นิติ : (อิต.) แบบ, แบบแผน, แบบอย่าง, กระบวน ขบวน (แบบแผน), ประเพณี, กฎหมาย, นิติ, นีติ, เนติ. นิ นเย, ติ.
นิติกร : (ปุ.) คนผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกฎหมาย, คนผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิชา กฎหมาย.
ปุโรหิต : (ปุ.) พราหมณ์ผู้มีประโยชน์เกื้อกูลแก่บุรี, อำมาตย์ผู้บำเพ็ญประโยชน์แก่บุรี, ปุโรหิต ประโรหิต ผู้เป็นที่ปรึกษาในทางนิติ คือ กฎหมาย ขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณี ผู้ดำรงตำแหน่งพระอาจารย์. ปุร+หิต แปลง อ ที่ ร เป็น โอ.
อาณา : (อิต.) การบังคับ, ความบังคับ, คำสั่ง, คำสั่งบังคับ, อำนาจ, อำนาจปกครอง, อาชญา, อาญา.อาณฺเปสเน, อ, อิตฺถิยํอา.ส. อาชฺญา.
กติกา : (อิต.) การทำ, กฤษฎีกา. กติศัพท์ ก สกัด อา อิต. กติกา ไทยใช้ในความหมายว่า การนัดหมาย ข้อตกลง ข้อ บังคับ เงื่อนไขที่กำหนดไว้ สัญญาบัง เกิดแต่การทำ. กฤษฏีกา (แผลงมาจาก กติกา) ใช้เป็นชื่อของกฎหมาย ซึ่งฝ่าย บริหารบัญญัติออกใช้เมื่อคราวจำเป็นใน นามของพระมหากษัตริย์ เรียกว่าพระราช กฤษฎีกา.
กุโฬร : (ปุ.) กฎหมาย, ตรา?
เทสปญฺญตฺติ : (อิต.) บัญญัติของท้องถิ่น, เทส+ปญฺญตฺติ, บัญญัติของเทศบาล, เทสปาล+ปญฺญตฺติ. เทศบัญญัติ คือ กฎหมายของเทศบาล มีผลบังคับอย่างเดียวกันกับกฎหมาย แต่ใช้บังคับเฉพาะ ของเทศบาลนั้นๆ.
ธมฺมชีวี : (ยิ.) ผู้เป็นอยู่โดยปกติโดยธรรม, ผู้เป็นอยู่ตามธรรมโดยปกติ, ผู้มีปกติเป็น อยู่โดยธรรม, ผู้เป็นโดยอยู่ธรรม, ผู้เป็น อยู่ตามกฎหมาย.
ธมฺมนาฏก : ค. นักฟ้อนโดยธรรม, นักฟ้อนโดยกฎหมาย, นักฟ้อนที่พระราชาทรงอนุญาติให้เป็นสาธารณะโดยถูกต้องตามกฎหมาย
ธมฺมนาถ : (ปุ.) ชนผู้มีธรรมเป็นใหญ่, ชนผู้ รักษากฎหมาย
ธมฺมนุญฺญ : (ปุ.) ธรรมนูญ พระธรรมนูญ ชื่อว่ากฎหมายว่าด้วยระเบียบการ เช่นพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ชื่อกฎหมายสูงสุดของประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย. ธมฺม+มนุญฺญ ลบ อักษร ที่เสมอกันเสียตัวหนึ่ง.
ธมฺมปาฐก : (วิ.) ผู้สอนซึ่งธรรม, ผู้สอนธรรม, ผู้สอนกฎหมาย. ส. ธรฺมปาฐก.
ธมฺมสตฺถ : (นปุ.) ตำราแห่งกฎหมาย, ธรรม ศาสตร์. ส. ธรฺมศาสฺตฺร.
นาวิกสาสน : (นปุ.) ข้อบังคับเกี่ยวกับการเดินเรือ, กฎหมายเกี่ยวกับการเดินเรือ ในน่านน้ำทั่วไป, นาวิกศาสน์. ส. นาวิกศาสน.
นิติกมฺม : (นปุ.) การกระทำตามกฎหมาย, นิติกรรม.
