Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ไฝ , then ไฝ, ไฟ .

Budhism Thai-Thai Dict : ไฝ, 22 found, display 1-22
  1. อนุพยัญชนะ : ลักษณะน้อยๆ, พระลักษณะข้อปลีกย่อยของพระมหาบุรุษ (นอกเหนือจากมหาบุรุษลักษณะ ๓๒) อีก ๘๐ ประการ คือ ๑) มีนิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทอันเหลืองงาม, ๒) นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทเรียวออกไป โดยลำดับแต่ต้นจนปลาย, ๓) นิ้วพระหัตถ์ แลนิ้วพระบาทกลมดุจนายช่างกลึงเป็นอันดี, ๔) พระนขาทั้ง ๒๐ มีสีอันแดง, ๕) พระนขาทั้ง ๒๐ นั้น งอนงามช้อนขึ้นเบื้องบนมิได้ค้อมลงเบื้องต่ำ ดุจเล็บแห่งสามัญชนทั้งปวง, ๖) พระนขานั้นมีพรรณอันเกลี้ยงกลม สนิทมิได้เป็นริ้วรอย, ๗) ข้อพระหัตถ์และข้อพระบาทซ่อนอยู่ในพระมังสะ มิได้สูงขึ้นปรากฏออกมาภายนอก, ๘) พระบาททั้งสองเสมอกันมิได้ย่อมใหญ่กว่ากันมาตรว่าเท่าเมล็ดงา, ๙) พระดำเนินงานดุจอาการเดินแห่งกุญชรชาติ, ๑๐) พระดำเนินงามดุจสีหราช, ๑๑) พระดำเนินงามดุจดำเนินแห่งหงส์, ๑๒) พระดำเนินงามดุจอุสภราชดำเนิน, ๑๓) ขณะเมื่อยืนจะย่างดำเนินนั้น ยกพระบาทเบื้องขวาย่างไปก่อน พระกายเยื้องไปข้างเบื้องขวาก่อน, ๑๔) พระชานุมณฑลเกลี้ยงกลมงามบริบูรณ์ บ่มิได้เห็นอัฏฐิสะบ้าปรากฏออกมาภายนอก, ๑๕) มีบุรุษพยัญชนะบริบูรณ์คือมิได้มีกิริยามารยาทคล้ายสตรี ๑๖) พระนาภีมิได้บกพร่อง กลมงามมิได้วิกลในที่ใดที่หนึ่ง, ๑๗) พระอุทรมีสัณฐานอันลึก, ๑๘) ภายในพระอุทรมีรอยเวียนเป็นทักขิณาวัฏฏ, ๑๙) ลำพระเพลาทั้งสองกลมงามดุจลำสุวรรณกัททลี, ๒๐) ลำพระกรทั้งสองงามดุจงวงแห่งเอราวัณเทพยหัตถี, ๒๑) พระอังคาพยใหญ่น้อยทั้งปวงจำแนกเป็นอันดี คือ งามพร้อมทุกสิ่งหาที่ตำหนิบ่มิได้, ๒๒) พระมังสะที่ควรจะหนาก็หนา ที่ควรจะบางก็บางตามที่ทั่วทั้งประสรีรกาย, ๒๓) พระมังสะมิได้หดหู่ในที่ใดที่หนึ่ง ๒๔) พระสรีรกายทั้งปวงปราศจากต่อมและไฝปาน มูลแมลงวันมิได้มีในที่ใดที่หนึ่ง, ๒๕) พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสมกันโดยตามลำดับทั้งเบื้องบนแลเบื้องล่าง, ๒๖) พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสิ้นปราศจากมลทินทั้งปวง, ๒๗) ทรงพระกำลังมาก เสมอด้วยกำลังแห่งกุญชรชาติ ประมาณถึงพันโกฏิช้าง ถ้าจะประมาณด้วยกำลังบุรุษก็ได้ถึงแสนโกฏิบุรุษ, ๒๘) มีพระนาสิกอันสูง, ๒๙) สัณฐานนาสิกงามแฉล้ม ๓๐) มีพระโอษฐ์เบื้องบนเบื้องต่ำมิได้เข้าออกกว่ากัน เสมอเป็นอันดี