Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เว้น , then วน, เว้น .

Budhism Thai-Thai Dict : เว้น, 63 found, display 1-50
  1. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี : เว้นจากประพฤติผิดในกาม, เว้นการล่วงประเวณี
  2. ปาณาติปาตา เวรณมี : เว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง, เว้นจากการฆ่าสัตว์ (ข้อ ๑ ในศีล ๕ ฯลฯ)
  3. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี : เว้นจากการพูดส่อเสียด, เว้นจากพูดยุยงให้เขาแตกร้าวกัน (ข้อ ๕ ในกุศลกรรมบถ ๑๐)
  4. ผรุสาย วาจาย เวรมณี : เว้นจากพูดคำหยาบ (ข้อ ๖ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)
  5. มุสาวาทา เวรมณี : เว้นจากการพูดเท็จ, เว้นจากการพูดโกหก, เว้นจากพูดไม่จริง (ข้อ ๔ ในศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และกุศลกรรมบถ ๑๐)
  6. สัมผัปปลาปา เวรมณี : เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ, เว้นจากพูดเหลวไหลไม่เป็นประโยชน์, พูดคำจริง มีเหตุผล มีประโยชน์ ถูกกาลเทศะ (ข้อ ๗ ในกุศลกรรมบถ ๑๐)
  7. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี : เว้นจากน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท (ข้อที่ ๕ ในศีล ๘ ศีล ๑๐)
  8. อทินนาทานา เวรมณี : เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้, เว้นการลักขโมย (ข้อ ๒ ในศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ กุศลกรรมบถ ๑๐)
  9. กายกรรม : การกระทำทางกาย เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม หรือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เป็นต้น
  10. กายสุจริต : ประพฤติชอบด้วยกาย, ประพฤติชอบทางกาย มี ๓ อย่าง คือ เว้นจากฆ่าสัตว์ เว้นจากลักทรัพย์ เว้นจากประพฤติผิดในกาม ดู กายทุจริต, สุจริต
  11. กุศลกรรมบถ : ทางแห่งกรรมดี, ทางทำดี, ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติมี ๑๐ อย่าง คือก.กายกรรม ๓ ได้แก่ ๑.ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำลายชีวิต ๒.อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาของที่เข้ามิได้ให้ ๓.กาเมสุมิจฉาจาร เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกามข.วจีกรรม ๔ ได้แก่ ๔.มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ ๕.ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด ๖.ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ ๗.สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อค.มโนกรรม ๓ ได้แก่ ๘.อนภิชฌา ไม่โลภคอยจ้องอยากได้ของเขา ๙.อพยาบาท ไม่คิดร้ายเบียดเบียนเขา ๑๐.สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม
