เครื่องภัณฑ์ : สิ่งของสำหรับถวายพระเทศน์
จีวรกรรม : การทำจีวร, งานเกี่ยวกับจีวร เช่น ตัด เย็บ ย้อม เป็นต้น
บริกรรม : 1.(ในคำว่า “ถ้าผ้ากฐินนั้นมีบริกรรมสำเร็จด้วยดี”) การตระเตรียม, การทำความเรียบร้อยเบื้องต้น เช่น ซัก ย้อม กะ ตัด เย็บ เสร็จแล้ว 2.สถานที่เขาลาดปูน ปูไม้ ขัดเงา หรือชักเงา โบกปูน ทาสี เขียนสี แต่งอย่างอื่น เรียกว่าที่ทำบริกรรม ห้ามภิกษุถ่มนำลาย หรือนั่งพิง 3.การนวดฟั้นประคบ หรือถูตัว 4.การกระทำขั้นต้นในการเจริญสมถกรรมฐาน คือ กำหนดใจโดยเพ่งวัตถุ หรือนึกถึงอารมณ์ที่กำหนดนั้น ว่าซ้ำๆ อยู่ในใจ อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อทำใจให้สงบ 5.เลือนมาเป็นความหมายในภาษาไทย หมายถึงท่องบ่น, เสกเป่า
กรรมกรณ์ : เครื่องลงอาชญา, ของสำหรับใช้ลงโทษ เช่น โซ่ ตรวน ขื่อ คา เป็นต้น
กัปปิยบริขาร : เครื่องใช้สอยที่สมควรแก่สมณะ, ของใช้ที่สมควรแก่ภิกษุ
กุฏกะ : เครื่องลาดที่ใหญ่ ชนิดที่มีนางฟ้อน ๑๖ คนยืนฟ้อนรำได้ (เช่นพรมปูห้อง)
คากรอง : เครื่องปกปิดร่างกายที่ทำด้วยหญ้า หรือเปลือกไม้
เครื่องต้น : เครื่องทรงสำหรับกษัตริย์, สิ่งของที่พระเจ้าแผ่นดินทรงใช้และเสวย
จตุปัจจัย : เครื่องอาศัยของชีวิต หรือสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต ๔ อย่าง คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานเภสัช (เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่ ยา)
จรณะ : เครื่องดำเนิน, ปฏิปทา คือข้อปฏิบัติอันเป็นทางบรรลุวิชา มี ๑๕ คือ สีลสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยศีล อปัณณกปฏิปทา ๓ สัทธรรม ๗ และ ฌาน ๔
จิตตกา : เครื่องลาดทำด้วยขนแกะ ที่ปักหรือทอเป็นลวดลายต่างๆ
ด้น : เย็บผ้าให้ติดกันเป็นตะเข็บโดยฝีเย็บ
ตะโพน : เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง มีหนัง ๒ หน้า ตรงกลางป่อง ริม ๒ ข้างสอบลง
ทุกขลักษณะ : เครื่องกำหนดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่จัดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าเป็นทุกข์คือ ๑.ถูกการเกิดขึ้นและการดับสลายบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา ๒.ทนได้ยากหรือคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ๓.เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ ๔.แย้งต่อสุขหรือเป็นสภาวะที่ปฏิเสธความสุข
ธงแห่งคฤหัสถ์ : เครื่องนุ่งห่มของคฤหัสถ์, การนั่งห่มอย่างนิยมกันของชาวบ้าน
ธงแห่งเดียรถีย์ : เครื่องนุ่งห่มของเดียรถีย์ เช่น หนังเสือ ผ้าคากรอง เป็นต้น, การนุ่งห่มอย่างที่ชื่นชมกันของนักบวชนอกพระศาสนา
บริขาร : เครื่องใช้สอยของนักพรต, เครื่องใช้สอยของพระในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอกกรองน้ำ นิยมเรียกรวมว่า อัฐบริขาร (บริขาร ๘)
