Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปฏิบัตินิยม, ปฏิบัติ, นิยม , then นยม, นิยม, ปฏบตนยม, ปฏิบัติ, ปฏิบัตินิยม .

ETipitaka Pali-Thai Dict : ปฏิบัตินิยม, 124 found, display 51-100
  1. ปฏิชคฺคนก : ค. ผู้ปฏิบัติ, ผู้บำรุง, ผู้ดูแล, ผู้เลี้ยงดู
  2. ปฏิชคฺคาเปติ : ก. ให้ปฏิบัติ, ให้บำรุง, ให้ดูแล, ให้เลี้ยงดู
  3. ปฏิชคฺคิต : กิต. (อันเขา) ปฏิบัติแล้ว, บำรุงแล้ว, ดูแลแล้ว, เลี้ยงดูแล้ว
  4. ปฏิชคฺคิย : ค. พึงปฏิบัติ, ซึ่งควรปฏิบัติ, ควรบำรุง, ควรซ่อมแซม
  5. ปฏิปชฺชติ : ก. ปฏิบัติ, ดำเนินไป
  6. ปฏิปชฺชน : นป. การปฏิบัติ, การดำเนินไป, วิธีปฏิบัติ, ทางที่ดำเนินไป
  7. ปฏิปชฺชนวิธี : ป. วิธีปฏิบัติ, วิธีดำเนินการ
  8. ปฏิปตฺติ : อิต. การปฏิบัติ, ข้อปฏิบัติ, ความประพฤติ
  9. ปฏิปทา : อิต. ปฏิปทา, ข้อปฏิบัติ, แนวทางความประพฤติ, ทางปฏิบัติ
  10. ปฏิปนฺน : กิต. ปฏิบัติแล้ว, ดำเนินไปแล้ว, ถึงแล้ว
  11. ปฏิเสวติ : ก. เสพเฉพาะ, เสพ (เมถุน), ประพฤติ, ปฏิบัติตาม, เสพอาศัย, ส้องเสพ, ใช้ (ปัจจัยสี่)
  12. ปฏิเสวน : นป. การเสพเฉพาะ, การประพฤติการปฏิบัติตาม, การใช้
  13. ปโยชิต : กิต. (อันเขา) ประกอบแล้ว, นำไปปฏิบัติแล้ว, กระตุ้นแล้ว, เร่งเร้าแล้ว, แนะนำแล้ว, เชื่อมต่อแล้ว
  14. ปโยเชติ : ก. ประกอบ, ใช้, นำไปปฏิบัติ, ลงมือทำ, ประยุกต์, บรรจุในหน้าที่, จ้าง, ตระเตรียม; ท้าทาย
  15. ปาฏิโมกฺข : ป., นป. พระปาฏิโมกข์, ธรรมเป็นที่อาศัยให้พ้นจากอาบัติ; พระคัมภีร์รวบรวมพระวินัยที่เป็นหลักของภิกษุไว้และต้องสวดในที่ชุมนุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือนเพื่อทบทวนข้อปฏิบัติและสำรวจตนเองว่าได้ปฏิบัติตนเองตามพุทธบัญญัติหรือไม่
  16. เปตเตยฺยตา : (อิต.) ความเป็นแห่งบุคคลผู้เกื้อกูลแก่บิดา, ความเป็นแห่งบุคคลผู้ปฏิบัติเกื้อกูลแก่บิดา, ความปฏิบัติเครื่องเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่บิดา, ความเป็นผู้เกื้อกูลแก่บิดา. ตา ปัจ. ภาวตัท.
  17. พฺยาปาล : (วิ.) ผู้รักษาโดยเอื้อเฟื้อวิเศษ, ผู้ดูแลโดยเอื้อเฟื้อโดยวิเศษ, ผู้ดูแลรักษาคนไข้, ผู้ปฏิบัติคนไข้.
  18. พฺรหฺมญฺญตา : (อิต.) ความปฏิบัติเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พรหม, ความประพฤติเกื้อกูลแก่พรหม. ตา ปัจ. สกัด.
  19. พฺรหฺมุโปสถ : ป. อุโบสถอันประเสริฐ, การปฏิบัติธรรมในวันอุโบสถ
  20. ภตฺตคฺควตฺต : (นปุ.) มารยาทในโรงฉัน, ข้อปฏิบัติในโรงฉัน.
  21. มชฺฌิมาปฏิปทา : (อิต.) การปฏิบัติอันมีในท่ามกลาง, ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง, ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง, มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลางคือมรรค (อริยมรรค) มีองค์ ๘.
  22. โมเนยฺยปฏิปทา : (อิต.) ข้อปฏิบัติอันเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ความเป็นมุนี.
  23. โยคาวจร : (ปุ.) บุคคลผู้หยั่งลงสู่ความเพียร, ภิกษุผู้หยั่งลงสู่ความเพียร คือท่านผู้เรียนสมถวิปัสนา และปฏิบัติสมถะหรือวิปัสสนา.
