คือ เพียรพยายามปฏิบัติธรรม ไม่เห็นแก่นอน ตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์ ชำระจิตไม่ให้มีนิวรณ์ ดู อปัณณกปฏิปทา
ตบะ : 1.ความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลส, การบำเพ็ญเพียรเพื่อกำจัดกิเลส 2.พิธีข่มกิเลสโดยการทรมานตัวของนักบวชบางพวกในสมัยพุทธกาล
ถือบังสุกุล :
ใช้ผ้าเฉพาะที่ได้จากกองฝุ่นกองหยากเยื่อ คือผ้าที่เขาทิ้งแล้ว มาทำเครื่องนุ่งห่ม ไม่ใช้ผ้าที่ชาวบ้านถวาย ดู ปังสุกูลิกังคะ
ทักษิโณทก : น้ำที่หลั่งในเวลาทำทาน, น้ำกรวด, คือเอาน้ำหลั่งเป็นเครื่อง หมายของการให้แทนสิ่งของที่ให้ เช่น ที่ดิน ศาลา กุฎี บุญกุศล เป็นต้น ซึ่งใหญ่โตเกินกว่าที่จะยกไหว หรือไม่มีรูปที่จะยกขึ้นได้
ทัพสัมภาระ : เครื่องเคราและส่วนประกอบทั้งหลาย, สิ่งและเครื่องอันเป็นส่วนประกอบที่จะคุมกันเข้าเป็นเรือน เรือ รถหรือเกวียนเป็นต้น; เขียนเต็มว่า ทัพพสัมภาระ
ธมกรก : กระบอกกรองน้ำของพระสงฆ์, เครื่องกรองน้ำด้วยลมเป่า, กระบอกก้นผูกผ้า
ธมฺมสมฺมุขตา : ความเป็นต่อหน้าธรรม, พร้อมหน้าธรรม ในวิวาทาธิกรณ์ หมายความว่า ปฏิบัติถูกต้องตามธรรมวินัยและสัตถุศาสน์อันเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์นั้น จึงเท่ากับว่าธรรมมาอยู่ที่นั้นด้วย
ธรรมวินัย : ธรรมและวินัย, คำสั่งสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้า ซึ่งประกอบด้วย ธรรม= คำสอนแสดงหลักความจริงและแนะนำความประพฤติ, วินัย = บทบัญญัติกำหนดระเบียบความเป็นอยู่และกำกับความประพฤติ ; ธรรม= เครื่องควบคุมใจ, วินัย= เครื่องควบคุมกายและวาจา
ธุดงค์ : องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส, ชื่อข้อปฏิบัติประเภทวัตร ที่ผู้สมัครใจจะพึงสมาทานประพฤติได้ เป็นอุบายขัดเกลากิเลส ส่งเสริมความมักน้อยสันโดษเป็นต้น มี ๑๓ ข้อคือ หมวดที่ ๑ จีวรปฏิสังยุต-เกี่ยวกับจีวร มี ๑.ปังสุกูลิกังคะ ถือใช้แต่ผ้าบังสุกุล ๒.เตจีวริกังคะ ใช้ผ้าเพียง ๓ ผืน; หมวดที่ ๒ ปิณฑปาตปฏิสังยุต-เกี่ยวกับบิณฑบาต มี ๓.ปิณฑปาติกังคะ เที่ยวบิณฑบาตเป็นประจำ ๔.สปทานจาริกังคะ บิณฑบาตตามลำดับบ้าน ๕.เอกาสนิกังคะ ฉันมื้อเดียว ๖.ปัตตปิณฑิกังคะ ฉันเฉพาะในบาตร ๗.ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ลงมือฉันแล้วไม่ยอมรับเพิ่ม; หมวดที่ ๓ เสนาสนปฏิสังยุต -เกี่ยวกับเสนาสนะมี ๘.อารัญญิกังคะ ถืออยู่ป่า ๙.รุกขมูลิกังคะ อยู่โคนไม้ ๑๐.อัพโภกาสิกังคะ อยู่กลางแจ้ง ๑๑.โสสานิกังคะ อยู่ป่าช้า ๑๒.ยถาสันถติกังคะ อยู่ในที่แล้วแต่เขาจัดให้; หมวดที่ ๔ วิริยปฏิสังยุต-เกี่ยวกับความเพียร มี ๑๓.เนสัชชิกังคะ ถือนั่งอย่างเดียวไม่นอน (นี้แปลเอาความสั้นๆ ความหมายละเอียด พึงดูตามลำดับอักษรของคำนั้นๆ) ธุระ “สิ่งที่จะต้องแบกไป”, หน้าที่, ภารกิจ, การงาน, เรื่องที่จะต้องรับผิดชอบ, กิจในพระศาสนา แสดงไว้ในอรรถกถา ๒ อย่างคือ คันถธุระ และวิปัสสนาธุระ