ปฏลิกา : เครื่องลาดทำด้วยขนแกะที่มีสัณฐานเป็นพวงดอกไม้
ปฏิกา : เครื่องลาดทำด้วยขนแกะที่มีสีขาวล้วน
ปลิโพธ : เครื่องผูกพันหรือหน่วงเหนี่ยวเป็นเหตุให้ใจพระวักพะวนห่วงกังวล, เหตุกังวล, ข้อติดข้อง; ปลิโพธที่ผู้จะเจริญกรรมฐานพึงตัดเสียให้ได้ เพื่อให้เกิดความปลอดโปร่งพร้อมที่จะเจริญกรรมฐานให้ก้าวหน้าไปได้ดี มี ๑๐ อย่าง คือ ๑.อาวาสปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับวัดหรือที่อยู่ ๒.กุลปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับตระกูลญาติหรืออุปัฏฐาก ๓.ลาภปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับลาภ ๔.คณปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับคณะศิษย์หรือหมู่ชนที่ตนต้องรับผิดชอบ ๕.กรรมปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการงาน เช่น การก่อสร้าง ๖.อัทธานปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการเดินทางไกลเนื่องด้วยกิจธุระ ๗.ญาติปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับญาติหรือคนใกล้ชิดที่จะต้องเป็นห่วงซึ่งกำลังเจ็บป่วยเป็นต้น ๘.อาพาธปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับความเจ็บไข้ของตนเอง ๙.คันถปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียน ๑๐.อิทธิปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับฤทธิ์ของปุถุชนที่จะต้องคอยรักษาไม่ให้เสื่อม (ข้อท้ายนี้เป็นปลิโพธสำหรับผู้จะเจริญวิปัสสนาเท่านั้น)
ปัญจพิธพันธนะ : เครื่องตรึง ๕ อย่าง คือ ตรึงเหล็กอันร้อนที่มือทั้ง ๒ ข้างที่เท้าทั้ง ๒ ข้าง และที่กลางอก ซึ่งเป็นการลงโทษที่นายนิรยบาลกระทำต่อสัตว์นรก
ปานะ : เครื่องดื่ม, น้ำสำหรับดื่ม ที่คั้นจากลูกไม้ (น้ำคั้นผลไม้) จัดเป็นยามกาลิก ท่านแสดงไว้ ๘ ชนิด คือ ๑.อมฺพปานํ น้ำมะม่วง ๒.ชมฺพุปานํ น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า ๓.โจจปานํ น้ำกล้วยมีเม็ด ๔.โมจปานํ น้ำกล้วยไม่มีเม็ด ๕.มธุกปานํ น้ำมะม่วง (ต้องเจือน้ำจึงจะควร) ๖.มุทฺทิกปานํ น้ำลูกจันทร์หรือองุ่น ๗.สาลุกปานํ น้ำเหง้าอุบล ๘.ผารุสกปานํ น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่ นิยมเรียกว่า อัฏฐบาล หรือ น้ำอัฏฐบาน (ปานะ ๘ อย่าง)
ภูษา : เครื่องนุ่งห่ม, ผ้าทรง
ยาน : เครื่องนำไป, พาหนะต่างๆ เช่น รถ, เกวียน, เรือ เป็นต้น
ราชูปโภค : เครื่องใช้สอยของพระราชา
วิกติกา : เครื่องลาดที่เป็นรูปสัตว์ร้าย เช่น ราชสีห์ เสือ เป็นต้น
สังกิเลส : เครื่องทำใจให้เศร้าหมอง
อชินปเวณิ : เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่ออชินะ มีขนอ่อนนุม จัดเป็นอุจจาสยนะมหาสยนะอย่างหนึ่ง
อลังการ : เครื่องประดับประดา