มีพรรณแดงงามดุจสีผลตำลึงสุก, ๓๑) พระทนต์บริสุทธิ์ปราศจากมูลมลทิน, ๓๒) พระทนต์ขาวดุจดังสีสังข์, ๓๓) พระทนต์เกลี้ยงสนิทมิได้เป็นริ้วรอย, ๓๔) พระอินทรีย์ทั้ง ๕ มีจักขุนทรีย์เป็นอาทิงามบริสุทธิ์ทั้งสิ้น, ๓๕) พระเขี้ยวทั้ง ๔ กลมบริบูรณ์, ๓๖) ดวงพระพักตร์มีสัณฐานยาวสวย ๓๗) พระปรางค์ทั้งสองดูเปล่งงามเสมอกัน, ๓๘) ลายพระหัตถ์มีรอยอันลึก, ๓๙) ลายพระหัตถ์มีรอยอันยาว ๔๐) ลายพระหัตถ์มีรอยอันตรง บ่มิได้ค้อมคด ๔๑) ลายพระหัตถ์มีรอยอันแดงรุ่งเรือง, ๔๒) รัศมีพระกายโอภาสเป็นปริมณฑลโดยรอบ ๔๓) กระพุ้งพระปรางค์ทั้งสองเคร่งครัดบริบูรณ์ ๔๔) กระบอกพระเนตรกว้างแลยาวงามพอสมกัน ๔๕) ดวงพระเนตรกอปรด้วยประสาททั้ง ๕ มีขาวเป็นอาทิผ่องใสบริสุทธิ์ทั้งสิ้น ๔๖) ปลายเส้นพระโลมาทั้งหลายมิได้งอมิได้คด ๔๗) พระชิวหามีสัณฐานอันงาม ๔๘) พระชิวหาอ่อนบ่มิได้กระด้างมีพรรณอันแดงเข้ม ๔๙) พระกรรณทั้งสองมีสัณฐานอันยาวดุจกลีบปทุมชาติ ๕๐) ช่องพระกรรณมีสัณฐานอันกลมงาม ๕๑) ระเบียบพระเส้นทั้งปวงนั้นสละสลวยบ่มิได้หดหู่ในที่อันใดอันหนึ่ง ๕๒) แถวพระเส้นทั้งหลายซ่อนอยู่ในพระมังสะทั้งสิ้น บ่มิได้เป็นคลื่นฟูขึ้นเหมือนสามัญชนทั้งปวง ๕๓) พระเศียรมีสัณฐานงามเหมือนฉัตรแก้ว ๕๔) ปริมณฑลพระนลาฏโดยกว้างยาวพอสมกัน ๕๕) พระนลาฏมีสัณฐานอันงาม ๕๖) พระโขนงมีสัณฐานอันงามดุจคันธนูอันก่งไว้ ๕๗) พระโลมาที่พระโขนงมีเส้นอันละเอียด ๕๘) เส้นพระโลมาที่พระโขนงงอกขึ้นแล้วล้มราบไปโดยลำดับ ๕๙) พระโขนงนั้นใหญ่ ๖๐) พระโขนงนั้นยาวสุดหางพระเนตร ๖๑) ผิวพระมังสะละเอียดทั่วทั้งพระกาย ๖๒) พระสรีรกายรุ่งเรืองไปด้วยสิริ ๖๓) พระสรีรกายมิได้มัวหมอง ผ่องใสอยู่เป็นนิตย์ ๖๔) พระสรีรกายสดชื่นดุจดวงดอกปทุมชาติ ๖๕) พระสรีรสัมผัสอ่อนนุ่มสนิท บ่มิได้กระด้างทั่วทั้งพระกาย ๖๖) กลิ่นพระกายหอมฟุ้งดุจกลิ่นสุคนธกฤษณา ๖๗) พระโลมามีเส้นเสมอกันทั้งสิ้น ๖๘) พระโลมามีเส้นละเอียดทั่วทั้งพระกาย ๖๙) ลมอัสสาสะและปัสสาสะลมหายพระทัยเข้าออกก็เดินละเอียด ๗๐) พระโอษฐมีสัณฐานอันงามดุจแย้ม ๗๑) กลิ่นพระโอษฐหอมดุจกลิ่นอุบล ๗๒) พระเกสาดำเป็นแสง ๗๓) กลิ่นพระเกสาหอมฟุ้งขจรตลบ ๗๔) พระเกสาหอมดุจกลิ่นโกมลบุบผชาติ ๗๕) พระเกสามีสัณฐานเส้นกลมสลวยทุกเส้น ๗๖) พระเกสาดำสนิททั้งสิ้น ๗๗) พระเกสากอปรด้วยเส้นอันละเอียด ๗๘) เส้นพระเกสามิได้ยุ่งเหยิง ๗๙) เส้นพระเกสาเวียนเป็นทักขิณาวัฏฏทุกๆ เส้น ๘๐) วิจิตรไปด้วยระเบียบพระเกตุมาลา กล่าวคือถ่องแถวแห่งพระรัศมีอันโชตนาการขึ้น ณ เบื้องบนพระอุตมังคสิโรตม์ฯ นิยมเรียกว่า อสีตยานุพยัญชนะ; ดู มหาบุรุษลักษณะ
