Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: แปลง , then ปลง, แปลง, แปฺลง .

Budhism Thai-Thai Dict : แปลง, 21 found, display 1-21
  1. อเลอ : แปลง, ที่อเลออื่น คือที่แปลงอื่น
  2. วิกุพพนฤทธิ์ : ฤทธิ์คือการแผลง, ฤทธิ์บิดผัน, ฤทธิ์ผันแผลง คือ เปลี่ยนจากรูปร่างปกติ แปลงเป็นเด็ก เป็นครุฑ เป็นเทวดา เป็นเสือ เป็นงู เป็นต้น (ต้องห้ามทางพระวินัย)
  3. วิกุพพนาอิทธิ : ฤทธิ์คือการแผลง, ฤทธิ์บิดผัน, ฤทธิ์ผันแผลง คือ เปลี่ยนจากรูปร่างปกติ แปลงเป็นเด็ก เป็นครุฑ เป็นเทวดา เป็นเสือ เป็นงู เป็นต้น (ต้องห้ามทางพระวินัย)
  4. ปลงพระชนมายุสังขาร : ดู ปลงอายุสังขาร
  5. ปลงบริขาร : มอบบริขารให้แก่ผู้อื่นในเวลาใกล้จะตาย เป็นการให้อย่างขาดกรรมสิทธิ์ไปทีเดียวตั้งแต่เวลานั้น (ใช้สำหรับภิกษุผู้จะถึงมรณภาพเพื่อให้ถูกต้องตามพระวินัย)
  6. ปลงสังขาร : ทอดอาลัยในกายของตน ว่าจะตายเป็นแน่แท้แล้ว
  7. ปลงอาบัติ : แสดงอาบัติเพื่อให้พ้นจากอาบัติ, ทำตนให้พ้นจากอาบัติด้วยการเปิดเผยอาบัติของตนแก่สงฆ์หรือแก่ภิกษุอื่น, แสดงความผิดของตนเพื่อเปลื้องโทษทางวินัย, ใช้สำหรับอาบัติที่แสดงแล้วพ้นได้ คือ ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาสิต
  8. ปลงอายุสังขาร : “สลัดลงซึ่งปัจจัยเครื่องปรุงแต่งอายุ”, ตกลงใจกำหนดการสิ้นสุดอายุ, ตกลงพระทัยว่าจะปรินิพพาน, กำหนดพระทัยเกี่ยวกับการที่จะปรินิพพาน (ก่อนปรินิพพาน ๓ เดือน)
  9. เทสนาคามินี : อาบัติที่ภิกษุต้องเข้าแล้ว จะพ้นได้ด้วยวิธีแสดง, อาบัติที่แสดงแล้วก็พ้นได้, อาบัติที่ปลงตกด้วยการแสดงที่เรียกว่า แสดงอาบัติ หรือปลงอาบัติ ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาษิต; ตรงข้ามกับ อเทสนาคามินี ซึ่งเป็นอาบัติที่ไม่อาจพ้นได้ด้วยการแสดง ได้แก่ ปาราชิก และสังฆาทิเสส
  10. นิสสัคคิยปาจิตตีย์ : อาบัติปาจิตตีย์อันทำให้ต้องสละสิ่งของ ภิกษุต้องอาบัติประเภทนี้ต้องสละสิ่งของที่ทำให้ต้องอาบัติก่อนจึงจะปลงอาบัติตก
  11. นิสสัคคิยวัตถุ : ของที่เป็นนิสสัคคีย์, ของที่ต้องสละ, ของที่ทำให้ภิกษุต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จำต้องสละก่อนจึงจะปลงอาบัติตก
  12. ปัจฉิมโพธิกาล : โพธิกาลช่วงหลัง, ระยะเวลาบำเพ็ญพุทธกิจตอนท้ายคือ ช่วงใกล้จนถึงปรินิพพาน กำหนดคร่าวๆ ตามมหาปรินิพพานสูตรตั้งแต่ปลงพระชนมายุสังขารถึงปรินิพพาน
  13. ปาวาลเจดีย์ : ชื่อเจดียสถานอยู่ที่เมืองเวสาลี พระพุทธเจ้าทรงทำนิมิตต์โอภาส ครั้งสุดท้ายและทรงปลงพระชนมายุสังขาร ณ เจดีย์นี้ก่อนปรินิพพาน ๓ เดือน
