Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เปลี่ยนสภาพ, เปลี่ยน, สภาพ , then ปลยน, ปลยนสภาพ, เปลี่ยน, เปลี่ยนสภาพ, สภาพ, สภาว .

Budhism Thai-Thai Dict : เปลี่ยนสภาพ, 73 found, display 1-50
  1. สภาพ : ความเป็นเอง, สิ่งที่เป็นเอง, ธรรมดา
  2. อาการ : ความเป็นอยู่, ความเป็นไป, สภาพ, ท่าทาง, ท่วงที, ทำนอง, กิริยา, กิริยาที่ทำ, ลักษณะของการกระทำหรือความเป็นไป
  3. ปัจจุทธรณ์ : ถอนคืน คือถอนคืนผ้าที่อธิษฐานไว้ เช่น อธิษฐานสบงคือ ตั้งใจกำหนดไว้ให้เป็นสบงครอง ภายหลังไม่อยากให้เป็นสบงครอง ภายหลังไม่อยากให้เป็นสบงครอง ก็ถอนคืนสบงนั้น เรียกว่า ปัจจุทธรณ์สบง, ตัวอย่าง ปัจจุทธรณ์สบงว่า “อิมํ อนฺตรวาสกํ ปจฺจุทฺธรามิ” (เปลี่ยน อนฺตรวาสกํ เป็น สงฺฆาฏึ” เป็น อุตฺตราสงฺคํ เป็นต้น สุดแต่ว่าจะถอนอะไร)
  4. ธรรม : สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจจธรรม, ความจริง; เหตุ, ต้นเหตุ; สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด; คุณธรรม, ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ; หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่; ความชอบ, ความยุติธรรม; พระธรรม, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฏขึ้น
  5. เข้ารีต : เปลี่ยนไปถือศาสนาอื่น (มักใช้แก่ศาสนาคริสต์), ทำพิธีเข้าถือศาสนาอื่น
  6. เจตภูต : สภาพเป็นผู้คิดอ่าน, ตามที่เข้าใจกัน หมายถึงดวงวิญญาณหรือดวงชีพอันเที่ยงแท้ที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าวกันว่าออกจากร่างได้ในเวลานอนหลับ และเป็นตัวไปเกิดใหม่เมื่อกายนี้แตกทำลาย เป็นคำที่ไทยเราใช้เรียกแทนคำว่า อาตมัน หรืออัตตาของลัทธิพราหมณ์และเป็นความเชื่อนอกพระพุทธศาสนา
  7. ปฏิจจสมุปบาท : สภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น, การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา
  8. อเนญชาภิสังขาร : สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่ ภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน (ข้อ ๓ ในอภิสังขาร ๓); ตามหลักเขียน อาเนญชาภิสังขาร
  9. อปุญญาภิสังขาร : สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว ได้แก่ อกุศลเจตนาทั้งหลาย (ข้อ ๒ ในอภิสังขาร ๓)
  10. อภิสังขาร : สภาพที่ปรุงแต่งผลแห่งการกระทำการทำกรรม มี ๓ อย่างคือ ๑) ปุญญาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นบุญ ๒) อปุญญาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญ คือ บาป ๓) อาเนญชาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นอเนญชา คือ กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร ๔; เรียกง่ายๆ ได้แก่ บุญ บาป ฌาน