อามิส : เครื่องล่อใจ, เหยื่อ, สิ่งของ
อายตนะภายนอก : เครื่องต่อภายนอก, สิ่งที่ถูกรู้มี ๖ คือ ๑) รูป รูป ๒) สัททะ เสียง ๓) คันธะ กลิ่น ๔) รส รส ๕) โผฏฐัพพะ สิ่งต้องกาย ๖) ธัมมะ ธรรมารมณ์ คือ อารมณ์ที่เกิดกับใจ หรือสิ่งที่ใจรู้; อารมณ์ ๖ ก็เรียก
อายตนะภายใน : เครื่องต่อภายใน, เครื่องรับรู้มี ๖ คือ ๑) จักขุ ตา ๒) โสต หู ๓) ฆาน จมูก ๔) ชิวหา ลิ้น ๕) กาย กาย ๖) มโน ใจ; อินทรีย์ ๖ ก็เรียก
อารมณ์ : เครื่องยึดหน่วงของจิต, สิ่งที่จิตยึดหน่วง, สิ่งที่ถูกรู้หรือถูกรับรู้ ได้แก่ อายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์; ในภาษาไทย ความหมายเลื่อนไปเป็นความรู้สึก หรือความเป็นไปแห่งจิตใจ ในขณะหรือช่วงเวลาหนึ่งๆ เช่นว่า อย่าทำตามอารมณ์ วันนี้อารมณ์ดี อารมณ์เสีย เป็นต้น
อาวรณ์ : เครื่องกั้น, เครื่องกำบัง; ไทยมักใช้ในความหมายว่า ห่วงใย, อาลัย, คิดกังวลถึง
อุทธโลมิ : เครื่องลาดที่มีขนตั้ง
เอกันตโลมิ : เครื่องลาดที่มีขนตกไปข้างเดียวกัน
กฐิน : ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือไม้แบบสำหรับขึงเพื่อตัดเย็บจีวร; ในทางพระวินัยใช้เป็นชื่อเรียกสังฆกรรมอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว เพื่อแสดงออกซึ่งความสามัคคีของภิกษุที่ได้จำพรรษาอยู่ร่วมกัน โดยให้พวกเธอพร้อมใจกันยกมอบผ้าผืนหนึ่งที่เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอ ที่เป็นผู้มีคุณสมบัติสมควร แล้วภิกษุรูปนั้นนำผ้าที่ได้รับมอบไปทำเป็นจีวร (จะทำเป็นอันตรวาสก หรืออุตตราสงค์ หรือสังฆาฏิก็ได้ และพวกเธอทั้งหมดจะต้องช่วยภิกษุนั้นทำ) ครั้นทำเสร็จแล้ว ภิกษุรูปนั้นแจ้งให้ที่ประชุมสงฆ์ซึ่งได้มอบผ้าแก่เธอนั้นทราบเพื่ออนุโมทนา เมื่อสงฆ์คือที่ประชุมแห่งภิกษุเหล่านั้นอนุโมทนาแล้ว ก็ทำให้พวกเธอได้สิทธิพิเศษที่จะขยายเขตทำจีวรให้ยาวออกไป (เขตทำจีวรตามปกติ ถึงกลางเดือน ๑๒ ขยายต่อออกไปถึงกลางเดือน ๔); ผ้าที่สงฆ์ยกมอบให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งนั้น เรียกว่า ผ้ากฐิน (กฐินทุสสะ); สงฆ์ผู้ประกอบกฐินกรรมต้องมีจำนวนภิกษุอย่างน้อย ๕ รูป; ระยะเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ประกอบกฐินกรรมได้ มีเพียง ๑ เดือน ต่อจากสิ้นสุดการจำพรรษา เรียกว่า เขตกฐิน คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
กรรมกิเลส : กรรมเครื่องเศร้าหมอง, การกระทำที่เป็นเหตุให้เศร้าหมอง มี ๔ อย่างคือ ๑.ปาณาติบาต การทำชีวิตให้ตกล่วงคือ ฆ่าฟันสังหารกัน ๒.อทินนาทาน ถือเอาของที่เจ้าของเขามิได้ให้คือลักขโมย ๓.กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม ๔.มุสาวาท พูดเท็จ - an action causing impurity; depravity of action; vice of conduct.