  14. พินัยกรรม : หนังสือสำคัญที่เจ้าทรัพย์ทำไว้ก่อนตาย แสดงความประสงค์ว่าเมื่อตายแล้วขอมอบมรดกที่ระบุไว้ในหนังสือหนังสือสำคัญนั้น ให้แก่คนนั้นๆ, ตามพระวินัย ถ้าภิกษุทำเช่นนี้ ไม่มีผล ต้องปลงบริขาร จึงใช้ได้
  15. พิมพิสาร : พระเจ้าแผ่นดินมคธครองราชสมบัติอยู่ที่พระนครราชคฤห์ เป็นผู้ถวายพระราชอุทยานเวฬุวันเป็นสังฆาราม นับเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา ต่อมาถูกพระราชโอรสนามว่าอชาตศัตรู ปลงพระชนม์
  16. ภัณฑูกัมม์ : การปลงผม, การบอกขออนุญาตกะสงฆ์เพื่อปลงผมคนผู้จะบวช ในกรณีที่ภิกษุจะปลงให้เอง เป็นอปโลกนกรรมอย่างหนึ่ง
  17. มคธ : 1.ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีปครั้งพุทธกาล ตั้งอยู่ฝั่งใต้ของแม่น้ำคงคาตอนกลาง เป็นแคว้นที่มีอำนาจมากแข่งกับแคว้นโกศล และเป็นที่พระพุทธเจ้าทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนา ในสมัยพุทธกาล มคธมีนครหลวงชื่อ ราชคฤห์ ราชาผู้ปกครองพระนามว่าพิมพิสาร ตอนปลายพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสาร ถูกโอรสชื่ออชาตศัตรูปลงพระชนม์และขึ้นครองราชย์สืบแทน ต่อมาในสมัยพระเจ้ากาลาโศก หรือก่อนนั้น เมืองหลวงของมคธ ย้ายไปตั้งที่เมืองปาฏลีบุตร บนฝั่งแม่น้ำคงคา เหนือเมืองราชคฤห์ขึ้นไป มคธรุ่งเรืองถึงที่สุดในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งแคว้นใหญ่อื่นทั้งหมดได้รวมเข้าอยู่ภายในมหาอาณาจักรของพระองค์ทั้งหมดแล้ว บัดนี้ บริเวณที่เคยเป็นแคว้นมคธในสมัยพุทธกาล เรียกว่า แคว้นพิหาร 2.เรียกภาษาที่ใช้พูดในแคว้นมคธ หรือภาษาของชาวแคว้นมคธว่า ภาษามคธ และถือกันว่า ภาษาบาลีที่ใช้รักษาพระพุทธพจน์สืบมา จนบัดนี้ คือ ภาษามคธ
  18. มัชฌิมโพธิกาล : ระยะเวลาบำเพ็ญพุทธกิจของพระพุทธเจ้าตอนกลางระหว่างปฐมโพธิกาลกับปัจฉิมโพธิกาล นับคร่าวๆ ตั้งแต่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธไปแล้ว ถึงปลงพระชนมายุสังขาร
  19. มาฆบูชา : การบูชาใหญ่ในวันเพ็ญ เดือน ๓ ในโอกาสคล้ายวันประชุมใหญ่แห่งพระสาวก ซึ่งเรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต ณ พระเวฬุวัน หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ๙ เดือน ที่พระองค์ทรงแสดง โอวาทปาฏิโมกข์ (การปลงพระชนมายุสังขาร ก็ตรงในวันนี้)
  20. วินัยกรรม : การกระทำเกี่ยวกับพระวินัยหรือการปฏิบัติตามวินัย เช่น การปลงอาบัติ การอธิษฐานบริขาร การวิกัปบาตรและจีวร เป็นต้น
  21. อาปัตตาธิกรณ์ : อธิกรณ์คืออาบัติ หมายความว่า การต้องอาบัติและการถูกปรับอาบัติ เป็นอธิกรณ์โดยฐานเป็นเรื่องที่จะต้องจัดทำ คือระงับด้วยการแก้ไขปลดเปลื้องออกจากอาบัตินั้นเสีย มีการปลงอาบัติ หรือการอยู่กรรมเป็นต้น ตามวิธีที่ท่านบัญญัติไว้
  22. [1-21]

(0.0171 sec)