  11. อสุภ : สภาพที่ไม่งาม, พิจารณาร่างกายของตนและผู้อื่นให้เห็นสภาพที่ไม่งาม; ในความหมายเฉพาะ หมายถึงซากศพในสภาพต่างๆ ซึ่งใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน รวม ๑๐ อย่าง คือ ๑) อุทธุมาตกะ ซากศพที่เน่าพอง ๒) วินีลกะ ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำ ๓) วิปุพพกะ ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลออกอยู่ ๔) วิจฉิททกะ ซากศพที่ขาดกลางตัว ๕) วิกขายิตกะ ซากศพที่สัตว์กัดกินแล้ว ๖) วิกขิตตกะ ซากศพที่มีมือ เท้า ศีรษะขาด ๗) หตวิกขิตตกะ ซากศพที่คนมีเวรเป็นข้าศึกษกัน สับฟันเป็นท่อนๆ ๘) โลหิตกะ ซากศพที่ถูกประหารด้วยศัสตรามีโลหิตไหลอาบอยู่ ๙) ปุฬุวกะ ซากศพที่มีตัวหนอนคลานคล่ำไปอยู่ ๑๐) อัฏฐิกะ ซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูก
  12. อสุภะ : สภาพที่ไม่งาม, พิจารณาร่างกายของตนและผู้อื่นให้เห็นสภาพที่ไม่งาม; ในความหมายเฉพาะ หมายถึงซากศพในสภาพต่างๆ ซึ่งใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน รวม ๑๐ อย่าง คือ ๑) อุทธุมาตกะ ซากศพที่เน่าพอง ๒) วินีลกะ ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำ ๓) วิปุพพกะ ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลออกอยู่ ๔) วิจฉิททกะ ซากศพที่ขาดกลางตัว ๕) วิกขายิตกะ ซากศพที่สัตว์กัดกินแล้ว ๖) วิกขิตตกะ ซากศพที่มีมือ เท้า ศีรษะขาด ๗) หตวิกขิตตกะ ซากศพที่คนมีเวรเป็นข้าศึกษกัน สับฟันเป็นท่อนๆ ๘) โลหิตกะ ซากศพที่ถูกประหารด้วยศัสตรามีโลหิตไหลอาบอยู่ ๙) ปุฬุวกะ ซากศพที่มีตัวหนอนคลานคล่ำไปอยู่ ๑๐) อัฏฐิกะ ซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูก
  13. อนัตตลักษณะ : ลักษณะที่เป็นอนัตตา, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตน ได้แก่ ๑) เป็นของสูญ คือ เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ ๒) เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง ๓) ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ ๔) เป็นสภาวธรรมอันเป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ ๕) โดยสภาวะของมันเอง ก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา
  14. กรรม ๑๒ : กรรมจำแนกตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผล พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ ๑๒ อย่างคือ หมวดที่ ๑ ว่าด้วยปากกาล คือ จำแนกตามเวลาที่ให้ผล ได้แก่ ๑.ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้ ๒.อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า ๓.อปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพต่อๆไป ๔.อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล หมวดที่ ๒ ว่าโดยกิจ คือจำแนกการให้ผลตามหน้าที่ ได้แก่ ๕.ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิด หรือกรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด ๖.อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน คือเข้าสนับสนุนหรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม ๗.อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น คือเข้ามาบีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้นให้แปรเปลี่ยนทุเลาเบาบางหรือสั้นเข้า ๘.อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน คือกรรมแรงฝ่ายตรงข้ามที่เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรม ๒ อย่างนั้นให้ขาดหรือหยุดไปทีเดียว หมวดที่ ๓ ว่าโดยปากทานปริยาย คือจำแนกตามลำดับความแรงในการให้ผล ได้แก่ ๙.