  12. จักรวรรดิวัตร ๑๒ : ๑.อนฺโตชนสฺมึ พลกายสฺมึ คุ้มครองสงเคราะห์แก่ชนในพระราชฐานและพยุหเสนา ๒.ขตฺติเยสุ แก่กษัตริย์เมืองขึ้นหรือผู้ครองนครภายใต้พระบรมเดชานุภาพ ๓.อนุยนฺเตสุ แก่กษัตริย์ที่ตามเสด็จคือ เหล่าเชื้อพระวงศ์ผู้เป็นราชบริพาร ๔.พฺราหฺมณคหปติเกสุ แก่พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ๕.เนคมชานปเทสุ แก่ชาวนิคมและชาวชนบทคือ ราษฎรพื้นเมืองทั้งเหล่าย ๖.สมณพฺราหฺมเณสุ แก่เหล่าสมณพราหมณ์ ๗.มิคปกฺขีสุ แก่เหล่าเนื้อนกอันพึงบำรุงไว้ให้มีสืบพันธุ์ ๘.อธมฺมการปฏิกฺเขโป ห้ามปรามมิให้มีความประพฤติการอันไม่เป็นธรรม ๙.อธนานํ ธนานุปฺปทานํ เจือจานทรัพย์ทำนุบำรุงแก่ผู้ขัดสนไร้ทรัพย์ ๑๐.สมณพฺราหฺมเณ อุปสงฺกมิตฺวา ปญฺหาปุจฺฉนํ ไปสู่หาพราหมณ์ไต่ถามอรรถปฤษณา ๑๑.อธมฺมราคสฺส ปหานํ เว้นความกำหนัดในกามโดยอาการไม่เป็นธรรม ๑๒.วิสมโลภสฺส ปหานํ เว้นโลภกล้า ไม่เลือกควรไม่ควร
  13. ฉันทะ : 1.ความพอใจ, ความชอบใจ, ความยินดี, ความต้องการ, ความรักใคร่สิ่งนั้นๆ, ความรักงาน (เป็นกลางๆ เป็นอกุศลก็มี เป็นกุศลก็มี, เป็นอัญญสมานาเจตสิกข้อ ๑๓, ที่เป็นอกุศล เช่นในกามฉันทะ ที่เป็นกุศลเช่น ข้อ ๑ ในอิทธิบาท ๔) 2.ความยินยอม, ความยอมให้ที่ประชุมทำกิจนั้นๆ ในเมื่อตนมิได้ร่วมอยู่ด้วย, เป็นธรรมเนียมของภิกษุ ที่อยู่ในวัดซึ่งมีสีมารวมกัน มีสิทธิที่จะเข้าประชุมทำกิจของสงฆ์ เว้นแต่ภิกษุนั้นอาพาธจะเข้าร่วมประชุมด้วยไม่ได้ ก็มอบฉันทะคือแสดงความยินยอมให้สงฆ์ทำกิจนั้นๆ ได้
  14. ดิรัจฉาน : สัตว์มีร่างกายเจริญโดยขวาง, สัตว์เว้นจากมนุษย์ (เดียรัจฉานก็ใช้)
  15. เตียง : ภิกษุทำเตียงหรือตั่ง พึงทำให้มีเท้าเพียง ๘ นิ้วพระสุคต เว้นไว้แต่แม่แคร่เบื้องต่ำ และต้องไม่หุ้มนุ่น ถ้าฝ่าฝืน ต้องปาจิตตีย์ ต้องตัดให้ได้ประมาณ หรือรื้อเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก (ปาจิตตีย์ รตนวรรคที่๙ สิกขาบทที่ ๕ และ ๖)
  16. ถือบวช : ถือการเว้นต่างๆ ตามข้อกำหนดทางศาสนา
  17. ธรรมเทศนาสิกขาบท : สิกขาบทปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้แสดงธรรมแก่มาตุคามเกินกว่า ๕-๖ คำเว้นแต่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ด้วย (สิกขาบทที่ ๗.ในมุสาวาทวรรคแห่งปาจิตตีย์)
  18. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร : “พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป”, พระสูตรว่าด้วยการหมุนวงล้อธรรมเป็นชื่อของ ปฐมเทศนา คือพระธรรมเทศนาครั้งแรก ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หลังจากนั้น ตรัสรู้ ๒ เดือน ว่าด้วยมัชฌิมาปฏิปทา คือทางสายกลาง ซึ่งเว้นที่สุด ๒ อย่าง และว่าด้วยอริยสัจ ๔ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ อันทำให้พระองค์สามารถปฏิภาณว่าได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (ญาณคือความตรัสรู้เองโดยชอบอันยอดเยี่ยม) ท่านโกณฑัญญะหัวหน้าคณะปัญจวัคคีย์ ฟังพระธรรมเทศนานี้แล้ว ได้ดวงตาเห็นธรรม (ธรรมจักษุ) และขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรก เรียกว่า เป็นปฐมสาวก
  19. นิรันดร : ติดต่อกัน, เสมอมา, ไม่มีระหว่างคั่น, ไม่เว้นว่าง
