Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เพื่อนคู่หู, เพื่อน, คู่หู , then คห, คู่หู, พอน, พอนคห, เพื่อน, เพื่อนคู่หู .

Budhism Thai-Thai Dict : เพื่อนคู่หู, 36 found, display 1-36
  1. เพื่อน : ผู้ร่วมธุระร่วมกิจร่วมการหรือร่วมอยู่ในสภาพอย่างเดียวกัน, ผู้ชอบพอรักใคร่คบหากัน, ในทางธรรม เนื้อแท้ของความเป็นเพื่อน อยู่ที่ความมีใจหวังดีปรารถนาดีต่อกัน กล่าวคือ เมตตา หรือไมตรี เพื่อนที่มีคุณสมบัติเช่นนี้ เรียกว่า มิตร การคบเพื่อนเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ที่จะนำชีวิตไปสู่ความเสื่อมความพินาศ หรือสู่ความเจริญงอกงาม พึงหลีกเลี่ยงมิตรเทียมและเลือกคบหาคนที่เป็นมิตรแท้ ดู มิตตปฏิรูป, มิตรแท้
  2. มิตร : เพื่อน, ผู้มีความเยื่อใยดี, ผู้มีน้ำใจเอื้อเฟื้อ แยกเป็นมิตรแท้ ๔ พวก มิตรเทียม (มิตตปฏิรูป) ๔ พวก
  3. สหาย : เพื่อน, เพื่อนร่วมการงาน (แปลตามศัพท์ว่า ผู้ไปด้วยในกิจทั้งหลายหรือผู้มีความเสื่อมและความเจริญร่วมกัน)
  4. กัลยาณมิตร : เพื่อนที่ดี, มิตรผู้มีคุณอันพึงนับ (คุณสมบัติ ดู เพื่อน)
  5. สมมติสัจจะ : จริงโดยสมมติ คือ โดยความตกลงหมายรู้ร่วมกันของมนุษย์ เช่น นาย ก.นาย ข.ช้าง ม้า มด โต๊ะ หนังสือ พ่อ แม่ ลูก เพื่อน เป็นต้น ซึ่งเมื่อกล่าวตามสภาวะ หรือโดยปรมัตถ์แล้ว ก็เป็นเพียงสังขาร หรือนามรูป หรือขันธ์ ๕ เท่านั้น; คู่กับ ปรมัตถสัจจะ
  6. สารีบุตร : พระอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า เกิดที่หมู่บ้านนาลกะ (บางแห่งเรียกนาลันทะ) ไม่ไกลจากเมืองราชคฤห์ เป็นบุตรแห่งตระกูลหัวหน้าหมู่บ้านนั้น บิดาชื่อวังคันตพราหมณ์ มารดาชื่อ สารี จึงได้นามว่าสารีบุตร แต่เมื่อยังเยาว์เรียกว่า อุปติสสะ มีเพื่อนสนิทชื่อ โกลิตะ ซึ่งต่อมาคือ พระมหาโมคคัลลานะ มีน้องชาย ๓ คนชื่อ จุนทะ อุปเสนะ และเรวตะ น้องหญิง ๓ คน ชื่อจาลา อุปจาลา และสีสุปจาลา ซึ่งต่อมาได้บวชในพระธรรมวินัยทั้งหมด เมื่ออุปติสสะและโกลิตะจะบวชนั้น ทั้ง ๒ คนไปเที่ยวดูมหรสพที่ยอดเขาด้วยกัน คราวหนึ่งไปดูแล้วเกิดความสลดใจ คิดออกแสวงหาโมกขธรรม และต่อมาได้บวชอยู่ในสำนักของสัญชัยปริพาชกแต่ก็ไม่บรรลุจุดมุ่งหมาย จนวันหนึ่งอุปติสสปริพาชก พบพระอัสสชิเถระขณะท่านบิณฑบาต เกิดความเลื่อมใสติดตามไปสนทนาขอถามหลักคำสอนได้ฟังความย่อเพียงคาถาเดียวก็ได้ดวงตาเห็นธรรม กลับไปบอกข่าวแก่โกลิตะแล้วพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า มีปริพาชกที่เป็นศิษย์ตามไปด้วยถึง ๒๕๐ คน ได้รับเอหิภิกขุอุปสมบททั้งหมดที่เวฬุวัน เมื่อบวชแล้วได้ ๑๕ วัน พระสารีบุตรได้ฟังพระธรรมเทศนาเวทนาปริคคหสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ทีฆนขปริพาชก ณ ถ้ำสุกรขาตา เขาคิชฌกูฏ ก็ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องเป็น เอตทัคคะ ในทางมีปัญญามาก และเป็น พระอัครสาวกฝ่ายขวา ท่านได้เป็นกำลังสำคัญของพระพุทธเจ้าในการประกาศพระศาสนา และได้รับยกย่องเป็น พระธรรมเสนาบดี คำสอนของท่านปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏกเป็นอันมาก เช่น สังคีติสูตร และทสุตตรสูตร ที่เป็นแบบอย่างแห่งการสังคายนา เป็นต้น ท่านปรินิพพานก่อนพระพุทธเจ้าไม่กี่เดือนเมื่อจวนจะปรินิพพาน ท่านเดินทางไปโปรดมารดาของท่านซึ่งยังเป็นมิจฉาทิฐิให้มารดาได้เป็นพระโสดาบันแล้ว ปรินิพพานที่บ้านเกิด ด้วยปักขันทิกาพาธ หลังจากปลงศพแล้วพระจุนทะน้องชายของท่านนำอัฐิธาตุไปถวายพระบรมศาสดา พระองค์ตรัสว่าให้ก่อสถูปบรรจุอัฐิธาตุของท่านไว้ ณ พระเชตวัน เมืองสาวัตถี (อรรถกถาว่าท่านปรินิพพานในวันเพ็ญเดือน ๑๒ จึงเท่ากับ ๖ เดือนก่อนพุทธปรินิพพาน)
  7. กัลยาณมิตตตา : ความมีเพื่อนเป็นคนดี ไม่คบคนชั่ว - good friendship; good company; association with the virtuous.
  8. กิงกรณีเยสุ ทักขตา : ความเป็นผู้ขยันช่วยเอาใจใส่ในกิจธุระของเพื่อนภิกษุ สามเณร (นาถกรณธรรมข้อ ๕)
  9. ทิฏฐธัมมิกัตถะ : ประโยชน์ในปัจจุบัน, ประโยชน์สุขสามัญที่มองเห็นกันในชาตินี้ ที่คนทั่วไปปรารถนา มีทรัพย์ ยศ เกียรติ ไมตรี เป็นต้น อันจะสำเร็จด้วยธรรม ๔ ประการ คือ ๑.อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น ๒.อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา ๓.กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี ๔.สมชีวิตา การเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้; มักเรียกคล่องปากว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์
  10. นาถกรณธรรม : ธรรมทำที่พึ่ง, ธรรมสร้างที่พึ่ง, คุณธรรมที่ทำให้ตนได้ มี ๑๐ อย่าง คือ ๑.ศีล มีความประพฤติดี ๒.พาหุสัจจะ ได้เล่าเรียนสดับฟังมาก ๓.กัลยาณมิตตตา มีมิตรดีงาม ๔.โสวจัสสตา เป็นคนว่าง่าย ฟังเหตุผล ๕.กิงกรณีเยสุ ทักขตา เอาใจใส่กิจธุระของเพื่อนร่วมหมู่คณะ ๖.ธัมมกามตา เป็นผู้ใคร่ธรรม ๗.วิริยะ ความขยันหมั่นเพียร ๘.สันตุฏฐี มีความสันโดษ ๙.สติ มีสติ ๑๐.ปัญญา มีปัญญาเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
  11. ปริสทูสโก : ผู้ประทุษร้ายบริษัท เป็นคนพวกหนึ่งที่ถูกห้ามบรรพชา หมายถึงผู้มีรูปร่างแปลกเพื่อน เช่น สูงหรือเตี้ยจนประหลาด ศีรษะโต หรือ หลิม เหลือเกิน เป็นต้น
