Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เชื้อเพลิง, เพลิง, เชื้อ , then ชอ, ชอพลง, เชื้อ, เชื้อเพลิง, พลง, เพลิง .

Budhism Thai-Thai Dict : เชื้อเพลิง, 33 found, display 1-33
  1. เพลิงทิพย์ : ไฟเทวดา, ไฟที่เป็นของเทวดา, เพลิงคราวถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
  2. ดับไม่มีเชื้อเหลือ : ดับหมด คือดับทั้งกิเลสทั้งขันธ์ (=อนุปาทิเสสนิพพาน)
  3. ถวายพระเพลิง : ให้ไฟ คือ เผา
  4. ศากยวงศ์ : เชื้อสายพวกศากยะ
  5. บอกวัตร : บอกข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนา เมื่อทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว ภิกษุรูปเดียวเป็นผู้บอก อาจใช้วิธีหมุนเวียนกันไปทีละรูป ข้อความที่บอกว่าเป็นภาษาบาลี กล่าวถึงปฏิบัติบูชา คาถาโอวาทปาฏิโมกข์ คุณานิสงส์แห่งขันติธรรม คำเตือนให้ใส่ใจในธรรมในเมื่อได้มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา ความไม่ประมาท เร่งเพียรพยายามในทางธรรมเพื่อน้อมไปสู่พระนิพพาน และพ้นจากทุคติ แล้วกล่าวถึงพุทธกิจประจำวัน ๕ ประการ ลำดับกาลใจพระพุทธประวัติ สิ่งแทนพระองค์ภายหลังพุทธปรินิพพาน ชื่อ วัน เดือน ปี และดาวนักษัตร ๒๗ จบลงด้วยคำเชื้อเชิญให้ตั้งอยู่ในพระพุทธโอวาท บำเพ็ญปฏิบัติบูชา เพื่อบรรลุสมบัติทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ; ธรรมเนียมนี้ บัดนี้ เลือนลางไปแล้ว
  6. กุล : ตระกูล, วงศ์, เชื้อสาย, เผ่าพันธุ์
  7. จักรวรรดิวัตร ๑๒ : ๑.อนฺโตชนสฺมึ พลกายสฺมึ คุ้มครองสงเคราะห์แก่ชนในพระราชฐานและพยุหเสนา ๒.ขตฺติเยสุ แก่กษัตริย์เมืองขึ้นหรือผู้ครองนครภายใต้พระบรมเดชานุภาพ ๓.อนุยนฺเตสุ แก่กษัตริย์ที่ตามเสด็จคือ เหล่าเชื้อพระวงศ์ผู้เป็นราชบริพาร ๔.พฺราหฺมณคหปติเกสุ แก่พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ๕.เนคมชานปเทสุ แก่ชาวนิคมและชาวชนบทคือ ราษฎรพื้นเมืองทั้งเหล่าย ๖.สมณพฺราหฺมเณสุ แก่เหล่าสมณพราหมณ์ ๗.มิคปกฺขีสุ แก่เหล่าเนื้อนกอันพึงบำรุงไว้ให้มีสืบพันธุ์ ๘.อธมฺมการปฏิกฺเขโป ห้ามปรามมิให้มีความประพฤติการอันไม่เป็นธรรม ๙.อธนานํ ธนานุปฺปทานํ เจือจานทรัพย์ทำนุบำรุงแก่ผู้ขัดสนไร้ทรัพย์ ๑๐.สมณพฺราหฺมเณ อุปสงฺกมิตฺวา ปญฺหาปุจฺฉนํ ไปสู่หาพราหมณ์ไต่ถามอรรถปฤษณา ๑๑.อธมฺมราคสฺส ปหานํ เว้นความกำหนัดในกามโดยอาการไม่เป็นธรรม ๑๒.วิสมโลภสฺส ปหานํ เว้นโลภกล้า ไม่เลือกควรไม่ควร
  8. ประเพณี : ขนบธรรมเนียม, แบบแผน, เชื้อสาย
