Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ร่วมทุกข์, ทุกข์, ร่วม , then ทกข, ทุกข, ทุกข์, รวม, ร่วม, รวมทกข, ร่วมทุกข์ .

ETipitaka Pali-Thai Dict : ร่วมทุกข์, 349 found, display 151-200
  1. สกิย : (ปุ.) เจ้าศากยะ (ชนชาติผู้ร่วมเชื้อพระวงศ์กับพระพุทธเจ้า) วิ. สเ กฺย ภโว สากิโย, อิโย, ยโลโป, ทีโฆ จ.
  2. สคพฺภ : ค. ร่วมครรภ์กัน
  3. สโคตฺต : ค. ร่วมโคตร
  4. สงฺคจฺฉติ : ก. ประชุม, ไปร่วม
  5. สงฺคณิกา : อิต. ผู้ประกอบแล้วในหมู่, ร่วมหมู่
  6. สงฺคม : ป. การไปร่วม, การเกี่ยวข้อง
  7. สงฺฆกมฺม : นป. การกระทำของสงฆ์ ได้แก่ กิจที่พระสงฆ์ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปร่วมกันทำในสีมา
  8. สชีว : ค. ร่วมชีพ
  9. สทฺธิวิหาริก : ค. ผู้อยู่ร่วม, หมายถึงภิกษุที่บวชกับอุปัชฌาย์องค์ใดก็เป็นสัทธวิหาริกของอุปัชฌาย์องค์นั้น
  10. สนฺนิวาส : (ปุ.) การอยู่ร่วม, การอยู่ร่วมกัน, การอยู่ด้วยกัน,การอยู่อาศัย, การอยู่อาศัยร่วมกัน, ความอยู่ร่วม,ฯลฯ.สํ นิ ปุพฺโพ,วสฺ นิวาเส, โณ.
  11. สปตฺตี : อิต. ร่วมภรรยา
  12. สปตี : อิต. หญิงร่วมผัว
  13. สปฺปาย : (วิ.) เหมาะสมแก่ภาวะของตน, สำราญ, สบาย (อยู่ดี ไม่มีทุกข์). สภาว+ปาย.
  14. สภาค : (วิ.) เป็นไปกับด้วยส่วน. วิ. สห ภาเคน วตฺตตีติ สภาโค. ร่วมกัน, เท่ากัน, เข้ากันได้, อยู่พวกเดียวกัน, เหมือนกัน, มีส่วนเสมอ, มีส่วนเสมอกัน. วิ. สมาโน ภาโค เยสํ เต สภาคา.
  15. สโภชน : ๑. นป. การกินร่วมกัน; ๒. ค. มีคนอยู่ด้วยกันสองคนคือผัวกับเมีย
  16. สมถ : (ปุ.) ธรรมเป็นเครื่องระงับ, ธรรมยังนิวรณ์ห้า มี กามฉันท์ เป็นต้นให้สงบ. วิ. กามฉนฺทาทิกํ ปญฺจนิวรณํ สเมตีติ สมโถ. สมุ อุปสเม. โถ แปลง อุ เป็น อ. ความสงบ, ความระงับ, ความสงบระงับ. วิ. สมนํ สมโถ. สมาธิ, สมถะ, ชื่อว่า สมถะ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ้าน อวิกฺเขปฏเฐน สมโถ. สมถุ ชื่อของภาวนาอย่างที่ ๑ ในภาวนา ๒ เป็นอุบายสงบใจ เป็นวิธีทำใจให้สงบหลบทุกข์ไปได้ชั่วคราวมีผลเพียงให้กิเลสอย่างกลางระงับไปชั่วคราว ที่ท่านเปรียบไว้ว่าเหมือนเอาหินทับหญ้าเท่านั้น เมื่อเอาหินออก หญ้าก็งอกงามตามเดิม แต่ก็ยังผู้ปฏิบัติให้หลงไปว่าได้บรรลุโลกุตรธรรมเป็นพระอริยบุคคลไปก็มี เมื่อหลงไปเช่นนี้ก็เป็นอันตรายแด่พระพุทธศาสนาเหมือกัน. คำ สมถะ ไทยใช้ในความหมายว่า มักน้อย ปฏิบัติตนปอน ๆ.