  2. อัคคิ : ไฟ, ไฟกิเลส, กิเลสดุจไฟเผาลนจิตใจให้เร่าร้อน มี ๓ คือ ๑) ราคัคคิ ไฟคือราคะ ๒) โทสัคคิ ไฟคือโทสะ ๓) โมหัคคิ ไฟคือโมหะ
  3. กสิณ : วัตถุอันจูงใจ คือ จูงใจให้เข้าไปผูกอยู่ เป็นชื่อของกัมมัฏฐานที่ใช้วัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ มี ๑๐ อย่าง คือ ภูตกสิณ ๔ : - ๑) ปฐวี ดิน ๒) อาโป น้ำ ๓) เตโช ไฟ ๔) วาโย ลม วรรณกสิณ ๔ :- ๕) นีลํ สีเขียว ๖) ปีตํ สีเหลือง ๗) โลหิตํ สีแดง ๘) โอทาตํ สีขาว และ ๙) อาโลโก แสงสว่าง ๑๐) อากาโส ที่ว่าง - a meditation device; object of meditation; the method of inducing concentration by gazing at any of the ten objects, viz., earth, water, fire, air, blue, yellow, red, white, space and light.
  4. มหาภูต : ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ดู มหาภูตรูป
  5. เพลิงทิพย์ : ไฟเทวดา, ไฟที่เป็นของเทวดา, เพลิงคราวถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
  6. กัสสปะ : 1.พระนามพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอดีต ดู พระพุทธเจ้า๕2.ชื่อของพระมหากัสสปเถระเมื่อเรียกตามโคตร ท่านมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ปิปผลิ หรือ ปิปผลิมาณพ 3.หมายถึงกัสสป ๓ พี่น้อง คยากัสสปะ เป็นนักบวชประเภทชฎิล ถือลัทธิบูชาไฟ เป็นที่เคารพนับถือของชาวราชคฤห์ ภายหลังได้เป็นพระอรหันต์พร้อมกันทั้ง ๓ พี่น้องและบริวารหนึ่งพัน ด้วยได้ฟังเทศนาอาทิตตปริยายสูตร จากพระพุทธเจ้า
  7. ชฎิล : นักบวชประเภทหนึ่ง เกล้าผมมุ่นเป็นมวยสูงขึ้น มักถือลัทธิบูชาไฟ บางครั้งจัดเข้าในพวกฤษี
  8. ชาตปฐพี : ดินเกิดเอง, ปฐพีแท้ คือมีดินร่วนล้วน มีดินเหนียวล้วน หรือมีของอื่น เช่นหินกรวด กระเบื้อง แร่ และทรายน้อย มีดินร่วน ดินเหนียวมากดินนี้ประสงค์เอาที่ยังไม่ได้เผาไฟกองดินร่วนก็ดี กองดินเหนียวก็ดี มีฝนตกรดเกิน ๔ เดือนมาแล้วนับเข้าในปฐพีแท้
  9. เตโชธาตุ : ธาตุไฟ, ธาตุที่มีลักษณะร้อน, ความร้อน; ในร่างกาย ได้แก่ ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกายให้กระวนกระวายและไฟที่เผาอาหารให้ย่อย
  10. ถวายพระเพลิง : ให้ไฟ คือ เผา
  11. ธาตุ ๔ : คือ ๑.ปฐวีธาตุ สภาวะที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่ เรียกสามัญว่า ธาตุแข้นแข็งหรือธาตุดิน ๒.อาโปธาตุ สภาวะที่เอิบอาบดูดซึม เรียกสามัญว่า ธาตุเหลวหรือธาตุน้ำ ๓.เตโชธาตุ สภาวะที่ทำให้ร้อน เรียกสามัญว่า ธาตุไฟ ๔.วาโยธาตุ สภาวะที่ทำให้เคลื่อนไหว เรียกสามัญว่า ธาตุลม ; ธาตุ ๖ คือ เพิ่ม ๕.อากาสธาตุ สภาวะที่ว่าง ๖.วิญญาณธาตุ สภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์ หรือ ธาตุรู้
