Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อาคม .

ETipitaka Pali-Thai Dict : อาคม, 163 found, display 51-100
  1. ธมฺมจริยา : (อิต.) ความประพฤติซึ่งธรรม วิ. ธมฺมสฺส จริยา ธมฺมจริยา. ทุ.ตัป. การประพฤติเป็นธรร,ความประพฤติเป็นธรรม. วิ. ธมฺโม จริยา ธมฺมจริยา. วิเสสนบุพ. กัม. เจตนาเป็นเครื่องประพฤติซึ่งธรรม วิ. ธมฺมํ จรติ เอตายาติ ธมฺมจริยา. ญฺย ปัจ. ไม่ทีฆะ อิ อาคม รูปฯ ๖๔๔. การประพฤติธรรมคือการประพฤติปฏิบัติตามกุศลกรรมบท ๑๐.
  2. ธมฺมิกถา ธมฺมีกถา : (อิต.) วาจาเป็นเครื่อง กล่าวประกาศด้วยธรรม, วาจาเป็นเครื่องกล่าวแสดงซึ่งธรรม, ถ้อยคำอันเป็นไปในธรรม, คำพูดอันเป็นไปในธรรม, การพูดด้วยเรื่องธรรม, ถ้อยคำที่ประกอบ ด้วยเหตุผล, ถ้อยคำที่มีเหตุผล. ธมฺม+กถา อิ, อี อาคม.
  3. นรก : (ปุ.) โลกอันหาความเจริญมิได้, โลกที่ ไม่มีความเจริญ. น บทหน้า ราช ธาตุใน ความเจริญ อ ปัจ. รัสสะ ปลง ช เป็น ก. เหว, นรก ชื่อสถานที่เป็นที่ลงโทษแก่ บุคคลผู้ที่ทำบาปเมื่อละร่างนี้ไปแล้ว ชื่อ สถานที่ที่คนชั่วไปเสวยกรรม. วิ อปุญฺเญ เนตีติ นรโก. นิ นี วา นเย, ณวุ. แปลง อิ หรือ อี เป็น อ และลง ร ที่สุดธาตุ หรือ ลง ร อาคม หรือตั้ง นร นเย, ณวุ. ส. นรก.
  4. นหุต : (นปุ.) หมื่น (๑๐ พัน). นหฺ พนฺธเน, โต, อ อาคม เป็น นห แปลง อ ที่ ห เป็น อุ.
  5. นินฺนาท : (ปุ.) การกึกก้อง,การบันลือ,ความ กึกก้อง, ความบันลือ, ความเกรียวกราว, เสียงกึกก้อง, เสียงบันลือ, เสียงสะท้าน, เสียงเกรียวกราว, นินาท, นฤนาท. วิ. ปุนปฺนปุนํ นาโท นินฺนาโท แปลง น เป็น นฺน แปลง อ ที่น ตัวต้นเป็น อิ ลงนิคคหิต อาคม แล้วแปลงเป็น นฺ.
  6. นิรตฺถ นิรตฺถก : (วิ.) มีประโยชน์ออกแล้ว, หาประโยชน์มิได้, ไม่มีประโยชน์, ปราศ จากประโยชน์, ไร้ประโยชน์, เปล่า. วิ. นตถิ อตฺโถ อสฺสาติ นิรตฺโถ นิรตฺถโก วา. ณ ปัจ. ราคาทิตัท. รู อาคม ศัพท์หลัง ก สกัด.
  7. นิรพฺพุท : (นปุ.) นิรัพพุทะ ชื่อมาตรานับ คือ เลข ๑ มีสูญตามหลัง ๖๓ สูญ. นิปุพฺโพ, อพฺพฺ หึสาคตีสุ, โท. รฺ อาคม และ อ อาคมท้ายธาตุ แปลง อ เป็น อุ.