  20. บรรพชา : การบวช (แปลว่า เว้นความชั่วทุกอย่าง) หมายถึง การบวชทั่วไป, การบวชอันเป็นบุรพประโยคแห่งอุปสมบท, การบวชเป็นสามเณร (เดิมทีเดียว คำว่า บรรพชา หมายความว่า บวชเป็นภิกษุ เช่น เสด็จออกบรรพชาอัครสาวกบรรพชา เป็นต้น ในสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ คำว่า บรรพชา หมายถึง บวชเป็นสามเณร ถ้าบวชเป็นภิกษุ ใช้คำว่า อุปสมบท โดยเฉพาะเมื่อใช้คอบกันว่า บรรพชาอุปสมบท)
  21. บวช : การเว้นทั่ว คือเว้นความชั่วทุกอย่าง (ออกมาจากคำว่า ป + วช) หมายถึงการถือเพศเป็นนักพรตทั่วไป; บวชพระ คือบวชเป็นภิกษุเรียกว่า อุปสมบท, บวชเณร คือ บวชเป็นสามเณร เรียกว่า บรรพชา
  22. เบญจศีล : ศีล ๕ เว้นฆ่าสัตว์ เว้นลักทรัพย์ เว้นประพฤติผิดในกาม เว้นพูดปด เว้นของเมา มีคำสมาทานว่า ๑.ปาณาติปาตา ๒.อทินฺนาทานา ๓.กาเมสุมิจฺฉาจารา ๔.มุสาวาทา ๕.สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺานา ต่อท้ายด้วย เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ทุกข้อ
  23. ประเทศบัญญัติ : บัญญัติจำเพาะถิ่น, สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้ เฉพาะสำหรับมัธยมประเทศ คือ จังหวัดกลางแห่งชมพูทวีป เช่น สิกขาบทที่ ๗ แห่งสุราปานวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์ ไม่ให้ภิกษุอาบน้ำในเวลาห่างกันหย่อนกว่ากึ่งเดือน เว้นแต่สมัย
  24. ปัจจเวกขณญาณ : ญาณที่พิจารณาทบทวน, ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวนตรวจตรามรรคผล กิเลสที่ยังเหลืออยู่ และนิพพาน (เว้นพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่); ญาณนี้เกิดแก่ผู้บรรลุมรรคผลแล้ว คือ ภายหลังจากผลญาณ; ดู ญาณ
  25. ปัพพัชชา : การถือบวช, บรรพชาเป็นอุบายฝึกอบรมตนในทางสงบ เว้นจากความชั่วมีการเบียดเบียนกันและกัน เป็นต้น (ข้อ ๒ ในสัปปุริสบัญญัติ ๓)
  26. ปาฏิโมกขสังวร : สำรวมในพระปาฏิโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามข้อที่พระองค์อนุญาต (ข้อ ๑ ในปาริสุทธิศีล ๔)
  27. พรหมจารี : ผู้ประพฤติพรหมจรรย์, นักเรียนพระเวท, ผู้ประพฤติธรรมมีเว้นจากเมถุน เป็นต้น
  28. พหุลกรรม : กรรมทำมาก หรือกรรมชิน ได้แก่ กรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศลที่ทำบ่อยๆ จนเคยชิน ย่อมให้ผลก่อนกรรมอื่น เว้นครุกรรม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาจิณณกรรม (ข้อ ๑๐ ในกรรม ๑๒)
  29. มังสวิรัติ : การงดเว้นกินเนื้อสัตว์ (เป็นคำบัญญัติภายหลัง)
  30. เมถุนวิรัติ : การเว้นจากร่วมประเวณี
  31. เยวาปนกธรรม : “ก็หรือว่าธรรมแม้อื่นใด” หมายถึงธรรมจำพวกที่กำหนดแน่ไม่ได้ว่าข้อไหนจะเกิดขึ้น ได้แก่ เจตสิก ๑๖ เป็นพวกที่เกิดในกุศลจิต ๙ คือ ๑.ฉันทะ ๒.อธิโมกข์ ๓.มนสิการ ๔.อุเบกขา (ตัตรมัชฌัตตตา) ๕.กรุณา ๖.มุทิตา ๗.สัมมาวาจา (วจีทุจริตวิรัติ) ๘.สมมากันมันตะ (กายทุจริตวิรัติ) ๙.สัมมาอาชีวะ (มิจฉาชีววิรัติ) เป็นพวกที่เกิดในอกุศลจิต ๑๐ คือ ๑.ฉันทะ ๒.อธิโมกข์ ๓.มนสิการ ๔.มานะ ๕.อิสสา ๖.มัจฉริยะ ๗.ถีนะ ๘.มิทธะ ๙.อุทธัจจะ ๑๐.กุกกุจจะ นับเฉพาะที่ไม่ซ้ำ (คือเว้น ๓ ข้อแรก) เป็น ๑๖