  12. บุพกรณ์ : ธุระอันจะพึงทำในเบื้องต้น, งานที่จะต้องกระทำทีแรก, เรื่องที่ควรตระเตรียมให้เสร็จก่อน เช่น บุพกรณ์ของการทำอุโบสถ ได้แก่ เมื่อถึงวันอุโบสถ พระเถระลงอุโบสถก่อน สั่งภิกษุให้ปัดกวาดโรงอุโบสถตามไฟ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ ตั้งหรือปูลาดอาสนะไว้; บุพกรณ์แห่งการกรานกฐิน คือ ซักผ้า ๑ กะผ้า ๑ ตัดผ้า ๑ เนาหรือด้นผ้าที่ตัดแล้ว ๑ เย็บเป็นจีวร ๑ ย้อมจีวรที่เย็บแล้ว ๑ ทำกัปปะคือพินทุ ๑ ดังนี้เป็นต้น
  13. ประทีป : ตะเกียง, โคม, ไฟมีเปลวสว่าง
  14. ปาริจริยานุตตริยะ : การบำเรออันเยี่ยม ได้แก่ การบำรุงรับใช้พระตถาคตและตถาคตสาวกอันประเสริฐกว่า การที่จะบูชาไฟหรือบำรุงบำเรออย่างอื่น เพราะช่วยให้บริสุทธิ์หลุดพ้นจากทุกข์ได้จริง (ข้อ ๕ ในอนุตตริยะ ๖)
  15. ภูต : ๑. สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเกิดเสร็จไปแล้ว, นัยหนึ่ง หมายถึงพระอรหันต์ เพราะไม่แสวงหาภพเป็นที่เกิดอีก อีกนัยหนึ่งหมายถึงสัตว์ที่เกิดเต็มตัวแล้ว เช่น คนคลอดจากครรภ์แล้ว ไก่ออกจากไข่แล้ว เป็นต้น ต่างกับ สัมภเวสี คือสัตว์ผู้ยังแสวงหาที่เกิด ซึ่งได้แก่ปุถุชนและพระเสขะผู้ยังแสวงหาภพที่เกิดอีก หรือสัตว์ในครรภ์และในไข่ที่ยังอยู่ระหว่างจะเกิด ๒. ผี, อมนุษย์ ๓. ภูตรูป คือ ธาตุ ๔ มักเรียก มหาภูต ภูตกสิณ กสิณ คือ ภูตรูป, กสิณคือ ธาตุ ๔ ได้แก่ ปฐวี ดิน, อาโป น้ำ, เตโช ไฟ, วาโย ลม
  16. ภูตะ : ๑. สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเกิดเสร็จไปแล้ว, นัยหนึ่ง หมายถึงพระอรหันต์ เพราะไม่แสวงหาภพเป็นที่เกิดอีก อีกนัยหนึ่งหมายถึงสัตว์ที่เกิดเต็มตัวแล้ว เช่น คนคลอดจากครรภ์แล้ว ไก่ออกจากไข่แล้ว เป็นต้น ต่างกับ สัมภเวสี คือสัตว์ผู้ยังแสวงหาที่เกิด ซึ่งได้แก่ปุถุชนและพระเสขะผู้ยังแสวงหาภพที่เกิดอีก หรือสัตว์ในครรภ์และในไข่ที่ยังอยู่ระหว่างจะเกิด ๒. ผี, อมนุษย์ ๓. ภูตรูป คือ ธาตุ ๔ มักเรียก มหาภูต ภูตกสิณ กสิณ คือ ภูตรูป, กสิณคือ ธาตุ ๔ ได้แก่ ปฐวี ดิน, อาโป น้ำ, เตโช ไฟ, วาโย ลม
  17. สันตาปทุกข์ : ทุกข์ คือความร้อนรุ่ม, ทุกข์ร้อน ได้แก่ความกระวนกระวายใจ เพราะถูกไฟกิเลสคือ ราคะ โทสะ และโมหะแผดเผา