นิติธมฺม : (ปุ.) หลักแห่งกฎหมาย, นิติธรรม.
นิตินย : (ปุ.) ทางแห่งกฎหมาย, ทางกฎหมาย.
นิติปญญตฺติ : (อิต.) การแต่งตั้งกฎหมาย, การตรากฎหมาย, นิติบัญญัติ.
นิติปณฺฑิต : (ปุ.) คนมีความรู้ในกฎหมาย, นักปราชญ์ทางกฎหมาย, เนติบัณฑิต ใช้ เรียกผู้ที่สอบได้ปริญญาทางกฎหมาย.
นิติปุคฺคล : (ปุ.) บุคคลโดยกฎหมาย, บุคคล ตามกฎหมาย, นิติบุคคล. ไทย นิติบุคคล หมายถึงองค์การหรือคณะบุคคล ซึ่ง กฎหมายสมมุติให้เป็นบุคคลมีสิทธิและ หน้าที่ที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย.
นิติภาว : (ปุ.) ความเป็นแห่งบุคคลตาม กฎหมาย, ภาวะตามกฎหมาย, นิติภาวะ. ไทย นิติภาวะคือ ความเป็นผู้มีอายุตามที่ กฎหมายกำหนดไว้ให้มีความสามารถ เต็มที่ตามกฎหมาย.
นีติสตฺถ : นป. ตำรากฎหมาย
ปริญฺญา : (อิต.) ธรรมชาติเป็นเครื่องกำหนดรู้, ปัญญาเป็นเครื่องกำหนดรู้, ความกำหนดรู้, ความรู้รอบ, ความรอบรู้, ความหยั่งรู้, ความรู้รอบคอบ. ปริ+ญา+อ ปัจ. ซ้อน ญฺ อา อิต. ไทย ปริญญา หมายถึงชั้นความรู้ ที่มหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัย ซึ่งมีกฎหมาย กำหนดให้ให้ปริญญาได้ ประสาทให้แก่ผู้ที่ สอบความรู้ได้ตามที่กำหนดไว้. ส. ปรีชฺญา.
มิจฺฉาอาชีว : (ปุ.) ความเป็นอยู่ผิด, การเลี้ยงชีวิตในทางที่ผิด, อาชีพผิด, มิจฉาอาชีวะ มิจฉาชีพ คือการหาเลี้ยงชีวิตด้วยการประกอบกิจที่ผิดกฎหมายและศีลธรรม.
รฏฺฐมฺมนุญฺญ : (นปุ.) รัฐธรรมนูญ ชื่อกฏหมายสูงสุดของประเทศ เป็นกฎหมายอันเป็นที่พึงพอใจของประชาชนทั้งประเทศ ประชาชนทั้งประเทศอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญนี้. รฏฺฐ+ธมฺม+มนุญฺญ ลบอักษรที่เสมอกันสามตัวเสียตัวหนึ่ง.
ราชทณฺฑ : ป. ราชอาญา, โทษหลวง
สิทฺธิ : (อิต.) คำสั่ง, คำสั่งสอน. สิธุ สาสเน. ความเจริญ, มงคล. สิธุ มงฺคเ ลฺย. การบรรลุ, การบรรลุผล, การสมความปรารถนา, ความสมปรารถนา, ความสำเร็จ. สิธฺ สํสิทฺธิยํ, ติ. แปลง ติ เป็น ทฺธิ ลบที่สุดธาตุเป็น ทฺ. ไทย สิทธิ หมายถึง อำนาจอันชอบธรรมที่จะทำอะไรได้ตามกฎหมาย. ส. สิทฺธิ.
อคมนียวตฺถุ : (นปุ.) วัตถุอันสตรีและบุรุษไม่พึงถึง, วัตถุอันสตรีและบุรุษไม่ควรล่วงวัตถุไม่ควรถึง, วัตถุต้องห้าม, อคมนียวัตถุ ได้แก่หญิงหรือชายที่กฎหมายหรือศีลธรรมระบุไว้มิให้ชายหรือหญิงผู้รักษาศีลธรรมล่วงละเมิดทางประเวณี.