  32. ร่ม : สำหรับพระภิกษุ ห้ามใช้ร่มที่กาววาว เช่น ร่มปักด้วยไหมสีต่างๆ และร่มที่มีระบายเป็นเฟือง ควรใช้ของเรียบๆ ซึ่งทรงอนุญาตให้ใช้ได้ในวัดและอุปจาระแห่งวัด ห้ามกั้นร่มเข้าบ้านหรือกั้นเดินตามถนนหนทางในละแวกบ้าน เว้นแต่เจ็บไข้ ถูกแดดถูกฝนอาพาธจะกำเริบ เช่น ปวดศีรษะ ตลอดจน (ตามที่อรรถกถาผ่อนให้) กั้นเพื่อกันจีวรเปียกฝนตก กั้นเพื่อป้องกันภัย กั้นเพื่อรักษาตัวเช่นในเวลาแดดจัด
  33. วจีสุจริต : ประพฤติชอบด้วยวาจา, ประพฤติชอบทางวาจา มี ๔ อย่าง คือ เว้นจากพูดเท็จ เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ ดู สุจริต เทียบ วจีทุจริต
  34. วรรค : หมวด, หมู่, ตอน, พวก ; กำหนด จำนวนภิกษุที่ประกอบเข้าเป็นสงฆ์ หมวดหนึ่งๆ ซึ่งเมื่อครบจำนวนแล้วจึงจะทำสังฆกรรมอย่างนั้นๆ ได้ มี ๔ พวก คือ ๑.สงฆ์จตุรวรรค (สงฆ์พวก ๔ คือ ต้องมีภิกษุ ๔ รูปขึ้นไป ทำกรรมได้ทุกอย่างเว้นปวารณาให้ผ้ากฐิน อุปสมบท และอัพภาน) ๒.สงฆ์ปัญจวรรค (สงฆ์พวก ๕ คือ ต้องมีภิกษุ ๕ รูปขึ้นไป ทำปวารณา ให้ผ้ากฐิน และอุปสมบทในปัจจันตชนบท) ๓.สงฆ์ทสวรรค (สงฆ์พวก ๑๐ คือต้องมีภิกษุ ๑๐ รูปขึ้นไป ให้อุปสมบทในมัธยมชนบทได้) ๔.สงฆ์วีสติวรรค (สงฆ์พวก ๒๐ คือต้องมีภิกษุ ๒๐ รูปขึ้นไป ทำอัพภานได้)
  35. วินัย : ระเบียบแบบแผนสำหรับฝึกฝนควบคุมความประพฤติของบุคคลให้มีชีวิตที่ดีงามเจริญก้าวหน้าและควบคุมหมู่ชนให้อยู่ร่วมกันด้วยความสงบเรียบร้อยดีงาม, ประมวลบทบัญญัติข้อบังคับสำหรับฝึกฝนควบคุมความประพฤติ; วินัย มี ๒ อย่างคือ ๑.อนาคาริยวินัย วินัยของผู้ไม่ครองเรือน คือ วินัยของบรรพชิต หรือวินัยของพระสงฆ์ ได้แก่ การไม่ต้องอาบัติทั้ง ๗ หรือ ปาริสุทธิศีล ๔ ๒.อาคาริยวินัย วินัยของผู้ครองเรือน คือ วินัยของชาวบ้าน ได้แก่ การงดเว้นจากอกุศลกรรมบถ ๑๐ หรือ กุศลกรรมบท ๑๐
  36. วิรัติ : ความเว้น, งดเว้น; เจตนาที่งดเว้นจากความชั่ว; วิรติ ๓ คือ ๑.สัมปัตตวิรัติ เว้นได้ซึ่งสิ่งที่ประจวบเข้า ๒.สมาทานวิรัติ เว้นด้วยการสมาทาน ๓.สมุจเฉทวิรัติ เว้นได้โดยเด็ดขาด
  37. ศีล : ความประพฤติดีทางกายและวาจา, การรักษากายและวาจาให้เรียบร้อย, ข้อปฏิบัติสำหรับควบคุมกายและวาจา ให้ตั้งอยู่ในความดีงาม, การรักษาปกติตามระเบียบวินัย, ปกติมารยาทที่สะอาดปราศจากโทษ, ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว, ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น, ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีพ; มักใช้เป็นคำเรียกอย่างง่ายสำหรับคำว่า อธิศีลสิกขา
  38. ศีล ๑๐ : สำหรับสามเณร แต่ผู้ใดศรัทธาจะรักษาก็ได้ หัวข้อเหมือนศีล ๘ แต่แยกข้อ ๗ เป็น ๒ ข้อ (= ๗-๘) เลื่อนข้อ ๘ เป็น ๙ และเติมข้อ ๑๐ คือ ๗.เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง ฯลฯ ๘.เว้นจากการทัดทรงดอกไม้ ฯลฯ ๙.เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่ ฯลฯ ๑๐.เว้นจากการรับทองและเงิน; คำสมาทาน (เฉพาะที่ต่าง) ว่า ๗.นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา- ๘.มาลาคนฺธวิเลปน ธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา- ๙.อุจฺจาสยนมหาสยนา- ๑๐.ชาตรูปรชตปฏิคฺคหณา- (คำต่อท้าย เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยมิ เหมือนกันทุกข้อ); ดู อาราธนาศีล ด้วย
