Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ภาสา , then ภาษา, ภาส, ภาสา .

ETipitaka Pali-Thai Dict : ภาสา, 75 found, display 51-75
  1. ภสฺตา ภสฺตฺรา : (อิต.) กะทอ, ถุหนัง, สูบ, เครื่องสูบลม, ลูกโป่ง, ย่าม. ภาสฺ ทิตฺติยํ, ต ตฺรณฺ ปัจ. อภิฯ รูปฯ ๖๕๐.
  2. ภาตุ : (วิ.) ผู้เป็นพี่น้องชายกัน, ฯลฯ. วิ. ภาตีติ ภาตา. ภาสฺ วิยตฺติยํ วาจายํ, ราตุ. ลบ สฺ ลบ รา. ผู้พูดก่อน (พี่ชาย) วิ. ปุพฺเพภาสตีติ ภาตา.
  3. มร : (ปุ.) การตาย, ความตาย. มรฺ ธาตุ อ, ยุ ปัจ. มรณะที่ใช้ในภาษาไทยใช้เป็นกิริยาว่า ตาย ศัพท์มคธที่เป็นนามเมื่อนำมาใช้ในภาษาไทยแล้วใช้เป็นกิริยามีมากมาย.
  4. มรณ : (นปุ.) การตาย, ความตาย. มรฺ ธาตุ อ, ยุ ปัจ. มรณะที่ใช้ในภาษาไทยใช้เป็นกิริยาว่า ตาย ศัพท์มคธที่เป็นนามเมื่อนำมาใช้ในภาษาไทยแล้วใช้เป็นกิริยามีมากมาย.
  5. มิคตณฺหิกา : (อิต.) พยับแดด. วิ. มิคานํ ตณฺหา ปิปาสา ยสฺสํ ชลาภาสตฺตา สา มิคตณฺหิกา. อิก ปัจ. อา อิต.
  6. สมฺภาสน : (นปุ.) การพูดกัน, การเจรจากัน, การเจรจาปราศรัย, การพูดโต้ตอบกัน, สัมภาษณ์(การพูดแลกเปลี่ยนความคิดกัน). สํปุพฺโพ, ภาสฺ วจเน, ยุ. ส. สมฺภาษณ.
  7. สมี : (อิต.) สมี (สะหมี) ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ในพิธีพลีกูณฑ์. วิ. คณฺฑํ สเมตีติ สมี. สมุ อุปสเม. อี อภฯ ลง อิ ปัจ. คำ สมี(สะหมี) ในภาษาไทยใช้เรียกภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกไม่ใช้คำที่มาจากภาษามคธ.
  8. สามเณร : (ปุ.) เหล่ากอแห่งสมณะ, สามเณร (ผู้ดำรงเพศอย่างภิกษุ แต่สมาทานศีล ๑๐). วิ. สมณสฺส อปจฺจํ สามเณโร. เณร ปัจ. ในบทกลอนและภาษาพูดใช้ว่า “เณร” ได้.
  9. สิปฺป : (นปุ.) สิปปะ ศิลปะ. วิชาความรู้ที่ได้มาจากการศึกษาทุกอย่าง ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการประกอบกิจเลี้ยงชีวิตในทางสุจริต เรียกว่า สิปปะ หรือ ศิลปะตามภาษาสันสกฤต พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นมงคลคือเหตุที่ทำให้ผู้ปฏิบัติตามถึงความเจริญ เป็นมงคลที่ ๘ ในมงคล ๓๘ . สิกฺขฺ วิชฺโชปาทาเน, ปฺปปจฺจโย, กฺขฺโลโป, สิ สยเสวาสุ วา, ปฺปปจฺจโย, สปฺปฺ คติยํ วา, อ, อสฺสิ. คำ ศิลปะ ไทยใช้ความว่าฝีมือทางการช่าง ที่ผู้ทำทำได้คล่องแคล่วกว่า หรือดีเด่นกว่า งดงามกว่าช่างด้วยกันหรือสิ่งที่สำเร็จจากฝีมือนั้น ทำให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจได้ดีกว่าช่างอื่น. ส. ศิลฺป.
  10. เสท : (ปุ.) เหงื่อ, เหื่อ (ภาษาเก่า), ไคล(เหงื่อที่ปนกับฝุ่นละอองติดกรังอยู่กับหนังกำพร้า). วิ. เสตีติ เสโท. เส ปาเก, โต, ตสฺส โท. พ่อครัว ก็แปล.
  11. อกฺขร : (ปุ. นปุ.) คำ, เสียง, ตัวหนังสือ, อักขระ, อักษร (เสียงและตัวหนึ่ง สระและพยัญชนะ). อักขระแปลว่า ไม่รู้จักสิ้นอย่าง ๑ ไม่เป็นของแข็งอย่าง ๑ คือใช้แทนคำพูดเท่าไร ๆ ก็ไม่รู้จักสิ้น และไม่เป็นของแข็งใช้แทนเสียคำพูดนั้น ๆได้เป็นอักขระของชาติใด ภาษาใด ก็ใช้ได้เหมาะสมแก่ชาตินั้นภาษานั้น.วิ. นขรติ น ขียตีติ อกฺขโร. นกฺขรนฺติ นกฺขียนฺตีติ วา อกขรานิ. นปุพฺโพ, ขรฺ วินาเส, อ.ขี ขเย วา อโร. อิโลโป, กฺสํโยโค.ใช้เป็นอิต. โดยความเป็นลิงควิปลาสบ้าง. ส.อกฺษร.