  8. นิรย : (ปุ.) ประเทศมีความเจริญออกแล้ว, ประเทศมีความเจริญไปปราศแล้ว, ประเทศไม่มีความเจริญ, ประเทศปราศ จากความเจริญ, ภพไม่มีความเจริญ, ภพไม่มีความสุข, โลกไม่มีความเจริญ, โลกไม่มีความสุข. วิ. อโย อิฏฐผลํ, โส นิคฺคโต อสฺมสติ นิรโย. ร. อาคม. นินฺทิโต รโย คมน เมตฺถาติ วา นิรโย. อภิฯ. นิคฺคโต อโย อสฺมสติ นิรโย. นิคฺคโต อโย ยสฺมาโส นิรโย. นตฺถิ อโย เอตฺถาติ วา นิรโย. รูปฯ ส. นิรย.
  9. นิรากติ : (อิต.) การกล่าวคืน, การไม่ยอมรับ. นิ+อา+กรฺธาตุ ติ ปัจ. รฺ อาคม ลบที่สุด ธาตุ.
  10. นิรามย : (วิ.) มีความเจ็บไข้ออกแล้ว, มีความป่วยไข้ออกแล้ว, ไม่มีความเจ็บไข้, ไม่มี ความป่วยไข้, ไม่มีโรค, ปราศจากโรค, มีพลานามัยสมบูรณ์, สบาย, เป็นสุข. นิ+อามย รฺ อาคม. ส. นิรามย.
  11. นิรามิส : (วิ.) มีเหยื่อออกแล้ว, มีเหยื่อล่อออก แล้ว, มีเครื่องล่อออกแล้ว, มีวัตถุเครื่อง ล่อใจออกแล้ว, ไม่มีเหยื่อ, ฯลฯ, ปราศจาก เหยื่อ, ฯลฯ, หมดเหยื่อ, ฯลฯ, ไร้เหยื่อ, ฯลฯ. นิ+อามิส รฺ อาคม.
  12. นิรินฺธน : (วิ.) มีเชื้อออกแล้ว, ไม่มีเชื้อ, หมด เชื้อ, สิ้นเชื้อ, ไร้เชื้อ, ปราศจากเชื้อ. นิ+อินฺธน รฺ อาคม.
  13. นิริย : (ปุ.) ประเทศมีความเจริญออกแล้ว, ฯลฯ. นิ+อย รฺ และ อิ อาคม ดู นิรย ประกอบ.
  14. นิรีหก : (วิ.) มีความเพียรออกแล้ว, ฯลฯ. นิ+อีหา รฺ อาคม ก สกัด.
  15. นิรุตฺต : (นปุ.) ภาษา, คำพูด. นิจฺฉย หรือ นิสฺเสส บทหน้า วจฺ ธาตุ ต ปัจ. ลบ จฺ แปลง ว เป็น อุ แปลง ต เป็น ตฺต รฺ อาคม. รูปฯ ๖๑๓.
  16. ปริยุปาสน : (นปุ.) การนั่งใกล้. ปริ + อุปาสน ยฺ อาคม.
  17. ปุลวน : (วิ.) ลอยไป, ปลิวไป. ปลฺ คติยํ, ยุ. วฺ อาคม แปลง อ ที่ ป เป็น อุ.
  18. พฺยติเรก : (วิ.) แปลกออกไป. วิ+อติ+เอก รฺ อาคม.
  19. พฺยนฺตีกรณ : (นปุ.) การทำให้สิ้นสุด. พฺยนฺต+กรณ อี อาคม หรือแปลง อ ที่ ต เป็น อี.