  39. ศีล ๕ : สำหรับทุกคน คือ ๑.เว้นจากทำลายชีวิต ๒.เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้ ๓.เว้นจากประพฤติผิดในกาม ๔.เว้นจากพูดเท็จ ๕.เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท; คำสมาทานว่า ๑.ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ๒.อทินนาทานา- ๓.กาเมสุมิจฺฉานารา- ๔.มุสาวาทา- ๕.สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา- (คำต่อท้ายเหมือนข้อ ๑); ดู อาราธนาศีล ด้วย
  40. ศีล ๘ : สำหรับฝึกตนให้ยิ่งขึ้นไปโดยรักษาในบางโอกาส หรือมีศรัทธาจะรักษาประจำก็ได้ เช่น แม่ชีมักรักษาประจำ หัวข้อเหมือนศีล ๕ แต่เปลี่ยนข้อ ๓ และเติมข้อ ๖-๗-๘ คือ ๓.เว้นจากประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือเว้นจากร่วมประเวณี ๖.เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือเที่ยงแล้วไป ๗.เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ การทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเคลื่องลูบไล้ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง ๘.เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่ หรูหราฟุ่มเฟือย; คำสมาทาน (เฉพาะที่ต่างจากศีล ๕) ว่า ๓.อพฺรหฺมจริยา- ๖.วิกาลโภชนา- ๗.นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา มาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา- ๘.อุจฺจาสยนมหาสยนา- (คำต่อท้ายเหมือนข้อ ๑ ในศีล ๕); ดู อาราธนาศีล ด้วย
  41. สมาทานวิรัติ : การเว้นด้วยการสมาทาน คือ ได้สมาทานศีลไว้ก่อนแล้ว เมื่อประสบเหตุที่จะให้ทำความชั่ว ก็งดเว้นได้ตามที่สมาทานนั้น (ข้อ ๒ ในวิรัติ ๓)
  42. สมุจเฉทวิรัติ : การเว้นด้วยตัดขาด หมายถึงการเว้นความชั่วได้เด็ดขาดของพระอริยเจ้า เพราะไม่มีกิเลสที่จะเป็นเหตุให้ทำความชั่วนั้น ๆ (ข้อ ๓ ในวิรัติ ๓)
  43. สังขาร : ๑.สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย เป็นรูปธรรมก็ตาม นามธรรมก็ตาม ได้แก่ขันธ์ ๕ ทั้งหมด, ตรงกับคำว่า สังขตะหรือสังขตธรรม ได้ในคำว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น ๒.สภาพที่ปรุงแต่งใจให้ดีหรือชั่ว, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานที่ปรุงแต่งความคิด การพูด การกระทำ มีทั้งที่ดีเป็นกุศล ที่ชั่วเป็นอกุศล และที่กลาง ๆ เป็นอัพยากฤต ได้แก่เจตสิก ๕๐ อย่าง (คือ เจตสิกทั้งปวง เว้นเวทนาและสัญญา) เป็นนามธรรมอย่างเดียว, ตรงกับสังขารขันธ์ ในขันธ์ ๕ ได้ในคำว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น; อธิบายอีกปริยายหนึ่ง สังขารตามความหมายนี้ยกเอาเจตนาขึ้นเป็นตัวนำหน้า ได้แก่ สัญเจตนา คือ เจตนาที่แต่งกรรมหรือปรุงแต่งการกระทำ มี ๓ อย่างคือ ๑.กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย คือ กายสัญเจตนา ๒.วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา คือ วจีสัญเจตนา ๓.จิตตสังขาร หรือ มโนสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ คือ มโนสัญเจตนา ๓.สภาพที่ปรุงแต่งชีวิตมี ๓ คือ ๑.กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่ อัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ๒.วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตกและวิจาร ๓.จิตตสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่ สัญญาและเวทนา