  24. วต : ๑. อ. หนอ ; ๒. นป. พรต, ข้อปฏิบัติ, การจำศีล
  25. วตฺต : นป. วัตร, หน้าที่, การปฏิบัติ
  26. วินย : ป. ข้อควรแนะนำ, วินัย, ข้อปฏิบัติ, ข้อบังคับ
  27. วิปฺปฏิปชฺชติ : ก. ปฏิบัติผิด
  28. วิปฺปฏิปตฺติ : อิต. การปฏิบัติผิด
  29. วิเวจน : นป. การติชม, การเลือกปฏิบัติ
  30. สนฺทิฏฐก : (วิ.) อันบุคคลผู้ปฏิบัติพึงเห็นเอง, อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง, ณิก ปัจ.
  31. สมณธมฺม : (ปุ.) ธรรมของสรณะ. ธรรมอันสมณะพึงประพฤติ, สมณธรรม(ข้อปฏิบัติของพระ).
  32. สมถ : (ปุ.) ธรรมเป็นเครื่องระงับ, ธรรมยังนิวรณ์ห้า มี กามฉันท์ เป็นต้นให้สงบ. วิ. กามฉนฺทาทิกํ ปญฺจนิวรณํ สเมตีติ สมโถ. สมุ อุปสเม. โถ แปลง อุ เป็น อ. ความสงบ, ความระงับ, ความสงบระงับ. วิ. สมนํ สมโถ. สมาธิ, สมถะ, ชื่อว่า สมถะ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ้าน อวิกฺเขปฏเฐน สมโถ. สมถุ ชื่อของภาวนาอย่างที่ ๑ ในภาวนา ๒ เป็นอุบายสงบใจ เป็นวิธีทำใจให้สงบหลบทุกข์ไปได้ชั่วคราวมีผลเพียงให้กิเลสอย่างกลางระงับไปชั่วคราว ที่ท่านเปรียบไว้ว่าเหมือนเอาหินทับหญ้าเท่านั้น เมื่อเอาหินออก หญ้าก็งอกงามตามเดิม แต่ก็ยังผู้ปฏิบัติให้หลงไปว่าได้บรรลุโลกุตรธรรมเป็นพระอริยบุคคลไปก็มี เมื่อหลงไปเช่นนี้ก็เป็นอันตรายแด่พระพุทธศาสนาเหมือกัน. คำ สมถะ ไทยใช้ในความหมายว่า มักน้อย ปฏิบัติตนปอน ๆ.
  33. สมฺปาปกเหตุ : (ปุ.) เหตุอันยังบุคคลผู้ปฏิบัติให้ถึงด้วยดี (ได้แก่มรรค ๘).
  34. สมฺมาปฏิปตฺติ : (อิต.) การปฏิบัติดี, การปฏิบัติชอบ, การปฏิบัติโดยชอบ, ความปฏิบัติดี, ฯลฯ.
  35. สามีจิปฏปนฺน : (วิ.) ปฏิบัติแล้วชอบ, ปฏิบัติชอบแล้ว, ปฏิบัติชอบ, ฯลฯ.
  36. สิกฺขา : (อิต.) ปฏิปทาอันบุคคลพึงศึกษา, ปฏิปทาอันเขาพึงศึกษา, ทางดำเนินอันบุคคลพึงศึกษา, ข้อที่ควรศึกษา, ข้อปฏิบัติที่ควรศึกษา, วิชชาอันบุคคลพึงศึกษา, หัวข้อที่ควรศึกษา. วิ. สิกฺขิตพฺพนฺติ สิกฺขา, ปฏิปทาอันเขาย่อมศึกษา, ฯลฯ. วิ. สกฺขิยตีติ สิกฺขา, การศึกษา, การเล่าเรียน, การสำเหนียก (เอาใจใส่ กำหนดจดจำ). วิ. สิกขนํ สิกฺขา. อ ปัจ. อา อิต. พระพุทธศาสนาวางข้อ (เรื่อง) ที่ควรศึกษาไว้ ๓ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา เรียกว่า ไตรสิกขา.
  37. สิปฺป : (นปุ.) สิปปะ ศิลปะ. วิชาความรู้ที่ได้มาจากการศึกษาทุกอย่าง ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการประกอบกิจเลี้ยงชีวิตในทางสุจริต เรียกว่า สิปปะ หรือ ศิลปะตามภาษาสันสกฤต พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นมงคลคือเหตุที่ทำให้ผู้ปฏิบัติตามถึงความเจริญ เป็นมงคลที่ ๘ ในมงคล ๓๘ . สิกฺขฺ วิชฺโชปาทาเน, ปฺปปจฺจโย, กฺขฺโลโป, สิ สยเสวาสุ วา, ปฺปปจฺจโย, สปฺปฺ คติยํ วา, อ, อสฺสิ. คำ ศิลปะ ไทยใช้ความว่าฝีมือทางการช่าง ที่ผู้ทำทำได้คล่องแคล่วกว่า หรือดีเด่นกว่า งดงามกว่าช่างด้วยกันหรือสิ่งที่สำเร็จจากฝีมือนั้น ทำให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจได้ดีกว่าช่างอื่น. ส. ศิลฺป.