กรวดน้ำ : ตั้งใจอุทิศบุญกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ พร้อมไปกับหลั่งรินน้ำเป็นเครื่องหมาย และเป็นเครื่องรวมกระแสจิตที่ตั้งใจอุทิศนั้นให้แน่วแน่; เริ่มรินน้ำเมื่อพระองค์หัวหน้าเริ่มสวดยถา รินน้ำหมดพร้อมกับพระหัวหน้าสวดยถาจบ และพระทั้งหมดเริ่มสวดพร้อมกัน จากนั้นวางที่กรวดน้ำลงแล้วประนมมือรับพรต่อไป; คำกรวดน้ำอย่างสั้นว่า อิทัง โน ญาตีนัง โหตุ ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่....(ออกชื่อผู้ล่วงลับ) และญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด จะต่ออีกก็ได้ว่า สุขิตา โหนตุ ญาตโย ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุขเถิด - to pour the water of dedication (to transfer merit to other beings)
กรานกฐิน : ขึงไม้สะดึง คือเอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้าให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้นเรียกว่า ผู้กราน
กายบริหาร : การรักษาร่างกายให้เหมาะสมแก่ความเป็นสมณะ เช่นไม่ไว้ยาวเกินไป ไม่ไว้หนวดเครา ไม่ไว้เล็บยาว ไม่ผัดหน้า ไม่แต่งเครื่องประดับกาย ไม่เปลือยกาย เป็นต้น
เกษมจากโยคธรรม :
ปลอดภัยจากธรรมเครื่องผูกมัด, ปลอดโปร่งจากเรื่องที่จะต้องถูกเทียมแอก, พ้นจากภัยคือกิเลสที่เป็นตัวการสวมแอก ดู โยคเกษมธรรม
คันโพง : คันชั่งที่ถ่วงภาชนะสำหรับตักน้ำ เพื่อช่วยทุนแรงเวลาตักน้ำขึ้นจากบ่อลึกๆ (คัน = คันชั่งที่ใช้ถ่วง, โพง = ภาชนะสำหรับตักน้ำในบ่อลึกๆ), เครื่องสำหรับตักน้ำ หรือโพงน้ำ มีคันยาวที่ปลายเพื่อถ่วงให้เบาแรง เวลาตักหรือโพงน้ำขึ้น (โพง=ตัก, วิด)
จันทร์ : ไม้จันทร์ เป็นไม้มีกลิ่นหอมใช้ทำยาและปรุงเครื่องหอม
จัมมขันธกะ : ชื่อขันธกะที่ ๕ แห่งคัมภีร์มหาวรรค วินัยปิฎก ว่าด้วยเครื่องหนังต่างๆ มีรองเท้าและเครื่องลาดเป็นต้น
ชฎา : ผมที่เกล้าเป็นมวยสูงขึ้น, เครื่องประดับสำหรับศีรษะ รูปคล้ายมงกุฎ
ชาคริยานุโยค :
การประกอบความเพียร เครื่องตื่นอยู่ คือ เพียรพยายามปฏิบัติธรรม ไม่เห็นแก่นอน ตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์ ชำระจิตไม่ให้มีนิวรณ์ ดู อปัณณกปฏิปทา
ตบะ : 1.ความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลส, การบำเพ็ญเพียรเพื่อกำจัดกิเลส 2.พิธีข่มกิเลสโดยการทรมานตัวของนักบวชบางพวกในสมัยพุทธกาล
ถือบังสุกุล :
ใช้ผ้าเฉพาะที่ได้จากกองฝุ่นกองหยากเยื่อ คือผ้าที่เขาทิ้งแล้ว มาทำเครื่องนุ่งห่ม ไม่ใช้ผ้าที่ชาวบ้านถวาย ดู ปังสุกูลิกังคะ
ทักษิโณทก : น้ำที่หลั่งในเวลาทำทาน, น้ำกรวด, คือเอาน้ำหลั่งเป็นเครื่อง หมายของการให้แทนสิ่งของที่ให้ เช่น ที่ดิน ศาลา กุฎี บุญกุศล เป็นต้น ซึ่งใหญ่โตเกินกว่าที่จะยกไหว หรือไม่มีรูปที่จะยกขึ้นได้