  12. แผ่เมตตา : ตั้งจิตปรารถนาดีขอให้ผู้อื่นมีความสุข; คำแผ่เมตตาที่ใช้เป็นหลักว่า สพฺเพ สตฺตา อเวรา อพฺยาปชฺฌา อนีฆา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ แปลว่า ขอสัตว์ทั้งหลาย, (ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน) หมดทั้งสิ้น, (จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด) อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย, (จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด) อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย, (จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด) อย่าได้มีทุกข์กายทุกข์ใจเลย, จงมีความสุขกายสุขใจ, รักษาตน (ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น) เถิด.ข้อความในวงเล็บ เป็นส่วนที่เพิ่มเข้ามาในคำแปลเป็นภาษาไทย
  13. โภคอาทิยะ : ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์มี ๕ คือ ๑.เลี้ยงตัว มารดาบิดา บุตร ภรรยา บ่าวไพร่ ให้เป็นสุข ๒.เลี้ยงเพื่อนฝูงให้เป็นสุข ๓.บำบัดป้องกันภยันตราย ๔.ทำ พลี ๕ อย่าง ๕.ทำทานในสมณพราหมณ์
  14. มิตตปฏิรูป : คนเทียมมิตร, มิตรเทียม ไม่ใช่มิตรแท้ มี ๔ พวก ได้แก่ ๑.คนปอกลอก มีลักษณะ ๔ คือ ๑.คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว ๒.ยอมเสียน้อยโดยหวังจะเอาให้มาก ๓.ตัวมีภัย จึงมาช่วยทำกิจของเพื่อน ๔.คบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์ของตัว ๒.คนดีแต่พูด มีลักษณะ ๔ คือ ๑.ดีแต่ยกของหมดแล้วมาปราศรัย ๒.ดีแต่อ้างของยังไม่มีมาปราศรัย ๓.สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้ ๔.เมื่อเพื่อนมีกิจ อ้างแต่เหตุขัดข้อง ๓.คนหัวประจบ มีลักษณะ ๔ คือ ๑.จะทำชั่วก็เออออ ๒.จะทำดีก็เออออ ๓.ต่อหน้าสรรเสริญ ๔.ลับหลังนินทา ๔.คนชวนฉิบหาย มีลักษณะ ๔ คือ ๑.คอยเป็นเพื่อนดื่มน้ำเมา ๒.คอยเป็นเพื่อนเที่ยวกลางคืน ๓.คอยเป็นเพื่อนเที่ยวดูการเล่น ๔.คอยเป็นเพื่อนไปเล่นการพนัน
  15. มิตรแท้ : มิตรด้วยใจจริง มี ๔ พวก ได้แก่ ๑.มิตรอุปการะ มีลักษณะ ๔ คือ ๑.เพื่อนประมาท ช่วยรักษาเพื่อน ๒.เพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์ของเพื่อน ๓.เมื่อมีภัย เป็นที่พึ่งพำนักได้ ๔.มีกิจจำเป็น ช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก ๒.มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ มีลักษณะ ๔ คือ ๑.บอกความลับแก่เพื่อน ๒.ปิดความลับของเพื่อน ๓.มีภัยอันตรายไม่ละทิ้ง ๔.แม้ชีวิตก็สละให้ได้ ๓.มิตรแนะประโยชน์ มีลักษณะ ๔ คือ ๑.จะทำชั่วเสียหายคอยห้ามปรามไว้ ๒.คอยแนะนำให้ตั้งอยู่ในความดี ๓.ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ไม่เคยได้รู้ได้ฟัง ๔.บอกทางสุขทางสวรรค์ให้ ๔.มิตรมีน้ำใจ มีลักษณะ ๔ คือ ๑.เพื่อนมีทุกข์ พลอยทุกข์ด้วย ๒.เพื่อนมีสุข พลอยดีใจ ๓.เขาติเตียนเพื่อน ช่วยยับยั้งแก้ให้ ๔.เขาสรรเสริญเพื่อ ช่วยพูดเสริมสนับสนุน
  16. ไมตรี : “คุณชาติ (ความดีงาม) ที่มีในมิตร”, ความเป็นเพื่อน, ความรัก, ความหวังดีต่อกัน, ความเยื่อใยต่อกัน, มิตรธรรม, เมตตา