  12. อญฺญมญฺญ : (วิ.) กันและกัน.วิ. อญฺญํอญฺญอญฺญมญฺญํ.ํมฺอาคมไทยใช้เป็นภาษาพูดว่าอัญญมัญญังในความหมายว่า ซึ่งกันและกัน.
  13. อติวากฺย : (ปุ.) คำอันพึงบุคคลพึงกล่าวล่วงเกิน, คำกล่าวล่วง, คำล่วงเกิน.อติปุพฺโพวจฺภาสเน, โณฺย, จสฺสโก.
  14. อเถกทิวส : (อัพ. นิบาต) ภายหลัง ณ วันหนึ่ง, ครั้นภายหลัง ณ วันหนึ่ง, ครั้นวันหนึ่ง.บางมติตัดเป็นอถ ครั้งนั้นเอกทิวสํ ในวันหนึ่งนักภาษาจะใช้แบบไหนก็สุดแต่ชอบ.
  15. อปโลกน : (นปุ.) การแจ้งความ, การบอกกล่าว, การบอกให้ทราบ, การประกาศ, การเลือก, การอนุญาต, การอำลา, อปปุพฺโพ, โลกฺภาสยํ, ยุ.
  16. อภิธาน : (นปุ.) วจนะอันอาจารย์กล่าว, คำกล่าวคำพูด, นาม, ชื่อ.วิ.อภิธียเตเอเตนาติอภิธานํ. อภิปุพฺโพ, ธา ภาสเน, ยุ. ส. อภิธาน.
  17. อภิธายี : (อิต.) คำกล่าว.อภิปุพฺโพ, ธา ภาสเน, โย, อิตฺถิยํอี.
  18. อภิเธยฺย : (นปุ.) วจนะอันอาจารย์กล่าว, คำกล่าวคำพูด, นาม, ชื่อ.อภิปุพฺโพ, อา ภาสเน, โณฺย.ส.อภิเธย.
  19. อสมนุภาสนฺต : ค. ยังมิได้สวดสมนุภาส, ยังมิได้สวดประกาศ
  20. อุตฺตราสค อุตฺตราสงฺค : (ปุ.) ผ้าอันคล้องอยู่ เหนืออวัยวะด้านซ้าย, ผ้าอันคล้องอยู่ที่ ส่วนแห่งกายด้านซ้าย, ผ้าคล้องไว้บนบ่า เบื้องซ้าย, ผ้าห่ม (คือจีวรในภาษาไทย). วิ. อุตฺตรสฺมึ เทหภาเค อาสชฺชเตติ อุตฺตราสํโค อุตฺตราสงฺโค วา. อุตฺตร อา บทหน้า สญฺชฺ ธาตุในความคล้อง อ ปัจ. แปลง ช เป็น ค ญฺ เป็นนิคคหิต ศัพท์ หลังแปลงนิคคหิตเป็น งฺ.
  21. อุตฺตริ : (วิ.) ยิ่ง, ยอดเยี่ยม, ชั้นเยี่ยม, แปลก, มากขึ้น, อุตริ. คำ อุตริ ที่นำมาใช้ใน ภาษาไทยออกเสียงว่า อุดตะหริ ใช้ใน ความหมายว่า แปลกออกไป นอกแบบ นอกทาง.
  22. อุลิส : (ปุ.) แตงโม. ภาษาเขมร อุลิต ว่า แตงโม. อุ
  23. เอก : (วิ.) หนึ่ง, อย่างหนึ่ง, เดียว, ผู้เดียว, คนเดียว, ไม่มีเพื่อน, โดดเดียว, โดดเดี่ยว, วังเวง, เยี่ยม, ยอด, ยอดเยี่ยม, ประเสริฐ, สูงสุด, นอกนี้, ต่างหาก, เดียวกัน, เช่น เดียวกัน, แนวเดียวกัน, เป็นหนึ่ง, อื่น (คือ อีกคนหนึ่ง อีกพวกหนึ่ง อีกสิ่งหนึ่ง). อิ คมเน, ณฺวุ, อิสฺเส. วิ. เอติ ปวตฺตตีติ เอโก. เอกศัพท์นี้เป็นปกติสังขยาและวิเสสนสัพพ นามที่เป็นสังขยา (การนับ) เป็นเอกวจนะ อย่างเดียวที่เป็นวิเสสนสัพพนาม เป็น เอก. และ พหุ. เมื่อต้องการเป็นพหุ. พึงใช้ เป็นวิเสสนสัพพนาม และแปลว่าคนหนึ่ง, คนเดียว คนเดียวกัน พวกหนึ่ง ฯลฯ พึงยัก เยื้องให้เหมาะสมกับนามนาม. เอกศัพท์ ใช้เป็นวิเสสนะของนามนามใด เวลาแปล พึงเหน็บลักษณนามของนามนั้นลงไปด้วย เช่น เอกา ธมฺมเทสนา อ. ธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์. คำว่าไม้เอก (วรรณยุกต์ที่ ๑) มา จากเอกศัพท์นี้. เอกศัพท์ที่นำมาใช้ใน ภาษาไทยมีความหมายว่า ตัวคนเดียว ลำพังตัว โดดเดี่ยว เปลี่ยว เฉพาะ เด่น ดีเลิศ ยิ่งใหญ่ สำคัญ ที่หนึ่ง (ไม่มีสอง). ส. เอก.
  24. โอภาส : (ปุ.) ความรุ่งเรือง, ความสว่าง, ความสวยงาม, ความสุกใส, ความเปล่ง ปลั่ง, รัศมี, แสง, แสงสว่าง. อวปุพฺโพ, ภาสฺ ทิตฺติยํ โณ. อภิฯ ลง อ ปัจ.
  25. 1-50 | [51-75]

(0.0109 sec)