ครุกกรรม กรรมหนัก ให้ผลก่อน ๑๐.พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม กรรมทำมากหรือกรรมชิน ให้ผลรองลงมา ๑๑.อาสันนกรรม กรรมจวนเจียน หรือกรรมใกล้ตาย ถ้าไม่มี ๒ ข้อก่อนก็จะให้ผลก่อนอื่น ๑๒.กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม กรรมสักว่าทำ คือเจตนาอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้น ให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผล
  15. กายคตาสติ : สติที่เป็นไปในกาย, สติอันพิจารณากายให้เห็นตามสภาพที่มีส่วนประกอบ ซึ่งล้วนเป็นของไม่สะอาด ไม่งาม น่ารังเกียจ ทำให้เกิดความรู้เท่าทัน ไม่หลงใหลมัวเมา
  16. กายคติ : สติที่เป็นไปในกาย, สติอันพิจารณากายให้เห็นตามสภาพที่มีส่วนประกอบ ซึ่งล้วนเป็นของไม่สะอาด ไม่งาม น่ารังเกียจ ทำให้เกิดความรู้เท่าทัน ไม่หลงใหลมัวเมา
  17. กายสังขาร : 1.ปัจจัยปรุงแต่งกาย ได้แก่ลมหายใจเข้า หายใจออก 2.สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย ได้แก่ กายสัญเจตนา หรือความจงใจทางกาย ซึ่งทำให้เกิดกายกรรม
  18. ขันธมาร : ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นมาร เพราะเป็นสภาพอันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ ถูกปัจจัยต่างๆ มีอาพาธเป็นต้น บีบคั้นเบียดเบียนเป็นเหตุขัดขวางหรือรอนโอกาส มิให้สามารถทำความดีงามได้เต็มที่ หรืออาจตัดโอกาสนั้นโดยสิ้นเชิง (ข้อ ๒ ในมาร ๕)
  19. คุณธรรม : ธรรมที่เป็นคุณ, ความดีงาม, สภาพที่เกื้อกูล
  20. จำพรรษา : อยู่ประจำวัด ๓ เดือนในฤดูฝน คือ ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (อย่างนี้เรียกปุริมพรรษา แปลว่า พรรษาต้น) หรือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๙ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ (อย่างนี้เรียก ปัจฉิมพรรษา แปลว่า พรรษาหลัง); วันเข้าพรรษาต้น คือ แรม ๑ ค่ำเดือน ๘ เรียกว่า ปุริมิกา วัสสูปนายิกา, วันเข้าพรรษาหลัง คือ แรม ๑ ค่ำเดือน ๙ เรียกว่า ปัจฉิมิกา วัสสูปนายิกา ; คำอธิษฐานพรรษา ว่า อิมสฺมึ วิหาเร อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ ; ทุติยมฺปี อิมสฺมึ....; ตติยมฺปิ อิมสฺมึ....แปลว่า ข้าพเจ้าเข้าอยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือนในวัดนี้ (วิหาเร จะเปลี่ยนเป็น อาวาเส ก็ได้) ; อานิสงส์การจำพรรษามี ๕ อย่าง คือ ๑.เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา ๒.จาริกไปไม่ต้องเอาไตรจีวรไปครบสำรับ ๓.ฉันคณโภชน์และปรัมปรโภชน์ได้ ๔.เก็บอดิเรกจีวรได้ตามปรารถนา ๕.จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้น เป็นของได้แก่พวกเธอ อานิสงส์ทั้ง ๕ นี้ได้ชั่วเวลาเดือนหนึ่ง นับแต่ออกพรรษาแล้ว คือ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ นอกจากนั้นยังได้สิทธิที่จะกรานกฐิน และได้รับอานิสงส์ ๕ นั้น ต่อออกไปอีก ๔ เดือน (ภิกษุผู้เข้าพรรษาแล้วหลัง ไม่ได้อานิสงส์หรือสิทธิพิเศษเหล่านี้)