  44. สัญญมะ : การยับยั้ง, การงดเว้น (จากบาป หรือจากการเบียดเบียน), การบังคับควบคุมตน; ท่านมักอธิบายว่า สัญญมะ ได้แก่ ศีล, บางทีแปลว่า สำรวม เหมือนอย่าง “สังวร”; เพื่อความเข้าใจชัดเจนในเบื้องต้น พึงเทียบความหมายระหว่างข้อธรรม ๓ อย่าง คือ สังวร เน้นความระวังในการรับเข้า คือปิดกั้นสิ่งเสียหายที่จะเข้ามาจากภายนอก สัญญมะ ควบคุมตนในการแสดงออก มิให้เป็นไปเพื่อการเบียดเบียน เป็นต้น ทมะ ฝึกฝนแก้ไขปรับปรุงตน ข่มกำจัดส่วนร้ายและเสริมส่วนที่ดีงามให้ยิ่งขึ้นไป; สังยมะ ก็เขียน
  45. สัปปุริสบัญญัติ : ข้อที่ท่านสัตบุรุษตั้งไว้, บัญญัติของคนดี มี ๓ คือ ๑.ทาน ปันสละของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ๒.ปัพพัชชา ถือบวช เว้นจากการเบียดเบียนกัน ๓.มาตาปิตุอุปัฏฐาน บำรุงมารดาบิดาของตนให้เป็นสุข
  46. สัมปัตตวิรัติ : ความเว้นจากวัตถุอันถึงเข้า, การเว้นเมื่อประสบซึ่งหน้าคือไม่ได้สมาทานศีล หรือตั้งใจละเว้นมาก่อนแต่เมื่อประสบเหตุอันจะทำให้ทำความชั่ว หรือละเมิดศีลเข้าเฉพาะหน้า ก็ละเว้นได้ในขณะนั้นเอง ไม่ล่วงละเมิดศีล (ข้อ ๑ ในวิรัติ ๓)
  47. สัมมากัมมันตะ : ทำการชอบ หรือการงานชอบ ได้แก่ การกระทำที่เว้นจากความประพฤติชั่วทางกาย ๓ อย่าง คือฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม คือ เว้นจาก กายทุจริต ๓ (ข้อ ๔ ในมรรค)
  48. สัมมาวาจา : เจรจาชอบ คือเว้นจาก วจีทุจริต ๔ (ข้อ ๓ ในมรรค)
  49. สัมมาอาชีวะ : เลี้ยงชีวิตชอบ คือเว้นจากเลี้ยงชีวิตโดยทางที่ผิด เช่น โกงเขาหลอกลวง สอพลอ บีบบังคับขู่เข็ญ ค้าคน ค้ายาเสพติด ค้ายาพิษ เป็นต้น (ข้อ ๕ ในมรรค)
  50. โสภณเจตสิก : เจตสิกฝ่ายดีงาม มี ๒๕ แบ่งเป็น ก.โสภณสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตดีงามทุกดวง) ๑๙ คือ สัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ อโลภะ อโทสะ ตัตรมัชฌัตตตา (ความเป็นกลางในอารมณ์นั้น ๆ = อุเบกขา) กายปัสสัทธิ (ความคลายสงบแห่งกองเจตสิก) จิตตปัสสัทธิ (แห่งจิต) กายลหุตา (ความเบาแห่งกองเจตสิก) จิตตลหุตา (แห่งจิต) กายมุทุตา (ความนุ่มนวลแห่งกองเจตสิก) จิตตมุทุตา (แห่งจิต) กายกัมมัญญตา (ความควรแก่งานแห่งกองเจตสิก) จิตตกัมมัญญตา (แห่งจิต) กายปาคุญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งกองเจตสิก) จิตตปาคุญญตา (แห่งจิต) กายชุกตา (ความซื่อตรงแห่งกองเจตสิก) จิตตุชุกตา (แห่งจิต) ข.วีรตีเจตสิก (เจตสิกที่เป็นตัวงดเว้น) ๓ คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ค.อัปปมัญญาเจตสิก (เจตสิกคืออัปปมัญญา) ๒ คือ กรุณา มุทิตา (อีก ๒ ซ้ำกับอโทสะและตัตรมัชฌัตตตา) ง.ปัญญินทรียเจตสิก ๑ คือ ปัญญินทรีย์ หรือ อโมหะ
  51. [1-50] | 51-63

(0.0117 sec)