  20. พฺยาธิ : (ปุ.) ภาวะอันเสียดแทง, ภาวะที่เบียดเบียน, ภาวะอันบีบคั้นใจ, ภาวะอันทำลาย, ความบีบคั้น, ความเจ็บไข้, โรค, พยาธิ. วิ. วิชฺฌตีติ วฺยาธิ วา. วิธฺ วิชฺฌนาพาธเนสุ, อิ. แปลง อิ ที่ วิ เป็น ย ลง อา อาคม. อภิฯ. คำ พยาธิ ในพจนาฯ ให้อ่านว่า พะยาด และให้ความหมายว่า ได้แก่ตัวเชื้อโรคชนิดหนึ่งที่เกิดในกายและเชื้อโรคอย่างหนึ่ง ที่เกิดจากผิวหนัง ผู้เขียนพจนาฯ มคธ นี้ ว่า ที่เป็นชื่อของโรคผิวหนัง อ่านเรียงพยางค์ว่า พะ-ยา-ธิ เหมาะกว่า.
  21. พฺรหาหฺมณ : (ปุ.) พราหมณ์ มีความหมายดังนี้.- ๑. เป็นชื่อของชนวรรณะหนึ่ง วิ. พฺรหฺมํ อณตีติ พฺราหฺมโณ. มนฺเต สชฺชายตีติ อตฺโถ, พฺรหฺมปุพฺโพ, อณฺ สทฺเท, โณ. พฺรหฺมุโน อปจฺจํ พฺราหฺมโณ. ณ ปัจ. โคตตตัท. นฺ อาคม แปลง นฺ เป็น ณฺ. เขาถือว่า พวกเขาเกิดจาก อุระ หรือปากของพระพรหม.และ ๒. เป็นชื่อของพระอริยเจ้า พระอรหันต์ พาหิตปาปตฺตา พฺราหฺมโณ ชื่อ พระอรหันต์ เพราะความเป็นผู้มีบาปอันลอยแล้ว (ละบาปได้แล้ว).
  22. พหุลีกต : (วิ.) อัน...กระทำแล้วให้เป็นไปมาก, กระทำให้มากแล้ว, กระทำแล้วๆ เล่าๆ, กระทำเนืองๆ, กระทำให้มาก. วิ. พหุลํ กตนฺติ พหุลีกตํ. พหุล+กต อี อาคม รูปฯ ๓๒๘. คำอธิบายความหมาย พหุลีกต ดู ไตรฯ๓๑ ข้อ ๕๓๖.
  23. ภาสิต : (นปุ.) คำอัน...พึงกล่าว, ถ้อยคำ, คำพูด, คำกล่าว, คำที่กล่าว, ภาสิต ภาษิต คือคำกล่าวที่มีคติความฟัง คำกล่าวที่เป็นประโยชน์. ภาสฺ+ต ปัจ. อาคม.
  24. ภิสน : (วิ.) น่ากลัว, น่าหวาดเสียว, น่าสะดุ้ง, น่าสพึงกลัว. ภี ภเย, ยุ. รัสสะ อี เป็น อิ นิคคหิตอาคม. และ สฺ อาคม หรือ ลง รึสน ปัจ. หรือ ภิสิ ภเย.
  25. ภีรุ ภีรุก : (วิ.) กลัว, ขลาด, ขี้ขลาด, สะดุ้งกลัว. วิ. ภายตีติ ภีรุ ภีรุโก วา. อถวา, ภายนสีโล ภีรุ ภีรุโก วา. ภี ภเย, รุ. ศัพท์หลัง ก สกัด หรือลง รุก ปัจ. หรือ ลง ณุก ปัจ. ลบ ณฺ แล้ว ลง รฺ อาคม.
  26. มมายิต : (วิ.) อัน..ถือแล้วว่าเป็นของแห่งเรา, อันโลกนับถือแล้วว่าเป็นของแห่งเรา, ยึดถือว่าเป็นของเรา, ยึดถือว่าของเรา. มม+อา+อยฺ ธาตุ ต ปัจ. อิ อาคม.
  27. มริยาท : (ปุ.) อาจาระ, มรรยาท, มารยาท (กิริยาที่ถือว่าเรียบร้อย). กฏ. วิ. ปริจฺฉินฺทิตฺวา อาทียเตติ มริยาทา. ปริ อาปุพฺโพ, ทา อาทาเน, อ. แปลง ป เป็น ม ยฺ อาคม. ศัพท์หลัง อา อิต. เป็น มาริยาทา ก็มี. ส. มรฺยาท.