  21. จิต : ธรรมชาติที่รู้อารมณ์, สภาพที่นึกคิด, ความคิด, ใจ; ตามหลักฝ่ายอภิธรรม จำแนกจิตเป็น ๘๙ (หรือพิสดารเป็น ๑๒๑) แบ่ง โดยชาติ เป็นอกุศลจิต ๑๒ กุศลจิต ๒๑ (พิสดารเป็น ๓๗) วิปากจิต ๓๖ (๕๒) และ กิริยาจิต ๒๐; แบ่ง โดยภูมิ เป็นกามาวจรจิต ๕๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ และโลกุตตรจิต ๘ (พิสดารเป็น ๔๐)
  22. จิตตสังขาร : 1.ปัจจัยปรุงแต่งจิตได้แก่ สัญญาและเวทนา 2.สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ ได้แก่เจตนาที่ก่อให้เกิดมโนกรรม ดู สังขาร
  23. จิตตานุปัสสนา : สติพิจารณาใจที่เศร้าหมองหรือผ่องแผ้วเป็นอารมณ์ว่าใจนี้ก็สักว่าใจ ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตน เรา เขา กำหนดรู้จิตตามสภาพที่เป็นอยู่ในขณะนั้นๆ เช่น จิตมีราคะ โทสะ โมหะ ก็รู้ว่าจิตมี ราคะ โทสะ โมหะ จิตปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะ (ข้อ ๓ ในสติปัฏฐาน ๔)
  24. ตถาคต : พระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า เป็นคำที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกหรือตรัสถึงพระองค์เอง แปลได้ความหมาย ๘ อย่าง คือ ๑.พระผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น คือ เสด็จมาทรงบำเพ็ญพุทธจริยา เพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก เป็นต้น เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ อย่างไรก็อย่างนั้น ๒.พระผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น คือทรงทำลายอวิชชาสละปวงกิเลสเสด็จไปเหมือนอย่างพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ อย่างไรก็อย่างนั้น ๓.พระผู้เสด็จมาถึงตถลักษณะ คือ ทรงมีพระญาณหยั่งรู้เข้าถึงลักษณะที่แท้จริงของสิ่งทั้งหลายหรือของธรรมทุกอย่าง๔.พระผู้ตรัสรู้ตถธรรมตามที่มันเป็น คือ ตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือปฏิจจสมุปบาทอันเป็นธรรมที่จริงแท้แน่นอน ๕.พระผู้ทรงเห็นอย่างนี้ คือ ทรงรู้เท่าทันสรรพอารมณ์ที่ปรากฏแก่หมู่สัตว์ทั้งเทพและมนุษย์ ซึ่งสัตวโลกตลอดถึงเทพถึงพรหมได้ประสบและพากันแสวงหา ทรงเข้าใจสภาพที่แท้จริง ๖.พระผู้ตรัสอย่างนั้น (หรือมีพระวาจาที่แท้จริง) คือ พระดำรัสทั้งปวงนับแต่ตรัสรู้จนเสด็จดับขันธปรินิพพาน ล้วนเป็นสิ่งแท้จริงถูกต้อง ไม่เป็นอย่างอื่น ๗.พระผู้ทำอย่างนั้น คือ ตรัสอย่างใดทำอย่างนั้น ทำอย่างใด ตรัสอย่างนั้น ๘.พระผู้เป็นเจ้า (อภิภู) คือ ทรงเป็นผู้ใหญ่ยิ่งเหนือกว่าสรรพสัตว์ตลอดถึงพระพรหมที่สูงสุด เป็นผู้เห็นถ่องแท้ ทรงอำนาจ เป็นราชาที่พระราชาทรงบูชา เป็นเทพแห่งเทพ เป็นอินทร์เหนือพระอินทร์ เป็นพรหมเหนือประดาพรหม ไม่มีใครจะอาจวัดหรือจะทดเทียมพระองค์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ
  25. ทุกข์ : 1.สภาพที่ทนอยู่ได้ยาก, สภาพที่คงทนอยู่ไม่ได้ เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดขึ้นและความดับสลาย เนื่องจากต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ไม่ขึ้นต่อตัวมันเอง 2.สภาพที่ทนได้ยาก, ความรู้สึกไม่สบาย ได้แก่ ทุกขเวทนา, ถ้ามาคู่กับโทมนัส (ในเวทนา ๕) ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายกายคือทุกข์กาย (โทมนัสคือไม่สบายใจ) แต่ถ้ามาลำพัง (ในเวทนา ๓) ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายกายไม่สบายใจ คือทั้งทุกข์กายและทุกข์ใจ