  17. ลกุณฏก ภัททิยะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรในตระกูลมั่งคั่ง ชาวพระนครสาวัตถี ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาที่พระเชตวันมีความเลื่อมใสจึงบวชในพระพุทธศาสนา ท่านมีรูปร่างเตี้ยค่อมจนบางคนเห็นท่านแล้วหัวเราะจนเห็นฟัน ท่านกำหนดฟันนั้นเป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้สำเร็จอนาคามิผล ต่อมาท่านได้บรรลุพระอรหัตในสำนักพระสารีบุตร แต่เพราะความที่มีรูปร่างเล็กเตี้ยค่อม ท่านมักถูกเข้าใจผิดเป็นสามเณรบ้าง ถูกพระหนุ่มเณรน้อยล้อเลียนบ้าง ถูกเพื่อนพระดูแคลนบ้าง แต่พระพุทธเจ้ากลับตรัสยกย่องว่าถึงท่านจะร่างเล็ก แต่มีคุณธรรมฤทธานุภาพมาก ท่านได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางมีเสียงไพเราะ
  18. วิปปวาส : อยู่ปราศ เป็นประการหนึ่งในรัตติเฉท การขาดราตรีแห่งการประพฤติมานัตและการอยู่ปริวาส; สำหรับผู้ประพฤติมานัต วิปปวาส หมายถึง อยู่ในถิ่น (จะเป็นวัดหรือที่มิใช่วัดเช่นป่าเป็นต้นก็ตาม) ที่ไม่มีสงฆ์อยู่เป็นเพื่อน คืออยู่ปราศจากสงฆ์, สำหรับผู้อยู่ปริวาส หมายถึง อยู่ในถิ่นปราศจากปกตัตตภิกษุ (มีปกตัตตภิกษุอยู่เป็นเพื่อนรูปเดียวก็ใช้ได้) ดู รัตติเฉท
  19. สพรหมจารี : ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน, เพื่อนพรหมจรรย์, เพื่อนบรรพชิต, เพื่อนนักบวช
  20. สาราณียธรรม : ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง, ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำให้มีความเคารพกัน ช่วยเหลือกัน และสามัคคีพร้อมเพรียงกันมี ๖ อย่างคือ ๑.ตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณร ๒.ตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณร ๓.ตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณร ๔.แบ่งปันลาภที่ได้มาโดยชอบธรรม ๕.รักษาศีลบริสุทธิ์เสมอกับเพื่อนภิกษุสามเณร (มีสีลสามัญญตา) ๖.มีความเห็นร่วมกันได้กับภิกษุสามเณรอื่น ๆ (มีทิฏฐิสามัญญตา); สารณียธรรม ก็เขียน
  21. องคุลิมาล : พระมหาสาวกองค์หนึ่งของพระพุทธเจ้า เคยเป็นมหาโจรโด่งดังเป็นบุตรของภัคควพราหมณ์ ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าโกศล มารดาชื่อนางมันตานีพราหมณ์ เดิมชื่ออหิงสกะ (แปลว่าผู้ไม่เบียดเบียน) ไปศึกษาศิลปศาสตร์ในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เมืองตักสิลา มีความรู้และความประพฤติดี เพื่อนศิษย์ด้วยกันริษยา ยุอาจารย์ให้กำจัดเสีย อาจารย์ลวงด้วยอุบายให้ไปฆ่าคนครบหนึ่งพัน แล้วจะมอบวิชาวิเศษอย่างหนึ่งให้ จึงกลายเป็นมหาโจรผู้โหดร้ายทารุณ ตัดนิ้วมือคนที่ตนฆ่าตายแล้ว ร้อยเป็นพวงมาลัย จึงได้ชื่อว่า องฺคุลิมาล (แปลว่ามีนิ้วเป็นมาลัย) ภายหลังพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดกลับใจได้ ขอบวช ต่อมาก็ได้สำเร็จพระอรหัต ท่านเป็นต้นแห่งพุทธบัญญัติไม่ให้บวชโจรที่ขึ้นชื่อโด่งดัง