  17. สมฺภุญฺชติ : ก. บริโภคร่วม
  18. สมฺโภค : (ปุ.) การกินด้วยกัน, การบริโภคด้วยกัน, การกินร่วม, การร่วมกิน, การร่วมบริโภค, การคบกัน. วิ. สห ภุญฺชนํ อนุภวนํ สมฺโภโค. สหปุพฺโพ, ภุชฺ อชฺโฌหรเณ, โณ, ชสฺส โค. ส. สมฺโภค.
  19. สมฺมสนญาณ : (นปุ.) ความรู้ในการพิจารณารูปและนามเป็นไตรลักษณ์, ญาณในการพิจารณารูปและนามโดยความเป็นไตรลักษณ์. การกำหนดขันธ์ ๕ คือ ...อาตยนะ ภายใน ๖ คือ ... และชาติโดยความเป็นของไม่เที่ยงโดยความเป็นทุกข์โดยความเป็นอนัตตา เรียกว่าสัมมสนญาณ ไตร. ๓๑ ข้อ ๙๙.
  20. สมวย : (วิ.) มีวัยเสมอกัน, มีวัยร่วมกัน, รุ่นเดียวกัน, ปีเดียวกัน, สมวัย. สม+วย.
  21. สมานฉนฺท : (ปุ.) ความพอใจร่วมกัน, ฯลฯ.
  22. สมานสวาส : (ปุ.) การอยู่ร่วมกัน, การอยู่ร่วมกันได้, สมานสังวาส ใช้สำหรับพระสงฆ์ในความว่าทำอุโบสถสังฆกรรมร่วมกันได้.
  23. สมุทย : (ปุ.) การเกิดขึ้นพร้อม, การตั้งขึ้นพร้อม, การเกิดขึ้น, ความตั้งขึ้นพร้อม, ฯลฯ, ปัจจัย, ที่เกิด, เหตุ, ต้นเหตุ, เหตุเกิดแห่งทุกข์, ฝูง, ฯลฯ, ชุมนุม, สมุทัย(เหตุให้เกิดทุกข์). วิ. สหาวยเวน อุทยตีติ สมุทโย. สหปุพฺโพ, อุปพฺโพ, อยฺ คติยํ, อ, ทฺอาคโม.
  24. สวสติ : ก. อยู่ร่วม
  25. สวาส : ป. การอยู่ร่วม
  26. สหคต : (วิ.) เป็นไปกับ, เป็นสิ่งนั้น, เป็นอย่างนั้น, ไปด้วยกัน, ไปพร้อมกัน, เป็นไปพร้อมกัน. ทางอภิธรรมแปลว่า เกิดพร้อม. ศัพท์ สมฺปยุตฺต แปลว่า ประกอบ. สหปุพฺโพ, คมฺ คติยํ, โต, มฺโลโป. ที่เป็นกิริยากิตก็แปลว่า ไปร่วมกันแล้ว ไปแล้วด้วยกัน, ฯลฯ.
  27. สหจร : (ปุ.) คนเที่ยวร่วมกัน, คนเที่ยวไปด้วยกัน, คนไปด้วยกัน (ผู้ร่วมทาง), เพื่อน, สหาย, การไปร่วมกัน, การเที่ยวไปร่วมกัน, ฯลฯ. ส. สหจร.
  28. สหช : (ปุ.) ชนผู้เกิดร่วมกัน พี่น้องชาย(ท้องเดียวกัน). วิ. สห ชาโต สหโช. สหปุพฺโพ, ชนฺ ปาตุภาเว, กฺวิ ส. สหช.
  29. สหชาติ : (วิ.) ผู้เกิดร่วมกัน สหชาต (เกิดปีเดียวกัน เกิดปีร่วมกัน หรือเกิดร่วมวันเดือนปีเดียวกัน).
  30. สหธมฺมิก : (วิ.) ผู้มีธรรมร่วมกัน, ผู้ประพฤติธรรมร่วมกัน, ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยธรรม.
  31. สหภู : ค. ซึ่งเป็นอยู่ร่วมกัน
  32. สหาย : (วิ.) ไปตาม, ไปกับ, ไปร่วม, ไปร่วมกัน, ไปด้วยกัน, ติดตาม.