  26. ทุกขลักษณะ : เครื่องกำหนดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่จัดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าเป็นทุกข์คือ ๑.ถูกการเกิดขึ้นและการดับสลายบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา ๒.ทนได้ยากหรือคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ๓.เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ ๔.แย้งต่อสุขหรือเป็นสภาวะที่ปฏิเสธความสุข
  27. นันทะ : พระอนุชาของพระพุทธเจ้า แต่ต่างมารดา คือประสูติแต่พระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้ออกบวชในวันมงคลสมรสกับนางชนปทกัลยาณี เบื้องแรกประพฤติพรหมจรรย์อยู่ด้วยความจำใจ แต่ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงสอนด้วยอุบาย จนพระนันทะเปลี่ยนมาตั้งใจปฏิบัติธรรม และในที่สุดก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้สำรวมอินทรีย์ พระนันทะมีรูปพรรณสัณฐานคล้ายพระพุทธเจ้า แต่ต่ำกว่าพระพุทธองค์ ๔ นิ้ว
  28. บาป : ความชั่ว, ความร้าย, ความชั่วร้าย, กรรมชั่ว, กรรมลามก, อกุศลธรรมที่ส่งให้ถึงความเดือดร้อน, สภาพที่ทำให้ถึงคติอันชั่ว, สิ่งที่ทำจิตให้ตกสู่ที่ชั่ว คือ ทำให้เลวลง ให้เสื่อมลง
  29. ปฏิวัติ : การเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกกลับ, การหมุนกลับ, การผันแปรเปลี่ยนหลักมูล
  30. ปริเยสนา : การแสวงหา มี ๒ คือ ๑.อนริยปริเยสนา แสวงหาอย่างไม่ประเสริฐ ตนยังมีทุกข์ ก็ยังแสวงหาสภาพที่ไม่มีทุกข์ ได้แก่ นิพพาน; สำหรับคนทั่วไป ท่านอธิบายว่า มิจฉาอาชีวะ เป็น อนริยปริเยสนา สัมมาอาชีวะ เป็น อริยปริเยสนา
  31. ปลงตก : พิจารณาเห็นจริงตามสภาพของสังขาร แล้ววางใจเป็นปกติได้
  32. ปุญญาภิสังขาร : อภิสังขารที่เป็นบุญ, สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่กุศลเจตนา (เฉพาะที่เป็นกามาวจรและรูปวจร) (ข้อ ๑ ในอภิสังขาร ๓)
  33. ผาติกรรม : การทำให้เจริญ หมายถึง การจำหน่ายครุภัณฑ์ เพื่อประโยชน์สงฆ์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเอาของเลวแลกเปลี่ยนเอาของดีกว่าให้แก่สงฆ์ หรือเอาของตนถวายสงฆ์เป็นการทดแทนที่ตนทำของสงฆ์ชำรุดไป, รื้อของที่ไม่ดีออกทำให้ใหม่ดีกว่าของเก่า เช่น เอาที่วัดไปทำอย่างอื่นแล้วสร้างวัดถวายให้ใหม่; การชดใช้, การทดแทน
  34. ผ้าอาบน้ำฝน : ผ้าสำหรับอธิษฐานไว้ใช้นุ่งอาบนำฝนตลอด ๔ เดือนแห่งฤดูฝน ซึ่งพระภิกษุจะแสวงหาได้ในระยะเวลา ๑ เดือน ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๗ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ และให้ทำนุ่งได้ในเวลากึ่งเดือน ตั้งแต่ขึ้น ๑ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ปัจจุบันมีประเพณีทายกทายิกาทำบุญถวายผ้าอาบน้ำฝนตามวัดต่างๆ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘; เรียกเป็นคำศัพท์ว่า วัสสิกสาฏิกา หรือ วัสสิกสาฏก; คำถวายผ้าอาบน้ำฝนเหมือนคำถวายผ้าป่า เปลี่ยนแต่ ปํสุกูลจีวรานิ เป็น วสฺสิกสาฏิกานิ และผ้าบังสุกุลจีวร เป็นผ้าอาบน้ำฝน