  9. เผดียง : บอกแจ้งให้รู้, บอกนิมนต์, บอกกล่าวหรือประกาศเชื้อเชิญเพื่อให้ร่วมทำกิจโดยพร้อมเพรียงกัน; ประเดียง ก็ว่า ดู ญัตติ
  10. มกุฏพันธนเจดีย์ : ที่ถวายพระเพลิง พระพุทธสรีระ อยู่ทิศตะวันออกของนครกุสินารา
  11. มิลินท์ : มหากษัตริย์เชื้อชาติกรีก แห่งสาคลประเทศในชมพูทวีป ผู้เป็นปราชญ์ยิ่งใหญ่ โต้วาทะชนะนักปราชญ์ทั้งหลายในสมัยนั้น จนในที่สุดได้โต้กับพระนาคเสน ยอมเลื่อมใสหันมานับถือพระพุทธศาสนา และเป็นองค์อุปถัมภกสำคัญ พระนามภาษากรีกว่า พระเจ้าเมนานเดอร์ ครองราชย์ พ.ศ.๔๒๓ สวรรคต พ.ศ.๔๕๓
  12. รามัญนิกาย : นิกายมอญ หมายถึงพระสงฆ์ผู้สืบเชื้อสายมาจากรามัญประเทศ ส่วนมากเป็นมอญเองด้วยโดยสัญชาติ
  13. ศากยะ : ชื่อกษัตริย์พวกหนึ่ง ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าโอกกากราช ซึ่งเป็นผู้สร้างและครองกรุงกบิลพัสดุ์ พระพุทธเจ้าก็เป็นกษัตริย์วงศ์นี้; ศากยะ เป็นคำสันสกฤต เรียกอย่างบาลีเป็น สักกะบ้าง, สักยะบ้าง, สากิยะบ้าง, ศากยะ หรือสักกะนี้ ใช้เป็นคำเรียกชื่อถิ่นหรือแคว้นของพวกเจ้าศากยะด้วย ดู สักกชนบท
  14. สกุล : วงศ์, เชื้อสาย, เผ่าพันธุ์
  15. สอุปาทิเสสบุคคล : บุคคลผู้ยังมีเชื้อกิเลสเหลืออยู่, ผู้ยังไม่สิ้นอุปาทาน ได้แก่ พระเสขะ คือ พระอริยบุคคลทั้งหมด ยกเว้นพระอรหันต์; เทียบ อนุปาทิเสสบุคคล
  16. สิงหล : ชาวสิงหล, ชาวลังกา, ซึ่งมีหรือผู้อยู่ในประเทศลังกา, ชนเชื้อชาติสิงหลหรือเผ่าสิงหลที่ต่างหากจากชนเชื้อชาติอื่น มีทมิฬเป็นต้น ในประเทศลังกา
  17. สิงหฬ : ชาวสิงหล, ชาวลังกา, ซึ่งมีหรือผู้อยู่ในประเทศลังกา, ชนเชื้อชาติสิงหลหรือเผ่าสิงหลที่ต่างหากจากชนเชื้อชาติอื่น มีทมิฬเป็นต้น ในประเทศลังกา
  18. สีหฬ : ชาวสิงหล, ชาวลังกา, ซึ่งมีหรือผู้อยู่ในประเทศลังกา, ชนเชื้อชาติสิงหลหรือเผ่าสิงหลที่ต่างหากจากชนเชื้อชาติอื่น มีทมิฬเป็นต้น ในประเทศลังกา
  19. สุภัททะ วุฒบรรพชิต : “พระสุภัททะผู้บวชเมื่อแก่” ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งการปรารภที่จะทำสังคายนาครั้งที่ ๑ ก่อนบวช เป็นช่างตัดผมในเมืองอาตุมา มีบุตรชาย ๒ คน เมื่อบวชแล้วคราวหนึ่งได้ข่าวว่าพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยสงฆ์หมู่ใหญ่จะเสด็จมายังเมืองอาตุมา จึงให้บุตรทั้ง ๒ เอาเครื่องมือตัดผมออกไปเที่ยวขอตัดผมตามบ้านเรือนทุกแห่ง แลกเอาเครื่องปรุงยาคูมาได้มากมาย แล้วบัญชาการให้ผู้คนจัดเตรียมข้าวยาคูไว้เป็นอันมาก เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึง ก็นำเอาข้าวยาคูนั้นเข้าไปถวาย พระพุทธเจ้าตรัสถาม ทรงทราบความว่าพระสุภัททะได้ข้าวนั้นมาอย่างไรแล้ว ไม่ทรงรับและทรงติเตียน แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท ๒ ข้อ คือ บรรพชิตไม่พึงชักชวนคนทำในสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ และภิกษุผู้เคยเป็นช่างกัลบกไม่พึงเก็บรักษาเครื่องตัดโกนผมไว้ประจำตัว จากการที่ได้ถูกติเตียนและเสียของเสียหน้าเสียใจ ในเหตุการณ์ครั้งนั้น พระสุภัททะก็ได้ผูกอาฆาตไว้ ต่อมา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วได้ ๗ วัน พระสุภัททะร่วมอยู่ในคณะของพระมหากัสสปเถระ ซึ่งกำลังเดินทางจากเมืองปาวาสู่เมืองกุสินารา ระหว่างทางนั้น คณะได้ทราบข่าวพุทธปรินิพพานจากอาชีวกผู้หนึ่ง ภิกษุทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นราคะ (คือพระปุถชน โสดาบัน และสกทาคามี) พากันร้องไห้คร่ำครวญเป็นอันมาก ในขณะนั้นเอง พระสุภัททะวุฒบรรพชิต ก็ร้องห้ามขึ้นว่า “อย่าเลย ท่านผู้มีอายุ พวกท่านอย่าเศร้าโศก อย่าร่ำไห้ไปเลย พวกเราพ้นดีแล้ว พระมหาสมณะนั้นคอยเบียดเบียนพวกเราว่าสิ่งนี้ควรแก่เธอ สิ่งนี้ไม่ควรแก่เธอ บัดนี้พวกเราปรารถนาสิ่งใด ก็จักกระทำสิ่งนั้น” พระมหากัสสปเถระได้ฟังแล้วเกิดธรรมสังเวช ดำริว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานเพียง ๗ วัน ก็ยังเกิดเสี้ยนหนามขึ้นแล้วในพระศาสนา หากต่อไปคนชั่วได้พวกพ้องมีกำลังเติบกล้าขึ้น ก็จะทำพระศาสนาให้เสื่อมถอย ดังนั้น หลังจากเสร็จงานถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว ท่านจึงได้ยกถ้อยคำของสุภัททะวุฒบรรพชิต นี้ขึ้นเป็นข้อปรารภ ชักชวนพระเถระทั้งหลายร่วมกันทำสังคายนาครั้งแรก
  20. อนุปาทิเสสบุคคล : บุคคลผู้ไม่มีเชื้อกิเลสเหลือ, ผู้หมดอุปาทานสิ้นเชิง ได้แก่ พระอเสขะ คือ พระอรหันต์; เทียบ สอุปาทิเสสบุคคล
  21. อปรกาล : เวลาช่วงหลัง, ระยะเวลาของเรื่องที่มีขึ้นในภายหลัง คือ หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ได้แก่ เรื่องถวายพระเพลิง และแจกพระบรมสารีริกธาตุ
  22. อังคาร : ถ่านเถ้าที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
  23. อาทิตยโคตร : ตระกูลพระอาทิตย์, เผ่าพันธุ์พระอาทิตย์, ตระกูลที่สืบเชื้อสายนางอทิติผู้เป็นชายาของพระกัศยปประชาบดี, ท่านว่าสกุลของพระพุทธเจ้าก็เป็นอาทิตยโคตร (โคตมโคตรกับอาทิตยโคตร มีความหมายอย่างเดียวกัน)
  24. อายาจนะ : การขอร้อง, การวิงวอน, การเชื้อเชิญ