  18. โสณา : พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง เป็นธิดาของผู้มีตระกูลในพระนครสาวัตถีนางมีสามีแล้ว มีบุตร ๑๔ คน เป็นชาย ๗ คน หญิง ๗ คน ภายหลังสามีถึงแก่กรรม ลูกชายหญิงก็แต่งงานไปหมด จึงออกบวชเป็นภิกษุณี มีความเพียรอย่างแรงกล้า เจริญวิปัสสนาอยู่ในเรือนไฟ ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางปรารภความเพียร
  19. อชาตปฐพี : ปฐพีไม่แท้ คือดินที่เป็นหินเป็นกรวด เป็นกระเบื้อง เป็นแร่ เป็นทรายล้วน หรือมีดินร่วนดินเหนียวน้อย เป็นของอื่นมากก็ดี ดินที่ไฟเผาแล้วก็ดี กองดินร่วน หรือกองดินเหนียว ที่ฝนตกรดหย่อนกว่า ๔ เดือนก็ดี
  20. อาทิตตปริยายสูตร : ชื่อพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุประมาณ ๑,๐๐๐ รูป มีอุรุเวลกัสสป เป็นต้น ซึ่งเคยเป็นชฏิลบูชาไฟมาก่อน ว่าด้วยอายตนะทั้ง ๖ ที่ร้อนติดไฟลุกทั่ว ด้วยไฟราคะ ไฟโทสะ และไฟโมหะ ตอลดจนร้อนด้วยทุกข์ มีชาติ ชรามรณะ เป็นต้น ทำให้ภิกษุเหล่านั้นบรรลุอรหัตตผล (มาในคัมภีร์มหาวรรค แห่งพระวินัยปิฎก และสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค พระสุตตันตปิฎก)
  21. อาทีนวานุปัสสนาญาณ : ญาณอันคำนึงเห็นโทษ, ปรีชาคำนึงเห็นโทษของสังขารว่ามีข้อบกพร่องระคนด้วยทุกข์ เช่น เห็นสังขารปรากฏเหมือนเรือนถูกไฟไหม้ (ข้อ ๔ ในวิปัสสนาญาณ ๙)
  22. อุรุเวลกัสสป : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เคยเป็นนักบวชประเภทชฎิล นับถือลัทธิบูชาไฟ ถือตัวว่าเป็นพระอรหันต์สร้างอาศรมสั่งสอนลัทธิของตนอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา เพราะเหตุที่เป็นชาวกัสสปโคตร และอยู่ ณ ตำบลอุรุเวลา จึงได้ชื่อว่า อุรุเวลกัสสป ท่านผู้นี้เป็นคณาจารย์ใหญ่ที่ชาวราชคฤห์นับถือมาก มีน้องชาย ๒ คน คนหนึ่งชื่อนทีกัสสป อีกคนหนึ่งชื่อคยากสสป ล้วนเป็นหัวหน้าชฎิลตั้งอาศรมอยู่ถัดกันไปบนฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ไม่ห่างไกลจากอาศรมของพี่ชายใหญ่ ต่อมาพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาทรงทรมานอุรุเวลกัสสปด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ จนห่างชฎิลใหญ่ คลายพยศ ยอมมอบตัวเป็นพุทธสาวกขอบรรพชา ทำให้ชฎิลผู้น้องทั้ง ๒ พร้อมด้วยบริวารออกบวชตามด้วยทั้งหมด ครั้นบวชแล้วได้ฟังเทศนาอาทิตตปริยายสูตร จากพระพุทธเจ้า ก็ได้สำเร็จพระอรหัต ทั้งสามพี่น้องพร้อมด้วยบริวารทั้งหมดรวมหนึ่งพันองค์ พระอุรุเวลกัสสปได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางมีบริษัติใหญ่ คือ มีบริวารมาก
  23. [1-22]

(0.0171 sec)