  22. อปริหานิยธรรม : ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม, ธรรมที่ทำให้ไม่เสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว มี ๗ อย่าง ที่ตรัสสำหรับภิกษุ (ภิกขุอปริหาริยธรรม) ยกมาแสดงหมวดหนึ่ง ดังนี้ ๑) หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ๒) เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ ๓) ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น ไม่ถอนสิ่งที่พระองค์บัญญัติไว้แล้ว สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทตามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ ๔) ภิกษุเหล่าใด เป็นผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน ๕) ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น ๖) ยินดีในเสนาสนะป่า ๗) ตั้งในอยู่ว่า เพื่อนภิกษุสามเณรซึ่งเป็นผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาส ขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข
  23. อภิณหปัจจเวกขณ์ : ข้อที่ควรพิจารณาเนืองๆ, เรื่องที่ควรพิจารณาทุกๆ วัน มี ๕ อย่าง คือ ๑) ควรพิจารณาทุกวันๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ๒) ว่าเรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ๓) ว่าเรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ๔) ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๕) ว่าเรามีกรรมเป็นของตัว เราทำดีจักได้ดี เราทำชั่วจักได้ชั่ว; อีกหมวดหนึ่ง สำหรับบรรพชิต แปลว่า ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ๑๐ อย่าง (ปัพพชิตอภิรหปัจจเวกขณ์) คือ ๑) บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า บัดนี้ เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว ๒) ว่า การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น ๓) ว่าเรามีอากัปกิริยาอย่างอื่นที่จะพึงทำ ๔) ว่า ตัวเราเองยังติเตียนตัวเราเองโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่ ๕) ว่าเพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญู ใคร่ครวญแล้ว ยังติเตียนเราโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่ ๖) ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๗) ว่าเรามีกรรมเป็นของตน เราทำดีจักได้ดี เราทำชั่วจักได้ชั่ว ๘) ว่า วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ ๙) ว่า เรายินดีในที่สงัดอยู่หรือไม่ ๑๐) ว่า คุณวิเศษที่เราบรรลุแล้วมีอยู่หรือไม่ ที่จะทำให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน เมือถูกเพื่อนบรรพชิตถามในกาลภายหลัง (ข้อ ๑ ท่านเติมท้ายว่าอาการกิริยาใดๆ ของสมณะ เราต้องทำอาการกิริยานั้นๆ ข้อ ๒) เติมว่าเราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย ข้อ ๗) ท่านเขียนว่า อาการกายวาจาอย่างอื่นที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้น ไปกว่านี้ยังมีอยู่อีก ไม่ใช่เพียงเท่านี้)