  35. พิปลาส : กิริยาที่ถือโดยอาการวิปริตผิดจากความเป็นจริง, ความเห็นหรือความเข้าใจคลาดเคลื่อนจากสภาพที่เป็นจริง มีดังนี้; ก.วิปลาสด้วยอำนาจจิตต์และเจตสิก ๓ ประการ คือ ๑.วิปลาสด้วยอำนาจสำคัญผิด เรียกว่า สัญญาวิปลาส ๒.วิปลาสด้วยอำนาจคิดผิด เรียกว่า จิตตวิปลาส ๓.วิปลาสด้วยอำนาจเห็นผิด เรียกว่า ทิฏฐิวิปลาส ข.วิปลาสด้วยสามารถวัตถุเป็นที่ตั้ง ๔ ประการ คือ ๑.วิปลาสในของที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง ๒.วิปลาสในของที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ๓.วิปลาสในของที่ไม่ใช่ตน ว่าเป็นตน ๔.วิปลาสในของที่ไม่งาม ว่างาม
  36. เพื่อน : ผู้ร่วมธุระร่วมกิจร่วมการหรือร่วมอยู่ในสภาพอย่างเดียวกัน, ผู้ชอบพอรักใคร่คบหากัน, ในทางธรรม เนื้อแท้ของความเป็นเพื่อน อยู่ที่ความมีใจหวังดีปรารถนาดีต่อกัน กล่าวคือ เมตตา หรือไมตรี เพื่อนที่มีคุณสมบัติเช่นนี้ เรียกว่า มิตร การคบเพื่อนเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ที่จะนำชีวิตไปสู่ความเสื่อมความพินาศ หรือสู่ความเจริญงอกงาม พึงหลีกเลี่ยงมิตรเทียมและเลือกคบหาคนที่เป็นมิตรแท้ ดู มิตตปฏิรูป, มิตรแท้
  37. มหรคต : “อันถึงความเป็นสภาพใหญ่” “ซึ่งถึงความยิ่งใหญ่” หรือ “ซึ่งดำเนินไปด้วยฉันทะวิริยะจิตตะและปัญญาอย่างใหญ่” คือ เข้าถึงฌาน, เป็นรูปาวจร หรืออรูปาวจร, ถึงระดับวิกขัมภนวิมุตติ (เขียนอย่างบาลีเป็น มหัคคตะ)
  38. ยส : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสีมีความเป็นอยู่อย่างสุขสมบูรณ์ วันหนึ่งเห็นสภาพในห้องนอนของตน เป็นเหมือนป่าช้า เกิดความสลดใจคิดเบื่อหน่าย จึงออกจากบ้านไปพบพระพุทธเจ้าที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในเวลาใกล้รุ่ง พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาอนุปุพพีกถา และอริยสัจโปรด ยสกุลบุตรได้ดวงตาเห็นธรรม ต่อมาได้ฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่เศรษฐีบิดาของตน ก็ได้บรรลุอรหัตตผลแล้วขออุปสมบท เป็นภิกษุสาวกองค์ที่ ๖ ของพระพุทธเจ้า
  39. ยสะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสีมีความเป็นอยู่อย่างสุขสมบูรณ์ วันหนึ่งเห็นสภาพในห้องนอนของตน เป็นเหมือนป่าช้า เกิดความสลดใจคิดเบื่อหน่าย จึงออกจากบ้านไปพบพระพุทธเจ้าที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในเวลาใกล้รุ่ง พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาอนุปุพพีกถา และอริยสัจโปรด ยสกุลบุตรได้ดวงตาเห็นธรรม ต่อมาได้ฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่เศรษฐีบิดาของตน ก็ได้บรรลุอรหัตตผลแล้วขออุปสมบท เป็นภิกษุสาวกองค์ที่ ๖ ของพระพุทธเจ้า
  40. ยาจก : ผู้ขอ, คนขอทาน, คนขอทานโดยไม่มีอะไรแลกเปลี่ยน
  41. รูปิยสังโวหาร : การแลกเปลี่ยนด้วยรูปิยะ, การซื้อขายด้วยเงินตรา, ภิกษุกระทำ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ (โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๙)