  33. สาจริยก : ค. ผู้ร่วมอาจารย์เดียวกัน
  34. สานุจร : ค. ผู้เที่ยวไปบนยอดเขา, ผู้ร่วมไปกับผู้ติดตาม
  35. สามจฺจ : ค. ซึ่งพร้อมเพรียงกัน, ซึ่งร่วมด้วยเพื่อน
  36. สามาชิก : ป. ผู้เข้าร่วมประชุม, สมาชิก
  37. สาโลหิต : (ปุ.) คนผู้ร่วมสายเลือด, คนผู้ร่วมสายเลือดเดียวกัน, คนผู้นับเนืองในวงศ์ญาติ, ญาติสืบสาย, สาโลหิต, สายโลหิต. วิ. โลหิเตน สมฺพนฺโธ สาโลหิตโต. สมฺพนฺธสฺส สาเทโส, ปุพฺพนิปาโต จ. แปลง สมฺพนฺธ เป็น สา และตกไป (ยกไปไว้) ข้างหน้า.
  38. สุขสวาส : (วิ.) มีการอยู่ร่วมเป็นสุข.
  39. โสทร, โสทริย : ค. ผู้เกิดร่วมท้องเดียวกัน
  40. หตฺถปาส : (ปุ.) บ่วงแห่งมือ, บ่วงมือ, หัตถบาส ชื่อของระเบียบปฏิบัติสำหรับภิกษุสงฆ์ผู้เข้าร่วมประชุมทำสังฆกรรม จะต้องอยู่ในหัตถบาสของกันและกัน คืออยู่ในระหว่าง ๒ ศอก-คืบ ถ้ายืนก็ห่างกันประมาณ ๑ ศอก ถึง ๑ ศอกคืบ ถ้านั่งก็ห่างกัน ๑ คืบ ต่อ ๆ กันไป และยังใช้เกี่ยวกับคฤหัสถ์ผู้ประเคน (ถวาย) ของแด่ภิกษุสงฆ์ด้วย จะต้องเข้ามาในหัตถบาส คือห่างจากภิกษุผู้รับ ๑ ศอก สำหรับสุภาพสตรีเข้าไปประเคน (ถวาย) อยู่ในระยะ ๑ ศอกนี้ ดูไม่งาน เช่นบางกรณีคือ ถวายของในพิธีมงคลสมรส.
  41. หา : (อัพ. นิบาต) โอ้, อ้า, เหนื่อย, ลำบาก, เป็นทุกข์, แห้งใจ. เขทัตถวาจกนิบาต.
  42. หิ : (นปุ.) ทุกข์, ความทุกข์. หา ปริหานิเย, อิ.
  43. อติทุกฺข : ค. ทุกข์ยิ่ง, ลำบากมาก
  44. อติสร : ค. มีความทุกข์ยิ่ง ; แล่นเลยไป
  45. อทุกฺขมสุข : นป. ความไม่ทุกข์ไม่สุข, ความเป็นกลางๆ, อุเบกขา
  46. อทุกฺขมสุขา : (อิต.) ความไม่ทุกข์และความไม่สุข, อุเบกขา (ไม่ทุกข์และไม่สุข), อุเบกขาเวทนา.วิ.อทุกฺขาจสาอสุขาเจติ อทุกฺขมสุขา.
  47. อนฆ : (วิ.) ไม่มีความชั่ว, ไม่มีความทุกข์, ไม่มีความวิบัติ, ไม่มีความฉิบหาย.น+อฆ.
  48. อนฺตคู : (วิ.) ผู้ถึงซึ่งที่สุด, ผู้ชนะความทุกข์.
  49. อนยพฺยสน : (นปุ.) ความฉิบหายไม่ใช่ความเจริญและทุกข์อันส่ายเสียซึ่งสุขให้พินาศ, ความไม่เจริญและความทุกข์อันยังสุขให้พินาศ. วิ. อนโย จ พฺยสนํ จาติ อนยพฺสนํ.
  50. อนาทร : (วิ.) ไม่เอื้อเฟื้อ, ไม่เอาใจใส่, ไม่พะวงไม่นำพา, เฉยเมย, เกียจคร้าน, คร้าน, เบียดเบียน, รบกวน, ดูถูก, ดูหมิ่น, ดูแคลนไม่เห็นแก่กัน, อนาทร (อะนาทอน) ไทยใช้ในความหมายว่าเป็นทุกข์เป็นร้อนร้อนอกร้อนใจ.น+อาทร.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-250 | 251-300 | 301-349

(0.0475 sec)