  24. คหปติกา : เรือนของคฤหบดี คือเรือนอันชาวบ้านสร้างถวายเป็นกัปปิยกุฎี ดู กัปปิยภูมิ
  25. คหปติมหาสาล : คฤหบดีผู้มั่งคั่ง หมายถึงคฤหบดีผู้ร่ำรวย มีสมบัติมาก
  26. นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ : ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป, ญาณหยั่งรู้ที่กำหนดจับได้ซึ่งปัจจัยแห่งนามและรูป โดยอาการที่เป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น (ข้อ ๒ ในญาณ ๑๖) เรียกกันสั้นๆ ว่า ปัจจัยปริคคหญาณ)
  27. ปัจจัยปริคคหญาณ : ดู นามรุปปัจจัยปริคคหญาณ
  28. นิคคหวิธี : วิธีข่ม, วิธีทำนิคหะ, วิธีลงโทษ ดู นิคคหกรรม
  29. อุคคหนิมิต : นิมิตติดตา หมายถึงนิมิต (อารมณ์กรรมฐาน) ที่นึกกำหนดจนแม่นใจ หรือที่เพ่งดู จนติดตาติดใจ แม้หลับตาก็เห็น(ข้อ ๒ ในนิมิต ๓)
  30. กัปปิยภูมิ : ที่สำหรับเก็บเสบียงอาหารของวัด, ครัววัด มี ๔ อย่าง คือ อุสสาวนันติกา กัปปิยภูมิที่ทำด้วยการประกาศให้รู้แต่แรกสร้างว่าจะทำเป็นกัปปิยภูมิ คือพอเริ่มยกเสาหรือตั้งฝาก็ประกาศให้ได้ยินว่า กปฺปิยภูมึ กโรม แปลว่า เราทั้งหลายทำกัปปิยกุฎี ๑ โคนิสาทิกา กัปปิยภูมิขนาดเล็ก เคลื่อนที่ได้ ดุจเป็นที่โคจ่อม ๑ คหปติกา เรือนของคฤหบดีเขาสร้างถวายเป็นกัปปิยภูมิ ๑ สัมมติกา กัปปิยภูมิที่สงฆ์สมมติ ได้แก่ กุฎีที่สงฆ์เลือกจะใช้เป็นกัปปิยกุฎี แล้วสวดประกาศด้วยญัตติทุติยกรรม ๑
  31. จักรวรรดิวัตร ๑๒ : ๑.อนฺโตชนสฺมึ พลกายสฺมึ คุ้มครองสงเคราะห์แก่ชนในพระราชฐานและพยุหเสนา ๒.ขตฺติเยสุ แก่กษัตริย์เมืองขึ้นหรือผู้ครองนครภายใต้พระบรมเดชานุภาพ ๓.อนุยนฺเตสุ แก่กษัตริย์ที่ตามเสด็จคือ เหล่าเชื้อพระวงศ์ผู้เป็นราชบริพาร ๔.พฺราหฺมณคหปติเกสุ แก่พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ๕.เนคมชานปเทสุ แก่ชาวนิคมและชาวชนบทคือ ราษฎรพื้นเมืองทั้งเหล่าย ๖.สมณพฺราหฺมเณสุ แก่เหล่าสมณพราหมณ์ ๗.มิคปกฺขีสุ แก่เหล่าเนื้อนกอันพึงบำรุงไว้ให้มีสืบพันธุ์ ๘.อธมฺมการปฏิกฺเขโป ห้ามปรามมิให้มีความประพฤติการอันไม่เป็นธรรม ๙.อธนานํ ธนานุปฺปทานํ เจือจานทรัพย์ทำนุบำรุงแก่ผู้ขัดสนไร้ทรัพย์ ๑๐.สมณพฺราหฺมเณ อุปสงฺกมิตฺวา ปญฺหาปุจฺฉนํ ไปสู่หาพราหมณ์ไต่ถามอรรถปฤษณา ๑๑.อธมฺมราคสฺส ปหานํ เว้นความกำหนัดในกามโดยอาการไม่เป็นธรรม ๑๒.วิสมโลภสฺส ปหานํ เว้นโลภกล้า ไม่เลือกควรไม่ควร