  25. อาราธนา : การเชื้อเชิญ, นิมนต์, ขอร้อง, อ้อนวอน, (มักใช้สำหรับพระสงฆ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์)
  26. อุภโตสุชาต : เกิดมีแล้วทั้ง ๒ ฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายมารดาทั้งฝ่ายบิดา หมายความว่า มีสกุลสูง เป็นเชื้อสายวรรณะนั้นต่อเนื่องกันมาโดยตลอด ทั้งฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดา, เป็นคุณสมบัติที่พวกพราหมณ์และกษัตริย์บางวงศ์ถือเป็นสำคัญมาก
  27. โอปปาติกะ : สัตว์เกิดผุดขึ้น คือ เกิดผุดขึ้นมาและโตเต็มตัวในทันใด ตายก็ไม่ต้องมีเชื้อหรือซากปรากฏ เช่น เทวดาและสัตว์นรก เป็นต้น (ข้อ ๔ ในโยนิ ๔); บาลีว่า รวมทั้งมนุษย์บางพวก
  28. นาลันทา : ชื่อเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ห่างจากพระนครราชคฤห์ประมาณ ๑ โยชน์ ณ เมืองนี้ มีสวนมะม่วง ชื่อ ปาวาริกัมพวัน (สวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐี) ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับแรมหลายครั้ง คัมภีร์ฝ่ายมหายานกล่าวว่า พระสารีบุตร อัครสาวก เกิดที่เมืองนาลันทา แต่คัมภีร์ฝ่ายบาลีเรียกถิ่นเกิดของพระสารีบุตรว่า หมู่บ้านนาลกะหรือนาลันทคาม
  29. สมันตปาสาทิกา : ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในพระวินัยปิฎก พระพุทธโฆษาจารย์เรียบเรียงขึ้น เมื่อ พ.ศ.ใกล้จะถึง ๑๐๐๐ โดยปรึกษาอรรถกถาภาษาสิงหฬที่มีอยู่ก่อน ชื่อ มหาปัจจริย และกุรุนที
  30. อักโกสวัตถุ : เรื่องสำหรับด่า มี ๑๐ อย่าง คือ ๑) ชาติ ได้แก่ชั้นหรือกำเนิดของคน ๒) ชื่อ ๓) โคตร คือตระกูลหรือแซ่ ๔) การงาน ๕) ศิลปะ ๖) โรค ๗) รูปพรรณสัณฐาน ๘) กิเลส ๙) อาบัติ ๑๐) คำสบประมาทอย่างอื่นๆ
  31. อังคุตตราปะ : ชื่อแคว้นหนึ่งในชมพูทวีป ครั้งพุทธกาล เมืองหลวงเป็นเพียงนิคม ชื่อ อาปณะ
  32. อิสิปตนมฤคทายวัน : ป่าเป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อ ชื่อ อิสิปตนะ อยู่ใกล้เมืองพาราณสี เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดพระปัญจวัคคีย์ บัดนี้เรียก สารนาถ
  33. โอมสวาท : คำพูดเสียดแทงให้เจ็บใจหรือให้ได้ความอัปยศ ได้แก่ การพูดแดกหรือประชดก็ตาม ด่าก็ตาม กระทบถึงอักโกสวัตถุ ๑๐ ประการ มีชาติกำเนิด ชื่อ ตระกูล เป็นต้น ภิกษุกล่าวโอมสวาทแก่ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ แก่อนุปสัมบันต้องอาบัติทุกกฏตามสิกขาบทที่ ๒ แห่งมุสาวาทวรรคปาจิตติยกัณฑ์
  34. [1-33]

(0.0251 sec)