  42. วจีสังขาร : 1.ปัจจัยปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตก (ตรึก) และวิจาร (ตรอง) ถ้าไม่มีตรึกตรองก่อนแล้ว พูดย่อมไม่รู้เรื่อง 2.สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา ได้แก่ วจีสัญเจตนา คือความจงใจทางวาจา ที่ก่อให้เกิดวจีกรรม ดู สังขาร
  43. วปลาส : กิริยาที่ถือโดยอาการวิปริตผิดจากความเป็นจริง, ความเห็นหรือความเข้าใจคลาดเคลื่อนจากสภาพที่เป็นจริง มีดังนี้; ก.วิปลาสด้วยอำนาจจิตต์และเจตสิก ๓ ประการ คือ ๑.วิปลาสด้วยอำนาจสำคัญผิด เรียกว่า “สัญญาวิปลาส” ๒.วิปลาสด้วยอำนาจคิดผิด เรียกว่า “จิตตวิปลาส” ๓.วิปลาสด้วยอำนาจเห็นผิด เรียกว่า “ทิฏฐิวิปลาส” ข.วิปลาสด้วยสามารถวัตถุเป็นที่ตั้ง ๔ ประการ คือ ๑.วิปลาสในของที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง ๒.วิปลาสในของที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ๓.วิปลาสในของที่ไม่ใช่ตน ว่าเป็นตน ๔.วิปลาสในของที่ไม่งาม ว่างาม
  44. วาโยธาตุ : ธาตุลม คือธาตุที่มีลักษณะพัดไปมา, ภาวะสั่นไหว เคร่งตึง ค้ำจุน; ในร่างกายนี้ ส่วนที่ใช้กำหนดเป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้แก่ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมหายใจ (ตามสภาวะ วาโยธาตุ คือ สภาพสั่นไหว หรือค้ำจุน) ดู ธาตุ
  45. วาระ : ครั้งคราว, เวลาที่กำหนดสำหรับผลัดเปลี่ยน
  46. วิกุพพนฤทธิ์ : ฤทธิ์คือการแผลง, ฤทธิ์บิดผัน, ฤทธิ์ผันแผลง คือ เปลี่ยนจากรูปร่างปกติ แปลงเป็นเด็ก เป็นครุฑ เป็นเทวดา เป็นเสือ เป็นงู เป็นต้น (ต้องห้ามทางพระวินัย)
  47. วิกุพพนาอิทธิ : ฤทธิ์คือการแผลง, ฤทธิ์บิดผัน, ฤทธิ์ผันแผลง คือ เปลี่ยนจากรูปร่างปกติ แปลงเป็นเด็ก เป็นครุฑ เป็นเทวดา เป็นเสือ เป็นงู เป็นต้น (ต้องห้ามทางพระวินัย)
  48. วิปัสสนูปกิเลส : อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา, สภาพน่าชื่นชมแต่ที่แท้เป็นโทษเครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนาซึ่งเกิดแก่ผู้ได้วิปัสสนาอ่อนๆ ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว จึงไม่ดำเนินก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ มี ๑๐ คือ ๑.โอภาส แสงสว่าง ๒.ปีติ ความอิ่มใจ ๓.ญาณ ความรู้ ๔.ปัสสัทธิ ความสงบกายและจิต ๕.สุข ความสบายกาย สบายจิต ๖.อธิโมกข์ ความน้อมใจเชื่อ ๗.ปัคคาหะ ความเพียรที่พอดี ๘.อุปัฏฐาน สติชัด ๙.อุเบกขา ความวางจิตเป็นกลาง ๑๐.นิกันติ ความพอใจ
  49. วิภัตติ : ชื่อวิธีไวยากรณ์ภาษาบาลีและสันสฤกต สำหรับแจกศัพท์โดยเปลี่ยนท้ายคำให้มีรูปต่างๆ กันเพื่อบอกการก ท้ายคำให้มีรูปต่างๆ กันเพื่อบอกการกและกาลเป็นต้น เช่นคำนาม โลโก ว่า โลก, โลกํ ซึ่งโลก, โลกา จากโลก, โลเก ในโลก; คำกิริยา เช่น นมติ ย่อมน้อม, นมตุ จงน้อม, นมิ น้อมแล้ว เป็นต้น
  50. วิสมปริหารชา อาพาธา : ความเจ็บไข้ที่เกิดจากบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ คือ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่พอดี
  51. [1-50] | 51-73

(0.0264 sec)