  32. ญาณ ๑๖ : ญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาโดยลำดับตั้งแต่ต้นจนถึงจุดหมาย คือมรรคผลนิพพาน ๑๖ อย่างคือ ๑.นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดแยกนามรูป ๒.(นามรูป) ปัจจัยปริคคหญาณ ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป ๓.สัมมสนญาณ ญาณพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์ ๔.- ๑๒.(ตรงกับวิปัสสนาญาณ ๙) ๑๓.โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตรคือหัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน ๑๔.มัคคญาณ ญาณในอริยมรรค ๑๕.พลญาณ ญาณในอริยผล ๑๖.ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่พิจารณาทบทวน; ญาณ ๑๖ นี้เรียกเลียนคำบาลีว่า โสฬสญาณ หรือ เรียกกึ่งไทยว่า ญาณโสฬส; ดู วิปัสสนาญาณ
  33. ทีฆขนะ : ชื่อปริพาชก ผู้หนึ่ง ตระกูล อัคคิเวสสนะ ขณะที่พระพุทธเจ้าเทศนาเวทนาปริคคหสูตร โปรดปริพาชกผู้นี้ พระสารีบุตรนั่งถวายงานพัดอยู่ ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ของพระพุทธองค์ ได้ฟังเทศนานั้น ได้สำเร็จพระอรหัต ส่วนทีฆนขะ เพียงแต่ได้ดวงตาเห็นธรรมแสดงตนเป็นอุบาสกในพระพุทธศาสนา
  34. นิมิต : 1.เครื่องหมาย ได้แก่วัตถุอันเป็นเครื่องหมายแห่งสีมา, วัตถุที่ควรใช้เป็นนิมิตมี ๘ อย่าง ภูเข ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ น้ำ 2.(ในคำว่าทำนิมิต) ทำอาการเป็นเชิงชวนให้เขาถวาย, ขอเขาโดยวิธีให้รู้โดยนัย ไม่ขอตรงๆ 3.เครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนดในการเจริญกรรมฐาน, ภาพที่เห็นในใจของผู้เจริญกรรมฐาน, ภาพที่เป็นอารมณ์กรรมฐาน มี ๓ คือ ๑.บริกรรมนิมิต นิมิตแห่งบริกรรม หรือนิมิตตระเตรียม ได้แก่สิ่งที่เพ่ง หรือกำหนดนึกเป็นอารมณ์กรรมฐาน ๒.อุคคหนิมิต นิมิตที่ใจเรียน หรือนิมิตติดตาติดใจ ได้แก่ สิ่งที่เพ่งหรือนึกนั้นเอง ที่แม่นในใจ จนหลับตามองเห็น ๓.ปฏิภาคนิมิต นิมิตเสมือน หรือนิมิตเทียบเคียง ได้แก่ อุคคหนิมิตนั้น เจนใจจนกลายเป็นภาพที่เกิดจากสัญญา เป็นของบริสุทธิ์ จะนึกขยาย หรือย่อส่วนก็ได้ตามปรารถนา 4.สิ่งที่พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นก่อนเสด็จออกบรรพชา ๔ อย่าง ดู เทวทูต
  35. ปกตัตตะ : ผู้เป็นภิกษุโดยปกติ, ภิกษุผู้มีศีลและอาจาระเสมอกับภิกษุทั้งหลายตามปกติ คือ ไม่ต้องอาบัติปาราชิก หรือถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม รวมทั้งมิใช่ ภิกษุผู้กำลังประพฤติวุฏฐานวิธีเพื่อออกจากอาบัติสังฆาทิเสส และภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงนิคคหกรรมอื่นๆ
  36. ปฏิภาคนิมิต : นิมิตเสมือน, นิมิตเทียบเคียง เป็นภาพเหมือนของอุคคหนิมิต เกิดจากสัญญา สามารถนึกขยายหรือย่อส่วน ให้ใหญ่หรือเล็กได้ตามความปรารถนา
  37. [1-36]

(0.0315 sec)