  28. มหิยงฺคณ : (นปุ.) ภูเขา, เนินดิน, มเหยงค์. มหิ+องฺคณ+ยฺ อาคม.
  29. มาควิก : (นปุ.) พรานเนื้อ วิ. มเค หนฺตฺวา ชีวตีติ มาควิโก. ณิก ปัจ. วฺ อาคม รูปฯ ๓๖๐.
  30. มานส : (วิ.) มีในใจ วิ. มนสิ ภวํ มานสํ (สุขํ วา ทุกฺขํ วา). ณ ปัจ. สฺ อาคม รูปฯ ๓๖๒.
  31. มานุส : (ปุ.) เหล่ากอของพระมนู, ลูกหลานของพระมนู, คน, ชาย, ผู้ชาย. วิ. มนุโน อปจฺจํ มานุโส. ณ ปัจ. โคตตตัท. สฺ อาคม รูปฯ ๓๕๖.
  32. มิถิเลยฺยก : (วิ.) ผู้เกิดในเมืองมิถิลา, ผู้อยู่ในเมืองมิถิลา. วิ. มิถิลายํ ชาโต วสตีติ วา มิถิเสยฺยโก เณยฺยก ปัจ. รูปฯ ๓๖๒ ลง เณยฺย ปัจ. ก อาคม.
  33. มุตฺติก : (นปุ.) แก้วมุกดา, ไข่มุก. มุตฺตาเอว มุตฺติกํ. ก สกัด อิ อาคม.
  34. ยทตฺถ : (วิ.) เพื่อประโยชน์แก่สิ่งใด วิ. ยสฺส อตฺถาย ยทตฺโถ ยทตฺถา วา ยทตฺถํ วา. ย+อตฺถ ทฺ อาคม จ. ตัป.
  35. โยพฺพน : (นปุ.) ความเป็นแห่งเด็กหนุ่ม, ฯลฯ. ยุว+ณ ปัจ. พฤทฺธิ อุ เป็น โอ แปลง ว เป็น พ ซ้อน พฺ ลบ ณฺ เหลือ อ นฺ อาคม รูปฯ ๓๗๒.
  36. รณรงฺค : (ปุ.) การไปสู่ที่ เป็นที่รบ, การถึงซึ่งที่เป็นที่รบ, รณ+องฺค (การไป) รฺ อาคม. การรบ, สนามรบ. รณ ลง องฺค สกัด. คำ ณรงค์ที่ไทยใช้ตัดมาจาก รณฺรงฺค.
  37. สมฺโพธิยงฺค : (นปุ.) องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องรู้เอง, ฯลฯ. สมโพธิ+องค ยฺ อาคม.
  38. สมฺมทตฺถ : (ปุ.) ประโยชน์โดยชอบ, เนื้อความโดยชอบ, อรรถโดยชอบ. วิ. สมฺมา อตฺโถ สมฺมทตฺโถ. รัสสะ อา เป็น อ ทฺ อาคม. ต. ตัป.
  39. สมากุล : (วิ.) มัวพะวง. สห+อากุล ลบ หมฺ อาคม.
  40. สมิธา : (อิต.) เชื้อไฟ, ฟืน. วิ. สนฺต มคฺคึ เอธยติ อทฺธยตีติ สมิธา. สนฺตปุพฺโพ, อิธฺ วุฑฒิยํ, อ. แปลง สนฺต เป็น ส มฺ อาคม อา อิต. ส. สมิธ.
  41. สมุทาคมน : (นปุ.) ความเป็นไป, ความเป็นอยู่, ความมีอยู่. สํ+อุ+อาคมน ทฺ อาคม.