  38. สีลน : นป. การฝึกหัด, การปฏิบัติ, การละเว้น
  39. สีลพฺพตปรามาส : (ปุ.) การถือมั่นศีลและพรต, การยึดมั่นศีลและพรต, การจับต้องศีลหรือพรต, สีลัพพตปรามาส คือ ความเชื่อถือความศักดิ์สิทธิ์ด้วยเข้าใจว่ามีได้ด้วยศีลหรือวัตรปฏิบัติ เป็นการรักษาหรือบำเพ็ญพรตด้วยความเชื่อเรืองบันดาลไม่เชื่อกรรม เชื่อความขลัง.
  40. สุปฏิปนฺน : กิต. ปฏิบัติดีแล้ว
  41. สุสฺสูสา : (อิต.) การฟังด้วยดี, การตั้งใจฟัง, การบำเรอ, การบำรุง, การปฏิบัติ, การรับใช้.
  42. เสขียวตฺต : (นปุ.) ข้อปฏิบัติอัน...พึงศึกษา, ฯลฯ, ข้อปฏิบัติที่ภิกษุต้องใส่ใจ, ข้อปฏิบัติที่ภิกษุต้องเอาใจใส่, วัตรที่ภิกษุต้องใส่ใจ, ฯลฯ, ข้อปฏิบัติที่ภิกษุและสามเณาต้องใส่ใจ, ข้อปฏิบัติที่ภิกษุและสามเณรต้องเอาใจใส่, วัตรที่ภิกษุและสามเณรต้องใส่ใจ, ฯลฯ.
  43. เสนาสนวตฺต : (นปุ.) ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย.
  44. โสตาปตฺติยงฺคธมฺม : (ปุ.) ธรรมอันเป็นองค์แห่งการบรรลุกระแสพระนิพพาน, ธรรมอันเป็นเหตุยังบุคคลผู้ปฏิบัติให้ถึงกระแสแห่งพระนิพพาน. ธรรมอันยังผู้ปฏิบัติให้บรรลุกระแสแห่งพระนิพพาน ได้แก่ วุฑฒิธรรม ๔ ไตร ๑๑.
  45. หตฺถปาส : (ปุ.) บ่วงแห่งมือ, บ่วงมือ, หัตถบาส ชื่อของระเบียบปฏิบัติสำหรับภิกษุสงฆ์ผู้เข้าร่วมประชุมทำสังฆกรรม จะต้องอยู่ในหัตถบาสของกันและกัน คืออยู่ในระหว่าง ๒ ศอก-คืบ ถ้ายืนก็ห่างกันประมาณ ๑ ศอก ถึง ๑ ศอกคืบ ถ้านั่งก็ห่างกัน ๑ คืบ ต่อ ๆ กันไป และยังใช้เกี่ยวกับคฤหัสถ์ผู้ประเคน (ถวาย) ของแด่ภิกษุสงฆ์ด้วย จะต้องเข้ามาในหัตถบาส คือห่างจากภิกษุผู้รับ ๑ ศอก สำหรับสุภาพสตรีเข้าไปประเคน (ถวาย) อยู่ในระยะ ๑ ศอกนี้ ดูไม่งาน เช่นบางกรณีคือ ถวายของในพิธีมงคลสมรส.
  46. อชฺฌาสย : (ปุ.) ฉันทะมานอนทับซึ่งตน, ฉันทะเป็นที่มานอนทับ, ฉันทะเป็นที่มานอนทับแห่งจิตอันยิ่ง, สภาพอันอาศัยซึ่งอารมณ์เป็นไป, สภาพที่จิตอาศัย, ความมุ่งหมาย, ความพอใจ, ความจุใจ, ความเอาใจใส่, ความประสงค์, ความนิยม, อัชฌาสัย, อัธยาศัย (นิสัยใจคอ).วิ.จิตฺตมชฺฌาคนฺตฺวาสยตีติอชฺฌาสโย.อธิอาปุพฺโพ, สิปวตฺติยํ, อ.คำอัชฌาในวรรณคดี ตัดมาจากคำนี้.ส.อธฺยาศย.
  47. อนริย : (วิ.) มิใช่เป็นวัตรปฏิบัติของพระอริยะ, มิใช่ของพระอริยะ, อันไม่ประเสริฐ, ไม่ประเสริฐ.ส.อนารยไม่เจริญ, ป่าเถื่อน.
  48. อนุพฺพต : ค. ผู้มีวัตรปฏิบัติอันสมควร, ผู้เชื่อถือ, ผู้เลื่อมใส
  49. อปณฺณกปฏิปทา : (อิต.) การปฏิบัติไม่ผิด.
  50. อภิยุญฺชน : นป. การขวนขวาย, การปฏิบัติ; การสอบสวน
  51. 1-50 | [51-100] | 101-124

(0.0267 sec)