  42. สมุทาย : (ปุ.) ฝูง, ฯลฯ, ชุมนุม. วิ. สหาวยเวน อุทยตีติ สมุทาโย. สห+อุ+อยฺ ธาตุ อ ปัจ. ทฺ อาคม ท่ามกลาง ทีฆะ.
  43. สมุนฺนทฺธ : (วิ.) ตั้งไว้เป็นกอง ๆ, บังเกิดเป็นกอง ๆ กัน. สํ อุป วิ ปุพฺโพ, อูหฺ ฐปเน, โต. แปลงนิคคหิต เป็น ม อิ เป็น ย วฺ เป็น พฺ รัสสะ อู เป็น อุ ยฺ อาคม แปลง ตฺ เป็น พฺห ลบที่สุดธาติ.
  44. สฬายตน : (นปุ.) เครื่องต่ออารมณ์ ๖ อย่าง, ที่เป็นต่อ ๖, ที่เป็นที่มาต่อ ๖, เครื่องติดต่อ ๖ อย่าง, อายตนะ ๖. ฉ+อายตน แปลง ฉ เป็น ส ฬฺ อาคม รูปฯ ๓๓๔.
  45. สาสน : (นปุ.) คำสั่ง คำบังคับ (อาณา), พระพุทธพจน์(อาคม), การสั่งสอน คำสั่งสอน(อนุสาสน), จดหมาย (เลข), ข่าว ข่าวคราว, สาสน์ คือพระราชหัตถเลขาทางราชการหรือลิขิตของพระสังฆราช, ศาสนา สาสนา (คำสั่งสอนของพระศาสดา). วิ. สาสิยเตติ สาสนํ. สาสฺ อนุสิฎฐยํฐ ยุ. ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งการสั่งสอน (อบรม) สัตวโลก (มนุษย์) พร้อมทั้งเทวดาและพรหม วิ. สเทวกํ โลกํ สาสติ เอตฺถาติ สาสนํ. คำสั่งสอนอันเบียดเบียนกิเลส, คำสั่งสอนอันกำจัดกิเลส. วิ. กิเลเส สาลตีติ สาสนํ สสุ หึสายํ, ยุ. ทีฆะตันธาตุ. ส. ศาสน.
  46. สาหส : (วิ.) เป็นไปพลัน, ผลุนผลัน, ร้ายแรง, รุนแรง, เร็ว, พลัน, เร็วพลัน, ยิ่ง, นัก, ยิ่งนัก, สาหัส(หนักรุนแรง). สห (พล)+ ณ ปัจ. ลงในอรรถ ปภว สฺ อาคม.
  47. สุหุชุ : (วิ.) ตรงด้วยดี, ซื่อตรงด้วยดี, ตรงดี, ซื่อตรงดี, งามดี. สุ+อุชุ หฺ อาคม.
  48. เสขิย : (วิ.) อัน...พึงศึกษา, อัน...ควรศึกษา, อัน...ควรใส่ใจ, อัน...พึงใส่ใจ. สิกฺขฺ วิชฺโช ปาทาเน, โณฺย. วิการ อิ เป็น เอ ลบ กฺ และ ณฺ อิ อาคม.
  49. เสผาลิกา : (อิต.) สุพรรณนิการ์ ชื่อพรรณไม้ ชนิดหนึ่ง ดอกสีเหลืองแก่ ฝ้ายดำก็เรียก. วิ. เสผา ชฎา อสฺสา อตฺถีติ เสผาลิกา, เสผ+อิก ปัจ. ลฺ อาคม ในท่ามกลาง. สาหร่าย จอก แหน ก็แปล.
  50. เสเลยฺยก : (วิ.) เกิดในศิลา, มีในศิลา, อยู่ในศิลา. สิลา+ชาต, ภว. วุตฺถ+เณยฺย ปัจ. ก สกัด รูปฯ ๓๖๒ ว่า ลง ก อาคม.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-163

(0.0271 sec)